หญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อเอชไอวีต้องทำอย่างไร?

การติดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกเป็นสาเหตุหลักของการติดเชื้อเอชไอวีในเด็ก กรณีไม่ได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวีระหว่างตั้งครรภ์ มีโอกาสถ่ายทอดเชื้อให้ทารกสูงมาก ซึ่งการติดเชื้อเอชไอวีไม่เพิ่มความพิการแต่กำเนิดของทารกในครรภ์ แต่การติดเชื้อเอชไอวีเพิ่มอัตราการแท้งบุตร ทารกโตช้าในครรภ์ การคลอดก่อนกำหนด ทารกน้ำหนักน้อย ทารกตายตอนคลอด และตายปริกำเนิด

แต่หากหญิงตั้งครรภ์ได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวี ในช่วงระหว่างตั้งครรภ์ที่เหมาะสม จะเป็นการเพิ่มภูมิต้านทาน สามารถลดจำนวนเชื้อไวรัส และลดอัตราการถ่ายทอดเชื้อจไวรัสจากแม่สู่ทารก ฉะนั้นการดูแลหญิงตั้งครรภ์ เพื่อวางแผนการให้ยาต้านไวรัส วางแผนการคลอดเพื่อลดการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ทารกในครภ์ และรวมถึงการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องหลังการคลอดบุตรทั้งแม่ และทารกด้วย

ผู้ติดเชื้อเอชไอวี มีความเสี่ยงต่อสุขภาพจิตหรือไม่?

การติดเชื้อเอชไอวี ไม่เพียงแต่มีผลกระทบต่อร่างกายเท่านั้น แต่ยังมีผลกระทบต่อสุขภาพจิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวีด้วย ฉะนั้นผู้ติดเชื้อเอชไอวีควรต้องรับมือกับความเครียด และปัญหาทางจิตใจที่อาจเกิดขึ้นหลังการตรวจพบว่าตนเองติดเชื้อเอชไอวี ถึงวิธีการจัดการปัญหาดังกล่าวเพื่อความสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ

โรคฝีดาษลิง

โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) เป็นโรคเกิดจากเชื้อไวรัส สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้จากการสัมผัสทางผิวหนัง สารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ วัตถุที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส และสามารถติดต่อทางเพศสัมพันธ์ห รือจากการสัมผัสใกล้ชิดระหว่างกิจกรรมทางเพศได้  แต่โรคนี้เราสามารถเฝ้าระวังได้ง่าย เพราะผู้ป่วยติดเชื้อจะมีตุ่มขึ้นตามร่างกายเป็นรอยโรคที่สังเกตได้ชัดเจน

ความสำคัญของการเพิ่มค่า CD4 ในผู้ติดเชื้อเอชไอวี

เมื่อเชื้อเอชไอวี เข้าทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรค และเชื้อไวรัสต่าง ๆ เมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาว ถูกทำลายจนอ่อนแอลงเรื่อย ๆ จนไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้ และทำให้การติดเชื้อเอชไอวี พัฒนากลายเป็นโรคเอดส์ (AIDS) เต็มขั้นในที่สุด ฉะนั้นการตรวจวัดจำนวน CD3/CD4/CD8 ในกระแสเลือด ซึ่งเป็น CD ที่มีความจำเพาะกับเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันชนิดที่ต้องมีการกระตุ้น ( Adaptive Immune Response ) คือ กลุ่มเม็ดเลือดขาว ชนิดที่สร้างแอนติบอดี ( B cells ) หรือ กลุ่มเม็ดเลือดขาวที่เป็นหน่วยความจำ ( T cells ) และมีความสำคัญต่อการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย

การป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาส ในผู้ติดเชื้อเอชไอวี

ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่มีความเสี่ยงสูงสุดต่อโรคติดเชื้อฉวยโอกาส ต่อเมื่อจำนวนเซลล์ CD4 ที่ต่อสู้กับการติดเชื้อลดลงต่ำกว่า 200 อย่างไรก็ตาม โรคติดเชื้อฉวยโอกาส บางตัวสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อจำนวน CD4 ของบุคคลต่ำกว่า 500 นั่นเป็นเพราะระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอทำให้ร่างกายยากที่จะต่อสู้กับโรคติดเชื้อฉวยโอกาส ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับติดเชื้อเอชไอวี

การป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาส

การป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาสมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดูแลร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งรวมถึง:

