U=U : ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่

แนวคิด U=U ได้เป็นที่รู้จัก และเป็นที่ยอมรับในวงกว้างที่เกี่ยวกับ HIV/AIDS ร่วมกับการพัฒนาของการรักษาด้านการต้านไวรัส ความเข้าใจเกี่ยวกับ U=U มีความสำคัญมากในการลดความเครียดและเสริมสุขภาพจิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวี โดยเฉพาะผู้ที่มีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี

ผู้ติดเชื้อเอชไอวี มีความเสี่ยงต่อสุขภาพจิตหรือไม่?

การติดเชื้อเอชไอวี ไม่เพียงแต่มีผลกระทบต่อร่างกายเท่านั้น แต่ยังมีผลกระทบต่อสุขภาพจิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวีด้วย ฉะนั้นผู้ติดเชื้อเอชไอวีควรต้องรับมือกับความเครียด และปัญหาทางจิตใจที่อาจเกิดขึ้นหลังการตรวจพบว่าตนเองติดเชื้อเอชไอวี ถึงวิธีการจัดการปัญหาดังกล่าวเพื่อความสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ

ความสำคัญของการเพิ่มค่า CD4 ในผู้ติดเชื้อเอชไอวี

เมื่อเชื้อเอชไอวี เข้าทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรค และเชื้อไวรัสต่าง ๆ เมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาว ถูกทำลายจนอ่อนแอลงเรื่อย ๆ จนไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้ และทำให้การติดเชื้อเอชไอวี พัฒนากลายเป็นโรคเอดส์ (AIDS) เต็มขั้นในที่สุด ฉะนั้นการตรวจวัดจำนวน CD3/CD4/CD8 ในกระแสเลือด ซึ่งเป็น CD ที่มีความจำเพาะกับเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันชนิดที่ต้องมีการกระตุ้น ( Adaptive Immune Response ) คือ กลุ่มเม็ดเลือดขาว ชนิดที่สร้างแอนติบอดี ( B cells ) หรือ กลุ่มเม็ดเลือดขาวที่เป็นหน่วยความจำ ( T cells ) และมีความสำคัญต่อการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย

การป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาส ในผู้ติดเชื้อเอชไอวี

ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่มีความเสี่ยงสูงสุดต่อโรคติดเชื้อฉวยโอกาส ต่อเมื่อจำนวนเซลล์ CD4 ที่ต่อสู้กับการติดเชื้อลดลงต่ำกว่า 200 อย่างไรก็ตาม โรคติดเชื้อฉวยโอกาส บางตัวสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อจำนวน CD4 ของบุคคลต่ำกว่า 500 นั่นเป็นเพราะระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอทำให้ร่างกายยากที่จะต่อสู้กับโรคติดเชื้อฉวยโอกาส ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับติดเชื้อเอชไอวี

การป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาส

การป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาสมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดูแลร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งรวมถึง:

การรักษาด้วยยาต้านไวรัส ART

ยาต้านไวรัส (Antiretroviral Therapy หรือ ART) คือ การรักษาเอชไอวี ด้วยยาต้านไวรัสหลายชนิดรวมกัน เพื่อควบคุมเชื้อเอชไอวีในร่างกายไม่ให้เพิ่มจำนวน ซึ่งต้องกินให้ครบ ตรงเวลา และไม่สามารถหยุดยาได้เอง การรักษาด้วยยาต้านไวรัสจะได้ผลก็ต่อเมื่อกินยาครบและตรงเวลา และปฏิบัติตนตามคำสั่งของแพทย์

การตรวจเอชไอวี เพื่อประโยชน์ทางสุขภาพ ได้ที่ ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก

การตรวจเอชไอวี เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะการจะรู้สถานะของตนเองว่าติดเชื้อเอชไอวี หรือไม่นั้น จะต้องทำการตรวจหาเชื้อเอชไอวี เพียงวิธีอย่างเดียว  ซึ่งต้องทำการตรวจเอชไอวี ถ้ารู้ว่าตนเองเคยมีโอกาสติดเชื้อ หรือเคยมีพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้ได้รับเชื้อเอชไอวีมา ควรเข้ารับการตรวจเอชไอวีโดยเร็วที่สุด อย่านิ่งนอนใจ เพราะหากมีการติดเชื้อเอชไอวี อาจทำให้เชื้อเอชไอวีมีความรุนแรงมากขึ้น และจะกลายเป็นโรคเอดส์ ที่ทำการรักษาได้ยาก หรือไม่ทันการณ์แล้วนั้น และถ้าหากพบเชื้อก็จะได้วางแผนการรักษา และดูแลตัวเองได้ทันก่อนที่อาการจะลุกลามมากขึ้น

