โรคติดเชื้อฉวยโอกาส (Opportunistic Infection)  เป็นภาวะสุขภาพของผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี ซึ่งอยู่ในระยะ โรคเอดส์  ซึ่งระยะนี้ภูมิคุ้มกันของร่างกายจะถูกทำลายลงไปมาก ทำให้เป็นโรคต่างๆ ได้ง่าย  ไม่ว่าเกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือปรสิต ที่เรียกรวม ๆ ว่า โรคติดเชื้อฉวยโอกาส จนเกิดเป็นโรคต่าง ๆ ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง เมื่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอลง เชื้อโรคเหล่านี้จึงเข้าในร่างกายก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น ซึ่งผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยโรคเอดส์ อาจป่วยด้วยโรคติดเชื้อฉวยโอกาส ได้พร้อมกันมากกว่า 1 โรค

ใครบ้างที่เสี่ยงต่อโรคติดเชื้อฉวยโอกาส 

ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่มีความเสี่ยงสูงสุดต่อโรคติดเชื้อฉวยโอกาส ต่อเมื่อจำนวนเซลล์ CD4 ที่ต่อสู้กับการติดเชื้อลดลงต่ำกว่า 200 อย่างไรก็ตาม โรคติดเชื้อฉวยโอกาส บางตัวสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อจำนวน CD4 ของบุคคลต่ำกว่า 500 นั่นเป็นเพราะระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอทำให้ร่างกายยากที่จะต่อสู้กับโรคติดเชื้อฉวยโอกาส ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับติดเชื้อเอชไอวี

การป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาส ในผู้ติดเชื้อเอชไอวี

การรักษาโรคติดเชื้อฉวยโอกาส

หากผู้ติดเชื้อเอชไอวี เกิดเป็นโรคติดเชื้อฉวยโอกาส สามารถรักษาได้ ด้วยการรักษาตามการติดเชื้อโรค เช่น

  • ยาปฏิชีวนะ (เช่น อะซิโธรมัยซินหรือคลาริโทรมัยซิน)
  • ยาต้านเชื้อรา (เช่น ฟลูโคนาโซล หรือ โวริโคนาโซล)
  • ยาต้านไวรัส (เช่น อะซิโคลเวียร์ หรือวาลาซิโคลเวียร์)
  • การรักษาด้วยยาต้านไวรัส (ART) เพื่อลดการติดเชื้อฉวยโอกาสที่เกี่ยวข้องกับโรคเอดส์
  • ยาปฏิชีวนะ การป้องกัน

เมื่อโรคติดเชื้อฉวยโอกาสได้รับการรักษาเรียบร้อยแล้ว ผู้ป่วยก็สามารถใช้ยาเดิม หรืออาจต้องเพิ่มเติมยาต่อไป เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสกลับมาอีก เพราะการมีโรคติดเชื้อฉวยโอกาสอาจเป็นสถานการณ์ที่ร้ายแรงมาก ทำให้การรักษาโรคทำได้ยากมากขึ้นตามไปด้วย

การป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาส

การป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาสมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดูแลร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งรวมถึง:

  • ไปพบแพทย์บ่อย ๆ
  • กินยาต้านไวรัส ตามที่กำหนดอย่างถูกต้อง และเคร่งครัด
  • ฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อโรคบางชนิดที่สามารถป้องกันได้ หรือตามที่แพทย์สั่ง
  • การรักษาความสะอาดของมือ
  • การบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ 
  • การจัดการความเครียด
  • การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 
  • การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย
  • การหลีกเลี่ยงการจัดการทิ้งขี้แมวหรือขี้สัตว์อื่น ๆ
  • การหลีกเลี่ยงการกินอาหารที่ไม่สุก หรือสุกๆ ดิบ
  • การหลีกเลี่ยงการกินผลิตภัณฑ์จากนมหรือน้ำผลไม้ที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์ หรือเมล็ดพืชที่ยังไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ

ติดต่อเรา

ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก ให้บริการที่ใกล้ชิด ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมทั้งทีมงานที่มีความชำนาญ พร้อมให้คำปรึกษาและ การรักษา โดยคุณสามารถเข้ารับบริการได้ทั้ง walk-in หรือนัดหมายล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับบริการ
จองคิวออนไลน์ https://phuketmedicalclinic.youcanbook.me
เวลาทำการ 🕙 10:00-18:00 น. ทุกวัน
เบอร์ติดต่อ ☎️ 096-696-2449
Line id : @pmcphuket (มี @ ด้วยนะครับ) หรือ https://lin.ee/R1TKRDo
แผนที่ 📌https://goo.gl/maps/xu45eTQUTjgpukJa7
Website 🌐https://phuketmedicalclinic.com
ปรึกษาแพทย์หรือสอบถามเพิ่มเติมได้เลยนะครับ
Inbox : m.me/100483916443107
สุขภาพคุณให้เราดูแล#คลินิกภูเก็ต
Phuket #Clinic #ภูเก็ตเมดิคอลคลินิก