ระบบภูมิคุ้มกัน (Immune System) คือ เป็นกลไกการทำงานของร่างกายระบบหนึ่ง ที่เป็นกลไกตามธรรมชาติของร่างกายที่ทำหน้าที่ป้องกัน หรือต่อต้านไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย หรือเกิดการติดเชื้อจากเชื้อโรคเหล่านั้น หรือคอยช่วยเหลือไม่ให้เกิดการเจ็บป่วยจากสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย โดยสิ่งแปลกปลอมทั้งภายนอก ได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา หรือสารพิษจากจุลินทรีย์ หรือจากความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย เช่น เนื้องอก หรือเซลล์มะเร็ง

ระบบภูมิคุ้มกันมีความซับซ้อนอย่างมาก และแบ่งออกเป็น 2 ระบบหลัก ๆ ได้แก่

  • ระบบภูมิคุ้มกันแต่กำเนิด (Innate immune system) เราทุกคนเกิดมาพร้อมกับระบบภูมิคุ้มกันประเภทนี้ ถูกถ่ายทอดจากพันธุกรรม และ เป็นภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างเองได้ เช่น เยื่อบุ เยื่อเมือกต่างๆ
  • ระบบภูมิคุ้มกันโรคที่เกิดขึ้นภายหลัง หรือระบบภูมิคุ้มกันที่ได้มาภายหลัง (Adaptive immune system) เป็นระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะเจาะจงที่ร่างกายสร้างขึ้นมาหลังจากได้รับเชื้อ 

ระบบภูมิคุ้มกันของแต่ละคนจะแตกต่างกันไป เมื่อผ่านการติดเชื้อใดๆ มาจะทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อนั้น ๆ มากขึ้น จากการจดจำเชื้อโรคได้จึงช่วยให้ป้องกันเชื้อโรคเหล่านั้นได้ดีขึ้นนั่นเอง

ระบบภูมิคุ้มกันแต่กำเนิด คืออะไร

ระบบภูมิคุ้มกันแต่กำเนิด คืออะไร?

ระบบภูมิคุ้มกันแต่กำเนิด (Innate immune system) เราทุกคนเกิดมาพร้อมกับระบบภูมิคุ้มกันประเภทนี้ ถูกถ่ายทอดจากพันธุกรรม คือ ภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นเองเพื่อป้องกันและสกัดเชื้อโรค ซึ่งเป็นกลไกที่ไม่จำเพาะเจาะจงกับเชื้อโรคชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น ผิวหนัง เยื่อบุ เยื่อเมือกต่าง ๆ ช่วยขัดขวางไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย หรือ กรดในกระเพาะอาหาร น้ำตา เหงื่อ ช่วยทำลายเชื้อโรคก่อนเข้าสู่ร่างกาย รวมถึงเซลล์เพชฌฆาต (Natural Killer Cells; NK Cells) ที่พร้อมต่อสู้กับเนื้องอก เซลล์มะเร็ง หรือการติดเชื้อไวรัสอย่างทันท่วงทีเมื่อเกิดการติดเชื้อ  เพื่อทำให้ร่างกายเราปลอดภัยจากสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์อื่น ซึ่งถือเป็นการป้องกันเชื้อโรคชั้นแรกของร่างกาย โดยภูมิคุ้มกันเเบบนี้มีมาตั้งเเต่เกิด โดยทารกที่มีอายุครรภ์ 5 สัปดาห์ จะเริ่มสร้างภูมิคุ้มกันได้เอง เเต่ยังสร้างได้น้อยมาก เนื่องจากเริ่มมีการเจริญของอวัยวะน้ำเหลือง

การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันแต่กำเนิด

เมื่อร่างกายสัมผัสเชื้อโรค (Pathogen) หรือสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ จะมีกลไกการทำงาน  โดยระบบภูมิคุ้มกันแต่กำเนิด หรือภูมิคุ้มกันชนิดไม่จำเพาะ เป็นด่านแรกในการต่อสู้และป้องกันเชื้อโรคที่เข้ามาในร่างกาย กลไกนี้ไม่จำเพาะเจาะจง (Specificity) กับเชื้อโรคชนิดใดชนิดหนึ่ง แต่ป้องกันโรคได้หลายชนิด และไม่มีความจดจำเชื้อโรค (Memory)

