ความดันต่ำ หรือ ความดันโลหิตต่ำ  (Hypotension) ไม่ใช่โรค เพราะลักษณะของอาการไม่ได้พัฒนา และนำไปสู่โรคเรื้อรังอื่น ๆ เป็นเพียงภาวะที่ความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท เกิดได้กับภาวะความดันต่ำทำให้เลือดไหลเวียนช้าลง ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันส่งผลทำให้ไปล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่เพียงพอ

ซึ่งโดยทั่วไปแพทย์ไม่จัดความดันโลหิตต่ำเป็นโรค แต่จัดเป็นภาวะ  และภาวะความดันโลหิตต่ำพบเกิดได้ทั้งสองเพศใกล้เคียงกัน และพบได้ในทุกอายุ ตั้งแต่เด็กอ่อนไปจนถึงผู้สูงอายุ ทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุ  และความดันอาจต่ำเพียงความดันซิสโตลิก หรือไดแอสโตลิกตัวใดตัวหนึ่ง หรือต่ำทั้งสองตัวก็ได้

ภาวะความดันโลหิตต่ำมีความรุนแรงไหม

โดยทั่วไป ภาวะความดันโลหิตต่ำ มักไม่มีความรุนแรง ซึ่งคนส่วนใหญ่มักไม่มีอาการ และไม่ทราบว่าตนเองมีความดันโลหิตต่ำ และเมื่อมีอาการ ภายหลังการพักผ่อนอย่างพอเพียง ผู้ป่วยมักกลับมามีความดันโลหิตปกติได้

ความรุนแรงของภาวะความดันโลหิตต่ำ จะขึ้นกับสาเหตุ ดังนี้

  • หากเกิดจากดื่มน้ำน้อย ความรุนแรงของภาวะความดันโลหิตต่ำ อยู่ในเกณฑ์ต่ำ
  • หากเกิดจากการเสียน้ำ หรือเสียเลือดมาก ความรุนแรงของภาวะความดันโลหิตต่ำ อยู่ในเกณฑ์ที่สูงขึ้น  
  • หากเกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ความรุนแรงของภาวะความดันโลหิตต่ำ อยู่ในเกณฑ์ที่สูงขึ้น 

ผลข้างเคียงภาวะความดันโลหิตต่ำ เช่น  

  • ภาวะสมองขาดเลือด
  • อุบัติเหตุจากเป็นลม คือ การล้ม ที่อาจเป็นสาเหตุกระดูกหัก หรือ อุบัติเหตุที่สมอง

ภาวะแทรกซ้อนของภาวะความดันโลหิตต่ำ 

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากภาวะความดันโลหิตต่ำ  มีดังนี้

  • การล้ม และการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับการล้ม  ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่สำคัญที่สุดสำหรับภาวะความดันโลหิตต่ำ เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ และเป็นลมได้   โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่เมื่อหกล้มแล้วอาจส่งผลกระทบรุนแรงจนถึงขั้นสะโพกหัก หรือกระดูกสันหลังร้าว ทำให้ความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกายยากลำบากขึ้น และเกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมาด้วย ซึ่งบางครั้งอาจมีการบาดเจ็บขั้นร้ายแรง จนอันตรายถึงชีวิตได้ 
  • อาการช็อก เมื่อความดันโลหิตต่ำลงมากจนทำให้เกิดอาการรุนแรง ก็อาจส่งผลให้ร่างกายขาดออกซิเจนจนทำให้หัวใจ สมอง หรืออวัยวะต่าง ๆ เกิดความเสียหาย หรือถึงขั้นช็อกได้ และอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
  • ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจหรือโรคหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตต่ำอาจทำให้หัวใจพยายามชดเชยด้วยการสูบฉีดเร็วขึ้น หรือหนักขึ้น เมื่อเวลาผ่านไปอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อหัวใจอย่างถาวร และแม้กระทั่งภาวะหัวใจล้มเหลวได้ นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดปัญหาต่างๆ เช่น ภาวะหลอดเลือดดำส่วนลึกอุดตัน (DVT) และโรคหลอดเลือดสมองเนื่องจากเลือดไม่ไหลเวียนเท่าที่ควร ทำให้เกิดลิ่มเลือด

ปัจจัยเสี่ยงของภาวะความดันโลหิตต่ำ 

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ  มีดังนี้

  • อายุ ความเสี่ยงในการมีความดันต่ำอาจจะเพิ่มมากขึ้นตามอายุ ประมาณ 10-20% ของผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไปอาจจะมีความดันต่ำจากการเปลี่ยนท่าลุกยืนหรือหลังกินอาหาร ต้องระวังเพราะอาจทำให้มีอาการวิงเวียน เกิดการล้มได้ง่าย
  • ยา ยาบางชนิดสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดความดันโลหิตต่ำได้ เช่น าขับน้ำ/ยาขับปัสสาวะ  ยาโรคความดันโลหิตสูง ยาโรคเบาหวาน  ยากลุ่มไนเตรท และยาขยายหลอดเลือด (Vasodilation)
  • ภาวะขาดน้ำ มีหลายสาเหตุ เช่น ท้องเสีย หรือ อาเจียน รุนแรง หรือภาวะลมแดด ดื่มน้ำน้อย
  • สภาวะ และโรคต่าง ๆ ผู้ที่เคยมีภาวะหัวใจล้มเหลว โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง  โรคของต่อมไทรอยด์  โรคพิษสุราเรื้อรัง และภาวะซีด ซึ่งอาจมีความเสี่ยงสูงที่จะมีภาวะความดันโลหิตต่ำ

ดูแลตนเองอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ 

ดูแลตนเองเพื่อไม่ให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ  มีดังนี้

  • พักผ่อนให้เพียงพอ เพราะความเหน็ดเหนื่อย การนอนหลับไม่เพียงพอต่างก็ยิ่งทำให้ความดันโลหิตต่ำลง ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงการตรากตรำทำงานเกินควร หลีกเลี่ยงการนอนดึก และเวลานอนหลับไม่ควรนอนหนุนหมอนที่ต่ำเกินไป
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว เมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม
  • เคลื่อนไหวร่างกายเสมอ หรือออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยให้ระบบประสาทเกิดความสมดุล หลอดเลือดหัวใจแข็งแรง และช่วยรักษาความดันโลหิตต่ำให้ดีขึ้น
  • เมื่อจะเปลี่ยนท่าทาง หรือการเปลี่ยนอิริยาบถอย่างรวดเร็วเกินไป เช่น จากนอนเป็นยืน โดยเฉพาะผู้สูงอายุต้องค่อยๆเปลี่ยนท่าทาง จากนอนอาจต้องลุกนั่งพักสักครู่ก่อนแล้วจึงยืน จากนั่งอาจต้องยืนยึดจับสิ่งยึดเหนี่ยวให้มั่นคงก่อน จึงก้าวเดิน
  • หลีกเลี่ยงการยืนนานๆ
    • แต่ถ้าเป็นอาชีพที่ต้องมีการยืนนานๆ อาจต้องใส่ถุงน่องช่วยพยุงหลอดเลือดไม่ให้เกิดการแช่ค้างของเลือด
    • ไม่นั่งไขว่ห้างนานๆ เพื่อลดการเบียดทับหลอดเลือดจึงเพิ่มการไหลเวียนเลือด
  • กินอาหารที่มีคุณค่าให้ครบทั้ง 5 หมู่ เพราะหากผู้ที่มีแนวโน้มเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะทำให้ความดันโลหิตยิ่งต่ำลงไปอีกโดยเฉพาะอย่างยิ่งปริมาณเกลือที่คุณควรมีในอาหารสามารถช่วยป้องกันอาการของความดันเลือดต่ำได้
  • กินอาหารแต่ละมื้ออย่าให้ปริมาณมากเกินไป ควรเน้นอาหารประเภทโปรตีน ร่างกายของผู้ที่มีปัญหาเรื่องความดันต่ำ ส่วนหนึ่งมาจากการขาดโปรตีนในร่างกาย และอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย การเติมโปรตีนจากสัตว์ และโปรตีนจากธรรมชาติ เช่น ถั่วลิสง ถั่วแดง ถั่วเหลือง พืชตระกูลถั่วต่างๆ ถ้าประเภทวิตามินบี เช่น วิตามินบี 1 , วิตามินบี 12  หรืออาหารเสริมประเภท แคลเซียม และวิตามินอี  จะช่วยลดอาการความดันต่ำที่มีอยู่ได้เช่นกัน 
  • ต้องจำให้ได้ว่าแพ้อะไร เพื่อการหลีกเลี่ยง
  • ดูแล รักษา ควบคุมโรคต่างๆที่เป็นสาเหตุให้ได้อย่างดี
  • กินยาต่างๆอย่างถูกต้อง และรู้จักผลข้างเคียงของยาที่กินอยู่ โดยใช้ยาอย่างระมัดระวัง หากต้องไปพบแพทย์เนื่องจากอาการเจ็บป่วยใดๆ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบล่วงหน้าว่าตนมีอาการความดันโลหิตต่ำ เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ส่งผลให้ความดันโลหิตลดต่ำลงไปอีก 
  • ควรพบแพทย์/มาโรงพยาบาล เมื่อ
    • มีอาการของโรค/ภาวะความดันโลหิตต่ำบ่อยๆ ควรต้องหาสาเหตุ เพื่อการรักษาควบคุมโรคแต่เนิ่นๆ
    • อาการต่างๆเลวลง หรือ ไม่ดีขึ้นหลังดูแลตนเอง
    • อาการต่างๆรุนแรง โดยเฉพาะอาการทางการหายใจ และการแน่นเจ็บหน้า อก เพราะอาจเป็นอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ
    • กังวลในอาการ

ตรวจภาวะความดันโลหิตต่ำ ที่ภูเก็ตตรวจได้ที่ไหน?

ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก ให้บริการที่ใกล้ชิด ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมทั้งทีมงานที่มีความชำนาญ พร้อมให้คำปรึกษาและ การรักษา โดยคุณสามารถเข้ารับบริการได้ทั้ง walk-in หรือนัดหมายล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับบริการ
จองคิวออนไลน์ https://phuketmedicalclinic.youcanbook.me
เวลาทำการ 🕙 10:00-18:00 น. ทุกวัน
เบอร์ติดต่อ ☎️ 096-696-2449
Line id : @pmcphuket (มี @ ด้วยนะครับ) หรือ https://lin.ee/R1TKRDo
แผนที่ 📌https://goo.gl/maps/xu45eTQUTjgpukJa7
Website 🌐https://phuketmedicalclinic.com
ปรึกษาแพทย์หรือสอบถามเพิ่มเติมได้เลยนะครับ
Inbox : m.me/100483916443107
สุขภาพคุณให้เราดูแล#คลินิกภูเก็ต
Phuket #Clinic #ภูเก็ตเมดิคอลคลินิก