โรคติดเชื้อฉวยโอกาส ในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี

โรคติดเชื้อฉวยโอกาส (Opportunistic Infectione)  คือ ภาวะสุขภาพของผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี  ที่อยู่ในระยะ โรคเอดส์  ซึ่งระยะนี้ภูมิคุ้มกันของร่างกายจะถูกทำลายลงไปมาก ทำให้เป็นโรคต่างๆ ได้ง่าย  ไม่ว่าเกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือปรสิต ที่เรียกรวม ๆ ว่า โรคติดเชื้อฉวยโอกาส จนเกิดเป็นโรคต่าง ๆ ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง เมื่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอลง เชื้อโรคเหล่านี้จึงเข้าในร่างกายก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น ซึ่งผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยโรคเอดส์ อาจป่วยด้วยโรคติดเชื้อฉวยโอกาส ได้พร้อมกันมากกว่า 1 โรค

ใช้ชีวิตร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีอย่างไร ? ให้ปลอดภัย

ผู้ที่อาศัยอยู่กับผู้ติดเชื้อเอชไอวี หรือผู้ป่วยโรคเอดส์ โดยเฉพาะคนในครอบครัวนั้น เป็นบุคคลสำคัญที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี เพราะนอกจากคอยให้กำลังใจแล้ว ยังต้องดูแลผู้ป่วยให้มีพลานามัยสมบูรณ์ และสร้างสิ่งแวดล้อมบริเวณที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับผู้ป่วย เชื้อเอชไอวีติดต่อได้ผ่านทางเลือด การมีเพศสัมพันธ์ และจากมารดาสู่ทารกในครรภ์ แต่ผู้ที่อยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีก็ควรต้องป้องกันตนเองจากการติดเชื้อด้วยเช่นกัน

การดูแลตนเองของผู้ติดเชื้อเอชไอวี

การดูแลตนเองของผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องใส่ใจอย่างยิ่ง เนื่องจากการดูแลตนเองอย่างเหมาะสมสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการป่วยหรือแพร่เชื้อต่อผู้อื่นได้ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตและความพึงพอใจในการดำเนินชีวิตประจำวัน

การดูแลตนเองของผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีความสำคัญมาก เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีและลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อต่อผู้อื่น การรักษาตนเองด้วยยาและการดูแลร่างกายและสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงอย่างยิ่ง

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เรื่องที่ผู้ชายควรรู้

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นโรคใกล้ตัว ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใส่ถุงยางอนามัยมีโอกาสติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สูง เช่น หนองในแท้ หนองในเทียม เริม ซิฟิลิส หูดหงอนไก่ หรือติดเชื้อเอชไอวีจนพัฒนาไปสู่เอดส์ เพราะผู้ติดเชื้อบางรายก็ไม่แสดงอาการของโรคให้เห็นชัดเจน การป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์จึงเป็นเรื่องยาก และยังสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้อีกด้วย ซึ่งโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางโรคอาจรักษาให้หายได้ แต่บางโรคก็รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต  ดังนั้นการใช้ถุงยางอนามัยอาจเป็นทางเลือกที่ดีในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ แม้ไม่สามารถป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ 100 เปอร์เซ็นต์ก็ตาม เนื่องจากเชื้ออาจแพร่กระจายไปยังอวัยวะบริเวณอื่นได้ขณะทำกิจกรรมทางเพศ เช่น ทางปาก หรือทางทวารหนัก

ยาเพร็พ (PrEP) และยาเป๊ป (PEP) มีความแตกต่างกันอย่างไร?

ยาเพร็พ (PrEP-Pre-Exposure Prophylaxis)

คือ ยาที่ใช้ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี หรือกินก่อนที่จะไปติดเชื้อเอชไอวี โดยเริ่มกินเตรียมไว้ก่อนจะมีโอกาสสัมผัสเชื้อ โดยการรับประทานยาวันละหนึ่งเม็ดทุกวัน ตัวยาจะเข้าไปสะสมอยู่ในร่างกาย เมื่อตัวยาในร่างกายมีสูงมากพอจะสามารถป้องกันไม่ให้เชื้อเอชไอวีเกาะกับเม็ดเลือดขาวได้

ยาเป๊ป (PEP- Post-Exposure Prophylaxis)

คือ ยาต้านไวรัสฉุกเฉิน สำหรับผู้ที่เพิ่งสัมผัสเชื้อ ไม่เกิน 72 ชั่วโมง หรือ สำหรับผู้ไม่ติดเชื้อที่บังเอิญหรือมีความจำเป็น หรือไม่ตั้งใจแต่ไปสัมผัสเชื้อเอชไอวี มาแล้ว โดยต้องกินยาต้านให้เร็วที่สุดหลังสัมผัสเชื้อ

ระยะฟักตัว (Window period) คืออะไร?