การป้องกันด่านที่ 1 จะเป็นการป้องกันที่บริเวณผิวหนังหรือเยื่อบุต่าง ๆ 

การป้องกันเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมโดยผิวหนัง เยื่อเมือก สารคัดหลั่ง ขนอ่อน เอนไซม์และอื่น ๆ ตามช่องเปิดเข้าสู่ร่างกาย 

  • กลไกทางกายภาพ เป็นกลไกที่กีดขวางไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ เช่น ผิวหนัง เยื่อบุทางเดินหายใจ เยื่อบุทางเดินอาหาร รูขุมขน ต่อมเหงื่อและต่อมใต้ผิวหนังต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น
    • ที่ผิวหนังมีการขับกรดบางชนิดออกมากับเหงื่อ ทำให้เหงื่อมีความเป็นกรด สามารถป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนัง 
    • ที่โพรงจมูก มีขนอ่อน มีต่อมน้ำมัน ที่เยื่อบุหลอดลม มีขน มีเสมหะ การไอการจามเพื่อไม่ให้เชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเดินหายใจ 
    • ที่ปากมีน้ำลาย กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กมีเอนไซม์ที่มีสภาวะเป็นกรดสามารถทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม รวมถึงการอาเจียนเพื่อขับสิ่งแปลกปลอมออกจากทางเดินอาหาร 
    • ที่ตามีน้ำตาที่มีเอนไซม์สามารถทำลายและขับเชื้อโรคออกจากตา นอกจากนี้ยังมี 
  • กลไกทางเคมี เป็นกลไกที่อาศัยสารเคมีที่ร่างกายสร้างขึ้นมาทำลายเชื้อโรค เช่น กรดในกระเพาะอาหาร สารคัดหลั่งชนิดต่าง ๆ จากต่อมต่าง ๆ กรดแลคติก และอิเลคโทรไลท์ในเหงื่อ
    ตัวอย่างเช่น สารคัดหลั่งในช่องคลอด ความเป็นกรดของปัสสาวะ ซึ่งสามารถป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อโรคได้ เป็นต้น
  • กลไกทางพันธุกรรม เป็นกลไกซึ่งทำให้เชื้อโรคบางชนิดไม่สามารถติดเชื้อในคนบางกลุ่มได้ เช่น คนไม่สามารถติดเชื้อไข้หวัดแมว และแมวไม่สามารถติดเชื้อคางทูมจากคนได้ หรือในคนที่เป็นโรค Sickle cell anemia จะมีความต้านทานต่อโรคมาลาเรีย  
  • นอกจากนี้แล้วตามอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย จะมีจุลินทรีย์ประจำถิ่น (Normal flora) ซึ่งในร่างกายปกติจะไม่ก่อให้เกิดโรค โดยเชื้อนี้จะคอยแย่งอาหารและที่อยู่ รวมถึงสร้างสารต่อต้านการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรคตัวอื่น ๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย

การป้องกันด่านที่ 2 เป็นการป้องกันโดยปฏิกิริยาทางเคมีระดับเซลล์

เมื่อด่านที่ 1 ไม่สามารถขจัดเชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอมได้ ก็จะทำให้เกิด Inflammatory response เป็นการเคลื่อนย้ายเม็ดเลือดขาวจำพวก Neutrophillic granulocyte หรือชนิดฟาโกไซต์ (Phagocyte) จะพบว่า ประมาณ 30-60 นาที จากการเคลื่อนย้ายเม็ดเลือดขาวออกจากเส้นเลือดไปสู่บริเวณที่มีสิ่งแปลกปลอม และจับกินเชื้อโรค (Phagocytosis) พร้อมกับกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ ในขณะที่ Phagocyte กำจัดสิ่งแปลกปลอม จะมีการปล่อยสารเคมีเพื่อดึงดูดเม็ดเลือดขาวเข้ามาบริเวณนั้นเพื่อกำจัดเชื้อโรค ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นมีลักษณะ ปวด บวม แดง ร้อน เรียกว่า การอักเสบ (Inflammation)

