ความสำคัญของกลิ่นเหม็นจากช่องคลอดผู้หญิง

ช่องคลอดมีกลิ่นอาจเป็นเรื่องที่ผู้หญิงหลายคนกังวลใจ แต่รู้หรือไม่ว่าโดยปกติแล้วผู้หญิงอาจจะมีกลิ่นในช่องคลอดได้เล็กน้อย หรือบางครั้งไม่มีกลิ่นเลย   แต่หากมีกลิ่นฉุนเหม็นคาวมาก มีตกขาวผิดไปจากปกติ และมีอาการคัน หรือระคายเคืองบริเวณช่องคลอดร่วมด้วย นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนว่ากำลังมีโรคหรือความผิดปกติที่ไม่ควรละเลย การรับรู้กลิ่นในช่องคลอดเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ผู้หญิง สามารถดูแล และรักษาที่เหมาะสม เพราะกลิ่นไม่พึงประสงค์จากช่องคลอดอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น สุขอนามัย การอักเสบ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งการรักษาจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ในบางกรณีอาจดูแลรักษาได้ด้วยตนเอง แต่ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อเข้าตรวจสอบหาสาเหตุและรับคำแนะนำในการรักษาอย่างเหมาะสม

ฮอร์โมน คืออะไร? และสำคัญต่อร่างกายอย่างไร?

ฮอร์โมน (Hormone) คือ สารเคมีที่ร่างกายผลิตขึ้นมาจากต่อมไร้ท่อ (endocrine glands)  หรือเนื้อเยื่อ และลำเลียงไปตามกระแสเลือดไปยังเซลล์และอวัยวะต่างๆ ช่วยในการสื่อสารระหว่างเซลล์ ทำหน้าที่ร่วมกับอวัยวะต่างๆ และควบคุมระบบของร่างกายให้ทำงานได้อย่างปกติ  โดยฮอร์โมนจะหลั่งออกมาจากต่อมไร้ท่อ แล้วซึมเข้าสู่เส้นเลือด อาศัยระบบไหลเวียนโลหิต ส่งต่อไปยังเซลล์และอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เพื่อทำให้ร่างกายทำงานได้ปกติ

ตกขาวผิดปกติ (Pathologic vaginal discharge)

ตกขาว ระดูขาว หรือ มุตกิด (Leukorrhea, Leucorrhea หรือ Vaginal discharge) คือ สารคัดหลั่งที่ถูกขับออกมาทางช่องคลอด มีหน้าที่ช่วยในการหล่อลื่น ป้องกันการติดเชื้อ และระคายเคือง โดยผลิตจากต่อมภายในช่องคลอด และปากช่องคลอด เพื่อผลัดเซลล์เก่าภายในช่องคลอด ดังนั้นการมีตกขาวจึงเป็นเรื่องธรรมชาติของผู้หญิงทุกคน ผู้หญิงสามารถมีตกขาวได้เกือบทุกวัน ปริมาณมากบ้าง น้อยบ้าง หรือลักษณะของตกขาวอาจจะแตกต่างไปในแต่ละช่วงเวลา ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนของร่างกาย กล่าวคือ ช่วงไข่ตกหรือกลางรอบเดือน ตกขาวจะมีลักษณ์ใส ยืดได้คล้ายเจลลี่ แต่ในช่วงก่อนมีประจำเดือน ตกขาวจะเปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่นและข้น เป็นต้น 

การดูแลตนเองเบื้องต้นเมื่อทราบว่าติดเชื้อโควิด-19: แนะนำการดูแลและป้องกัน

การดูแลตนเองเมื่อทราบว่าติดเชื้อโควิด19 เป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสและลดความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้น นอกจากการไปพบแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำของหมอ การดูแลตนเองเบื้องต้นยังเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ร่างกายปรับตัวและฟื้นตัวได้รวดเร็วขึ้น เพื่อความรู้ที่มีประโยชน์มากยิ่งขึ้นในช่วงนี้ที่เราต้องรักษาตัวเองในบ้าน

การดูแลตนเองเมื่อทราบว่าติดเชื้อโควิด19 เป็นเรื่องสำคัญที่ช่วยลดความรุนแรงของโรค และช่วยป้องกันการแพร่ระบาดให้กับผู้อื่น คำแนะนำเหล่านี้เป็นเพียงเบื้องต้น ควรปฏิบัติตามคำแนะนำจากหมอและเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์อย่างเคร่งครัดเสมอ

โรคทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูก

โรคทางพันธุกรรม (Genetic Disorders) หรือโรคติดต่อทางพันธุกรรม เกิดจากความผิดปกติของยีนในพันธุกรรม หรือเกิดขึ้นบนโครโมโซมที่ได้รับการถ่ายทอดจากพ่อและแม่ที่เป็นพาหะมาสู่รุ่นลูก ซึ่งแนวโน้มว่าลูกที่เกิดมาจะมีความผิดปกติทางพันธุกรรมด้วย ยีนที่ผิดเพี้ยนไปนี้จะส่งผลต่อสุขภาพ ทำให้เกิดโรคทางพันธุกรรมถ่ายทอดสู่ลูกหลานได้โรคทางพันธุกรรมส่วนใหญ่ไม่สามารถป้องกันได้ และจะตรวจพบความผิดปกติเมื่อทารกคลอดออกมาแล้ว แม้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดแต่ถ้ารีบดำเนินการรักษา ก็ช่วยให้ทารกมีโอกาสเติบโตได้อย่างปกติ หากได้รับการรักษาล่าช้ามีโอกาสที่ทารกจะพิการ หรือเสียชีวิตได้เช่นกันฉะนั้นโรคที่เกิดขึ้นทางพันธุกรรมสามารถรักษาเพื่อบรรเทาอาการ แต่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การตรวจสุขภาพเพื่อคัดกรองโรคก่อนแต่งงานและก่อนการมีบุตรเป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถป้องกันโรคทางพันธุกรรมได้

