โรคมะเร็งที่พบบ่อยในคนไทย

โรคมะเร็ง ถือเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของการเสียชีวิตของประชากรไทยตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน และยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งมะเร็งมีโอกาสเกิดขึ้นกับคนอายุน้อยเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย เนื่องจากผลกระทบภายในและภายนอกร่างกาย ก็เป็นปัจจัยสำคัญในการกระตุ้น ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ 

ปัญหาสุขภาพของผู้หญิงวัย 30 +

ผู้หญิงที่เข้าวัย 30  ถือเป็นวัยที่กำลังได้ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ไม่ต่างจากตอนช่วงอายุ 20 เลยด้วยซ้ำ เป็นวัยที่ได้ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ ผ่านประสบการณ์ชีวิต ก็อาจลืมใส่ใจเรื่องการทานอาหาร การออกกำลังกาย พักผ่อนน้อย เครียดกับงาน ที่ทำให้สุขภาพอาจสวนทางกัน  หากไม่ดูแลตัวเอง ปล่อยตัว ไม่ได้มีการตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ อาจเสี่ยงโรคเหล่านี้ไม่รู้ตัว  เพราะเมื่อเข้าสู่วัย 30 ร่างกายเราอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามกาลเวลา เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศ มวลกระดูกบางลง หรือร่างกายอาจเผาผลาญพลังงานได้น้อยลง เป็นต้น 

โรคภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน

โรคภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน (Anaphylaxis) คือ อาการภูมิแพ้ที่มีปฏิกิริยารุนแรงอย่างเฉียบพลัน เมื่อร่างกายได้รับสารกระตุ้นบางอย่าง เช่น อาหารหรือยาบางชนิด แมลงกัดต่อย หรือสารอื่น ๆ เนื่องจากระบบภูมิต้านทานของบุคคลนั้นไวต่อสารกระตุ้นดังกล่าวมากกว่าคนปกติ ส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายพร้อมกัน นอกจากอาการผื่นลมพิษทั่วไป เช่น ระบบทางเดินหายใจ จะมีอาการแสดงเป็นหอบเหนื่อย เขียว อันเนื่องมาจากมีหลอดลมตีบ ในส่วนของระบบทางเดินอาหาร อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน หรือในเด็กเล็กอาจจะมีอาการซึมลงหรือหงุดหงิดไม่สบายตัวได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจเกิดอาการรุนแรงถึงขั้นช็อก  หรือเสียชีวิตได้ โดยมากมักเกิดภายใน 5-30 นาทีหลังจากได้รับสารก่อภูมิแพ้ หรือไม่เกิน 2 ชั่วโมง หลังได้รับสารก่อภูมิแพ้ชนิดรับประทาน

โรคดาวน์ซินโดรม

โรคดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) เป็นภาวะโครโมโซมผิดปกติ และเป็นโรคพันธุกรรมที่เกิดจากการมีโครโมโซม 21 เกินมาทั้งอันหรือบางส่วน ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีพัฒนาการล่าช้า มีใบหน้าเป็นลักษณะเฉพาะ และมีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง ระดับเชาวน์ปัญญาโดยเฉลี่ยของผู้ป่วยโรคดาวน์ซินโดรม ในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นอยู่ประมาณ 50 เทียบเท่ากับเด็กอายุ 8-9 ปี   อย่างไรก็ดีระดับสติปัญญาของผู้ป่วยเหล่านี้อาจมีความแตกต่างกันได้มากเมื่อโตขึ้น และอาจมีปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ทำให้ผู้ป่วยโรคนี้ต้องได้รับการดูแลปัญหาสุขภาพมากกว่าคนปกติ

ความสำคัญของกลิ่นเหม็นจากช่องคลอดผู้หญิง

ช่องคลอดมีกลิ่นอาจเป็นเรื่องที่ผู้หญิงหลายคนกังวลใจ แต่รู้หรือไม่ว่าโดยปกติแล้วผู้หญิงอาจจะมีกลิ่นในช่องคลอดได้เล็กน้อย หรือบางครั้งไม่มีกลิ่นเลย   แต่หากมีกลิ่นฉุนเหม็นคาวมาก มีตกขาวผิดไปจากปกติ และมีอาการคัน หรือระคายเคืองบริเวณช่องคลอดร่วมด้วย นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนว่ากำลังมีโรคหรือความผิดปกติที่ไม่ควรละเลย การรับรู้กลิ่นในช่องคลอดเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ผู้หญิง สามารถดูแล และรักษาที่เหมาะสม เพราะกลิ่นไม่พึงประสงค์จากช่องคลอดอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น สุขอนามัย การอักเสบ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งการรักษาจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ในบางกรณีอาจดูแลรักษาได้ด้วยตนเอง แต่ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อเข้าตรวจสอบหาสาเหตุและรับคำแนะนำในการรักษาอย่างเหมาะสม

ฮอร์โมน คืออะไร? และสำคัญต่อร่างกายอย่างไร?

