เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับประจำเดือน

ประจำเดือน หรือ รอบเดือน หรือ ระดู (Menstruation หรือ Period)  คือ เยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดลอกออกมาทุกเดือนทางช่องคลอด โดยร่างกายของผู้หญิงจะมีการสร้างเยื่อบุโพรงมดลูกเพื่อเตรียมไว้ให้ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิมาฝังตัว เพื่อเจริญเติบโตเป็นทารกต่อไป แต่หากเดือนนั้นไข่ที่ตกไม่ได้รับการปฏิสนธิ ตัวเยื่อบุโพรงมดลูกที่ร่างกายสร้างขึ้นมาแต่ไม่ได้ใช้งาน ก็จะหลุดลอกออกมาเป็นเลือดประจำเดือน 

ดื่มน้ำอย่างไร? ให้ดีต่อร่างกาย

การดื่มน้ำเปล่าเยอะๆ นั้นดีต่อร่างกาย เพราะร่างกายของเราประกอบไปด้วยน้ำมากถึง 70% จึงจำเป็นต้องมีน้ำคอยหล่อเลี้ยงให้เซลล์ และอวัยวะต่างๆ ทำงานได้อย่างเป็นปกติ และมีประสิทธิภาพ น้ำจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ร่างกายของเราต้องการในแต่ละวัน ช่วยให้สุขภาพดี กระปรี้กระเปร่าได้ทั้งวัน ดังนั้นการดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก 

ภาวะแทรกซ้อนของภาวะความดันโลหิตต่ำ

ความดันต่ำ หรือ ความดันโลหิตต่ำ  (Hypotension) ไม่ใช่โรค เพราะลักษณะของอาการไม่ได้พัฒนา และนำไปสู่โรคเรื้อรังอื่น ๆ เป็นเพียงภาวะที่ความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท เกิดได้กับภาวะความดันต่ำทำให้เลือดไหลเวียนช้าลง ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันส่งผลทำให้ไปล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่เพียงพอ

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากความดันโลหิตต่ำ มีดังนี้

การล้ม และการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับการล้ม ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่สำคัญที่สุดสำหรับภาวะความดันโลหิตต่ำ เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ และเป็นลมได้ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ

โรคไข้ขี้แมว

โรคขี้แมว หรือ โรคทอกโซพลาสโมซิส (Toxoplasmosis) เป็นโรคเกิดจากเชื้อจากปรสิต สามารถพบได้ในสัตว์จำพวก แกะ แพะ หมู หมา แต่โดยส่วนมากมักพบในแมว  ซึ่งโรคเป็นหนึ่งในสาเหตุหลัก ที่มักติดมาจากขี้แมว ที่อาจจะเป็นสัตว์เลี้ยงตัวโปรดของแม่ท้อง โดยความเสี่ยงติดโรค อาจเกิดได้จากการเก็บ การทำความสะอาด หรือการสัมผัสใกล้ชิดกับขี้แมว โดยปราศจากการล้างมือ ซึ่งหากแม่ท้องได้รับการติดเชื้อดังกล่าว ก็จะสามารถถ่ายทอดไปยังลูกในครรภ์ด้วย

นอกจากนี้ เชื้อโรคดังกล่าวยังสามารถแพร่ติดต่อ จากการกินเชื้อที่ปะปนอยู่ในผักดิบ หรือเนื้อที่ปรุงไม่สุก รวมถึงได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะที่ติดเชื้อ หรือการถ่ายเลือดที่ติดเชื้อได้ โดยทั่วไปแล้ว โรคนี้มักไม่เป็นอันตรายและไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาหากผู้ป่วยมีสุขภาพแข็งแรง แต่ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำหรือหญิงตั้งครรภ์ ควรเข้ารับการรักษาทันทีหลังได้รับเชื้อ เพราะอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือการติดเชื้อที่รุนแรง

โรคลมชัก

โรคลมชัก (Seizures/Epilepsy) หรือลมบ้าหมู (Grand mal) คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลางที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย หรือเกิดจากเซลล์สมองที่ทำงานเชื่อมโยงกันเหมือนวงจรไฟฟ้า และปล่อยคลื่นไฟฟ้าออกมาผิดปกติพร้อมกันอย่างเฉียบพลัน ส่งผลให้ระบบประสาทเกิดความผิดปกติจนไม่สามารถควบคุมตนเอง หรือเกิดอาการชักซ้ำๆ  โดยอาการแสดงที่เกิดขึ้นนั้น ขึ้นอยู่กับว่าเป็นส่วนใดของสมองที่ได้รับการกระตุ้น ซึ่งอาการจะเกิดขึ้นเป็นๆ หายๆ ในระยะเวลาไม่นาน มักเกิดขึ้นทันทีและหยุดเอง แต่อาการมักเกิดซ้ำขึ้นเรื่อยๆ 

นอกเหนือจากการชักเกร็งกระตุกทุกส่วนของร่างกายนั้น อาจจะมีอาการเบลอ เหม่อลอย ตาค้าง วูบบ่อย ก็เสี่ยงต่อการเกิดโรคลมชัก หรือลมบ้าหมูแบบไม่ทันตั้งตัวได้  โดยอาการเหล่านี้ไม่ควรมองข้าม หากปล่อยให้มีอาการลักษณะนี้บ่อยๆ และไม่ได้รับการรักษาอาจส่งผลให้ความจำเลอะเลือนชั่วคราว หรือหากมีอาการกำเริบขึ้นกะทันหันอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงจนทำให้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้