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) 

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากการตีบตัน หรือต่อมตันของหลอดเลือดที่นำเลือดไปสู่สมอง ซึ่งทำให้เซลล์สมองได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ โรคนี้สามารถทำให้เกิดผลกระทบต่อส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของสมองขึ้นอยู่กับการเกิดการตีบตันหรือต่อมตันมากน้อยและตำแหน่งที่เกิดขึ้น หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะทำให้เซลล์สมองค่อยๆ ตายลง ดังนั้นผู้ป่วยจำเป็นต้องพบแพทย์ทันที การรักษาอย่างรีบด่วนเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะช่วยลดความรุนแรงจากภาวะสมองตาย และรวมถึงลดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ และยังป้องกันความพิการและทุพพลภาพที่จะเกิดขึ้น

คันช่องคลอด หรือคันอวัยวะเพศหญิง: สาเหตุและการรักษา

คันช่องคลอด หรือคันอวัยเพศหญิง  (Vaginal Itching) การระคายเคืองบริเวณอวัยวะเพศหญิง หรือทั้งภายนอกและภายในช่องคลอด ได้แก่อาการคันเนินอวัยวะเพศหรือเนินหัวหน่าว(mons pubis), บริเวณขน, ปุ่มคลิตอริส(Clitoris), แคมใหญ่(Labia Majora), แคมเล็ก (Labia Minora), กลีบ และคันเข้าไปในช่องคลอด ช่องปัสสาวะ(Urethral Opening) จนถึงปากช่องคลอด (Vaginal Opening)  อาจจะส่งผลให้มีการติดเชื้อในช่องคลอดหรือเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมถึงอาการตกขาวร่วมด้วย ก่อให้เกิดความรำคาญ มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ เป็นแผลอักเสบจากการเกา ทำให้เจ็บแสบขณะปัสสาวะ ซึ่งอาการคันช่องคลอดนี้อาจเป็นสัญญาณของโรคต่างๆ เช่น มะเร็งปากมดลูก ปีกมดลูกอักเสบ และการติดเชื้อในช่องคลอด เป็นต้น

ความดันโลหิตต่ำ เกิดจากอะไร? อาการเป็นแบบไหน?

ความดันต่ำ หรือ ความดันโลหิตต่ำ ไม่ใช่โรค เพราะลักษณะของอาการไม่ได้พัฒนา และนำไปสู่โรคเรื้อรังอื่น ๆ เป็นเพียงภาวะที่ความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท เกิดได้กับภาวะความดันต่ำทำให้เลือดไหลเวียนช้าลง ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันส่งผลทำให้ไปล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่เพียงพอ

ความดันโลหิตที่เหมาะสมจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน สำหรับตัวบนจะอยู่ที่ 120-129 (mm/Hg) และตัวล่างอยู่ที่ 80-84 (mm/Hg) และมักแสดงอาการออกมาแบบเฉียบพลัน เช่น หน้ามึด เวียนหัว อ่อนเพลีย แต่การวัดค่าความดันได้ต่ำ อาจพบได้ในคนปกติ ทุกเพศ ทุกวัย มักพบในผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ  เช่น ผู้หญิงอายุน้อย รูปร่างผอมได้ และผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคความดันโลหิตต่ำ

เช็คสัญญาณเตือน ความผิดปกติของช่องคลอด

ช่องคลอด คืออะไร?

คือ อวัยวะสำคัญของผู้หญิงที่ควรใส่ใจ และดูแลมากเป็นพิเศษ เพราะความผิดปกติเพียงเล็กน้อยที่เกิดขึ้น อาจทำให้ผู้หญิงเราสูญเสียความมั่นใจ หรืออาจทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาได้ โดยปกติแล้วช่องคลอดจะมีลักษณะเป็นท่อกล้ามเนื้อยืดหยุ่นได้ มีความยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร เป็นส่วนที่ต่อออกมาจากปากมดลูกถึงอวัยวะเพศภายนอก โดยบริเวณนี้สามารถยืดขยายรับอวัยวะของเพศชาย และสามารถขยายออกได้ขณะคลอดลูก อวัยวะเพศหญิงในแต่ละบุคคลจะมีขนาด รูปทรง และสีที่แตกต่างกัน มีทั้งรูปทรงไข่ขนาดเล็กหรือรูปทรงกระบอกขนาดใหญ่ และมีสีชมพูอ่อนไปจนถึงสีน้ำตาลอมชมพูและแดงเข้ม

การตรวจเช็กว่าช่องคลอด หรือบริเวณอวัยวะเพศสำหรับผู้หญิงทุกคน ที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง เพื่อหาสัญญาณเตือน หรืออาการผิดปกติว่าคุณอาจกำลังมีปัญหาช่องคลอด

โรคภูมิแพ้อากาศ

โรคภูมิแพ้อากาศ (Allergic Rhinitis) หรืออาจเรียกว่า โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือไข้ละอองฟาง (Hay Fever) เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันที่มองว่าสารก่อภูมิแพ้ที่รับเข้าไปนั้นเป็นอันตรายกับร่างกาย ทั้งที่จริงๆ แล้วไม่ได้เป็นอันตราย ทำให้เกิดป็นปฏิกริยาภูมิแพ้ที่ถูกกระตุ้นโดยสารก่อภูมิแพ้บางชนิด เช่น ละอองเกสร ขนสัตว์ หรือเกิดจากสภาพอากาศเป็นพิษ จากสารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ ในบรรยากาศ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างฉับพลัน เช่น ความร้อน, ความเย็น และความชื้น เป็นต้น