โรคหูดข้าวสุก

โรคหูดข้าวสุก (Molluscum Contagiosum)เป็นโรคติดต่อได้จากผิวหนังสู่ผิวหนัง และจัดเป็นโรคที่ไม่รุนแรง สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย และในวัยเจริญพันธุ์มักพบรอยโรคที่บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ ติดต่อผ่านทางการสัมผัส หรือการมีเพศสัมพันธ์

U=U : ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่

แนวคิด U=U ได้เป็นที่รู้จัก และเป็นที่ยอมรับในวงกว้างที่เกี่ยวกับ HIV/AIDS ร่วมกับการพัฒนาของการรักษาด้านการต้านไวรัส ความเข้าใจเกี่ยวกับ U=U มีความสำคัญมากในการลดความเครียดและเสริมสุขภาพจิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวี โดยเฉพาะผู้ที่มีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี

PrEP และ PEP ยาชนิดไหน เหมาะกับใคร?

ยาเพร็พ คือ ยาที่ใช้ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี หรือกินก่อนที่จะไปติดเชื้อเอชไอวี โดยเริ่มกินเตรียมไว้ก่อนจะมีโอกาสสัมผัสเชื้อ โดยการรับประทานยาวันละหนึ่งเม็ดทุกวัน และยาเป๊ป คือ ยาต้านไวรัสฉุกเฉิน สำหรับผู้ที่เพิ่งสัมผัสเชื้อ ไม่เกิน 72 ชั่วโมง หรือ สำหรับผู้ไม่ติดเชื้อที่บังเอิญหรือมีความจำเป็น หรือไม่ตั้งใจแต่ไปสัมผัสเชื้อเอชไอวี มาแล้ว โดยต้องกินยาต้านให้เร็วที่สุดหลังสัมผัสเชื้อ

ดื่มน้ำอย่างไร? ให้ดีต่อร่างกาย

การดื่มน้ำเปล่าเยอะๆ นั้นดีต่อร่างกาย เพราะร่างกายของเราประกอบไปด้วยน้ำมากถึง 70% จึงจำเป็นต้องมีน้ำคอยหล่อเลี้ยงให้เซลล์ และอวัยวะต่างๆ ทำงานได้อย่างเป็นปกติ และมีประสิทธิภาพ น้ำจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ร่างกายของเราต้องการในแต่ละวัน ช่วยให้สุขภาพดี กระปรี้กระเปร่าได้ทั้งวัน ดังนั้นการดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก 

หญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อเอชไอวีต้องทำอย่างไร?

การติดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกเป็นสาเหตุหลักของการติดเชื้อเอชไอวีในเด็ก กรณีไม่ได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวีระหว่างตั้งครรภ์ มีโอกาสถ่ายทอดเชื้อให้ทารกสูงมาก ซึ่งการติดเชื้อเอชไอวีไม่เพิ่มความพิการแต่กำเนิดของทารกในครรภ์ แต่การติดเชื้อเอชไอวีเพิ่มอัตราการแท้งบุตร ทารกโตช้าในครรภ์ การคลอดก่อนกำหนด ทารกน้ำหนักน้อย ทารกตายตอนคลอด และตายปริกำเนิด

แต่หากหญิงตั้งครรภ์ได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวี ในช่วงระหว่างตั้งครรภ์ที่เหมาะสม จะเป็นการเพิ่มภูมิต้านทาน สามารถลดจำนวนเชื้อไวรัส และลดอัตราการถ่ายทอดเชื้อจไวรัสจากแม่สู่ทารก ฉะนั้นการดูแลหญิงตั้งครรภ์ เพื่อวางแผนการให้ยาต้านไวรัส วางแผนการคลอดเพื่อลดการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ทารกในครภ์ และรวมถึงการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องหลังการคลอดบุตรทั้งแม่ และทารกด้วย

ผู้ติดเชื้อเอชไอวี มีความเสี่ยงต่อสุขภาพจิตหรือไม่?

การติดเชื้อเอชไอวี ไม่เพียงแต่มีผลกระทบต่อร่างกายเท่านั้น แต่ยังมีผลกระทบต่อสุขภาพจิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวีด้วย ฉะนั้นผู้ติดเชื้อเอชไอวีควรต้องรับมือกับความเครียด และปัญหาทางจิตใจที่อาจเกิดขึ้นหลังการตรวจพบว่าตนเองติดเชื้อเอชไอวี ถึงวิธีการจัดการปัญหาดังกล่าวเพื่อความสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ

โรคฝีดาษลิง

โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) เป็นโรคเกิดจากเชื้อไวรัส สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้จากการสัมผัสทางผิวหนัง สารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ วัตถุที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส และสามารถติดต่อทางเพศสัมพันธ์ห รือจากการสัมผัสใกล้ชิดระหว่างกิจกรรมทางเพศได้  แต่โรคนี้เราสามารถเฝ้าระวังได้ง่าย เพราะผู้ป่วยติดเชื้อจะมีตุ่มขึ้นตามร่างกายเป็นรอยโรคที่สังเกตได้ชัดเจน

ความสำคัญของการเพิ่มค่า CD4 ในผู้ติดเชื้อเอชไอวี

เมื่อเชื้อเอชไอวี เข้าทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรค และเชื้อไวรัสต่าง ๆ เมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาว ถูกทำลายจนอ่อนแอลงเรื่อย ๆ จนไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้ และทำให้การติดเชื้อเอชไอวี พัฒนากลายเป็นโรคเอดส์ (AIDS) เต็มขั้นในที่สุด ฉะนั้นการตรวจวัดจำนวน CD3/CD4/CD8 ในกระแสเลือด ซึ่งเป็น CD ที่มีความจำเพาะกับเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันชนิดที่ต้องมีการกระตุ้น ( Adaptive Immune Response ) คือ กลุ่มเม็ดเลือดขาว ชนิดที่สร้างแอนติบอดี ( B cells ) หรือ กลุ่มเม็ดเลือดขาวที่เป็นหน่วยความจำ ( T cells ) และมีความสำคัญต่อการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย

การป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาส ในผู้ติดเชื้อเอชไอวี

ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่มีความเสี่ยงสูงสุดต่อโรคติดเชื้อฉวยโอกาส ต่อเมื่อจำนวนเซลล์ CD4 ที่ต่อสู้กับการติดเชื้อลดลงต่ำกว่า 200 อย่างไรก็ตาม โรคติดเชื้อฉวยโอกาส บางตัวสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อจำนวน CD4 ของบุคคลต่ำกว่า 500 นั่นเป็นเพราะระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอทำให้ร่างกายยากที่จะต่อสู้กับโรคติดเชื้อฉวยโอกาส ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับติดเชื้อเอชไอวี

การป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาส

การป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาสมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดูแลร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งรวมถึง:

การรักษาด้วยยาต้านไวรัส ART

ยาต้านไวรัส (Antiretroviral Therapy หรือ ART) คือ การรักษาเอชไอวี ด้วยยาต้านไวรัสหลายชนิดรวมกัน เพื่อควบคุมเชื้อเอชไอวีในร่างกายไม่ให้เพิ่มจำนวน ซึ่งต้องกินให้ครบ ตรงเวลา และไม่สามารถหยุดยาได้เอง การรักษาด้วยยาต้านไวรัสจะได้ผลก็ต่อเมื่อกินยาครบและตรงเวลา และปฏิบัติตนตามคำสั่งของแพทย์