คำถาม : ทำไมต้องไปตรวจหาเชื้อเอชไอวี?

การทราบสถานะการติดเชื้อเอชไอวีของตัวเองเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะดูแลสุขภาพของตัวเองและคู่ของตัวเอง เพราะถ้ารู้ว่าติดเชื้อเอชไอวีเร็วเท่าใด ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสให้มีชีวิตที่ยืนยาว และมีสุขภาพที่ดีได้มากยิ่งขึ้นด้วย ทั้งนี้ยังมีผู้ติดเชื้อเอชไอวี จำนวนมากที่ยังไม่ทราบว่าตัวเองติดเชื้อเอชไอวี อาจจะแพร่เชื้อไปให้ผู้อื่นโดยไม่ตั้งใจ ดังนั้น หากมีเพศสัมพันธ์ หรือมีความพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ก็ควรไปตรวจหาเชื้อเอชไอวี 

คำถาม :  ควรตรวจหาเชื้อเอชไอวี บ่อยแค่ไหน

การตรวจหาเชื้อเอชไอวี ก็ต่อเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีพฤติกรรมเสี่ยง หรือถ้าไม่มั่นใจในคู่ของคุณก็ควรตรวจหาเชื้อเอชไอวีทันที หรือตรวจหาเชื้อเอชไอวีอย่างน้อยปีละครั้ง

คำถาม : ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) หมายความว่าเป็นโรคเอดส์ (AIDS)?

การติดเชื้อเอชไอวี ไม่จำเป็นต้องเป็นโรคเอดส์ แต่เป็นเชื้อไวรัสเอชไอวีที่ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย นั่นคือเซลล์เม็ดเลือดขาว CD4 หรือ T cells ซึ่งทำหน้าที่ในการต่อสู้เชื้อโรคต่างๆ หากเมื่อใดผู้ติดเชื้อเอชไอวี มีอาการป่วยจากโรคติดเชื้อฉวยโอกาส เช่น ปอดอักเสบ PJP วัณโรค เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อคริปโตคอคคัส หรือถึงแม้ยังไม่มีอาการป่วยจากโรคติดเชื้อฉวยโอกาส แต่เมื่อใดที่เชื้อไวรัสเอชไอวี ทำลายเซลล์ CD4 จนมีปริมาณลดลงอย่างมาก (ต่ำกว่า 200 เซลล์/ลบ.มม.) ทำให้เกิดภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง จนเข้าสู่การติดเชื้อเอชไอวี ระยะสุดท้าย หรือที่เรียกว่าเข้าสู่ระยะโรคเอดส์ นั่นเอง

คำถาม : ถ้าติดเชื้อเอชไอวี แล้วแปลว่าต้องตายใช่ไหม?

ปัจจุบันการรักษาการติดเชื้อเอชไอวี มีประสิทธิภาพสูง ผลข้างเคียงน้อย รักษาแล้วได้ผลดี สามารถมีชีวิตได้เหมือนคนปกติถึงแม้ว่าจะอยู่ในระยะโรคเอดส์แล้ว แต่ถ้ามารักษาทัน และไม่ได้มีโรคติดเชื้อฉวยโอกาสแทรกซ้อนรุนแรงก็สามารถรักษาให้กลับมาใช้ชีวิตเหมือนคนปกติได้ หากมีโอกาสเสี่ยงที่ติดเชื้อเอชไอวี ให้รีบมาตรวจรักษา และหากทราบว่าติดเชื้อเอชไอวีแล้วให้แจ้งผลกับคู่นอน เพื่อที่จะได้เข้ารับการตรวจ และ/หรือรักษาให้ทันท่วงทีก่อนที่จะป่วยหนัก อีกอย่างที่สำคัญ คือไม่รับเชื้อเพิ่ม ถ้ามีเพศสัมพันธ์จะต้องสวมถุงยางอนามัยทุกครั้ง และรับประทานยาต้านให้ตรง เวลาตามแพทย์สั่ง ซึ่งการได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องแต่เนิ่น ๆ ผู้ติดเชื้อจะสามารถมีอายุยืนยาว และมีคุณภาพชีวิตที่ดีเท่าๆกับคนที่ไม่ติดเชื้อทั่วไป

ถาม-ตอบ เกี่ยวกับเชื้อเอชไอวีโรคเอดส์

คำถาม :  ติดเชื้อเอชไอวี เอชไอวี รักษาหายไหม?

การรักษาให้เชื้อเอชไอวีหายไปจากร่างกายไม่สามารถทำได้ แต่การรับประทานยาต้านไวรัส สามารถทำให้เรามีชีวิตอยู่ได้ปกติเหมือนกับคนที่ไม่มีเชื้อ  เพราะฉะนั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือ คุณจะต้องรีบตรวจเมื่อมีความเสี่ยง เพื่อที่จะรู้เร็ว และรักษา ดูแลตัวเอง ทานยาตามแพทย์สั่ง เพื่อให้เราดำรงชีวิตได้อย่างปกติ ไม่มีโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ 

คำถาม :  ตรวจหาเชื้อเอชไอวีไม่เจอหมายความว่าหายแล้วหรือไม่?

การตรวจไม่เจอเชื้อไวรัส เอชไอวีในเลือด (Undetectable HIV viral load) ไม่ได้หมายความว่าไม่มีเชื้อแล้ว แต่หมายความว่ายาได้ไปฆ่าไวรัสจนเหลือน้อยมาก อย่างไรก็ตาม ยังมีไวรัสหลบซ่อนตัวอยู่ในที่ต่างๆ ทั่วร่างกาย เช่น ในสมอง ต่อมน้ำเหลือง หรือลำไส้ ดังนั้นหากคนไข้หยุดกินยาต้านไวรัส จำนวนเชื้อเอชไอวี ก็จะเพิ่มขึ้น ภูมิคุ้มกันจะตกลงและมีโอกาสป่วยได้อีก

คำถาม :  ยาต้านไวรัสเอชไอวีช่วยได้อย่างไรบ้าง?

