ตรวจรักษาโรคทั่วไป ตรวจอะไรบ้าง? 

ตรวจรักษาโรคทั่วไป เป็นการบริการตรวจรักษาผู้ป่วยโรคทั่วไป  ด้วยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในการตรวจ วินิจฉัย และรักษาโรค ในกรณีที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยแพทย์เฉพาะทาง  หรือต้องผ่าตัด เรายังมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หลากหลาย สาขาวิชา ที่พร้อมให้การดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุด

เนื้องอกในมดลูก

เนื้องอกในมดลูก (Myoma Uteri หรือ Uterine Fibroid) เป็นโรคของกล้ามเนื้อมดลูก เกิดจากการเปลี่ยนแปลงเซลล์กล้ามเนื้อของมดลูกที่ผิดปกติ อาจเกิดในเนื้อมดลูกหรืออยู่ในโพรงมดลูก หรือโตเป็นก้อนนูนออกมาจากตัวมดลูก และผู้ป่วยอาจคลำพบได้ เนื้องอกมดลูกส่วนใหญ่ไม่ใช่เนื้อร้าย โดยจะพบว่ากลายเป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็งไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ ก้อนเนื้องอกอาจเกิดเป็น 1 ก้อนใหญ่ หรือก้อนเล็กๆ หลายก้อน และเมื่อก้อนเนื้องอกโตขึ้นจะไปกดทับอวัยวะบริเวณใกล้เคียงจนส่งผลแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา แต่ก็มีในบางรายที่เนื้องอกมดลูกไม่โตขึ้น และไม่ก่อให้เกิดอาการใดๆ การเปลี่ยนแปลงขนาดนี้มักขึ้นอยู่กับสภาวะฮอร์โมนในร่างกาย เช่น ตั้งครรภ์หรือภาวะหมดประจำเดือน ซึ่งมักจะพบได้บ่อยในผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป หรือในวัยเจริญพันธุ์

โรคเอ็ดเวิร์ดซินโดรม

เอ็ดเวิร์ด ซินโดรม (Edward’s Syndrome หรือ Trisomy 18) คือ โรคทางพันธุกรรมที่เกี่ยวของกับความผิดปกติของโครโมโซม เกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 18 เกินมา 1 แท่ง ซึ่งความเสี่ยงของโรคจะเพิ่มขึ้นหากมารดามีอายุมากขึ้น ทำให้มีอาการผิดปกติจากคนทั่วไป เช่น ปัญญาอ่อน ปากแหว่ง เพดานโหว่ ปากและกรามเล็ก คางเว้า ขากรรไกรสั้น หูต่ำกว่าคนปกติ มีรอยพับย่นบนเปลือกตา นอกจากนี้ยังมีความผิดปกติเกี่ยวกับม่านตา ผิวทับซ้อนกันขณะกำมือ นิ้วมือบิดงอ กำแน่น และไม่พัฒนา สะดือจุ่น อัณฑะไม่ลงไปในถุง ปอด และระบบย่อยอาหารผิดปกติ มีปัญหาเกี่ยวกับไต หัวใจพิการ น้ำหนักน้อย โดนส่วนใหญ่จะพบในเด็กทารกผู้หญิง และเสียชีวิตตั้งแต่ก่อน 1 ขวบ

ไตรกลีเซอไรด์ กับ คอเลสเตอรอล ต่างกันอย่างไร?

ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) คือ อนุภาคไขมันในร่างกายเป็นไขมันชนิดหนึ่งมีอนุภาคขนาดเล็ก ที่ลอยอยู่ในเลือดหลังจากถูดดูดซึมมาทางลำไส้ใหญ่ โดนปกติร่างกายสามารถสังเคราะห์กลีเซอไรด์ขึ้นได้เองจากในตับ หรืออาจจะมาจากอาหารต่างๆที่ทานเข้าไปในแต่ละวันโดยเมื่อมีการกินอาหารเข้าไปในร่างกาย เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน น้ำมัน เนย หรืออาหารที่มีไขมันต่างๆ  ซึ่งไตรกลีเซอไรด์จะถูกส่งผ่านเข้าไปในกระแสเลือด โดยอาศัยตัวช่วยอย่างไลโปโปรตีนและส่งต่อไปยังเซลล์ เมื่อเรากินอาหารที่มีไขมันเข้าไปจำนวนมาก ไขมันเหล่านี้จะเปลี่ยนเป็นไตรกลีเซอไรด์ และกลายเป็นพลังงานสำรองของร่างกาย บางส่วนถูกเก็บสะสมในตับ 

NIPT การตรวจคัดกรองหาความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์

การตรวจ NIPT (Non-Invasive Prenatal Testing) คือ การตรวจคัดกรองเพื่อหาความเสี่ยงของการมีความผิดปกติจำนวนโครโมโซม ที่มีการเกินทั้งแท่งโครโมโซม (Trisomy) หรือขาดหายไปทั้งแท่งโครโมโซม (Monosomy) ของทารกที่อยู่ในครรภ์ โดยจะตรวจจากเลือดของมารดา เป็นวิธีที่ไม่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายกับทารกในครรภ์ 

โดยวิเคราะห์จากสารพันธุกรรมดีเอ็นเอของทารก  (Fetal cell-free DNA)  หรือการตรวจหาชิ้นส่วน DNA ของทารก และเนื้อรกที่หลุดออกมาปะปนอยู่ในกระแสเลือดของคุณแม่ ซึ่งชิ้นส่วน DNA นี้ เป็นสาย DNA ที่ไม่ได้อยู่ภายในเซลล์ จึงถูกเรียกว่า cell-free DNA (cfDNA) ดังนั้น จึงสามารถเรียกการตรวจ NIPT นี้ว่า เป็นการตรวจแบบ cell-free DNA testing ได้เช่นเดียวกัน

