วิธีป้องกันโรคหูดหงอนไก่

โดยทั่วไปเชื้อไวรัสเอชพีวี ที่เป็นสาเหตุของโรคหูดหงอนไก่จะไม่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง แต่หากมีการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี หลายสายพันธุ์รวมกัน โดยเฉพาะสายพันธุ์ชนิดความเสี่ยงสูง ก็อาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคหูดหงอนไก่ได้ เช่น การตกขาวที่มากผิดปกติ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งที่ปากหรือคอหอยในเพศหญิง และมะเร็งองคชาต หรือมะเร็งทวารหนักในเพศชาย

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหนองในเทียม ส่งผลร้ายต่อร่างกายอย่างไร?

ภาวะแทรกซ้อนจากการเป็นหนองในเทียม

ภาวะแทรกซ้อนของหนองในเทียมจะแสดงอาการแตกต่างกันออกไปตามเพศของผู้ป่วย

ภาวะแทรกซ้อนในเพศชาย อัณฑะอักเสบหรือต่อมลูกหมากติดเชื้อ หนองในเทียมในเพศชายสามารถแพร่กระจายไปที่ลูกอัณฑะ หลอดเก็บน้ำอสุจิ และต่อมลูกหมาก

ภาวะแทรกซ้อนในเพศหญิง การติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานหรืออุ้งเชิงกรานอักเสบ หนองในเทียมในเพศหญิงสามารถแพร่กระจายไปยังมดลูก รังไข่ หรือท่อนำไข่ได้

การป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน และการเกิดโรคซ้ำของโรคหนองใน

โรคหนองในเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พบได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิง  อาการที่พบบ่อย ได้แก่ มีตกขาวผิดปกติออกมาทางช่องคลอดหรือหนองจากอวัยวะเพศชาย หรือมีปัสสาวะแสบขัด วิธีการรักษา ได้แก่ การให้ยาปฏิชีวนะ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมอาจทำให้การติดเชื้อลุกลามหรือรุนแรงมากขึ้น หรือมีภาวะแทรกซ้อน

โรคหนองในเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สาเหตุมาจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่สวมถุงยางอนามัยแล้วสัมผัสโดนสารคัดหลั่ง ทางปาก ช่องคลอด และทวารบางคนเป็นหนองในแท้ บางคนเป็นหนองในเทียม ซึ่งอาการจะแตกต่างกันไป

โรคติดเชื้อซิฟิลิสโดยกำเนิด

โรคซิฟิลิสแต่กำเนิด (Congenital syphilis) สามารถติดต่อผ่านทางแม่สู่ลูกระหว่างการตั้งครรภ์ หรือระหว่างการคลอดได้ ซึ่งนับเป็นการติดเชื้อที่รุนแรง และมีผลร้ายแรงอาจถึงแก่ชีวิตได้  โดยโรคซิฟิลิสแต่กำเนิดส่งผลต่อสุขภาพของทารก

โรคซิฟิลิสแต่กำเนิด (Congenital syphilis) สามารถติดต่อผ่านทางแม่สู่ลูกระหว่างการตั้งครรภ์ หรือระหว่างการคลอดได้ ซึ่งนับเป็นการติดเชื้อที่รุนแรง และมีผลร้ายแรงอาจถึงแก่ชีวิตได้  โดยโรคซิฟิลิสแต่กำเนิดส่งผลต่อสุขภาพของทารก

การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีมีความสำคัญอย่างไร?

เมื่อร่างกายได้รับเชื้อไวรัสเอชไอวี และเชื้อเข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย  โดยจะทำลายเม็ดเลือดขาวชนิดที่เรียกว่า CD4  ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำลง หากไม่ได้รับการรรักษา จะทำให้เกิดภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง และทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสต่างๆ เช่น ปอดอักเสบ วัณโรค เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น 

ด้วยปัจจุบันมีการพัฒนายารักษาคนที่ติดเชื้อเอชไอวี สามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติทั่วไป  หากผู้ติดเชื้อเอชไอวี เริ่มทานยาต้านไวรัสโดยเร็ว  และทานยาสม่ำเสมอ ตรงเวลา โดยโรคเอดส์นี้เป็นโรคที่เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดได้  ก่อนที่เราจะไปทราบการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี เราต้องควรรู้ไว้ว่าโรคเอดส์ติดต่อได้ทางไหนบ้าง

การตรวจสุขภาพมีความสำคัญอย่างไร?

การตรวจสุขภาพ คือ พื้นฐานการดูแลคุณภาพชีวิตให้ดำรงอยู่ได้นานๆ แต่หลายคนกลับยังไม่เข้าใจว่า เราต้องตรวจอะไร ตรวจเมื่อไหร่ ตรวจแล้วดีอย่างไร

ปัจจุบันการตรวจสุขภาพมีความสำคัญ  เนื่องจากบางโรคระยะเริ่มต้นไม่มีอาการแสดงให้ทราบ  การตรวจพบปัญหาในระยะแรกเริ่มจะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพที่ดีกว่า

ทำไมการตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ถึงเป็นเรื่องสำคัญ?

การตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STD) นับเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยง และยังรวมไปถึงตรวจในโอกาสก่อนแต่งงาน หรือก่อนตั้งครรภ์ เพื่อลดการแพร่กระจ่าย นอกจาก ความน่ากลัวของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คือ โรคบางโรคไม่แสดงอาการ โดยเฉพาะผู้หญิง เช่น เชื้อเอชไอวี ซึ่งกว่าผู้ติดเชื้อจะทราบอาการก็อยู่ในระยะรุนแรงที่ยากต่อการดูแลรักษา 

การตรวจหาไวรัสตับอักเสบบี และซี

และซี

การที่เราจะทราบว่าเรากำลังติดเชื้อไวรัสตับอักเสบอยู่หรือไม่นั้น โดยส่วนใหญ่แล้ว แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเริ่มจากการซักประวัติอาการก่อน ประวัติการฉีดวัคซีน รวมไปถึงการได้รับเลือดหรือส่วนประกอบอื่นๆ ของเลือด จากนั้นจะมีการตรวจร่างกาย มีการเอกซ์เรย์ และเจาะเลือดเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ

ตรวจคัดกรองไวรัสเอชไอวี

ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการรับเชื้อเอชไอวีควรรีบเข้ารับการตรวจคัดกรองเพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อ เนื่องจากการวินิจฉัยแต่เนิ่นๆ จะช่วยลดความกังวลใจ นอกจากนี้ถ้าผู้รับการตรวจติดเชื้อเอชไอวี จะทำให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง รวดเร็ว ได้รับทราบข้อมูลในการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง รวมถึงเทคนิคในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคเพื่อลดความเสี่ยงที่จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันถูกทำลายจากการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีและนำไปสู่ผู้ป่วยโรคเอดส์เต็มขั้น

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexual Transmitted diseases : STDs) คือ  โรคที่มีการติดต่อระหว่างผู้มีเชื้อกับผู้รับเชื้อผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ ทางอวัยวะเพศ ช่องคลอด ทวารหนัก ทางปาก รวมถึงการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ที่มีเชื้อ เช่น อสุจิ เลือด น้ำในช่องคลอด และของเหลวในร่างกายอื่นๆ และยังสามารถติดต่อจากแม่สู่ทารกในครรภ์ได้ ผ่านจากการให้เลือดหรือถ่ายโอนเลือด หรือการใช้เข็มฉีดยาร่วมกันในผู้ติดสิ่งเสพย์ติดอีกด้วย