ทาสแมวควรระวังติดโรคขี้แมวขึ้นสมอง หากไม่ดูแลแมวให้ดีอาจติดเชื้อโรคจากสัตว์สู่คน หนึ่งในโรคที่ทาสแมวรู้จักกันดีคือโรคไข้ขี้แมว หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือโรค Toxoplasmosis ผู้ป่วยเป็นโรคขี้แมวขึ้นสมอง มีอาการตาแดง ป่วยคล้ายเป็นไข้หวัด ถ้าเป็นหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อเสี่ยงบุตรพิการได้ 

โรคขี้แมว คืออะไร ?

โรคขี้แมว หรือ โรคทอกโซพลาสโมซิส (Toxoplasmosis) เป็นโรคเกิดจากเชื้อจากปรสิต สามารถพบได้ในสัตว์จำพวก แกะ แพะ หมู หมา แต่โดยส่วนมากมักพบในแมว  ซึ่งโรคเป็นหนึ่งในสาเหตุหลัก ที่มักติดมาจากขี้แมว ที่อาจจะเป็นสัตว์เลี้ยงตัวโปรดของแม่ท้อง โดยความเสี่ยงติดโรค อาจเกิดได้จากการเก็บ การทำความสะอาด หรือการสัมผัสใกล้ชิดกับขี้แมว โดยปราศจากการล้างมือ ซึ่งหากแม่ท้องได้รับการติดเชื้อดังกล่าว ก็จะสามารถถ่ายทอดไปยังลูกในครรภ์ด้วย

นอกจากนี้ เชื้อโรคดังกล่าวยังสามารถแพร่ติดต่อ จากการกินเชื้อที่ปะปนอยู่ในผักดิบ หรือเนื้อที่ปรุงไม่สุก รวมถึงได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะที่ติดเชื้อ หรือการถ่ายเลือดที่ติดเชื้อได้ โดยทั่วไปแล้ว โรคนี้มักไม่เป็นอันตรายและไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาหากผู้ป่วยมีสุขภาพแข็งแรง แต่ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำหรือหญิงตั้งครรภ์ ควรเข้ารับการรักษาทันทีหลังได้รับเชื้อ เพราะอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือการติดเชื้อที่รุนแรง

โรคขี้แมว

สาเหตุโรคขี้แมว

โรคขี้แมว เกิดจากเชื้อปรสิตที่เชื่อว่า Toxoplasma gondii จัดเป็น Zoonosis หรือโรคสัตว์สู่คน ที่สามารถติดต่อได้ เมื่อผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องไม่ว่าจะเป็น เด็ก คนสูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ และผู้มีโรคประจำตัวได้สัมผัสมูลของสัตว์ตระกูลแมว ซึ่งหลักๆ แล้วเชื้อปรสิตนี้มักอาศัยอยู่ในทางเดินอาหารของสัตว์ เมื่อสัตว์ถ่ายมูลออกมาจะมีไข่หรือโอโอซีสต์ ของโปรโตซัวชนิดนี้ปนเปื้อนออกมาด้วย