โรคมาลาเรีย

โรคไข้มาลาเรีย (Malaria) ไข้ป่า หรือไข้จับสั่น คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อโปรโตซัว ในกลุ่มพลาสโมเดียม ที่มียุงก้นปล่องเพศเมีย เป็นพาหะนำโรคไข้มาลาเรียสู่คนจากการเข้าป่า และถูกยุงกัดจนทำให้มีไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงของโรคมาลาเรียอาจทำให้มีภาวะเม็ดเลือดแดงแตก ตัวเหลือง ตาเหลือง ไตวาย ไข้มาลาเรียขึ้นสมองอาจทำให้มีอาการชักเกร็ง อวัยวะภายในล้มเหลวหลายระบบจนกระทั่งเสียชีวิต โดยมักพบโรคนี้ในเขตที่มีภูมิอากาศร้อนชื้นและมีแหล่งน้ำขังตามธรรมชาติมาก ซึ่งเป็นที่อาศัยของยุงก้นปล่องที่เป็นพาหะนำโรค

โรคหลอดลมอักเสบ

โรคหลอดลมอักเสบ เป็นโรคระบบทางเดินหายใจ ที่เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุหลอดลม ซึ่งเป็นท่อที่นำลม หรืออากาศหายใจเข้าสู่ปอด เมื่อเยื่อบุหลอดลมบวมมีเสมหะ ส่งผลให้อากาศไหลผ่านหลอดลมเข้าสู่ปอดได้ไม่ดี หายใจลำบากทำให้เกิดอาการไอได้ มักพบได้บ่อยในช่วงฤดูฝน และฤดูหนาว สามารถพบผู้ติดเชื้อได้ทุกช่วงวัย หากได้รับการรักษาไม่ถูกต้อง สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อน การติดเชื้อจากหลอดลมอาจลามไปที่ปอด ทำให้เกิดปอดอักเสบ (Pneumonia) และโรคถุงลมโป่งพองได้

ปัสสาวะบ่อยเกิดจากสาเหตุอะไร?

ปัสสาวะบ่อย (Frequent Urination) เป็นอาการที่พบบ่อย อาจเกิดจากอาหารหรือน้ำที่กินมากไป ในขณะเดียวกันอาจเป็นอาการนำของโรคร้ายได้เช่นกัน ซึ่งเป็นภาวะความผิดปกติที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน หากกำลังเดินทางหรือทำงานอยู่ ก็ต้องรีบมาเข้าห้องน้ำบ่อย ๆ แม้กระทั่งในตอนกลางคืนที่ไปรบกวนการนอนหลับ ซึ่งอาจเป็นอันตรายและก่อโรคร้ายในอนาคต   สำหรับปกติทั่วไปแล้วเมื่อรู้สึกอยากขับถ่ายของเหลวแต่ติดภารกิจอยู่ ก็สามารถอั้นได้ แต่ผู้ป่วยภาวะนี้น้ำยังไม่เต็มกระเพาะปัสสาวะก็เกิดการบีบตัว เมื่อปลดเปลื้องของเสียจะมีปริมาณน้อยกว่าการปวด เสี่ยงที่กลั้นไม่อยู่ปล่อยราดออกมาได้

ระบบภูมิคุ้มกันแต่กำเนิด คืออะไร?

ระบบภูมิคุ้มกันแต่กำเนิด (Innate immune system) เราทุกคนเกิดมาพร้อมกับระบบภูมิคุ้มกันประเภทนี้ ถูกถ่ายทอดจากพันธุกรรม คือ ภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นเองเพื่อป้องกันและสกัดเชื้อโรค ซึ่งเป็นกลไกที่ไม่จำเพาะเจาะจงกับเชื้อโรคชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น ผิวหนัง เยื่อบุ เยื่อเมือกต่าง ๆ ช่วยขัดขวางไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย หรือ กรดในกระเพาะอาหาร น้ำตา เหงื่อ ช่วยทำลายเชื้อโรคก่อนเข้าสู่ร่างกาย รวมถึงเซลล์เพชฌฆาต (Natural Killer Cells; NK Cells) ที่พร้อมต่อสู้กับเนื้องอก เซลล์มะเร็ง หรือการติดเชื้อไวรัสอย่างทันท่วงทีเมื่อเกิดการติดเชื้อ  เพื่อทำให้ร่างกายเราปลอดภัยจากสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์อื่น ซึ่งถือเป็นการป้องกันเชื้อโรคชั้นแรกของร่างกาย โดนภูมิคุ้มกันเเบบนี้มีมาตั้งเเต่เกิด โดยทารกที่มีอายุครรภ์ 5 สัปดาห์ จะเริ่มสร้างภูมิคุ้มกันได้เอง เเต่ยังสร้างได้น้อยมาก เนื่องจากเริ่มมีการเจริญของอวัยวะน้ำเหลือง

ภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นภาวะที่พบบ่อย บางรายอาจมีภาวะดังกล่าวนานหลายปีโดยไม่แสดงอาการ อย่างไรก็ตามแม้จะไม่แสดงอาการ แต่สร้างความเสียหายต่อหลอดเลือดและหัวใจ โรคความดันโลหิตสูงเป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทย ควรให้ความสำคัญกับโรคความดันโลหิต  เพราะการได้รับการดูแลสุขภาพเป็นอย่างดีนั้น ช่วยไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพในอนาคต เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไตวายระยะสุดท้าย โรคความดันโลหิตสูงมักจะพัฒนาต่อเนื่องในช่วงหลายปีและสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย  

ฉะนั้นการควบคุมความดันโลหิต ทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาพของตนเอง และการรักษาโดยการรับประทานยา ซึ่งจะช่วยให้ความดันโลหิตกลับเข้าสู่ระดับที่เหมาะสม ลดโอกาสการเกิดโรคต่างๆ และดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข