ทำไมการตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ถึงเป็นเรื่องสำคัญ?

การตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STD) นับเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยง และยังรวมไปถึงตรวจในโอกาสก่อนแต่งงาน หรือก่อนตั้งครรภ์ เพื่อลดการแพร่กระจ่าย นอกจาก ความน่ากลัวของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คือ โรคบางโรคไม่แสดงอาการ โดยเฉพาะผู้หญิง เช่น เชื้อเอชไอวี ซึ่งกว่าผู้ติดเชื้อจะทราบอาการก็อยู่ในระยะรุนแรงที่ยากต่อการดูแลรักษา 

ตรวจค่าความสมบูรณ์ของเลือด (CBC)

คือ ความสมบูรณ์หรือประสิทธิภาพการทำหน้าที่ของ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด ฮีโมโกลบิน ปริมาตรเม็ดเลือดแดงอัดแน่น ไปจนถึงภาพรวมของระบบการไหลเวียนโลหิต

การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด และอาจรวมถึงการตรวจค่าฮอร์โมนหรือสารที่ถูกสร้างจากร่างกาย และสารอื่นๆ ในเลือดของคุณร่วมด้วยในบางกรณี

การตรวจหาไวรัสตับอักเสบบี และซี

และซี

การที่เราจะทราบว่าเรากำลังติดเชื้อไวรัสตับอักเสบอยู่หรือไม่นั้น โดยส่วนใหญ่แล้ว แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเริ่มจากการซักประวัติอาการก่อน ประวัติการฉีดวัคซีน รวมไปถึงการได้รับเลือดหรือส่วนประกอบอื่นๆ ของเลือด จากนั้นจะมีการตรวจร่างกาย มีการเอกซ์เรย์ และเจาะเลือดเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ

ตรวจคัดกรองไวรัสเอชไอวี

ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการรับเชื้อเอชไอวีควรรีบเข้ารับการตรวจคัดกรองเพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อ เนื่องจากการวินิจฉัยแต่เนิ่นๆ จะช่วยลดความกังวลใจ นอกจากนี้ถ้าผู้รับการตรวจติดเชื้อเอชไอวี จะทำให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง รวดเร็ว ได้รับทราบข้อมูลในการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง รวมถึงเทคนิคในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคเพื่อลดความเสี่ยงที่จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันถูกทำลายจากการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีและนำไปสู่ผู้ป่วยโรคเอดส์เต็มขั้น

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexual Transmitted diseases : STDs) คือ  โรคที่มีการติดต่อระหว่างผู้มีเชื้อกับผู้รับเชื้อผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ ทางอวัยวะเพศ ช่องคลอด ทวารหนัก ทางปาก รวมถึงการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ที่มีเชื้อ เช่น อสุจิ เลือด น้ำในช่องคลอด และของเหลวในร่างกายอื่นๆ และยังสามารถติดต่อจากแม่สู่ทารกในครรภ์ได้ ผ่านจากการให้เลือดหรือถ่ายโอนเลือด หรือการใช้เข็มฉีดยาร่วมกันในผู้ติดสิ่งเสพย์ติดอีกด้วย

โรคธาลัสซีเมีย

โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) คือ โรคโลหิตจางทางพันธุกรรม  โรคนี้เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยพ่อและ/หรือแม่สามารถส่งต่อพันธุกรรมนี้มายังต่อลูก พบได้ทั้งเพศชายและเพศหญิงซึ่งเกิดจากความผิดปกติของยีน (Gene) ทำให้กระบวนการสร้างฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ในเม็ดเลือดแดงมีความผิดปกติ ในเม็ดเลือดแดง ทำให้ผลิตเม็ดเลือดแดงได้น้อย มีเม็ดเลือดแดงที่อายุสั้นและแตกง่าย และทำให้ขาดเม็ดเลือดแดงที่ทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ส่งผลให้เกิดภาวะโลหิตจางเรื้อรัง (Anemia)   เรื้อรังตั้งแต่กำเนิดไปจนตลอดชีวิต

โรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออก (Dengue Hemorrhagic Fever) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี  โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค มักพบในประเทศเขตร้อนและระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี อาการของโรคไข้เลือดออกมีตั้งแต่ไม่มีอาการผิดปกติ และอาการของโรคไข้เลือดออกแม้จะไม่รุนแรง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจนทำให้เสียชีวิตได้

โรคไข้หวัดใหญ่

โรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza, Flu) คือ โรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza Virus)   ซึ่งก่อให้เกิดอาการ ไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก คัดจมูก รู้สึกอ่อนเพลีย ครั่นเนื้อครั่นตัว หรือปวดเมื่อยตามร่างกาย  สามารถติดต่อระหว่างคนสู่คนได้ผ่านการไอ จาม หรือสัมผัสผู้ที่ติดเชื้อไวรัส หลายท่านอาจคิดว่าไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่ไม่อันตราย แต่ในความเป็นจริงแล้วไข้หวัดใหญ่อาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนหลังติดเชื้อหรือถึงแก่ชีวิตได้

โรคไวรัสตับอักเสบซี

ไวรัสตับอักเสบซี (Hepatitis C) คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดซี  สามารถติดต่อกันทางเลือดหรือเพศสัมพันธ์คล้ายกับไวรัสตับอักเสบบี แต่ไม่สามารถติดต่อกันได้ทางการให้นมบุตร การจาม หรือไอรดกัน การรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำด้วยกัน และการใช้ถ้วยชามร่วมกัน

วัณโรค

วัณโรค (Tuberculosis หรือ TB) คือ โรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียรุนแรง ซึ่งสามารถติดต่อกันผ่านทางอากาศได้ด้วยการหายใจ การจาม การไอ หรือการอยู่ร่วมกับผู้ป่วยวัณโรคติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรคได้ง่าย โดยวัณโรคเป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนทั่วโลก