ถาม-ตอบ เกี่ยวกับเชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์

คำถาม : ทำไมต้องไปตรวจหาเชื้อเอชไอวี?

การทราบสถานะการติดเชื้อเอชไอวีของตัวเองเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะดูแลสุขภาพของตัวเองและคู่ของตัวเอง เพราะถ้ารู้ว่าติดเชื้อเอชไอวีเร็วเท่าใด ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสให้มีชีวิตที่ยืนยาว และมีสุขภาพที่ดีได้มากยิ่งขึ้นด้วย ทั้งนี้ยังมีผู้ติดเชื้อเอชไอวี จำนวนมากที่ยังไม่ทราบว่าตัวเองติดเชื้อเอชไอวี อาจจะแพร่เชื้อไปให้ผู้อื่นโดยไม่ตั้งใจ ดังนั้น หากมีเพศสัมพันธ์ หรือมีความพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ก็ควรไปตรวจหาเชื้อเอชไอวี

ข้อดีจากการตรวจหาเชื้อเอชไอวี

การตรวจหาเชื้อเอชไอวี (HIV) คือ การนำสารคัดหลั่งจากร่างกายไปตรวจหาเชื้อเอชไอวี ในห้องปฏิบัติการ โดยสามารถเก็บตัวอย่างได้จากการขูดเซลล์ หรือน้ำลายในช่องปาก แต่ที่นิยมในปัจจุบัน ก็คือ การตรวจจากเลือด ซึ่งมีให้บริการทั่วไปตามคลินิกและโรงพยาบาลต่างๆ นอกจากนี้หากไม่ต้องการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว ก็สามารถปรึกษาเภสัชกรเพื่อซื้อชุดตรวจเอชไอวี แบบตรวจด้วยตัวเองมาใช้ได้ แต่หากได้รับผลเป็นบวกก็ยังคงต้องตรวจยืนยันผลอีกครั้งในห้องปฏิบัติการเช่นกัน

โรคติดเชื้อฉวยโอกาส ในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี

โรคติดเชื้อฉวยโอกาส (Opportunistic Infectione)  คือ ภาวะสุขภาพของผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี  ที่อยู่ในระยะ โรคเอดส์  ซึ่งระยะนี้ภูมิคุ้มกันของร่างกายจะถูกทำลายลงไปมาก ทำให้เป็นโรคต่างๆ ได้ง่าย  ไม่ว่าเกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือปรสิต ที่เรียกรวม ๆ ว่า โรคติดเชื้อฉวยโอกาส จนเกิดเป็นโรคต่าง ๆ ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง เมื่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอลง เชื้อโรคเหล่านี้จึงเข้าในร่างกายก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น ซึ่งผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยโรคเอดส์ อาจป่วยด้วยโรคติดเชื้อฉวยโอกาส ได้พร้อมกันมากกว่า 1 โรค

ใช้ชีวิตร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีอย่างไร ? ให้ปลอดภัย

ผู้ที่อาศัยอยู่กับผู้ติดเชื้อเอชไอวี หรือผู้ป่วยโรคเอดส์ โดยเฉพาะคนในครอบครัวนั้น เป็นบุคคลสำคัญที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี เพราะนอกจากคอยให้กำลังใจแล้ว ยังต้องดูแลผู้ป่วยให้มีพลานามัยสมบูรณ์ และสร้างสิ่งแวดล้อมบริเวณที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับผู้ป่วย เชื้อเอชไอวีติดต่อได้ผ่านทางเลือด การมีเพศสัมพันธ์ และจากมารดาสู่ทารกในครรภ์ แต่ผู้ที่อยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีก็ควรต้องป้องกันตนเองจากการติดเชื้อด้วยเช่นกัน