U=U : ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่

แนวคิด U=U ได้เป็นที่รู้จัก และเป็นที่ยอมรับในวงกว้างที่เกี่ยวกับ HIV/AIDS ร่วมกับการพัฒนาของการรักษาด้านการต้านไวรัส ความเข้าใจเกี่ยวกับ U=U มีความสำคัญมากในการลดความเครียดและเสริมสุขภาพจิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวี โดยเฉพาะผู้ที่มีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี

หญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อเอชไอวีต้องทำอย่างไร?

การติดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกเป็นสาเหตุหลักของการติดเชื้อเอชไอวีในเด็ก กรณีไม่ได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวีระหว่างตั้งครรภ์ มีโอกาสถ่ายทอดเชื้อให้ทารกสูงมาก ซึ่งการติดเชื้อเอชไอวีไม่เพิ่มความพิการแต่กำเนิดของทารกในครรภ์ แต่การติดเชื้อเอชไอวีเพิ่มอัตราการแท้งบุตร ทารกโตช้าในครรภ์ การคลอดก่อนกำหนด ทารกน้ำหนักน้อย ทารกตายตอนคลอด และตายปริกำเนิด

แต่หากหญิงตั้งครรภ์ได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวี ในช่วงระหว่างตั้งครรภ์ที่เหมาะสม จะเป็นการเพิ่มภูมิต้านทาน สามารถลดจำนวนเชื้อไวรัส และลดอัตราการถ่ายทอดเชื้อจไวรัสจากแม่สู่ทารก ฉะนั้นการดูแลหญิงตั้งครรภ์ เพื่อวางแผนการให้ยาต้านไวรัส วางแผนการคลอดเพื่อลดการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ทารกในครภ์ และรวมถึงการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องหลังการคลอดบุตรทั้งแม่ และทารกด้วย

ผู้ติดเชื้อเอชไอวี มีความเสี่ยงต่อสุขภาพจิตหรือไม่?

การติดเชื้อเอชไอวี ไม่เพียงแต่มีผลกระทบต่อร่างกายเท่านั้น แต่ยังมีผลกระทบต่อสุขภาพจิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวีด้วย ฉะนั้นผู้ติดเชื้อเอชไอวีควรต้องรับมือกับความเครียด และปัญหาทางจิตใจที่อาจเกิดขึ้นหลังการตรวจพบว่าตนเองติดเชื้อเอชไอวี ถึงวิธีการจัดการปัญหาดังกล่าวเพื่อความสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ

ความสำคัญของการเพิ่มค่า CD4 ในผู้ติดเชื้อเอชไอวี

เมื่อเชื้อเอชไอวี เข้าทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรค และเชื้อไวรัสต่าง ๆ เมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาว ถูกทำลายจนอ่อนแอลงเรื่อย ๆ จนไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้ และทำให้การติดเชื้อเอชไอวี พัฒนากลายเป็นโรคเอดส์ (AIDS) เต็มขั้นในที่สุด ฉะนั้นการตรวจวัดจำนวน CD3/CD4/CD8 ในกระแสเลือด ซึ่งเป็น CD ที่มีความจำเพาะกับเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันชนิดที่ต้องมีการกระตุ้น ( Adaptive Immune Response ) คือ กลุ่มเม็ดเลือดขาว ชนิดที่สร้างแอนติบอดี ( B cells ) หรือ กลุ่มเม็ดเลือดขาวที่เป็นหน่วยความจำ ( T cells ) และมีความสำคัญต่อการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย

การป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาส ในผู้ติดเชื้อเอชไอวี

ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่มีความเสี่ยงสูงสุดต่อโรคติดเชื้อฉวยโอกาส ต่อเมื่อจำนวนเซลล์ CD4 ที่ต่อสู้กับการติดเชื้อลดลงต่ำกว่า 200 อย่างไรก็ตาม โรคติดเชื้อฉวยโอกาส บางตัวสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อจำนวน CD4 ของบุคคลต่ำกว่า 500 นั่นเป็นเพราะระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอทำให้ร่างกายยากที่จะต่อสู้กับโรคติดเชื้อฉวยโอกาส ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับติดเชื้อเอชไอวี

การป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาส

การป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาสมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดูแลร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งรวมถึง:

การรักษาด้วยยาต้านไวรัส ART

ยาต้านไวรัส (Antiretroviral Therapy หรือ ART) คือ การรักษาเอชไอวี ด้วยยาต้านไวรัสหลายชนิดรวมกัน เพื่อควบคุมเชื้อเอชไอวีในร่างกายไม่ให้เพิ่มจำนวน ซึ่งต้องกินให้ครบ ตรงเวลา และไม่สามารถหยุดยาได้เอง การรักษาด้วยยาต้านไวรัสจะได้ผลก็ต่อเมื่อกินยาครบและตรงเวลา และปฏิบัติตนตามคำสั่งของแพทย์

