ตรวจการทำงานของไตสำคัญอย่างไร?

ไต เป็นอวัยวะที่สำคัญในการปรับสมดุลน้ำและเกลือแร่ภายในร่างกาย ช่วยกำจัดของเสีย สารพิษ รวมถึงยาส่วนเกินออกจากร่างกาย ซึ่งโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เป็นสาเหตุ สำคัญที่ทำให้เกิดโรคไตเรื้อรัง โดยเฉพาะในผู้สูงอายุทั่วโลก เพราะโรคดังกล่าวทำให้มีผลกระทบต่อไต ซึ่งถ้าไตเสื่อมรุนแรงจนไม่ทำงาน จะทำให้เกิดความผิดปกติจนไม่สามารถดำเนินชีวิตอยู่ต่อไปได้ ซึ่งภาวะนี้เรียกว่า โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย

โรคไวรัสตับอักเสบบี

ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดบี ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง และมะเร็งตับ ไวรัสตับอักเสบบีนั้น สามารถติดต่อทางเลือด น้ำเชื้อ และน้ำหลั่งอย่างอื่น เช่น น้ำเหลือง  และการติดต่อจากแม่สู่ลูกซึ่งเป็นทางติดต่อที่พบมากที่สุด 

โรคแผลริมอ่อน

แผลริมอ่อน (Chancroid) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เกิดขึ้นได้ทั้งในเพศชาย และเพศหญิง  ทำให้เกิดเป็นแผลบริเวณอวัยวะเพศร่วมกับอาการเจ็บหรือปวด และต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบโต พบได้บ่อยในประเทศแถบอากาศร้อน แต่ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการรับประทานยาปฏิชีวนะตามที่แพทย์สั่ง หากไม่รักษาจะเป็นสาเหตให้เกิดการติดเชื้อ HIV ได้ง่าย

โรคมะเร็ง

โรคมะเร็ง ถือเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของการเสียชีวิตของประชากรไทยตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน และยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งมะเร็งมีโอกาสเกิดขึ้นกับคนอายุน้อยเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย เนื่องจากผลกระทบภายในและภายนอกร่างกาย ก็เป็นปัจจัยสำคัญในการกระตุ้น ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้

โรคกรวยไตอักเสบ

เป็นโรคในระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นภาวะติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณกรวยไต ซึ่งอยู่ระหว่างไตกับท่อไต หรือมีการอักเสบของเนื้อเยื่อของไต ซึ่งอาจเกิดได้จากพฤติกรรมที่ใช้ในชีวิตประจำวันในเรื่องของการทำความสะอาดหลังปัสสาวะ อุจจาระเสร็จ หรือการกลั้นปัสสาวะนานๆ กรวยไตอักเสบ เป็นอาการที่พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

โรคหลอดเลือดหัวใจ

โรคหลอดเลือดหัวใจ(Coronary Artery Disease: CAD/Coronary Heart Disease: CHD)  เกิดจากการเกาะของคราบไขมัน (Plaque) ภายในผนังหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเป็นการสะสมของคอเลสเตอรอลและสารต่าง ๆ ภายในหลอดเลือด 

เป็นกลุ่มอาการของโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ครอบคลุมโรค 3 กลุ่ม ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือดส่วนปลาย

ความไม่สมดุลของฮอร์โมน ต้นตอของปัญหาสุขภาพ

ฮอร์โมน (Hormone) คือ กลุ่มของสารเคมีสำคัญในร่างกายที่สร้างจากต่อมไร้ท่อต่างๆที่ถูกปล่อยออกจากเซลล์ แล้วเข้าไปในกระแสเลือด เพื่อให้ไปมีผลต่ออวัยวะหรือเซลล์เป้าหมาย ที่มีตัวรับที่เฉพาะเจาะจงต่อฮอร์โมนนั้น เพื่อช่วยควบคุมการทำงานของเซลล์ในร่างกายทำงานได้เป็นปกติ เมื่ออายุมากขึ้น ปริมาณฮอร์โมนต่างๆ จะลดน้อยลง ส่งผลให้การทำงานของร่างกายไม่เหมือนเดิม มีอาการต่างๆ เกิดขึ้น รวมถึงเจ็บป่วย 

ความสำคัญของการตรวจกรุ๊ปเลือด

การตรวจกรุ๊ปเลือดเป็นกระบวนการที่สำคัญและมีความสำคัญสูงในด้านการดูแลสุขภาพของบุคคลทั่วไป หากเราเข้าใจถึงความสำคัญของการตรวจกรุ๊ปเลือด จะช่วยให้เราสามารถรักษาและป้องกันอาการผิดปกติหรือโรคที่อาจเกิดขึ้นกับร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

โรคหูดหงอนไก่

โรคหูดหงอนไก่ (Genital warts, Condyloma acuminata) พบได้บ่อยส่วนใหญ่จะพบโรคนี้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยผ่านการสัมผัสโดยตรงกับผิวหนังหรือเยื่อบุผนังภายในของผู้ที่เป็นโรคนี้ เช่น การมีเพศสัมพันธ์ หรือจากแม่สู่ลูกผ่านการคลอดแบบธรรมชาติ

โรคหนองในเทียม

โรคหนองในเทียม (Non Gonococcal Urethritis) สามารถติดต่อจากคู่นอนระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์ และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมูกใสหรือหนองที่บริเวณอวัยวะเพศ หนองในเทียมอาจไม่ปรากฏอาการที่ชัดเจนในผู้ป่วยบางราย และ เป็นโรคที่พบมากในวัยรุ่น สามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งเพศชายและเพศหญิง