ทำไม? ก่อนตรวจเลือดจึงต้องงดน้ำ งดอาหาร

การตรวจเลือด สามารถวินิจฉัยโรคบางชนิดที่ไม่สามารถวิเคราะห์ได้จากการซักประวัติ  ผลการตรวจเลือดจึงต้องการความชัดเจน และถูกต้องที่สุด แต่สารอาหาร และสารจากเครื่องดื่มต่าง ๆ ที่เรารับประทานเข้าไปาสู่กระแสเลือด และอาจทำให้ผลเลือดมีความแปรปรวนจากความเป็นจริงได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องงดรับประทานอาหารและเครื่องดื่มก่อนการตรวจเลือดในการตรวจค่าบางอย่าง เพื่อให้ผลเลือดมีความแม่นยำที่สุด ซึ่งหลังจากเจาะเลือดเรียบร้อยร้อยแล้วเราสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติในระหว่างรอผลเลือด

ตรวจระดับฮอร์โมน

การตรวจระดับฮอร์โมน หรือการตรวจเลือดวิเคราะห์ฮอร์โมน ( Hormone Assays ) เป็นการตรวจหาความผิดปกติของฮอร์โมนต่างๆ เพื่อให้รู้ว่าฮอร์โมนแต่ละชนิดมีการหลั่งออกมามากหรือน้อยกว่าปกติหรือไม่ เป็นหนึ่งในวิธีหาสาเหตุของความผิดปกติในร่างกาย เมื่อทราบว่าฮอร์โมนใดที่ผิดปกติแล้ว ก็สามารถสืบย้อนกลับไปได้ว่าฮอร์โมนตัวนั้นหลั่งออกมาจากต่อมใดจนพบปัญหาที่แท้จริง และแก้ปัญหาอย่างถูกต้อง ตรงจุด ซึ่งจะมีการตรวจระดับฮอร์โมนต่างๆในเลือด เช่น FSH, LH, Estradiol, Progesterone, ฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) ,Prolactin,TSH, FT4, ACTH, Cortisol เป็นต้น

การตรวจสุขภาพเฉพาะทาง มีอะไรบ้าง?

การตรวจสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นการดูแลเอาใจใส่ร่างกายของเราด้วยการตรวจคัดกรองความเสี่ยง หาความผิดปกติภายในของร่างกาย แม้เราจะคิดว่าสุขภาพดีอยู่แล้ว ไม่มีความผิดปกติอะไร แต่อาการเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เราไม่ได้สังเกตนั้นอาจเป็นสัญญาณเตือนที่เราไม่ล่วงรู้มาก่อนก็ได้ และการตรวจสุขภาพแบบเฉพาะทาง ส่วนใหญ่จะตรวจตามความเสี่ยงโดยมีปัจจัย เช่น ช่วงอายุ ประวัติทางพันธุกรรม หรือมีอาการผิดปกติ โดยมีการตรวจระดับค่าสารบ่งชี้มะเร็ง การตรวจทางรังสีวิทยา

ตรวจรักษาโรคทั่วไป ตรวจอะไรบ้าง? 

ตรวจรักษาโรคทั่วไป เป็นการบริการตรวจรักษาผู้ป่วยโรคทั่วไป  ด้วยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในการตรวจ วินิจฉัย และรักษาโรค ในกรณีที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยแพทย์เฉพาะทาง  หรือต้องผ่าตัด เรายังมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หลากหลาย สาขาวิชา ที่พร้อมให้การดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุด

ไตรกลีเซอไรด์ กับ คอเลสเตอรอล ต่างกันอย่างไร?

ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) คือ อนุภาคไขมันในร่างกายเป็นไขมันชนิดหนึ่งมีอนุภาคขนาดเล็ก ที่ลอยอยู่ในเลือดหลังจากถูดดูดซึมมาทางลำไส้ใหญ่ โดนปกติร่างกายสามารถสังเคราะห์กลีเซอไรด์ขึ้นได้เองจากในตับ หรืออาจจะมาจากอาหารต่างๆที่ทานเข้าไปในแต่ละวันโดยเมื่อมีการกินอาหารเข้าไปในร่างกาย เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน น้ำมัน เนย หรืออาหารที่มีไขมันต่างๆ  ซึ่งไตรกลีเซอไรด์จะถูกส่งผ่านเข้าไปในกระแสเลือด โดยอาศัยตัวช่วยอย่างไลโปโปรตีนและส่งต่อไปยังเซลล์ เมื่อเรากินอาหารที่มีไขมันเข้าไปจำนวนมาก ไขมันเหล่านี้จะเปลี่ยนเป็นไตรกลีเซอไรด์ และกลายเป็นพลังงานสำรองของร่างกาย บางส่วนถูกเก็บสะสมในตับ 

NIPT การตรวจคัดกรองหาความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์

การตรวจ NIPT (Non-Invasive Prenatal Testing) คือ การตรวจคัดกรองเพื่อหาความเสี่ยงของการมีความผิดปกติจำนวนโครโมโซม ที่มีการเกินทั้งแท่งโครโมโซม (Trisomy) หรือขาดหายไปทั้งแท่งโครโมโซม (Monosomy) ของทารกที่อยู่ในครรภ์ โดยจะตรวจจากเลือดของมารดา เป็นวิธีที่ไม่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายกับทารกในครรภ์ 

โดยวิเคราะห์จากสารพันธุกรรมดีเอ็นเอของทารก  (Fetal cell-free DNA)  หรือการตรวจหาชิ้นส่วน DNA ของทารก และเนื้อรกที่หลุดออกมาปะปนอยู่ในกระแสเลือดของคุณแม่ ซึ่งชิ้นส่วน DNA นี้ เป็นสาย DNA ที่ไม่ได้อยู่ภายในเซลล์ จึงถูกเรียกว่า cell-free DNA (cfDNA) ดังนั้น จึงสามารถเรียกการตรวจ NIPT นี้ว่า เป็นการตรวจแบบ cell-free DNA testing ได้เช่นเดียวกัน

HPV DNA Test การตรวจแบบเจาะลึกถึงระดับ DNA

การตรวจ HPV DNA Test คือการตรวจในระดับโมเลกุล เพื่อหาเชื้อ HPV ความเสี่ยงสูงทั้ง 14 สายพันธุ์ ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก ประมาณ 99% โดยมีวิธีการตรวจเหมือนตรวจภายใน คือ เก็บเซลล์บริเวณตัวอย่างที่ปากมดลูกช่องคลอดด้านใน ส่งตรวจเหมือนวิธีการตรวจด้วยน้ำยา ซึ่งสามารถที่จะตรวจหาเซลล์และแยกน้ำยาเพื่อจะตรวจหาเชื้อ HPV DNA ได้

ปัจจุบัน HPV DNA ถือเป็นการคัดกรองที่มีความแม่นยำและสามารถรู้ผลได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ามารถป้องกัน และรักษาได้ทันท่วงที ก่อนที่มะเร็งจะลุกลามจนยากแก่การรักษา ทั้งนี้ส่วนมากผู้หญิงมักมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HPV ได้ง่ายจากการมีเพศสัมพันธ์

