โรคในเด็กที่พบบ่อย ที่พ่อแม่ควรเฝ้าระวัง

วัยเด็ก เป็นช่วงวัยที่ต้องดูแลใส่ใจในเรื่องของสุขภาพเป็นพิเศษ เพราะระบบภูมิต้านทานในร่างกายของเด็ก ๆ นั้นไม่เหมือนกับผู้ใหญ่  และมีภูมิคุ้มกันไม่มากเท่ากับในผู้ใหญ่ ดังนั้นในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงหรือช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสต่าง ๆ เด็กๆมักมีเรื่องเจ็บป่วยอยู่เสมอ เราจึงอยากแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่รู้จักกับโรคในเด็กต่างๆ ที่ถือเป็นวายร้ายของเจ้าตัวน้อย พร้อมลักษณะอาการ เพื่อให้เตรียมรับมือได้อย่างดีที่สุดหากเกิดขึ้นกับลูกรักของคุณ เพื่อการป้องกัน และรู้เท่าทันอาการ หากลูกป่วยหรือมีการติดเชื้อต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น โรคไข้หวัดในเด็ก, โรคมือเท้าปาก, โรค RSV, โรคอีสุกอีใส, โรคหัด, โรคเฮอร์แปงไจน่า และโรคติดเชื้อทางเดินหายใจจากเชื้อแบคทีเรียไมโครพลาสม่า เป็นต้น

โรคอ้วนเสี่ยงต่อการเกิดโรคอะไรบ้าง?

เมื่อร่างกายของคนเรามีการสะสมของไขมันในส่วนต่างๆมากกว่าปกติ นอกจากจะทำให้สูญเสียความมั่นใจในรูปร่างแล้วนั้น โรคอ้วน และภาวะอ้วนลงพุง ส่งผลกระทบต่อร่างกายได้ในหลาย ๆ ส่วน บางโรคอาจจะแสดงอาการให้เห็นชัดเจน ในขณะที่บางโรคก็อาจไม่แสดงอาการภายนอกแต่ส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว   

ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคร้าย หรือโรคเรื้อรังต่าง ๆ ตามมาได้ในอนาคต  เช่น โรคหัวใจ และหลอดเลือด, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคความดันโลหิตสูง, โรคไขมันในเลือดสูง, โรคเบาหวาน, โรคไขมันพอกตับ, โรคหยุดหายใจขณะหลับ เป็นต้น

โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis) เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง  ชนิดหนึ่งมีอาการเป็นๆ หายๆ โดยมีอาการคันมากตลอดเวลา โดยเฉพาะเวลากลางคืน  ผิวหนังแห้ง อักเสบ และมีอาการกำเริบเป็นระยะๆผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีแนวโน้มทางพันธุกรรมอยู่เป็นพื้นฐาน ผู้ป่วยมักมีประวัติแพ้อากาศ ไอ จามบ่อยๆ หอบหืดหรือเยื่อบุตาอักเสบ โดยเฉพาะเวลาที่อากาศรอบตัวเปลี่ยนแปลงคนในครอบครัวของผู้ป่วยมักมีประวัติ โรคภูมิแพ้ เช่น แพ้อากาศ ไอ จามบ่อยๆ หอบหืด หรือผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ 

โรคมะเร็งปากมดลูก

โรคมะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นในเซลล์ปากมดลูกซึ่งอยู่บริเวณช่วงล่างของมดลูก และเชื่อมต่อกับช่องคลอด โรคมะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส ชนิดฮิวแมนแปปปิโลมาไวรัส หรือเอชพีวี ซึ่งมักจะติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เมื่อร่างกายได้รับเชื้อไวรัสเอชพีวีเป็นครั้งแรก ระบบภูมิคุ้มกันจะพยายามปกป้องร่างกายจากการติดเชื้อไวรัส อย่างไรก็ตามเชื้อไวรัสเอชพีวี อาจทำให้เซลล์ที่ปากมดลูกเกิดความผิดปกติ และกลายเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด 

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) เป็นหนึ่งในกลุ่มโรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infection : UTI) ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียจากบริเวณรอบท่อปัสสาวะ สามารถพบได้ในทุกเพศ ทุกวัย โดยทั่วไปจะพบในช่วงเจริญพันธุ์ คือ อายุ 17 ถึง 50 ปี และ  เฉพาะพนักงานออฟฟิศ หรือคนที่นั่งโต๊ะทำงาน เนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ปรับเปลี่ยน ทำให้บ่อยครั้ง ต้องมีการอั้นปัสสาวะเป็นระยะเวลานานๆ หรือเร่งรีบเบ่งปัสสาวะซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรค และ พบได้บ่อยในสตรีมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้นประมาณ 45 ซม. และมีลักษณะแบบเปิดบริเวณอวัยวะเพศทำให้มีโอกาสติดเชื้อตอนมีเพศสัมพันธ์เข้าสู่กระเพาะปัสสาวะจนเกิดการอักเสบได้ง่ายกว่า