การรักษาด้วยยาต้านไวรัส ART

ยาต้านไวรัส (Antiretroviral Therapy หรือ ART) คือ การรักษาเอชไอวี ด้วยยาต้านไวรัสหลายชนิดรวมกัน เพื่อควบคุมเชื้อเอชไอวีในร่างกายไม่ให้เพิ่มจำนวน ซึ่งต้องกินให้ครบ ตรงเวลา และไม่สามารถหยุดยาได้เอง การรักษาด้วยยาต้านไวรัสจะได้ผลก็ต่อเมื่อกินยาครบและตรงเวลา และปฏิบัติตนตามคำสั่งของแพทย์

การตรวจเอชไอวี เพื่อประโยชน์ทางสุขภาพ ได้ที่ ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก

การตรวจเอชไอวี เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะการจะรู้สถานะของตนเองว่าติดเชื้อเอชไอวี หรือไม่นั้น จะต้องทำการตรวจหาเชื้อเอชไอวี เพียงวิธีอย่างเดียว  ซึ่งต้องทำการตรวจเอชไอวี ถ้ารู้ว่าตนเองเคยมีโอกาสติดเชื้อ หรือเคยมีพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้ได้รับเชื้อเอชไอวีมา ควรเข้ารับการตรวจเอชไอวีโดยเร็วที่สุด อย่านิ่งนอนใจ เพราะหากมีการติดเชื้อเอชไอวี อาจทำให้เชื้อเอชไอวีมีความรุนแรงมากขึ้น และจะกลายเป็นโรคเอดส์ ที่ทำการรักษาได้ยาก หรือไม่ทันการณ์แล้วนั้น และถ้าหากพบเชื้อก็จะได้วางแผนการรักษา และดูแลตัวเองได้ทันก่อนที่อาการจะลุกลามมากขึ้น

ใบรับรองแพทย์ ลาป่วย ที่ ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา32 กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง ซึ่งการลาป่วยตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไป กฎหมายกำหนดให้นายจ้าง “อาจ” ให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง หรือของสถานพยาบาลของทางราชการ ซึ่งกฎหมายมิได้มีบทบังคับว่าลูกจ้าง “ต้อง” แสดงใบรับรองแพทย์ทุกครั้งที่ลาป่วยเสมอไป เนื่องจากลูกจ้างบางรายอาจไม่ได้รักษาพยาบาลที่โรงพยาบาล แต่อาจรักษาพยาบาลที่สถานีอนามัย หรือซื้อยามารับประทานเองก็ได้ จึงไม่มีใบรับรองแพทย์มาแสดงต่อนายจ้าง ซึ่งลูกจ้างสามารถชี้แจงให้นายจ้างทราบถึงการลาป่วยดังกล่าวได้

ภาวะแทรกซ้อนของภาวะความดันโลหิตต่ำ

ความดันต่ำ หรือ ความดันโลหิตต่ำ  (Hypotension) ไม่ใช่โรค เพราะลักษณะของอาการไม่ได้พัฒนา และนำไปสู่โรคเรื้อรังอื่น ๆ เป็นเพียงภาวะที่ความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท เกิดได้กับภาวะความดันต่ำทำให้เลือดไหลเวียนช้าลง ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันส่งผลทำให้ไปล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่เพียงพอ

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากความดันโลหิตต่ำ มีดังนี้

การล้ม และการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับการล้ม ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่สำคัญที่สุดสำหรับภาวะความดันโลหิตต่ำ เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ และเป็นลมได้ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ

ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ

ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic Inflammatory Disease: PID) คือ ภาวะที่มีการอักเสบติดเชื้อของอวัยวะสืบพันธุ์ผู้หญิง ตั้งแต่ภายในโพรงมดลูก ปีกมดลูก ท่อนำไข่ รังไข่ และเนื้อเยื่อโดยรอบ รวมทั้งอวัยวะอื่น ๆ ในอุ้งเชิงกราน สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์  โดยเชื้อเหล่านี้จะแพร่กระจายจากช่องคลอดไปปากมดลูก และเข้าไปในอวัยวะอุ้งเชิงกราน และเกิดการอักเสบที่รุนแรงตามมา เช่น ทำให้ท่อนำไข่ตีบตันจนเกิดภาวะมีบุตรยาก หรือท่อนำไข่บิดเบี้ยว ไม่สามารถส่งไข่ที่ผสมแล้วไปถึงมดลูก จนเกิดภาวะท้องนอกมดลูกในภายหลัง