การตรวจอิมมูโนโกลบูลิน

การตรวจหาอิมมูโนกลบบูลิน (immunoglobulin) เป็นการวัดระดับอิมมูโนกลบบูลิน หรือภูมิคุ้มกัน(แอนติบอดี)ในเลือด อิมมูโนกลบบูลิน เป็นโปรตีนที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นภูมิไว้ต่อสู้กับเชื้อโรค แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา และมะเร็ง รังแคสัตว์ อิมมูโนกลบบูลิน มีหลายชนิดเพื่อต่อสู้กับแอนติเจนหลายชนิด เช่นแบคทีเรีย ไวรัสและสารพิษ แต่บางครั้งร่างกายก็สร้างแอนติบอดีผิดพลาดทำต่อสู้กับเนื้อเยื่อตัวเองเกิดภาวะที่เรียกว่าโรคแพ้ภูมิ เมื่อเราติดเชื้อร่างกายจะสร้าง Antibody ต่อเชื้อนั้นและจดจำ เมื่อมีการติดเชื้อใหม่ ร่างกายจะตอบสนองต่อการติดเชื้อนั้นโดยการสร้าง Antibody อย่างมากทำให้ร่างกายเราต่อสู้กับเชื้อโรคได้

การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน

การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน (Pre wedding checkup) คือ การตรวจคัดกรองเพื่อประเมินสุขภาพก่อนการใช้ชีวิตร่วมกันของคู่รัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคู่รักที่กำลังวางแผนแต่งงาน ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มการทดสอบสุขภาพที่ครอบคลุมทั้งเพศหญิงและชาย โดยการทดสอบ ได้รับการออกแบบโดยแพทย์เฉพาะทาง เพื่อให้สามารถระบุถึงปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นตามมาในอนาคต ซึ่งอาจส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ เพื่อตรวจหาโรค และการติดเชื้อ รวมถึงลักษณะทางพันธุกรรมแฝง เช่น โรคทางกรรมพันธุ์ โรคติดเชื้อ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ทั้งนี้เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไปสู่กันและกันของคู่รัก และสู่ลูกหลาน การวางแผนการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานและมีบุตร จะช่วยสร้างความพร้อม ความมั่นใจ และความเข้าใจให้กับคู่รัก รวมถึงช่วยวางแผนชีวิตให้กับสมาชิกในครอบครัวในระยะยาว ทั้งยังช่วยให้มีความเข้าใจในสถานะทางสุขภาพของคู่ชีวิตได้เป็นอย่างดี

Antiretrovirals : ARV ยาต้านไวรัสหรือยารักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี

ยาต้านไวรัสเอชไอวี มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อเอชไอวีในกระแสเลือด เมื่อจำนวนเชื้อลดลง  ร่างกายก็สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้มากขึ้น   โอกาสในการเจ็บป่วยด้วยโรคฉวยโอกาสจึงลดลง เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยส่วนมากสามารถทำงานและดำรงชีวิตตามปกติได้  และการเสียชีวิตจากโรคฉวยโอกาสก็เป็นไปได้น้อย

การกินยาต้านฯ มีข้อที่ต้องคำนึงอยู่หลายประการ เมื่อแพทย์วินิจฉัยและให้การรักษา  ผู้ติดเชื้อจะต้องประเมินว่าตนเองมีความพร้อมในการรับยาแล้วหรือยัง   เพราะการกินยาต้านฯ ต้องกินให้ถูกต้อง ตรงเวลา และต่อเนื่องตลอดชีวิต เนื่องจากยาไม่สามารถกำจัดเชื้อเอชไอวีให้หมดไปจากร่างกายได้  ยาจะช่วยควบคุมจำนวนเชื้อให้มีน้อยที่สุด การกินยาตรงเวลา และต่อเนื่อง เพื่อไม่เปิดโอกาสให้เชื้อดื้อยาได้ง่าย และสามารถควบคุมเชื้อไว้ได้ตลอดเวลา

ยาต้านไวรัสเอชไอวี มีด้วยกันหลายชนิด ออกฤทธิ์แตกต่างกันไป การเลือกใช้ยา แพทย์จะพิจารณาตามความเหมาะสม สำหรับผู้ป่วยแต่ละราย   การรักษาที่จะให้ผลดี และช่วยลดปัญหาเชื้อดื้อยาได้ จะใช้ยา 3 ตัวรวมกัน หรือมากกว่า ที่เรียกว่า Highly Active Antiretroviral Therapy (HAART)