ผู้ติดเชื้อเอชไอวี มีความเสี่ยงต่อสุขภาพจิตหรือไม่?

การติดเชื้อเอชไอวี ไม่เพียงแต่มีผลกระทบต่อร่างกายเท่านั้น แต่ยังมีผลกระทบต่อสุขภาพจิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวีด้วย ฉะนั้นผู้ติดเชื้อเอชไอวีควรต้องรับมือกับความเครียด และปัญหาทางจิตใจที่อาจเกิดขึ้นหลังการตรวจพบว่าตนเองติดเชื้อเอชไอวี ถึงวิธีการจัดการปัญหาดังกล่าวเพื่อความสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ

ความสำคัญของการเพิ่มค่า CD4 ในผู้ติดเชื้อเอชไอวี

เมื่อเชื้อเอชไอวี เข้าทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรค และเชื้อไวรัสต่าง ๆ เมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาว ถูกทำลายจนอ่อนแอลงเรื่อย ๆ จนไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้ และทำให้การติดเชื้อเอชไอวี พัฒนากลายเป็นโรคเอดส์ (AIDS) เต็มขั้นในที่สุด ฉะนั้นการตรวจวัดจำนวน CD3/CD4/CD8 ในกระแสเลือด ซึ่งเป็น CD ที่มีความจำเพาะกับเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันชนิดที่ต้องมีการกระตุ้น ( Adaptive Immune Response ) คือ กลุ่มเม็ดเลือดขาว ชนิดที่สร้างแอนติบอดี ( B cells ) หรือ กลุ่มเม็ดเลือดขาวที่เป็นหน่วยความจำ ( T cells ) และมีความสำคัญต่อการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย

การป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาส ในผู้ติดเชื้อเอชไอวี

ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่มีความเสี่ยงสูงสุดต่อโรคติดเชื้อฉวยโอกาส ต่อเมื่อจำนวนเซลล์ CD4 ที่ต่อสู้กับการติดเชื้อลดลงต่ำกว่า 200 อย่างไรก็ตาม โรคติดเชื้อฉวยโอกาส บางตัวสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อจำนวน CD4 ของบุคคลต่ำกว่า 500 นั่นเป็นเพราะระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอทำให้ร่างกายยากที่จะต่อสู้กับโรคติดเชื้อฉวยโอกาส ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับติดเชื้อเอชไอวี

การป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาส

การป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาสมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดูแลร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งรวมถึง:

ใช้ชีวิตร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีอย่างไร ? ให้ปลอดภัย

ผู้ที่อาศัยอยู่กับผู้ติดเชื้อเอชไอวี หรือผู้ป่วยโรคเอดส์ โดยเฉพาะคนในครอบครัวนั้น เป็นบุคคลสำคัญที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี เพราะนอกจากคอยให้กำลังใจแล้ว ยังต้องดูแลผู้ป่วยให้มีพลานามัยสมบูรณ์ และสร้างสิ่งแวดล้อมบริเวณที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับผู้ป่วย เชื้อเอชไอวีติดต่อได้ผ่านทางเลือด การมีเพศสัมพันธ์ และจากมารดาสู่ทารกในครรภ์ แต่ผู้ที่อยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีก็ควรต้องป้องกันตนเองจากการติดเชื้อด้วยเช่นกัน