โดยสาเหตุที่สามารถได้รับเชื้อ Toxoplasma gondii มีดังนี้

  • เผลอสัมผัสปากตนเอง หรือนำเชื้อโรคเข้าปากหลังจากสัมผัสดิน หรืออุจจาระแมวที่มีเชื้อปรสิตปนเปื้อน โดยอาจเกิดขึ้นได้หลังจากทำความสะอาดกระบะทรายแมว เล่นกับแมว หรือปลูกต้นไม้แล้วล้างมือไม่สะอาด
  • รับประทานอาหาร หรือเครื่องดื่มที่มีการปนเปื้อนของเชื้อปรสิต หรือ โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ดิบอย่างเนื้อหมูหรือแกะดิบ สัตว์น้ำอย่างหอยนางรมหรือหอยแมลงภู่ ผลิตภัณฑ์นมที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์หรือกระบวนการฆ่าเชื้อ ผักและผลไม้ที่ล้างไม่สะอาด รวมไปถึงการใช้เครื่องครัวอย่างมีด เขียง และช้อนส้อมกับเนื้อสัตว์ดิบและสัตว์น้ำก็อาจก่อให้เกิดการปนเปื้อนเช่นกัน 
  • ถ่ายทอดจากแม่สู่ลูก หรือผ่านทางรกไปยังทารก ซึ่งสตรีที่ป่วยเป็นโรคทอกโซพลาสโมซิสในระหว่างตั้งครรภ์อาจส่งต่อเชื้อไปสู่ทารกได้ 
  • ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะที่ติดเชื้อหรือการถ่ายเลือดที่ติดเชื้อ แต่กรณีนี้มักพบได้น้อยมาก
  • เชื้อปรสิตชนิดนี้สามารถแฝงอยู่ภายในร่างกายของผู้ที่มีสุขภาพดี แต่เมื่อใดที่ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง โดยอาจเกิดได้จากการเจ็บป่วยหรือใช้ยาบางชนิด ซึ่งอาจทำให้ การติดเชื้อกำเริบขึ้นมาและทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ภาวะแทรกซ้อนโรคขี้แมว

การติดเชื้อโรคขี้แมว หรือโรคทอกโซพลาสโมซิส ในบุคคลที่มีสุขภาพดีส่วนใหญ่ โรคขี้แมวมักเป็นโรคที่ไม่รุนแรง และเกิดขึ้นได้เอง ซึ่งอาจไม่ทำให้เกิดอาการที่เห็นได้ชัดเจน อย่างไรก็ตาม ในบางสถานการณ์หรือในบุคคลที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ และอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ดังนี้

  • อาการรุนแรง โรคขี้แมว อาจทำให้เกิดอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ เหนื่อยล้า ปวดกล้ามเนื้อ และปวดศีรษะในบางกรณี อาการเหล่านี้อาจรุนแรงกว่าในผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
  • โรคขี้แมวทางตา  นี่เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยของโรคทอกโซพลาสโมซิส และเกิดขึ้นเมื่อปรสิตส่งผลต่อดวงตา โรคทอกโซพลาสโมซิสทางตาอาจทำให้เกิดอาการปวดตา มองเห็นไม่ชัด และทำลายจอประสาทตาอย่างถาวร หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
  • โรคขี้แมวแต่กำเนิด  หากหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อ Toxoplasma gondii ปรสิตสามารถแพร่เชื้อไปยังทารกในครรภ์ที่กำลังพัฒนาได้ทำให้เกิดโรคท็อกโซพลาสโมสิสแต่กำเนิด ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดข้อบกพร่องร้ายแรงแต่กำเนิด รวมถึงปัญหาการมองเห็น ความบกพร่องทางสติปัญญา และพัฒนาการล่าช้า
  • โรคไข้สมองอักเสบ บางครั้งโรคท็อกโซพลาสโมซิสอาจส่งผลต่อสมอง ทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่าโรคไข้สมองอักเสบจากโรคท็อกโซพลาสมิก อาการนี้พบได้บ่อยในผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ที่ติดเชื้อ HIV/AIDS อาการอาจรวมถึงความสับสน อาการชัก และภาวะบกพร่องทางระบบประสาท
  • โรคขี้แมวในปอด ในบางกรณีที่พบไม่บ่อย ปรสิตสามารถติดเชื้อในปอด ทำให้เกิดอาการคล้ายโรคปอดบวม ได้แก่ อาการไอ เจ็บหน้าอก และหายใจลำบาก
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โรคท็อกโซพลาสโมสิสอาจส่งผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก และจังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ
  • การแพร่กระจายทั่วร่างกาย ในบุคคลที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะหรือได้รับเคมีบำบัด Toxoplasma gondii สามารถแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย ทำให้เกิดการติดเชื้อในวงกว้างและอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่คุกคามถึงชีวิตได้

โดยความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนจากโรคขี้แมว ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับสถานะภูมิคุ้มกันของแต่ละบุคคล ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงน้อยกว่า ในขณะที่ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอจะมีความเสี่ยงสูงกว่า 

โรคขี้แมว มีผลกระทบอย่างไรต่อแม่ตั้งครรภ์ และทารกในครรภ์

ในผู้ติดเชื้อที่เป็นแม่ตั้งครรภ์ อาจจะไม่มีอาการที่เป็นอันตราย แต่การติดเชื้อจะส่งผลกระทบต่อเนื่อง ที่ส่งต่อถึงลูกในท้อง โดยอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น เมื่อแม่ตั้งครรภ์เชื้อโรคขี้แมว ได้แก่

  • คุณแม่แท้งระหว่างคลอด
  • เด็กตัวเล็กกว่าปกติ
  • เด็กหัวโตผิดปกติ
  • เด็กมีความผิดปกติทางด้านการมองเห็น หรือการได้ยิน

การติดเชื้อใน 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ มีโอกาสติดเชื้อโรคนี้มากที่สุด โดยพบว่า

  • 60% ของทารกที่ติดเชื้อ จะไม่พบอาการผิดปกติ 
  • 30% ของทารกที่ติดเชื้อจะมีอาการรุนแรง หรือพิการแต่กำเนิด เช่น สมองบวมน้ำ มีการสะสมของแคลเซียมในสมอง การอักเสบของจอตาและประสาทตา อารมณ์ผิดปกติ เป็นต้น
  • 10% ของทารกที่ติดเชื้อจะเสียชีวิต

การติดเชื้อโรคขี้แมวของแม่สู่ลูก จะเกิดขึ้นต่อเมื่อติดเชื้อครั้งแรกในขณะที่ตั้งครรภ์เท่านั้น แต่ถ้าเพียงแค่มีประวัติเคยติดเชื้อ หรือไม่ได้เป็นขณะตั้งครรภ์ โรคนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อเด็กในครรภ์

อาการโรคขี้แมว

อาการโรคขี้แมว

  • เมื่อร่างกายได้รับเชื้อในคนที่มีสุขภาพแข็งแรงมักมีอาการคล้ายไข้หวัด เช่น มีไข้ ต่อมน้ำเหลืองบวม ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ  เจ็บคอ เป็นต้น ซึ่งอาการจะหายไปได้เองภายในระยะเวลาไม่นาน ทำให้ผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนเองกำลังได้รับเชื้ออยู่
  • ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ อาจมีอาการผิดปกติของระบบประสาท, ระบบทางเดินหายใจ เช่น ชัก โคม่า หายใจลำบาก ไอแห้งติดต่อกันเป็นเวลานานหรือหายใจไม่อิ่ม และอาจมีปัญหาเกี่ยวกับจอประสาทตา ทำให้ปวดตา ตาพร่ามัว  จากการอักเสบของจอตาได้
  • ในหญิงตั้งครรภ์ ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ เชื้อสามารถแพร่ไปยังทารกได้น้อย แต่มักจะส่งผลให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์ หรือเกิดการแท้งบุตร สำหรับทารกที่รอดชีวิตมีแนวโน้มจะพบปัญหาสุขภาพรุนแรงตามมา เช่น ชัก ตับโต ม้ามโต ดีซ่าน หรือติดเชื้อที่ดวงตาอย่างรุนแรง ทั้งนี้ ผู้ที่ติดเชื้อนี้ในช่วงไตรมาสที่ 3 อาจเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อสู่ทารกได้มากที่สุด แต่มักพบอาการผิดปกติได้น้อย และทารกที่เกิดมา จะเจริญเติบโตผิดปกติ สูญเสียการมองเห็น การได้ยิน และทำให้เกิดการพัฒนาช้าได้
  • ส่วนในแมวอาจพบอาการป่วยได้ในบางครั้ง เช่น มีไข้ ท้องเสีย อาเจียน เบื่ออาหาร เกิดภาวะดีซ่าน และอาจพบอาการทางระบบประสาทได้เช่นกัน      

