โรคธาลัสซีเมีย

โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) คือ โรคโลหิตจางทางพันธุกรรม  โรคนี้เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยพ่อและ/หรือแม่สามารถส่งต่อพันธุกรรมนี้มายังต่อลูก พบได้ทั้งเพศชายและเพศหญิงซึ่งเกิดจากความผิดปกติของยีน (Gene) ทำให้กระบวนการสร้างฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ในเม็ดเลือดแดงมีความผิดปกติ ในเม็ดเลือดแดง ทำให้ผลิตเม็ดเลือดแดงได้น้อย มีเม็ดเลือดแดงที่อายุสั้นและแตกง่าย และทำให้ขาดเม็ดเลือดแดงที่ทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ส่งผลให้เกิดภาวะโลหิตจางเรื้อรัง (Anemia)   เรื้อรังตั้งแต่กำเนิดไปจนตลอดชีวิต

โรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออก (Dengue Hemorrhagic Fever) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี  โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค มักพบในประเทศเขตร้อนและระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี อาการของโรคไข้เลือดออกมีตั้งแต่ไม่มีอาการผิดปกติ และอาการของโรคไข้เลือดออกแม้จะไม่รุนแรง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจนทำให้เสียชีวิตได้

โรคไข้หวัดใหญ่

โรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza, Flu) คือ โรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza Virus)   ซึ่งก่อให้เกิดอาการ ไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก คัดจมูก รู้สึกอ่อนเพลีย ครั่นเนื้อครั่นตัว หรือปวดเมื่อยตามร่างกาย  สามารถติดต่อระหว่างคนสู่คนได้ผ่านการไอ จาม หรือสัมผัสผู้ที่ติดเชื้อไวรัส หลายท่านอาจคิดว่าไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่ไม่อันตราย แต่ในความเป็นจริงแล้วไข้หวัดใหญ่อาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนหลังติดเชื้อหรือถึงแก่ชีวิตได้

วัณโรค

วัณโรค (Tuberculosis หรือ TB) คือ โรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียรุนแรง ซึ่งสามารถติดต่อกันผ่านทางอากาศได้ด้วยการหายใจ การจาม การไอ หรือการอยู่ร่วมกับผู้ป่วยวัณโรคติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรคได้ง่าย โดยวัณโรคเป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนทั่วโลก

เตรียมพร้อมรับมือกับโรคที่มักเกิดขึ้นในฤดูฝน

เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งฤดูที่เต็มไปด้วยโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ที่มาพร้อมกับสภาพอากาศที่เริ่มเย็นลง และความชื้นที่เพิ่มขึ้น ทำให้เชื้อโรคหลายชนิดสามารถแพร่ระบาดได้ง่ายขึ้น นำมาซึ่งเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ 

โรคอ้วน

โรคอัวน (Obesity) คือ ภาวะที่ร่างกายมีการสะสมไขมันมากเกินกว่าปกติหรือมากเกินกว่าที่ร่างกายจะเผาผลาญ จึงสะสมพลังงานที่เหลือเอาไว้ในรูปของไขมันตามอวัยวะต่างๆ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพ เช่น เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ทำกิจกรรมต่าง ๆ ยากลำบากขึ้น สูญเสียความมั่นใจ และเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ตามมา เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ ไขมันพอกตับ และยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

โรคหอบหืด

โรคหอบหืด (Asthma) เป็นโรคที่มีการอักเสบเรื้อรังของเยื่อบุหลอดลม ร่วมกับภาวะผิดปกติของหลอดลมที่ไวต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ มากกว่าปกติ โดยมักจะมีอาการเป็นๆ หายๆ เวลาที่มีอาการเราจะเรียกว่าหอบหืดกำเริบ อาการที่พบบ่อยคือ หายใจมีเสียงหวีด ไอ แน่นหน้าอก หายใจไม่อิ่ม 

โรคภูมิแพ้

โรคภูมิแพ้ เป็นอีกหนึ่งโรคยอดฮิตที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นภูมิแพ้อากาศ แพ้อาหาร แพ้ฝุ่นละออง แพ้เกสรดอกไม้ หรือแม้แต่โรคภูมิแพ้ตัวเอง  ส่งผลให้เกิดอาการอักเสบกับอวัยวะที่สัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้  โดยโรคภูมิแพ้ อาจจะเกิดได้ทั้งจากพันธุกรรมหรือสภาพแวดล้อม การใช้ชีวิต

โรคมะเร็ง

โรคมะเร็ง ถือเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของการเสียชีวิตของประชากรไทยตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน และยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งมะเร็งมีโอกาสเกิดขึ้นกับคนอายุน้อยเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย เนื่องจากผลกระทบภายในและภายนอกร่างกาย ก็เป็นปัจจัยสำคัญในการกระตุ้น ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้

โรคกรวยไตอักเสบ

เป็นโรคในระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นภาวะติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณกรวยไต ซึ่งอยู่ระหว่างไตกับท่อไต หรือมีการอักเสบของเนื้อเยื่อของไต ซึ่งอาจเกิดได้จากพฤติกรรมที่ใช้ในชีวิตประจำวันในเรื่องของการทำความสะอาดหลังปัสสาวะ อุจจาระเสร็จ หรือการกลั้นปัสสาวะนานๆ กรวยไตอักเสบ เป็นอาการที่พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย