โรคฝีมะม่วงป้องกันได้อย่างไร?

โรคฝีมะม่วง (Lymphogranuloma Venereum: LGV) ถือเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เรื้อรัง ที่เกิดจากเชื้อคลาไมเดีย (Chlamydia Trachomatis) ซึ่งมักเกิดการติดเชื้อที่อวัยวะสืบพันธุ์หรือทวารหนัก ผู้ป่วยโรคนี้จะมีต่อมน้ำเหลืองโตที่ต้นขาข้างใดข้างหนึ่งหรือที่ขาหนีบ โดยจะเกิดตุ่มหรือแผลขนาดเล็กที่อวัยวะเพศก่อน จากนั้นต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบจะอักเสบ ทำให้เกิดอาการปวดบวมและเดินลำบาก นอกจากนี้ หากรูทวารอักเสบหรือมีแผล จะรู้สึกปวดบริเวณก้นตลอดเวลา อาจถ่ายไม่ออกหรือท้องร่วง หรือรูทวารตีบตันได้ ส่วนผู้หญิงที่ป่วยเป็นฝีมะม่วงจะทำให้อุ้งเชิงกรานอักเสบ ส่งผลให้ท้องนอกมดลูกได้ หรือปวดท้องน้อยเรื้อรัง รวมทั้งประสบภาวะมีบุตรยาก

โรคฝีมะม่วง

โรคฝีมะม่วง (Lymphogranuloma Venereum : LGV) คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เรื้อรัง ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เมื่อเชื้อแบคทีเรียเหล่านี้เข้าสู่ผิวหนัง จะเกิดแผลที่อวัยวะเพศ และทวารหนัก  โดยจะเกิดตุ่มหรือแผลขนาดเล็กที่อวัยวะเพศก่อน จากนั้นต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบจะอักเสบ ทำให้เกิดอาการปวดบวมและเดินลำบาก