การวินิจฉัยโรคขี้แมว

  • โดยทั่วไป แพทย์จะวินิจฉัยโรคขี้แมวโดยให้ผู้ป่วยเข้ารับการตรวจเลือด เพื่อตรวจหาแอนติบอดีหรือสารภูมิต้านทาน ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคและคงอยู่ในร่างกายเพื่อเฝ้าระวังการติดเชื้อในครั้งต่อไป 
  • หากตรวจพบแอนติบอดีที่จำเพาะต่อโรคอยู่ภายในร่างกายแสดงว่าบุคคลนั้นกำลังติดเชื้อนี้อยู่หรือเคยติดเชื้อนี้มาก่อน ทั้งนี้ การตรวจเลือดในระยะแรกของการติดเชื้ออาจไม่พบแอนติบอดีแม้ว่าผู้ป่วยจะติดเชื้อจริง เนื่องจากร่างกายยังไม่ได้สร้างแอนติบอดีขึ้น แพทย์จึงอาจนัดมาตรวจซ้ำอีกครั้ง   
  • สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่แสดงอาการของโรคขี้แมว
    • แพทย์อาจพิจารณาให้เจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจหาเชื้อ รวมถึงอัลตราซาวด์เพื่อดูว่าทารกนั้นมีสัญญาณการติดเชื้อหรือไม่ ซึ่งหากเกิดการติดเชื้อจริงอาจต้องได้รับการดูแลจากแพทย์เฉพาะทางเพิ่มเติม 
    • ส่วนผู้ป่วยที่อาการรุนแรงจนเกิดการติดเชื้อในสมองอาจต้องวินิจฉัยเพิ่มเติมด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI Scan) ตรวจหาเชื้อจากน้ำไขสันหลัง หรือตัดตัวอย่างชิ้นเนื้อส่งวิเคราะห์ เพื่อตรวจหารอยโรคหรือซีสต์ที่หุ้มเชื้อปรสิตในสมอง 

การรักษาโรคขี้แมว

ผู้ป่วยที่มีร่างกายแข็งแรงมักไม่ต้องเข้ารับการรักษา แต่หากมีสัญญาณของโรคขี้แมวเฉียบพลัน มีอาการรุนแรง ส่งผลต่อดวงตาและอวัยวะภายในอื่น ๆ แพทย์อาจให้รับประทานยารักษาโรคมาลาเรีย อย่างไพริเมตามีนร่วมกับยาปฏิชีวนะอย่างซัลฟาไดอะซีน เช่นเดียวกับผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีหรือโรคเอดส์อาจใช้ยาเหล่านี้ร่วมกับกรดโฟลิกเพื่อป้องกันการขาดวิตามินบี 9 หรือใช้ยาไพริเมตามีนคู่กับยาคลินดามัยซินแทนได้

การรักษาโรคขี้แมวในหญิงตั้งครรภ์มีอยู่หลายวิธี ขึ้นอยู่กับระยะที่ติดเชื้อและความรุนแรงของเชื้อ เช่น

  • การติดเชื้อภายใน 16 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ อาจต้องรับประทานยาปฏิชีวนะอย่างสไปรามัยซิน เพื่อลดอัตราการติดเชื้อจากมารดาสู่ทารกในครรภ์
  • การติดเชื้อหลังสัปดาห์ที่ 16 ของการตั้งครรภ์ หรือทารกในครรภ์ติดเชื้อ อาจต้องรับประทานยาไพริเมตามีน ยาซัลฟาไดอะซีน กรดโฟลิก และยาลูวโคโวริน ทั้งนี้ ยาทั้ง 2 ชนิดนี้อาจส่งผลข้างเคียงต่อมารดาและทารกในครรภ์ได้ เช่น กดไขกระดูกที่ช่วยสร้างเซลล์เม็ดเลือด เกิดความเป็นพิษต่อตับ เป็นต้น 