สีของตกขาว ปัญหาที่ผู้หญิงทุกคนควรสังเกต

สีของตกขาวที่เปลี่ยนแปลงไปจากสีใส หรือสีขาวขุ่น และหากเกิดพร้อมกับอาการผิดปกติอื่น ๆ เช่น ตกขาวมีกลิ่นเหม็น อาการคันช่องคลอด ปวดท้อง แสบร้อนบริเวณช่องคลอด ซึ่งช่วยบ่งบอกว่าตกขาวดังกล่าวเป็นตกขาวที่ผิดปกติ ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการติดเชื้อในช่องคลอด ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ยังเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น การอักเสบ เนื้องอก มะเร็ง รวมทั้งการมีสิ่งแปลกปลอมในช่องคลอด 

การสังเกตลักษณะตกขาวสีต่างๆ และอาการที่เกิดขึ้นร่วมกับการมีตกขาวที่ผิดปกติ อาจช่วยให้เราทราบถึงสาเหตุของการป่วยในเบื้องต้นได้

HPV DNA Test การตรวจแบบเจาะลึกถึงระดับ DNA

การตรวจ HPV DNA Test คือการตรวจในระดับโมเลกุล เพื่อหาเชื้อ HPV ความเสี่ยงสูงทั้ง 14 สายพันธุ์ ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก ประมาณ 99% โดยมีวิธีการตรวจเหมือนตรวจภายใน คือ เก็บเซลล์บริเวณตัวอย่างที่ปากมดลูกช่องคลอดด้านใน ส่งตรวจเหมือนวิธีการตรวจด้วยน้ำยา ซึ่งสามารถที่จะตรวจหาเซลล์และแยกน้ำยาเพื่อจะตรวจหาเชื้อ HPV DNA ได้

ปัจจุบัน HPV DNA ถือเป็นการคัดกรองที่มีความแม่นยำและสามารถรู้ผลได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ามารถป้องกัน และรักษาได้ทันท่วงที ก่อนที่มะเร็งจะลุกลามจนยากแก่การรักษา ทั้งนี้ส่วนมากผู้หญิงมักมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HPV ได้ง่ายจากการมีเพศสัมพันธ์

HDL และ LDL ต่างกันอย่างไร?

คอเลสเตอรอลเป็นไขมันชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อร่างกาย มีลักษณะกึ่งของแข็งกึ่งของเหลวคล้ายขี้ผึ้ง ที่จริงแล้วคอเลสเตอรอลเป็นสารที่จำเป็นต่อร่างกายในการสร้างเซลล์ รวมถึงการผลิตวิตามิน ฮอร์โมน และสารต่างๆ ออกมาใช้  โดยปกติแล้วร่างกายสามารถสร้างคอเลสเตอรอลขึ้นได้เองจากตับ แต่คอเลสเตอรอลที่เกินความจำเป็นต่อร่างกายมักมาจากอาหารที่รับประทานเข้าไป ไม่ว่าจะจากเนื้อสัตว์ติดมัน ไข่แดง นม หรือผลิตภัณฑ์จากนม ซึ่งการที่เรามีคอเลสเตอรองสูงจะเป็นปัจจัยสำคัญในการทำร้ายสุขภาพของเราได้  เช่น การเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดได้

การตรวจอิมมูโนโกลบูลิน

การตรวจหาอิมมูโนกลบบูลิน (immunoglobulin) เป็นการวัดระดับอิมมูโนกลบบูลิน หรือภูมิคุ้มกัน(แอนติบอดี)ในเลือด อิมมูโนกลบบูลิน เป็นโปรตีนที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นภูมิไว้ต่อสู้กับเชื้อโรค แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา และมะเร็ง รังแคสัตว์ อิมมูโนกลบบูลิน มีหลายชนิดเพื่อต่อสู้กับแอนติเจนหลายชนิด เช่นแบคทีเรีย ไวรัสและสารพิษ แต่บางครั้งร่างกายก็สร้างแอนติบอดีผิดพลาดทำต่อสู้กับเนื้อเยื่อตัวเองเกิดภาวะที่เรียกว่าโรคแพ้ภูมิ เมื่อเราติดเชื้อร่างกายจะสร้าง Antibody ต่อเชื้อนั้นและจดจำ เมื่อมีการติดเชื้อใหม่ ร่างกายจะตอบสนองต่อการติดเชื้อนั้นโดยการสร้าง Antibody อย่างมากทำให้ร่างกายเราต่อสู้กับเชื้อโรคได้

วัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออก

วัคซีนไข้เลือดออก (Dengue vaccine) เป็นวัคซีนชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ (live, attenuated) ผลิตโดยใช้เทคโนโลยี recombinant DNA นำส่วน Pre-Membrane (prM) และ envelope gene ของไวรัสเดงกี่ ทั้ง 4 สายพันธุ์ มาใส่ในไวรัส Yellow fever สายพันธุ์ 17D จากนั้นนำไปเพาะเลี้ยงใน Vero cell เพื่อให้ได้วัคซีน Chimeric Yellow fever Dengue Tetravalent Dengue Vaccine (CYD-TDV) ซึ่งวัคซีนนี้จะออกฤทธิ์ โดยเชื้อไวรัสที่อ่อนฤทธิ์ไปแบ่งตัว และกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ คือ ใช้ป้องกันโรคไข้เลือดออกที่มีสาเหตุจากไวรัสเดงกี่ ทั้ง 4 สายพันธุ์