โรคไมเกรน

โรคไมเกรน (Migraine )เป็นโรคปวดหัวชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นการปวดศีรษะที่รบกวนชีวิตประจำวัน โดยมีลักษณะการปวดแบบตุบๆ เป็นจังหวะ มักจะเกิดข้างเดียวของศีรษะ แต่ก็สามารถเป็นทั้งสองข้างได้ โดยอาการปวดในช่วงแรกมักมีความรุนแรงเพียงเล็กน้อย และจะค่อยๆ เพิ่มความรุนแรงขึ้น ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนแรง และไวต่อแสง เสียง หรือกลิ่นมากขึ้น

เตือนระวัง ไวรัส RSV ภัยร้ายใกล้ตัวเด็ก

ไวรัส RSV เป็นไวรัสชนิดที่มีเปลือกหุ้ม มีชื่อเต็มว่า Respiratory Syncytial Virus  เป็นไวรัสชนิดหนึ่งที่ก่อโรคทางระบบทางเดินหายใจ ที่พบบ่อยในเด็กโดยเฉพาะเด็กเล็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่าง

สาเหตุมาจากไข้หวัด หลอดลมอักเสบ ซึ่งพบได้บ่อยในเด็ก ส่วนมากอาการไม่รุนแรง มักหายป่วยภายใน 1 – 2 สัปดาห์ แต่อาจจะพบว่ามีอาการรุนแรงได้ในเด็กเล็ก โดยเฉพาะเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี เด็กคลอดก่อนกำหนด เด็กที่เป็นโรคหัวใจ หรือโรคปอดร่วมด้วย นอกจากนี้การติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวีในผู้สูงอายุ อาจทำให้เกิดอาการรุนแรงเช่นเดียวกับเด็กเล็กได้

โรคออฟฟิศซินโดรม

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คือ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ และเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) ซึ่งมักเกิดจากการที่ต้องใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำไปมา เป็นระยะเวลานานและต่อเนื่อง โดยผลของมันจะทำให้กล้ามเนื้อเกิดการอักเสบ ตลอดจนปวดเมื่อยตามอวัยวะส่วนอื่น ๆ ไล่ลงมาตั้งแต่คอ หลัง บ่า ไหล่ แขน หรือแม้กระทั่งบริเวณข้อมือก็ไม่เว้น ซึ่งหากผู้ที่พบว่ามีอาการของโรคออฟฟิศซินโดรม แต่ไม่ทำการรักษาตัวในทันทีที่พบ อาการอาจทรุดหนักลงและลุกลามจนผู้ป่วยมีอาการปวดชนิดเรื้อรังก็เป็นได้

ระบบภูมิคุ้มกัน คืออะไร?

ระบบภูมิคุ้มกัน (Immune System) คือ เป็นกลไกการทำงานของร่างกายระบบหนึ่ง ที่เป็นกลไกตามธรรมชาติของร่างกายที่ทำหน้าที่ป้องกัน หรือต่อต้านไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย หรือเกิดการติดเชื้อจากเชื้อโรคเหล่านั้น หรือคอยช่วยเหลือไม่ให้เกิดการเจ็บป่วยจากสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย โดยสิ่งแปลกปลอมทั้งภายนอก ได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา หรือสารพิษจากจุลินทรีย์ หรือจากความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย เช่น เนื้องอก หรือเซลล์มะเร็ง

โรคพิษสุนัขบ้า

โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) หรือโรคกลัวน้ำ (Hydrophobia) คือ โรคติดเชื้อในระบบประสาทและเยื่อบุสมอง เป็นโรคที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน ที่มีอันตรายร้ายแรง โดยผู้ป่วยที่สัมผัสกับสัตว์ติดเชื้อ จะได้รับเชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าในตระกูล Rhabdoviridae ผ่านทางน้ำลายของสัตว์ที่กัด 

ซึ่งโรคพิษสุนัขบ้า ทำให้เกิดโรคได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นคน สุนัข แมว ลิง กระรอก ค้างคาว สุนัขจิ้งจอก สกังก์ แรคคูน พังพอน ฯลฯ พาหะนำโรคที่สำคัญในประเทศไทย คือ สุนัข ประมาณ 90% รองลงมาคือแมว ส่วนในต่างประเทศมักเกิดจากสัตว์ป่ากินเนื้อต่าง ๆ เช่น สุนัขจิ้งจอก สุนัขป่า Jaguar ฯลฯ และสำหรับในแถบประเทศลาตินอเมริกานั้น ยังพบพาหะที่สำคัญคือ ค้างคาวดูดเลือด (Vampire bat)