โรคในผู้สูงอายุ

เมื่อก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ แน่นอนว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่ จะมีการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน ทั้งทางสมอง ทางอารมณ์ และทางร่างกายที่อาจถดถอยลงไม่เหมือนตอนวัยหนุ่มสาว ซึ่งเมื่อร่างกายทำงานเสื่อมลง ก็เปิดทางให้โรคต่างๆ เข้ามาได้ง่าย ถึงแม้จะดูแลตนเองดีแค่ไหน แต่เรื่องของการเจ็บป่วยของวัยนี้ค่อนข้างห้ามยาก

โรคเกาต์

โรคเกาต์ (Gout) คือ โรคข้ออักเสบจำเพาะที่เกิดเนื่องจากมีระดับกรดยูริก (Uric acid)  ในเลือดสูงกว่าปกติ และสะสมอยู่ในร่างกายเป็นเวลานานจนร่างกายขับออกทางไตไม่ทัน ทำให้มีการตกผลึกยูเรต (Monosodium Urate, MSU) ในข้อ ก่อให้เกิดอาการข้ออักเสบขึ้น หากมีการตกตะกอนในกระดูกอ่อน  เนื้อเยื่อต่างๆ รอบข้อ และใต้ผิวหนัง จะเกิดเป็นก้อนตะปุ่มตะป่ำตามตำแหน่งต่างๆ เรียกว่า โทฟัส (tophus) ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อในข้อ ส่งผลให้มีอาการปวด บวม แดงบริเวณข้ออย่างเฉียบพลันรุนแรงอย่างรวดเร็วในเวลา 12 – 24 ชั่วโมง

โรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) เป็นโรคกระดูกชนิดหนึ่งที่สามารถเกิดได้กับกระดูกทั่วทั้งร่างกาย ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดจากการเสื่อมหรือบางลงของกระดูก เนื่องจากสูญเสียแคลเซียมที่สะสมในกระดูก ส่งผลให้กระดูกเปราะหรือหักได้ง่าย โรคนี้มักไม่แสดงอาการหรือก่อให้เกิดความเจ็บปวดใดๆ นอกจากกระดูกแตกหรือหัก ซึ่งพบได้บ่อยในบริเวณกระดูกสันหลัง สะโพก และกระดูกข้อมือ

เรื่องควรรู้เกี่ยวกับการตรวจหาเชื้อโรคโควิด

ปัจจุบันมีวิธีการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ค่อนข้างหลากหลาย โดยวิธีที่เป็นที่รู้จักกันจะเป็นการตรวจแบบเร่งด่วน Antigen Test Kit (ATK) ที่เน้นความสะดวกรวดเร็ว ราคาไม่แพง และแบบ RT-PCR (Real Time PCR)  ที่ให้ผลได้แม่นยำกว่า แต่ต้องรอผลตรวจนานมากขึ้น  เหมาะสำหรับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง มีประวัติใกล้ชิดกับผู้ป่วย หรือมีอาการที่บ่งบอกถึงการติดเชื้อโควิด-19  โดยการตรวจหาเชื้อ โควิด-19 ด้วยวิธีจะใช้การเก็บสารคัดหลั่งที่โพรงจมูก  หรือลำคอด้วยการ Swab

การตรวจสุขภาพมีความสำคัญอย่างไร?

การตรวจสุขภาพ คือ พื้นฐานการดูแลคุณภาพชีวิตให้ดำรงอยู่ได้นานๆ แต่หลายคนกลับยังไม่เข้าใจว่า เราต้องตรวจอะไร ตรวจเมื่อไหร่ ตรวจแล้วดีอย่างไร

ปัจจุบันการตรวจสุขภาพมีความสำคัญ  เนื่องจากบางโรคระยะเริ่มต้นไม่มีอาการแสดงให้ทราบ  การตรวจพบปัญหาในระยะแรกเริ่มจะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพที่ดีกว่า

โรคนิ่วในไต

โรคนิ่วในไต (Kidney Stones) นิ่วในไตคือโรคที่เกิดจากการสะสมของแร่ธาตุแข็งชนิดต่าง ๆ  ที่รวมตัวกันเป็นก้อน ก้อนนิ่วมีชนิดและขนาดที่แตกต่างกันไป โดยมักเกิดขึ้นบริเวณไตและระบบทางเดินปัสสาวะ หากก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่จนไปปิดกั้นและสร้างแผลบาดเจ็บที่ท่อไต และอาจส่งผลให้ปัสสาวะออกมาเป็นเลือดและอาจสร้างความเจ็บปวดทรมานให้ผู้ป่วยได้อย่างมาก หรือ ถ้านิ่วนั้นหลุดออกมาอยู่ในท่อปัสสาวะก็มักเรียกว่านิ่วในท่อปัสสาวะ

โรคไตเรื้อรัง

โรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease)  คือ สภาวะที่ไตถูกทำลาย มีผลทำให้ความสามารถของไตในการทำงานลดลง โดยดูจากค่าอัตราการกรองของไตที่ผิดปกติ (estimated Glomerular Filtration Rate, eGFR) หรือไตมีภาวะผิดปกติ เช่น การรักษาสมดุลของเหลวในร่างกาย การควบคุมน้ำและแร่ธาตุต่างๆ ในเลือด การกำจัดของเสียออกจากเลือด การกำจัดยาและพิษออกจากร่างกาย การหลั่งฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือด  มีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ หรือมีความผิดปกติทางรังสีวิทยา เป็นต้น ในระยะเวลามากกว่า 3 เดือนขึ้นไป  เป็นต้น 

โรคตับ

โรคตับ (Liver disease)  เป็นโรคที่เกิดจากการที่ตับได้รับบาดเจ็บ หรือเกิดแผลเป็นแบบถาวร จนทำให้เป็นพังผืดขึ้นในเนื้อตับ ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของตับช้าลง เริ่มตั้งแต่การผลิตโปรตีน การจัดการกับสารพิษในร่างกาย การไหลเวียนของเลือดที่ไหลผ่านตับไม่สะดวก หรือบางกรณีอาจปิดกั้นไปเลยก็มี ขึ้นอยู่กับอาการว่าเป็นหนักหนาแค่ไหน ทำให้ระบบการทำงานของร่างกายแปรปรวน และอาจนำพาให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมาได้เช่นกัน เช่น เลือดออกง่าย และมีของเสียต่างๆสะสมในร่างกาย จนนำไปสู่การเสียชีวิตได้

โรคธาลัสซีเมีย

โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) คือ โรคโลหิตจางทางพันธุกรรม  โรคนี้เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยพ่อและ/หรือแม่สามารถส่งต่อพันธุกรรมนี้มายังต่อลูก พบได้ทั้งเพศชายและเพศหญิงซึ่งเกิดจากความผิดปกติของยีน (Gene) ทำให้กระบวนการสร้างฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ในเม็ดเลือดแดงมีความผิดปกติ ในเม็ดเลือดแดง ทำให้ผลิตเม็ดเลือดแดงได้น้อย มีเม็ดเลือดแดงที่อายุสั้นและแตกง่าย และทำให้ขาดเม็ดเลือดแดงที่ทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ส่งผลให้เกิดภาวะโลหิตจางเรื้อรัง (Anemia)   เรื้อรังตั้งแต่กำเนิดไปจนตลอดชีวิต

โรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออก (Dengue Hemorrhagic Fever) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี  โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค มักพบในประเทศเขตร้อนและระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี อาการของโรคไข้เลือดออกมีตั้งแต่ไม่มีอาการผิดปกติ และอาการของโรคไข้เลือดออกแม้จะไม่รุนแรง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจนทำให้เสียชีวิตได้