ระยะฟักตัว (Window period)  คือ ช่วงเวลาที่อาจได้รับการติดเชื้อ เอชไอวี แล้ว แต่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ยังไม่ขึ้นถึงระดับที่จะสามารถตรวจพบเชื้อได้ หรือยังตรวจไม่พบ ดังนั้นหากเข้ารับการตรวจเอชไอวี ในช่วงระยะฟักตัว จะได้ผลเป็นลบ ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว คุณอาจติดเชื้อเอชไอวี แล้วก็ได้  ทำให้ผลที่ออกมานี้จะทำให้เข้าใจผิดคิดว่าตนเองไม่ติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งระยะที่ภูมิคุ้มกันของเราจะมีปฏิกิริยาต่อเชื้อเอชไอวีประมาณ 2-3 สัปดาห์ขึ้นไป เราจึงจำเป็นต้องรอระยะเวลาก่อน

ทำไมตรวจหาเชื้อเอชไอวีไม่เจอ เกิดขึ้นจากสาเหตุอะไร?

การตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวี  ถ้าผลตรวจออกมาเป็นลบ หรือไม่เจอเชื้อ ก็เป็นการได้เริ่มต้นป้องกันตัวเองอย่างจริงจัง หรือถ้าตรวจเจอเชื้อ ก็ถือว่าเป็นการรู้ตัวตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อได้เข้าสู่กระบวนการรักษาแต่เนิ่นๆ จะได้ไม่ป่วยหรือ เสียชีวิตจากโรคเอดส์ อีกทั้งสามารถป้องกันคนที่เรารักและคนอื่นๆ ไม่ให้ติดเชื้อเอชไอวีจากเราได้

ผลข้างเคียงของยาต้านไวรัสเอชไอวี แต่ละชนิด

ยาต้านไวรัสเอชไอวี มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อเอชไอวีในกระแสเลือด เมื่อจำนวนเชื้อลดลง  ร่างกายก็สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้มากขึ้น   โอกาสในการเจ็บป่วยด้วยโรคฉวยโอกาสจึงลดลง เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยส่วนมากสามารถทำงานและดำรงชีวิตตามปกติได้  และการเสียชีวิตจากโรคฉวยโอกาสก็เป็นไปได้น้อย

ตรวจเอชไอวี กี่วันรู้ผล ?

ตรวจเอดส์ กี่วันรู้ผล ขึ้นอยู่ กับวิธีตรวจ จำนวน คนเข้ารับการตรวจ และขึ้นอยู่ กับสถานพยาบาลนั้น โดยทั่วไป การตรวจเอชไอวี จะสามารถ ทราบผลได้ใน 1-2  หรืออาจจะนัดฟังผล อีกวัน หรือนัดมา อีกสัปดาห์

ปัจจุบัน มีการตรวจแบบ Rapid HIV Test ซึ่งนิยม นำมาใช้ ในการตรวจคัดกรอง เบื้องต้น วิธีการตรวจรูปแบบ นี้จะสามารถให้ผลตรวจ ได้ภายใน 20 นาทีเท่านั้น การตรวจด้วยวิธีการนี้ ถือว่า มีความรวดเร็ว ในการตรวจ กว่าวิธีอื่น ๆ จึงมีการใช้วิธีนี้เป็นเป็นเพียงการตรวจเพื่อคัดกรองเบื้องต้นเท่านั้น

การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีมีความสำคัญอย่างไร?

เมื่อร่างกายได้รับเชื้อไวรัสเอชไอวี และเชื้อเข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย  โดยจะทำลายเม็ดเลือดขาวชนิดที่เรียกว่า CD4  ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำลง หากไม่ได้รับการรรักษา จะทำให้เกิดภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง และทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสต่างๆ เช่น ปอดอักเสบ วัณโรค เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น 

ด้วยปัจจุบันมีการพัฒนายารักษาคนที่ติดเชื้อเอชไอวี สามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติทั่วไป  หากผู้ติดเชื้อเอชไอวี เริ่มทานยาต้านไวรัสโดยเร็ว  และทานยาสม่ำเสมอ ตรงเวลา โดยโรคเอดส์นี้เป็นโรคที่เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดได้  ก่อนที่เราจะไปทราบการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี เราต้องควรรู้ไว้ว่าโรคเอดส์ติดต่อได้ทางไหนบ้าง