หากท่านไม่ได้ตั้งครรภ์ และไม่มีโรคประจำตัว จะหายได้เองในสองสามสัปดาห์ แพทย์อาจไม่ให้ยาถ้าอาการไม่มากและท่านแข็งแรงดี

การป้องกันโรคขี้แมว

  • ไม่รับประทานอาหารดิบหรือกึ่งสุกกึ่งดิบโดยเฉพาะเนื้อหมู เนื้อวัว หอยนางรม และหอยแมลงภู่ แต่ควรรับประทานเมื่อผ่านการปรุงสุกแล้วเท่านั้น
  • ล้างผักและผลไม้ให้สะอาดก่อนรับประทานหรือก่อนนำไปประกอบอาหารทุกครั้ง และอาจปอกเปลือกผลไม้หลังล้างเสร็จแล้ว 
  • ล้างเครื่องมือและเครื่องใช้ในครัวทุกครั้งหลังจากประกอบอาหารด้วยน้ำร้อน เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่อาจปนเปื้อนตามเขียง มีด จานชาม หรือช้อนส้อม รวมไปถึงล้างมือหลังจากสัมผัสกับเนื้อดิบ
  • เลือกดื่มผลิตภัณฑ์นมที่ผ่านกระบวนฆ่าเชื้อแล้วเท่านั้น
  • ดูแลของเล่นเด็กให้สะอาด โดยเฉพาะกระบะทราย เพื่อป้องกันไม่ให้แมวใช้เป็นที่อุจจาระหรือปัสสาวะ
  • เลี้ยงแมวในระบบปิดและให้อาหารเม็ดหรืออาหารกระป๋องแทนเนื้อสัตว์ดิบที่อาจปนเปื้อนเชื้อโรค
  • สวมถุงมือและหน้ากากอนามัยหากต้องทำความสะอาดกระบะทรายแมว ล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดหลังเสร็จภารกิจ และควรเปลี่ยนทรายทุกวัน เพื่อป้องกันซีสต์ของเชื้อปรสิตที่ออกมาพร้อมมูลแมว
  • สวมถุงมือเมื่อต้องขุดดิน ปลูกต้นไม้ หรือสัมผัสกับดิน และควรล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ทุกครั้งหลังทำกิจกรรม
  • สำหรับคุณแม่ที่เลี้ยงแมว โดยใช้ชีวิตอยู่ในบ้านเป็นประจำ และเลี้ยงแมวระบบปิด อย่างไรก็ควรระมัดระวังในการอยู่ใกล้ชิดกับแมว และต้องเปลี่ยนคนดูแล เปลี่ยนคนเก็บขี้แมว และเปลี่ยนคนทำความสะอาดในช่วงตั้งครรภ์ คนที่มาดูแลแทน ก็ต้องดูแลความสะอาดให้ดี ใส่ถุงมือทุกครั้งที่ทำความสะอาด

ตรวจโรคขี้แมว ที่ภูเก็ตตรวจได้ที่ไหน?

ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก ให้บริการที่ใกล้ชิด ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมทั้งทีมงานที่มีความชำนาญ พร้อมให้คำปรึกษาและ การรักษา โดยคุณสามารถเข้ารับบริการได้ทั้ง walk-in หรือนัดหมายล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับบริการ
จองคิวออนไลน์ https://phuketmedicalclinic.youcanbook.me
เวลาทำการ 🕙 10:00-18:00 น. ทุกวัน
เบอร์ติดต่อ ☎️ 096-696-2449
Line id : @pmcphuket (มี @ ด้วยนะครับ) หรือ https://lin.ee/R1TKRDo
แผนที่ 📌https://goo.gl/maps/xu45eTQUTjgpukJa7
Website 🌐https://phuketmedicalclinic.com
ปรึกษาแพทย์หรือสอบถามเพิ่มเติมได้เลยนะครับ
Inbox : m.me/100483916443107
สุขภาพคุณให้เราดูแล#คลินิกภูเก็ต
Phuket #Clinic #ภูเก็ตเมดิคอลคลินิก