เซลล์เม็ดเลือดขาว (WBC) ที่มี ความสำคัญในการทำหน้าที่ภูมิคุ้มกัน ได้แก่

  • Lymphocyte เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวขนาดเล็ก มีบทบาท สำคัญมากในการกำจัดเชื้อโรคที่มารุกราน รวมทั้งเซลล์ของ ร่างกายที่มีการกลายพันธุ์และก่อตัวเป็นเซลล์มะเร็ง Lymphocyte อาจแบ่งย่อยได้เป็น 3 ชนิดคือ
    • B-Cell 
    • T-Cell ประกอบด้วย Helper T-Cell และ Killer T-Cell 
    • Natural Killer Cell หรือ NK Cell 
  • Neutrophil  สร้างในไขกระดูก  มีหน้าที่หลักคือ ล้อมจับกินจุลินทรีย์ ด้วยกระบวนการกลืนกิน (Phagocytosis) กล่าวคือ ด้วยการฆ่าโดยวิธีฮุบเหยื่อ แล้วค่อยๆ ย่อยสลายเชื้อโรคที่รุกราน เข้าสู่ร่างกาย    ได้แก่ แบคทีเรีย เชื้อรา และ พยาธิ ก่อนที่ตัวมันเองจะตายไปด้วย  
  • Macrophage เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาว ที่มีขนาดใหญ่ ที่สุด กำเนิดจากไขกระดูก เมื่อเติบโตเต็มที่ แล้วจะเข้าสู่กระแสเลือด มีหน้าที่หลักคล้าย Neutrophil คือ กาจัดเซลล์มะเร็ง และจุล ชีพก่อโรคโดยกระบวนการ Phagocytosis 
  • Eosinophil มีหน้าที่ทำลายสารที่ทำให้ เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้จะ ก่อให้เกิดการอักเสบ เช่น สารจากตัวอ่อน (larva) ของพยาธิตัวกลม สารก่อภูมิแพ้จาก มะเร็งบางชนิด  สารอาหารและ สารจากยา บางอย่าง เมื่อตรวจเลือดจะพบค่านี้สูงขึ้น 
  • Basophil มีหน้าที่ป้องกันการเกิดอาการภูมิแพ้ กล่าวคือมันจะควบคุมร่างกายที่จะหลั่งสารฮิสตา มีน (histamine) อันเป็นปฏิกิริยาซึ่งเกิดจากการ รับสารก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่น เกสรดอกไม้ ละออง เกสรจากผึ้ง (bee pollen) มิให้หลั่งออกมามาก เกินไป นอกจากนั้น Basophil ยังช่วยควบคุม สารเฮพารินซึ่งทาให้เลือดใส ไม่ให้มีมากเกินไป  

ทั้งนี้กลไกการป้องกันในด่าน 1 และด่าน 2 นั้น ถือเป็นกลไกการป้องกันแบบไม่เฉพาะเจาะจง (Nonspecific defense mechanism) มีความสามารถในการป้องกันหรือทำลายเชื้อจุลินทรีย์ได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น โดยจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามอายุ พันธุกรรม ฮอร์โมน และภาวะโภชนาการของแต่ละบุคคล

ปัจจัยที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแต่กำเนิดอ่อนแอ

ปัจจัยที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแต่กำเนิดอ่อนแอ

นอกจากโรคภัยไข้เจ็บที่ส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันโดยตรงแล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ได้แก่

  • รับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ การรับประทานน้ำตาลมาก ๆ และรับประทานผักผลไม้น้อยจะส่งผลเสียต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย เนื่องจากร่างกายไม่มีแร่ธาตุและวิตามินที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงมากพอ
  • พักผ่อนไม่เพียงพอ หากพักผ่อนไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวันสะสมไปเป็นนาน ๆ จะยิ่งทำให้ร่างกายมีฮอร์โมนความเครียดเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลเสียต่อระบบภูมิคุ้มกัน เสี่ยงต่ออาการอักเสบและติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
  • ไม่ออกกำลังกาย การออกกำลังกายเป็นวิธีที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ในทางกลับกัน หากไม่ออกกำลังกายจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงได้ เพราะการออกกำลังกายจะช่วยให้ร่างกายสร้างสารเคมีชนิดดีช่วยให้ร่างกายแข็งแรง รู้สึกสดชื่น และภูมิต้านทานสูงขึ้น
  • เครียดสะสม ความเครียดส่งผลต่อต่อระบบภูมิคุ้มกันโดยตรง เพราะเมื่อในร่างกายมีความเครียดสูงขึ้น ฮอร์โมนความเครียดจะไปกดภูมิคุ้มกันให้อ่อนแอลงจนร่างกายเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น

วิธีการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงได้อย่างไร?

การดูแลสร้างเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งทำได้ง่าย ๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต เพราะระบบภูมิคุ้มกันจะดี หรือไม่อยู่กับรูปแบบการใช้ชีวิตของแต่ละคน ตั้งแต่ตื่นจนกระทั่งเข้านอน ปฏิบัติได้ ดังนี้

  • เน้นรับประทานอาหารจำพวกผัก ผลไม้ ธัญพืช และอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวน้อย
  • ไม่ควรรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  • ควบคุมความดันโลหิต
  • หลีกเลี่ยงความเครียด
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอเหมาะ
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือไม่สูบบุหรี่
  • เสริมภูมิคุ้มกันจากภายใน เลือกทานอาหารเสริม ช่วยบำรุงร่างกาย หรือช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันได้เช่นกัน 
  • สำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องระบบภูมิคุ้มเนื่องจากปัจจัยต่างๆ เช่น จากโรคประจำตัว หรืออายุที่มากขึ้น วัคซีนถือเป็นตัวเลือกที่ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำหน้าที่ป้องกันอาการเจ็บป่วยของโรคติดเชื้อร้ายแรงบางชนิดได้ดีขึ้น

ระบบภูมิคุ้มกัน ถือเป็นปราการด่านที่สำคัญของสุขภาพ ดังนั้น เพื่อสุขภาพที่ดี จึงควรใส่ใจในเรื่องระบบภูมิคุ้มกันให้มากขึ้น หากเกิดความผิดปกติ เช่น มีการติดเชื้อโรคบ่อยขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจให้ละเอียด หากปล่อยปละละเลยอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วย หรือโรคร้ายแรงในภายหลังได้

ฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรค ที่ภูเก็ตได้ที่ไหน?

ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก ให้บริการที่ใกล้ชิด ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมทั้งทีมงานที่มีความชำนาญ พร้อมให้คำปรึกษาและ การรักษา โดยคุณสามารถเข้ารับบริการได้ทั้ง walk-in หรือนัดหมายล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับบริการ
จองคิวออนไลน์ https://phuketmedicalclinic.youcanbook.me
เวลาทำการ 🕙 10:00-18:00 น. ทุกวัน
เบอร์ติดต่อ ☎️ 096-696-2449
Line id : @pmcphuket (มี @ ด้วยนะครับ) หรือ https://lin.ee/R1TKRDo
แผนที่ 📌https://goo.gl/maps/xu45eTQUTjgpukJa7
Website 🌐https://phuketmedicalclinic.com
ปรึกษาแพทย์หรือสอบถามเพิ่มเติมได้เลยนะครับ
Inbox : m.me/100483916443107
สุขภาพคุณให้เราดูแล#คลินิกภูเก็ต
Phuket #Clinic #ภูเก็ตเมดิคอลคลินิก