การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน

การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน (Pre wedding checkup) คือ การตรวจคัดกรองเพื่อประเมินสุขภาพก่อนการใช้ชีวิตร่วมกันของคู่รัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคู่รักที่กำลังวางแผนแต่งงาน ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มการทดสอบสุขภาพที่ครอบคลุมทั้งเพศหญิงและชาย โดยการทดสอบ ได้รับการออกแบบโดยแพทย์เฉพาะทาง เพื่อให้สามารถระบุถึงปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นตามมาในอนาคต ซึ่งอาจส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ เพื่อตรวจหาโรค และการติดเชื้อ รวมถึงลักษณะทางพันธุกรรมแฝง เช่น โรคทางกรรมพันธุ์ โรคติดเชื้อ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ทั้งนี้เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไปสู่กันและกันของคู่รัก และสู่ลูกหลาน การวางแผนการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานและมีบุตร จะช่วยสร้างความพร้อม ความมั่นใจ และความเข้าใจให้กับคู่รัก รวมถึงช่วยวางแผนชีวิตให้กับสมาชิกในครอบครัวในระยะยาว ทั้งยังช่วยให้มีความเข้าใจในสถานะทางสุขภาพของคู่ชีวิตได้เป็นอย่างดี

Antiretrovirals : ARV ยาต้านไวรัสหรือยารักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี

ยาต้านไวรัสเอชไอวี มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อเอชไอวีในกระแสเลือด เมื่อจำนวนเชื้อลดลง  ร่างกายก็สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้มากขึ้น   โอกาสในการเจ็บป่วยด้วยโรคฉวยโอกาสจึงลดลง เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยส่วนมากสามารถทำงานและดำรงชีวิตตามปกติได้  และการเสียชีวิตจากโรคฉวยโอกาสก็เป็นไปได้น้อย

การกินยาต้านฯ มีข้อที่ต้องคำนึงอยู่หลายประการ เมื่อแพทย์วินิจฉัยและให้การรักษา  ผู้ติดเชื้อจะต้องประเมินว่าตนเองมีความพร้อมในการรับยาแล้วหรือยัง   เพราะการกินยาต้านฯ ต้องกินให้ถูกต้อง ตรงเวลา และต่อเนื่องตลอดชีวิต เนื่องจากยาไม่สามารถกำจัดเชื้อเอชไอวีให้หมดไปจากร่างกายได้  ยาจะช่วยควบคุมจำนวนเชื้อให้มีน้อยที่สุด การกินยาตรงเวลา และต่อเนื่อง เพื่อไม่เปิดโอกาสให้เชื้อดื้อยาได้ง่าย และสามารถควบคุมเชื้อไว้ได้ตลอดเวลา

ยาต้านไวรัสเอชไอวี มีด้วยกันหลายชนิด ออกฤทธิ์แตกต่างกันไป การเลือกใช้ยา แพทย์จะพิจารณาตามความเหมาะสม สำหรับผู้ป่วยแต่ละราย   การรักษาที่จะให้ผลดี และช่วยลดปัญหาเชื้อดื้อยาได้ จะใช้ยา 3 ตัวรวมกัน หรือมากกว่า ที่เรียกว่า Highly Active Antiretroviral Therapy (HAART)

ตรวจลิควิดเบส (Liquid based)

เป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยการเก็บตัวอย่างเซลล์ด้วยของเหลว (Liquid based cytology) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ตินแพร็พ (ThinPrep Pap Test) เรียกตามยี่ห้อน้ำยาที่ใช้ตรวจ โดยวิธีการตรวจที่มีการใช้น้ำยา หรือ สารเคมีมาช่วยในการขจัดเซลล์หรือ เนื้อเยื่ออื่น ๆ ที่ไม่ใช่เซลล์มะเร็งออกไปก่อน ช่วยให้สามารถค้นหาเซลล์มะเร็งได้ดีขึ้นกว่าวิธีดั้งเดิม  ซึ่งทางสูตินรีแพทย์จะใช้แปรงขนาดเล็กเก็บเซลล์เยื่อบุผิวจากบริเวณปากมดลูก ถอดหัวของแปรงใส่ลงในน้ำยารักษาสภาพเซลล์ ซึ่งจะทำให้ได้ตัวอย่างเซลล์ได้มากขึ้น และส่งเข้าเครื่องอัตโนมัติในการเตรียมเซลล์เยื่อบุผิวที่ปราศจากสิ่งปนเปื้อนพวกมูก หรือ เม็ดเลือดและลดการซ้อนทับของเซลล์ที่หนาแน่นเกินไปลงบนแผ่นสไลด์แก้ว ช่วยเพิ่มโอกาสให้พยาธิแพทย์ในการตรวจพบความผิดปกติที่มีอยู่ได้ดียิ่งขึ้น 

วัคซีนป้องกันเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือโรคฮิบ

วัคซีนป้องกันเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือ วัคซีนฮิบ (Hib Vaccine) คือ วัคซีนที่ใช้ป้องกันการติดเชื้อ Haemophilus influenzae type b (Hib) เชื้อฮิปเป็นกลุ่มแบคทีเรียที่สามารถอาศัยอยู่ในโพรงจมูกและลำคอของคนที่มีสุขภาพดีโดยไม่ก่อให้เกิดอาการใดๆ  แบคทีเรียฮิบจะแพร่กระจายในลักษณะคล้ายกับไวรัสไข้หวัดใหญ่ โดยเชื้อโรคฮิบ จะผ่านไปกับละอองของเหลวจากการไอและจามของมนุษย์, การติดเชื้อโรคฮิบ ในทารกและเด็กเล็กสามารทำให้เกิดโรคปอดบวม,  กล่องเสียงอักเสบ, หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ได้อย่างง่ายดาย ดังนั้นปัจจุบันจึงใช้เป็นหนึ่งในวัคซีนทางเลือกโดยเฉพาะในเด็กที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคฮิบ   

โรคโลน

โลน (Pediculosis Pubis หรือ Pubic Lice) คือ ปรสิตชนิดแมลงขนาดเล็ก มีขนาดเล็กมากประมาณ 1-2 มิลลิเมตร มีขา 3 คู่ แต่ที่ปลายขาหน้าจะมีลักษณะก้ามคล้ายขาปู ภาษาอังกฤษเรียกว่า crab louse ส่วนขานี้เองที่ใช้เป็นตัวเกี่ยวเส้นขนส่วนต่าง ๆ ตามร่างกาย มักอาศัยอยู่บนผิวหนัง และขนบริเวณรอบอวัยวะเพศ สามารถแพร่กระจายได้ง่ายในระหว่างมีเพศสัมพันธ์ 

ทำความรู้จัก PMS และ PMDD เกี่ยวข้องอย่างไรกับประจำเดือน

ผู้หญิงทุกคน คุณเคยมีอาการดังต่อไปนี้หรือเปล่า? อารมณ์แปรปรวนก่อนมีประจำเดือน เศร้า หดหู่ เซ็ง หงุดหงิดง่าย ร้องไห้บ่อย ปวดหัวตัวร้อนไข้ขึ้น ตัวบวมท้องอืด  น่าเบื่อไปหมดทุกอย่าง อาการเหวี่ยงวีนของสาวๆ บางทีสาวๆ อย่างเราก็ยังไม่เข้าใจตัวเองเลย ซึ่งจะเป็นช่วงสัปดาห์ก่อนประจำเดือน อาการเหล่านี้ เป็นสัญญาณบอกว่าประจำเดือนกำลังจะมา เรามาเช็คอาการที่มักจะเป็นก่อนมีประจำเดือน ว่าเราจัดอยู่ในกลุ่มอาการแบบไหน ต้องรักษาไหม?