ฮอร์โมน (Hormone) คือ สารเคมีที่ร่างกายผลิตขึ้นมาจากต่อมไร้ท่อ (endocrine glands)  หรือเนื้อเยื่อ และลำเลียงไปตามกระแสเลือดไปยังเซลล์และอวัยวะต่างๆ ช่วยในการสื่อสารระหว่างเซลล์ ทำหน้าที่ร่วมกับอวัยวะต่างๆ และควบคุมระบบของร่างกายให้ทำงานได้อย่างปกติ  โดยฮอร์โมนจะหลั่งออกมาจากต่อมไร้ท่อ แล้วซึมเข้าสู่เส้นเลือด อาศัยระบบไหลเวียนโลหิต ส่งต่อไปยังเซลล์และอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เพื่อทำให้ร่างกายทำงานได้ปกติ

ตกขาวผิดปกติ (Pathologic vaginal discharge)

ตกขาว ระดูขาว หรือ มุตกิด (Leukorrhea, Leucorrhea หรือ Vaginal discharge) คือ สารคัดหลั่งที่ถูกขับออกมาทางช่องคลอด มีหน้าที่ช่วยในการหล่อลื่น ป้องกันการติดเชื้อ และระคายเคือง โดยผลิตจากต่อมภายในช่องคลอด และปากช่องคลอด เพื่อผลัดเซลล์เก่าภายในช่องคลอด ดังนั้นการมีตกขาวจึงเป็นเรื่องธรรมชาติของผู้หญิงทุกคน ผู้หญิงสามารถมีตกขาวได้เกือบทุกวัน ปริมาณมากบ้าง น้อยบ้าง หรือลักษณะของตกขาวอาจจะแตกต่างไปในแต่ละช่วงเวลา ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนของร่างกาย กล่าวคือ ช่วงไข่ตกหรือกลางรอบเดือน ตกขาวจะมีลักษณ์ใส ยืดได้คล้ายเจลลี่ แต่ในช่วงก่อนมีประจำเดือน ตกขาวจะเปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่นและข้น เป็นต้น 

การดูแลตนเองเบื้องต้นเมื่อทราบว่าติดเชื้อโควิด-19: แนะนำการดูแลและป้องกัน

การดูแลตนเองเมื่อทราบว่าติดเชื้อโควิด19 เป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสและลดความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้น นอกจากการไปพบแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำของหมอ การดูแลตนเองเบื้องต้นยังเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ร่างกายปรับตัวและฟื้นตัวได้รวดเร็วขึ้น เพื่อความรู้ที่มีประโยชน์มากยิ่งขึ้นในช่วงนี้ที่เราต้องรักษาตัวเองในบ้าน

การดูแลตนเองเมื่อทราบว่าติดเชื้อโควิด19 เป็นเรื่องสำคัญที่ช่วยลดความรุนแรงของโรค และช่วยป้องกันการแพร่ระบาดให้กับผู้อื่น คำแนะนำเหล่านี้เป็นเพียงเบื้องต้น ควรปฏิบัติตามคำแนะนำจากหมอและเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์อย่างเคร่งครัดเสมอ

โรคทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูก

โรคทางพันธุกรรม (Genetic Disorders) หรือโรคติดต่อทางพันธุกรรม เกิดจากความผิดปกติของยีนในพันธุกรรม หรือเกิดขึ้นบนโครโมโซมที่ได้รับการถ่ายทอดจากพ่อและแม่ที่เป็นพาหะมาสู่รุ่นลูก ซึ่งแนวโน้มว่าลูกที่เกิดมาจะมีความผิดปกติทางพันธุกรรมด้วย ยีนที่ผิดเพี้ยนไปนี้จะส่งผลต่อสุขภาพ ทำให้เกิดโรคทางพันธุกรรมถ่ายทอดสู่ลูกหลานได้โรคทางพันธุกรรมส่วนใหญ่ไม่สามารถป้องกันได้ และจะตรวจพบความผิดปกติเมื่อทารกคลอดออกมาแล้ว แม้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดแต่ถ้ารีบดำเนินการรักษา ก็ช่วยให้ทารกมีโอกาสเติบโตได้อย่างปกติ หากได้รับการรักษาล่าช้ามีโอกาสที่ทารกจะพิการ หรือเสียชีวิตได้เช่นกันฉะนั้นโรคที่เกิดขึ้นทางพันธุกรรมสามารถรักษาเพื่อบรรเทาอาการ แต่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การตรวจสุขภาพเพื่อคัดกรองโรคก่อนแต่งงานและก่อนการมีบุตรเป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถป้องกันโรคทางพันธุกรรมได้

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) 

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากการตีบตัน หรือต่อมตันของหลอดเลือดที่นำเลือดไปสู่สมอง ซึ่งทำให้เซลล์สมองได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ โรคนี้สามารถทำให้เกิดผลกระทบต่อส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของสมองขึ้นอยู่กับการเกิดการตีบตันหรือต่อมตันมากน้อยและตำแหน่งที่เกิดขึ้น หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะทำให้เซลล์สมองค่อยๆ ตายลง ดังนั้นผู้ป่วยจำเป็นต้องพบแพทย์ทันที การรักษาอย่างรีบด่วนเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะช่วยลดความรุนแรงจากภาวะสมองตาย และรวมถึงลดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ และยังป้องกันความพิการและทุพพลภาพที่จะเกิดขึ้น