เนื้องอกในมดลูก

เนื้องอกในมดลูก (Myoma Uteri หรือ Uterine Fibroid) เป็นโรคของกล้ามเนื้อมดลูก เกิดจากการเปลี่ยนแปลงเซลล์กล้ามเนื้อของมดลูกที่ผิดปกติ อาจเกิดในเนื้อมดลูกหรืออยู่ในโพรงมดลูก หรือโตเป็นก้อนนูนออกมาจากตัวมดลูก และผู้ป่วยอาจคลำพบได้ เนื้องอกมดลูกส่วนใหญ่ไม่ใช่เนื้อร้าย โดยจะพบว่ากลายเป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็งไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ ก้อนเนื้องอกอาจเกิดเป็น 1 ก้อนใหญ่ หรือก้อนเล็กๆ หลายก้อน และเมื่อก้อนเนื้องอกโตขึ้นจะไปกดทับอวัยวะบริเวณใกล้เคียงจนส่งผลแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา แต่ก็มีในบางรายที่เนื้องอกมดลูกไม่โตขึ้น และไม่ก่อให้เกิดอาการใดๆ การเปลี่ยนแปลงขนาดนี้มักขึ้นอยู่กับสภาวะฮอร์โมนในร่างกาย เช่น ตั้งครรภ์หรือภาวะหมดประจำเดือน ซึ่งมักจะพบได้บ่อยในผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป หรือในวัยเจริญพันธุ์

โรคเอ็ดเวิร์ดซินโดรม

เอ็ดเวิร์ด ซินโดรม (Edward’s Syndrome หรือ Trisomy 18) คือ โรคทางพันธุกรรมที่เกี่ยวของกับความผิดปกติของโครโมโซม เกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 18 เกินมา 1 แท่ง ซึ่งความเสี่ยงของโรคจะเพิ่มขึ้นหากมารดามีอายุมากขึ้น ทำให้มีอาการผิดปกติจากคนทั่วไป เช่น ปัญญาอ่อน ปากแหว่ง เพดานโหว่ ปากและกรามเล็ก คางเว้า ขากรรไกรสั้น หูต่ำกว่าคนปกติ มีรอยพับย่นบนเปลือกตา นอกจากนี้ยังมีความผิดปกติเกี่ยวกับม่านตา ผิวทับซ้อนกันขณะกำมือ นิ้วมือบิดงอ กำแน่น และไม่พัฒนา สะดือจุ่น อัณฑะไม่ลงไปในถุง ปอด และระบบย่อยอาหารผิดปกติ มีปัญหาเกี่ยวกับไต หัวใจพิการ น้ำหนักน้อย โดนส่วนใหญ่จะพบในเด็กทารกผู้หญิง และเสียชีวิตตั้งแต่ก่อน 1 ขวบ

สีของตกขาว ปัญหาที่ผู้หญิงทุกคนควรสังเกต

สีของตกขาวที่เปลี่ยนแปลงไปจากสีใส หรือสีขาวขุ่น และหากเกิดพร้อมกับอาการผิดปกติอื่น ๆ เช่น ตกขาวมีกลิ่นเหม็น อาการคันช่องคลอด ปวดท้อง แสบร้อนบริเวณช่องคลอด ซึ่งช่วยบ่งบอกว่าตกขาวดังกล่าวเป็นตกขาวที่ผิดปกติ ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการติดเชื้อในช่องคลอด ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ยังเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น การอักเสบ เนื้องอก มะเร็ง รวมทั้งการมีสิ่งแปลกปลอมในช่องคลอด 

การสังเกตลักษณะตกขาวสีต่างๆ และอาการที่เกิดขึ้นร่วมกับการมีตกขาวที่ผิดปกติ อาจช่วยให้เราทราบถึงสาเหตุของการป่วยในเบื้องต้นได้

HDL และ LDL ต่างกันอย่างไร?

คอเลสเตอรอลเป็นไขมันชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อร่างกาย มีลักษณะกึ่งของแข็งกึ่งของเหลวคล้ายขี้ผึ้ง ที่จริงแล้วคอเลสเตอรอลเป็นสารที่จำเป็นต่อร่างกายในการสร้างเซลล์ รวมถึงการผลิตวิตามิน ฮอร์โมน และสารต่างๆ ออกมาใช้  โดยปกติแล้วร่างกายสามารถสร้างคอเลสเตอรอลขึ้นได้เองจากตับ แต่คอเลสเตอรอลที่เกินความจำเป็นต่อร่างกายมักมาจากอาหารที่รับประทานเข้าไป ไม่ว่าจะจากเนื้อสัตว์ติดมัน ไข่แดง นม หรือผลิตภัณฑ์จากนม ซึ่งการที่เรามีคอเลสเตอรองสูงจะเป็นปัจจัยสำคัญในการทำร้ายสุขภาพของเราได้  เช่น การเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดได้