ข้อดีจากการตรวจหาเชื้อเอชไอวี

การตรวจหาเชื้อเอชไอวี (HIV) คือ การนำสารคัดหลั่งจากร่างกายไปตรวจหาเชื้อเอชไอวี ในห้องปฏิบัติการ โดยสามารถเก็บตัวอย่างได้จากการขูดเซลล์ หรือน้ำลายในช่องปาก แต่ที่นิยมในปัจจุบัน ก็คือ การตรวจจากเลือด ซึ่งมีให้บริการทั่วไปตามคลินิกและโรงพยาบาลต่างๆ นอกจากนี้หากไม่ต้องการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว ก็สามารถปรึกษาเภสัชกรเพื่อซื้อชุดตรวจเอชไอวี แบบตรวจด้วยตัวเองมาใช้ได้ แต่หากได้รับผลเป็นบวกก็ยังคงต้องตรวจยืนยันผลอีกครั้งในห้องปฏิบัติการเช่นกัน

วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี

โรคไข้สมองอักเสบเจอี  เกิดจากเชื้อไวรัสเจอี (Japanese encephalitis virus, JEV)   โดยมียุงรำคาญ ชนิด Culex tritaeniorrhynchus ซึ่งหากินเวลากลางคืนเป็นพาหะนำโรค ซึ่งโรคนี้ทำให้เกิดการอักเสบของระบบสมองส่วนกลาง ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ เป็นผลให้มีอัตราการตายสูง และก่อให้เกิดความพิการทางสมองในผู้ที่รอดชีวิต ส่วนใหญ่มักจะเป็นในเด็ก ระยะฟักตัวของโรค 5-15 วัน ผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสนี้ส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการ มีเพียงส่วนน้อยที่จะป่วยอาการรุนแรง เช่น มีไข้สูง ปวดศีรษะรุนแรง อาเจียนพุ่ง มีอาการชักเกร็ง ไม่รู้สึกตัว  และอาจเสียชีวิตได้  แต่ถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะรอดชีวิตก็มักมีความพิการทางสมองหลงเหลืออยู่ ซึ่งโรคนี้ไม่มียารักษาเฉพาะ แต่สามารถป้องกันได้ด้วยฉีดวัคซีนป้องกันโรคใช้สมองอักเสบเจอี ส่วนใหญ่มักจะได้รับวัคซีนตั้งแต่ยังเด็ก หลังจากได้รับคอร์สแรกแล้ว อาจต้องฉีดกระตุ้นทุก ๆ 4-5 ปี เพื่อให้ภูมิคุ้มกันอยู่ในระดับสูงพอที่จะป้องกันโรคได้

การดูแลตัวเองเมื่อป่วยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

เมื่อเราพูดถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เราต้องยอมรับว่ามันเป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถเผชิญหน้าได้ เราต้องการความรู้และความเข้าใจในเรื่องนี้เพื่อป้องกันและดูแลตัวเองเมื่อเราต้องเผชิญหน้ากับโรค และการดูแลตัวเองเมื่อป่วยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และวิธีการป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงในอนาคต

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คือ โรคที่ติดเชื้อ และแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ทั้งจากการร่วมเพศทางช่องคลอด ทางปาก หรือทวารหนัก ปัญหาหลักของโรคเหล่านี้ คือ ผู้ป่วยจะรู้ว่าตนเองป่วยหรือมีความผิดปกติเมื่อเวลาผ่านไปนาน บางคนก็เพิกเฉยต่ออาการเหล่านั้น หรืออายที่จะเข้ารับการรักษากับแพทย์ ทำให้โรคนั้นรุนแรงลุกลามเกินกว่าที่จะแก้ไขได้ทันเวลา

ตรวจแปปสเมียร์ (Pap smear)

การตรวจแปบเสมียร์ Pap Smear หรือ Pap Test ย่อมาจาก The Papanicolaou Smear หรือมีชื่อเรียกแบบเป็นทางการว่า Conventional Pap Smear  เป็นแนวทางการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิง ผ่านการใช้เครื่องมือ Speculum สอดเข้าไปในปากช่องคลอดลึกถึงบริเวณปากมดลูก เพื่อป้ายเก็บตัวอย่างเซลล์เยื่อบุผิวในตำแหน่งดังกล่าว จากนั้นนำออกมาส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อหาเซลล์ที่ผิดปกติและบ่งบอกถึงโอกาสเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกในอนาคต ซึ่งถือเป็นวิธีการตรวจที่ปลอดภัย มีผลข้างเคียงน้อย ประหยัดเวลา และมีราคาไม่สูง