การตรวจเอชไอวี เพื่อประโยชน์ทางสุขภาพ ได้ที่ ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก

การตรวจเอชไอวี เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะการจะรู้สถานะของตนเองว่าติดเชื้อเอชไอวี หรือไม่นั้น จะต้องทำการตรวจหาเชื้อเอชไอวี เพียงวิธีอย่างเดียว  ซึ่งต้องทำการตรวจเอชไอวี ถ้ารู้ว่าตนเองเคยมีโอกาสติดเชื้อ หรือเคยมีพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้ได้รับเชื้อเอชไอวีมา ควรเข้ารับการตรวจเอชไอวีโดยเร็วที่สุด อย่านิ่งนอนใจ เพราะหากมีการติดเชื้อเอชไอวี อาจทำให้เชื้อเอชไอวีมีความรุนแรงมากขึ้น และจะกลายเป็นโรคเอดส์ ที่ทำการรักษาได้ยาก หรือไม่ทันการณ์แล้วนั้น และถ้าหากพบเชื้อก็จะได้วางแผนการรักษา และดูแลตัวเองได้ทันก่อนที่อาการจะลุกลามมากขึ้น

ถาม-ตอบ เกี่ยวกับเชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์

คำถาม : ทำไมต้องไปตรวจหาเชื้อเอชไอวี?

การทราบสถานะการติดเชื้อเอชไอวีของตัวเองเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะดูแลสุขภาพของตัวเองและคู่ของตัวเอง เพราะถ้ารู้ว่าติดเชื้อเอชไอวีเร็วเท่าใด ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสให้มีชีวิตที่ยืนยาว และมีสุขภาพที่ดีได้มากยิ่งขึ้นด้วย ทั้งนี้ยังมีผู้ติดเชื้อเอชไอวี จำนวนมากที่ยังไม่ทราบว่าตัวเองติดเชื้อเอชไอวี อาจจะแพร่เชื้อไปให้ผู้อื่นโดยไม่ตั้งใจ ดังนั้น หากมีเพศสัมพันธ์ หรือมีความพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ก็ควรไปตรวจหาเชื้อเอชไอวี

ชายรักชายมีเพศสัมพันธ์อย่างไรให้ปลอดภัย

การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยในชายรักชาย นอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงในการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แล้ว ยังอาจช่วยป้องกันการแพร่เชื้อไปยังคู่นอนของตัวเองได้ด้วย เพราะโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางโรค  หากมีการติดเชื้อในระยะเริ่มต้น อาจยังไม่แสดงอาการ จึงทำให้ชายรักชายแพร่เชื้อไปให้คู่นอนของตัวเองได้โดยไม่รู้ตัว  เนื่องมาจากการมีเพศสัมพันธ์ ของชาย รักชาย  นั้นมีโอกาสเสี่ยงมากกว่า เนื่องจากทวารหนักไม่ใช่ช่องทางธรรมชาติเหมือนกับช่องคลอดที่มีความยืดหยุ่น กว่า เมื่อมีเพศสัมพันธ์ที่รุนแรงอาจทำให้ทวารหนักฉีกขาดหรือมีบาดแผล จึงเป็นช่องทางให้เชื้อโรคเข้าได้ จนเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น หนองใน หนองในเทียม เอชไอวี ซิฟิลิส ซึ่งอาจส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อย ที่ส่งผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์ และทารกในครรภ์

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นโรคที่สามารถพบได้บ่อยในสตรีตั้งครรภ์ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการตั้งครรภ์แตกต่างกันไปและอาจเกิดอันตรายต่อสตรีตั้งครรภ์ และทารกในครรภ์ได้ โดยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อาจจะได้รับเชื้อในขณะที่ยังไม่ได้ตั้งครรภ์ หรืออาจจะได้รับเชื้อในขณะที่ตั้งครรภ์แล้วก็ได้

โรคติดต่อทางเพศสัมพันที่มีอาการแสดงมักจะได้รับการรักษา แต่โรคหลายชนิดที่ไม่มีอาการแสดง สามารถแฝงตัวในร่างกายนานเป็นสิบปี โดยไม่มีอาการปรากฏให้เห็น ทำให้ผู้หญิงส่วนใหญ่จึงละเลยไม่ใส่ใจ ไม่รักษา หรือดูแลตัวเองอย่างถูกต้องเหมาะสม ในระยะยาว เชื้อโรคเหล่านี้อาจมีผลต่อการตั้งครรภ์ และทารกที่จะเกิดมา ฉะนั้นสตรีตั้งครรภ์จึงควรได้รับการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การรักษา การป้องกัน และให้คำแนะนำอย่างถูกต้อง