ทำความรู้จัก PMS และ PMDD เกี่ยวข้องอย่างไรกับประจำเดือน

ผู้หญิงทุกคน คุณเคยมีอาการดังต่อไปนี้หรือเปล่า? อารมณ์แปรปรวนก่อนมีประจำเดือน เศร้า หดหู่ เซ็ง หงุดหงิดง่าย ร้องไห้บ่อย ปวดหัวตัวร้อนไข้ขึ้น ตัวบวมท้องอืด  น่าเบื่อไปหมดทุกอย่าง อาการเหวี่ยงวีนของสาวๆ บางทีสาวๆ อย่างเราก็ยังไม่เข้าใจตัวเองเลย ซึ่งจะเป็นช่วงสัปดาห์ก่อนประจำเดือน อาการเหล่านี้ เป็นสัญญาณบอกว่าประจำเดือนกำลังจะมา เรามาเช็คอาการที่มักจะเป็นก่อนมีประจำเดือน ว่าเราจัดอยู่ในกลุ่มอาการแบบไหน ต้องรักษาไหม?

วัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก คืออะไร?

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (Human Papillomavirus (HPV) Vaccine) คือ วัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus) อันเป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดมะเร็งปากมดลูก เนื่องจากการติดเชื้อไวรัส HPV ทำให้เซลล์ปากมดลูกอักเสบเรื้อรัง และเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็งได้ นอกจากช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อไวรัส HPV ที่สามารถพัฒนากลายเป็นมะเร็งปากมดลูกแล้ว ยังสามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้อีกหลายโรค และที่สำคัญ!  วัคซีน HPV ไม่ได้จำเป็นแค่กับผู้หญิง แต่ผู้ชายก็ควรได้รับวัคซีนนี้ด้วยเหมือนกัน

โรคมะเร็งที่พบบ่อยในคนไทย

โรคมะเร็ง ถือเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของการเสียชีวิตของประชากรไทยตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน และยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งมะเร็งมีโอกาสเกิดขึ้นกับคนอายุน้อยเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย เนื่องจากผลกระทบภายในและภายนอกร่างกาย ก็เป็นปัจจัยสำคัญในการกระตุ้น ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ 

ปัญหาสุขภาพของผู้หญิงวัย 30 +

ผู้หญิงที่เข้าวัย 30  ถือเป็นวัยที่กำลังได้ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ไม่ต่างจากตอนช่วงอายุ 20 เลยด้วยซ้ำ เป็นวัยที่ได้ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ ผ่านประสบการณ์ชีวิต ก็อาจลืมใส่ใจเรื่องการทานอาหาร การออกกำลังกาย พักผ่อนน้อย เครียดกับงาน ที่ทำให้สุขภาพอาจสวนทางกัน  หากไม่ดูแลตัวเอง ปล่อยตัว ไม่ได้มีการตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ อาจเสี่ยงโรคเหล่านี้ไม่รู้ตัว  เพราะเมื่อเข้าสู่วัย 30 ร่างกายเราอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามกาลเวลา เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศ มวลกระดูกบางลง หรือร่างกายอาจเผาผลาญพลังงานได้น้อยลง เป็นต้น 

โรคภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน

โรคภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน (Anaphylaxis) คือ อาการภูมิแพ้ที่มีปฏิกิริยารุนแรงอย่างเฉียบพลัน เมื่อร่างกายได้รับสารกระตุ้นบางอย่าง เช่น อาหารหรือยาบางชนิด แมลงกัดต่อย หรือสารอื่น ๆ เนื่องจากระบบภูมิต้านทานของบุคคลนั้นไวต่อสารกระตุ้นดังกล่าวมากกว่าคนปกติ ส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายพร้อมกัน นอกจากอาการผื่นลมพิษทั่วไป เช่น ระบบทางเดินหายใจ จะมีอาการแสดงเป็นหอบเหนื่อย เขียว อันเนื่องมาจากมีหลอดลมตีบ ในส่วนของระบบทางเดินอาหาร อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน หรือในเด็กเล็กอาจจะมีอาการซึมลงหรือหงุดหงิดไม่สบายตัวได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจเกิดอาการรุนแรงถึงขั้นช็อก  หรือเสียชีวิตได้ โดยมากมักเกิดภายใน 5-30 นาทีหลังจากได้รับสารก่อภูมิแพ้ หรือไม่เกิน 2 ชั่วโมง หลังได้รับสารก่อภูมิแพ้ชนิดรับประทาน

โรคดาวน์ซินโดรม

โรคดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) เป็นภาวะโครโมโซมผิดปกติ และเป็นโรคพันธุกรรมที่เกิดจากการมีโครโมโซม 21 เกินมาทั้งอันหรือบางส่วน ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีพัฒนาการล่าช้า มีใบหน้าเป็นลักษณะเฉพาะ และมีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง ระดับเชาวน์ปัญญาโดยเฉลี่ยของผู้ป่วยโรคดาวน์ซินโดรม ในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นอยู่ประมาณ 50 เทียบเท่ากับเด็กอายุ 8-9 ปี   อย่างไรก็ดีระดับสติปัญญาของผู้ป่วยเหล่านี้อาจมีความแตกต่างกันได้มากเมื่อโตขึ้น และอาจมีปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ทำให้ผู้ป่วยโรคนี้ต้องได้รับการดูแลปัญหาสุขภาพมากกว่าคนปกติ