ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย

ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial vaginosis) เป็นอาการอักเสบซึ่งเกิดจากความไม่สมดุลของแบคทีเรียในช่องคลอด ทำให้เกิดอาการระคายเคือง คัน และมีตกขาวผิดปกติ โดยสามารถเกิดขึ้นได้ในผู้หญิงทุกช่วงวัย แต่มักพบมากในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีช่วงอายุ 15-49 ปี  แม้ว่าในผู้หญิงที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะนี้ได้เช่นกันและเป็นสาเหตุของภาวะตกขาวผิดปกติที่พบบ่อยที่สุด

ชายรักชายมีเพศสัมพันธ์อย่างไรให้ปลอดภัย

การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยในชายรักชาย นอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงในการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แล้ว ยังอาจช่วยป้องกันการแพร่เชื้อไปยังคู่นอนของตัวเองได้ด้วย เพราะโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางโรค  หากมีการติดเชื้อในระยะเริ่มต้น อาจยังไม่แสดงอาการ จึงทำให้ชายรักชายแพร่เชื้อไปให้คู่นอนของตัวเองได้โดยไม่รู้ตัว  เนื่องมาจากการมีเพศสัมพันธ์ ของชาย รักชาย  นั้นมีโอกาสเสี่ยงมากกว่า เนื่องจากทวารหนักไม่ใช่ช่องทางธรรมชาติเหมือนกับช่องคลอดที่มีความยืดหยุ่น กว่า เมื่อมีเพศสัมพันธ์ที่รุนแรงอาจทำให้ทวารหนักฉีกขาดหรือมีบาดแผล จึงเป็นช่องทางให้เชื้อโรคเข้าได้ จนเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น หนองใน หนองในเทียม เอชไอวี ซิฟิลิส ซึ่งอาจส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อย ที่ส่งผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์ และทารกในครรภ์

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นโรคที่สามารถพบได้บ่อยในสตรีตั้งครรภ์ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการตั้งครรภ์แตกต่างกันไปและอาจเกิดอันตรายต่อสตรีตั้งครรภ์ และทารกในครรภ์ได้ โดยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อาจจะได้รับเชื้อในขณะที่ยังไม่ได้ตั้งครรภ์ หรืออาจจะได้รับเชื้อในขณะที่ตั้งครรภ์แล้วก็ได้

โรคติดต่อทางเพศสัมพันที่มีอาการแสดงมักจะได้รับการรักษา แต่โรคหลายชนิดที่ไม่มีอาการแสดง สามารถแฝงตัวในร่างกายนานเป็นสิบปี โดยไม่มีอาการปรากฏให้เห็น ทำให้ผู้หญิงส่วนใหญ่จึงละเลยไม่ใส่ใจ ไม่รักษา หรือดูแลตัวเองอย่างถูกต้องเหมาะสม ในระยะยาว เชื้อโรคเหล่านี้อาจมีผลต่อการตั้งครรภ์ และทารกที่จะเกิดมา ฉะนั้นสตรีตั้งครรภ์จึงควรได้รับการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การรักษา การป้องกัน และให้คำแนะนำอย่างถูกต้อง

ทำไม? ก่อนตรวจเลือดจึงต้องงดน้ำ งดอาหาร

การตรวจเลือด สามารถวินิจฉัยโรคบางชนิดที่ไม่สามารถวิเคราะห์ได้จากการซักประวัติ  ผลการตรวจเลือดจึงต้องการความชัดเจน และถูกต้องที่สุด แต่สารอาหาร และสารจากเครื่องดื่มต่าง ๆ ที่เรารับประทานเข้าไปาสู่กระแสเลือด และอาจทำให้ผลเลือดมีความแปรปรวนจากความเป็นจริงได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องงดรับประทานอาหารและเครื่องดื่มก่อนการตรวจเลือดในการตรวจค่าบางอย่าง เพื่อให้ผลเลือดมีความแม่นยำที่สุด ซึ่งหลังจากเจาะเลือดเรียบร้อยร้อยแล้วเราสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติในระหว่างรอผลเลือด

โรคเกี่ยวกับไตที่พบได้บ่อยในคนไทย

โรคไต คือ กลุ่มโรค หรือภาวะที่ทำให้ไตเกิดความเสียหาย หรือทำงานผิดปกติจนเกิดอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ตามมา เนื่องจากไตไม่สามารถฟอกเลือดหรือขับของเสียออกจากเลือดได้ตามปกติ  มีหลายชื่อเรียกกัน เช่น ไตวาย ไตเสื่อม ไตทำงานลดลง แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก คือ โรคไตเฉียบพลัน และโรคไตเรื้อรัง หากป่วยเป็นโรคไต ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อบรรเทาอาการและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อชีวิต ดังนั้น หากสังเกตพบอาการที่บ่งชี้ว่าไตมีปัญหา ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาให้ทันการณ์

ตรวจระดับฮอร์โมน

การตรวจระดับฮอร์โมน หรือการตรวจเลือดวิเคราะห์ฮอร์โมน ( Hormone Assays ) เป็นการตรวจหาความผิดปกติของฮอร์โมนต่างๆ เพื่อให้รู้ว่าฮอร์โมนแต่ละชนิดมีการหลั่งออกมามากหรือน้อยกว่าปกติหรือไม่ เป็นหนึ่งในวิธีหาสาเหตุของความผิดปกติในร่างกาย เมื่อทราบว่าฮอร์โมนใดที่ผิดปกติแล้ว ก็สามารถสืบย้อนกลับไปได้ว่าฮอร์โมนตัวนั้นหลั่งออกมาจากต่อมใดจนพบปัญหาที่แท้จริง และแก้ปัญหาอย่างถูกต้อง ตรงจุด ซึ่งจะมีการตรวจระดับฮอร์โมนต่างๆในเลือด เช่น FSH, LH, Estradiol, Progesterone, ฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) ,Prolactin,TSH, FT4, ACTH, Cortisol เป็นต้น

โรคเกี่ยวกับตับที่พบได้บ่อยในคนไทย

โรคตับ คือ อาการเจ็บป่วยที่ส่งผลให้ตับเกิดความเสียหาย จนไม่สามารถทำงานได้ตามปกติหรือทำได้แต่ด้อยประสิทธิภาพลง เพราะตับ เป็นอวัยวะสำคัญ ที่มีหน้าที่สร้างน้ำดี เพื่อการช่วยย่อยอาหารประเภทไขมัน และทำลายสารพิษที่เข้าสู่ร่างกาย พร้อมทั้งกรองของเสียต่างๆ ให้เป็นของดีมีประโยชน์ สามารถนำกลับมาใช้ในร่างกาย หากตับทำงานได้น้อยลง หรือเกิดโรคของตับ เช่น มีไขมันพอกตับ ตับอักเสบ ตับแข็ง  จะส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติทางร่างก่ายที่ส่งผลไปทั้งระบบ จนนำไปสู่การเสียชีวิตได้เมื่อตับเสียการทำงานจนถึงขั้นเข้าสู่ภาวะตับวาย และโรคมะเร็งตับได้

ช็อกโกแลตซีสต์

ช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst ,Endometriotic cyst ,Endometrioma) หรือโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ คือ  เกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดลอกเป็นประจำเดือน แล้วเลือดประจำเดือนไหลย้อนกลับเข้าไปในช่องท้องแล้วไปฝังตัวที่รังไข่จนทำให้เกิดเป็นถุงน้ำ ซึ่งภายในบรรจุไปด้วยของเหลวคล้ายเลือดประจำเดือน สะสมไว้จนกลายเป็นสีเข้มขึ้นคล้ายสีช็อกโกแลต 

โดยมักพบเยื่อบุโพรงมดลูกไปเจริญอยู่ที่บริเวณผิวด้านนอกมดลูกและบริเวณใกล้เคียง เช่น ท่อนำไข่  รังไข่ กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ ช่องคลอด มดลูก และเยื่อบุช่องท้องบริเวณอุ้งเชิงกราน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีทฤษฎีที่เชื่อว่าเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกกระจายไปที่อื่นได้ โดยผ่านทางระบบหลอดเลือดและน้ำเหลือง ทำให้สามารถพบความผิดปกติที่อวัยวะอื่นๆ ได้ทั้ง ปอด ตับ ต่อมน้ำเหลือง สมอง และผิวหนัง เป็นต้น

ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคนี้ได้แก่ สตรีที่วัยทองเข้าสู่การหมดประจําเดือน มีบุตรตอนอายุมาก ผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวป่วยด้วยโรคนี้ รวมทั้งพฤติกรรมดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และคาเฟอีนเป็นประจำ

โรคมะเร็งเต้านม

เต้านม อวัยวะที่แสดงถึงลักษณะทางเพศหญิงอย่างหนึ่ง ประกอบไปด้วยต่อมน้ำนม ท่อน้ำนม ไขมัน เส้นเลือด ต่อมน้ำเหลือง เต้านมวางอยู่บนกล้ามเนื้อหน้าอกและซี่โครง มีหน้าที่ในการสร้างน้ำนม โดยเต้านมจะขยายขนาดตอบสนองกับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ซึ่งผลิตจากรังไข่เป็นหลัก 

โรคมะเร็งเต้านม (Breast cancer) เกิดเนื่องการแบ่งตัวผิดปกติของเซลล์ท่อน้ำนมหรือต่อมน้ำนมทำให้เกิดเป็นก้อนเนื้องอก โดยหากไม่ได้รับการรักษา มะเร็งจะโตขึ้นและกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ก่อนที่จะกระจายไปอวัยวะอื่นๆ เช่น ปอด ตับ สมอง กระดูก จนเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิต

การตรวจสุขภาพเฉพาะทาง มีอะไรบ้าง?

การตรวจสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นการดูแลเอาใจใส่ร่างกายของเราด้วยการตรวจคัดกรองความเสี่ยง หาความผิดปกติภายในของร่างกาย แม้เราจะคิดว่าสุขภาพดีอยู่แล้ว ไม่มีความผิดปกติอะไร แต่อาการเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เราไม่ได้สังเกตนั้นอาจเป็นสัญญาณเตือนที่เราไม่ล่วงรู้มาก่อนก็ได้ และการตรวจสุขภาพแบบเฉพาะทาง ส่วนใหญ่จะตรวจตามความเสี่ยงโดยมีปัจจัย เช่น ช่วงอายุ ประวัติทางพันธุกรรม หรือมีอาการผิดปกติ โดยมีการตรวจระดับค่าสารบ่งชี้มะเร็ง การตรวจทางรังสีวิทยา