ยาต้านไวรัสเอชไอวี จะเข้าไปหยุดยั้งการแบ่งตัวของเชื้อเอชไอวี เมื่อเชื้อมีน้อยลงภูมิต้านทาน (CD4) ก็ดีขึ้น  ลดโอกาสการเกิดโรคแทรกซ้อน  ลดการแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวี ลดอัตราการเกิดโรคอื่นๆ เช่น ปอดบวม  ฝีตามตัว  ลดอัตราการเกิดภาวะเบาหวาน  ความดันโลหิตสูง เป็นต้น แต่ต้องกินยาไปตลอดชีวิต

คำถาม :  ถ้าติดเชื้อเอชไอวีแล้ว ต้องรักษานานแค่ไหนถึงจะกลับมาเป็นปกติได้

ในปัจจุบันแนวทางการรักษาเอชไอวีกระแสหลักจะเป็นการรักษาด้วยการทานยาต้านไวรัส หากผู้ป่วยพบ เชื้อเร็ว-รักษาเร็ว มีวินัยการทานยาที่ดี และติดตามนัดแพทย์สม่ำเสมอ โดยทั่วไปจะสามารถกลับมามีร่างกายที่ แข็งแรงปกติได้ประมาณ 6 เดือนหลังจากเริ่มต้นรักษา ทั้งนี้ในปัจจุบัน ยาต้านไวรัสยังไม่สามารถกำจัดเชื้อเอชไอวี ให้ไปหมดไปจากร่างกายได้ ผู้มีเชื้อเอชไอวี จำเป็นต้องทานยาต้านไวรัสไปตลอดชีวิต เพื่อทำให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ

คำถาม :  ผู้ติดเชื้อเอชไอวี  ไม่จำเป็นต้องทานยาต้านไวรัสไปตลอดชีวิตได้หรือไม่

หากทานยาต้านไวรัสตรงเวลา ดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ มีโอกาสที่เชื้อไวรัส HIV อาจจะลดลงเรื่อยๆ จะอาจสามารถหยุดการทานยาได้ แต่แพทย์จะยังคงตรวจสุขภาพต่อเป็นระยะๆ

คำถาม :  การดื้อยาต้านไวรัสHIV (เอชไอวี) คืออะไร?

  • การดื้อยาต้านไวรัสHIV(เอชไอวี) คือ การที่ยาต้านที่ใช้อยู่ไม่สามารถควบคุมเชื้อเอชไอวีในร่างกายไม่ให้ก๊อปปี้เพิ่มได้แล้ว กรณีแบบนี้มักจะเกิดจาการกินยาต้านไม่ตรงเวลา
  • หรือการใช้ยาต้านไวัรัสเอสไอวีต่อเนื่องสม่ำเสมอ 6 เดือน แต่ปริมาณของ HIV viral load ยังมีมากกว่า 1,000 ตัว/มิลลิลิตร หมายถึงการรักษาไม่เป็นผล และอาจมีภาวะดื้อยาร่วมด้วย  การตรวจเลือดแพทย์จะทราบได้ว่าผู้ป่วยมีภาวะดื้ยาและต้องปรับสูตรยาหรือไม่

คำถาม :  เชื้อเชื้อเอชไอวี เมื่ออยู่นอกร่างกายจะมีชีวิตอยู่ได้นานเท่าไหร่

ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ปริมาณของสารคัดหลั่งที่ออกมามีมากน้อยเพียงใด หรือเลือดหนึ่งหยดมีปริมาณของเชื้อและคุณภาพที่ด้อยกว่า เลือดที่ออกมาจำนวนมากๆ  รวมทั้งสารคัดหลังที่ออกมาอยู่ในสภาพภายนอกแบบไหนมีส่วนผสมของสิ่งอื่นๆด้วย หรือไม่ อยู่ในสภาพร้อนแห้งหรือเย็น หรือเปื้อนผ้าที่แห้งแล้วเชื้อก็จะด้อยคุณภาพ

คำถาม :  การสัมผัสภายนอก ใช้อวัยวะวะเพศถูไถ สำเร็จความใคร่ เสี่ยงติดเอชไอวีหรือไม่

เชื้อเอชไอวี สามารถส่งผ่านเชื้อได้จากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย /การสัมผัสผู้มีเชื้อเอชไอวี โดยตรงผ่านทางเลือด โดยมีบาดแผล และการใช้เข็มฉีดยาร่วมกันในกลุ่มผู้ใช้สารเสพติดชนิดเข็ม การสัมผัสภายนอกอาจมีความเป็นไปได้น้อยสำหรับการติดเชื้อเอชไอวี แต่การสัมผัสภายนอกอาจจะมีความเสี่ยงเรื่องของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ได้

คำถาม :  การจูบ การมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ปาก (Oral Sex) และการใช้เซ็กส์ ทอย (Sex Toy) สามารถติดเชื้อเอชไอวีได้หรือไม่?

  • การจูบแบบเปิดปากอาจมีความเสี่ยงหากทั้งคู่มีบาดแผลในช่องปาก โดยที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีเชื้อเอชไอวี 
  • การมีเพศสัมพันธ์ผ่านทางปาก ก็อาจมีความเสี่ยงในกรณีที่ฝ่ายชายมีการหลั่งน้ำอสุจิที่อาจมีเชื้อเอชไอวีอยู่ และเข้าไปในช่องปากของคู่นอนที่มีบาดแผลอยู่ในปาก อย่างไรก็ตามความเสี่ยงของทั้งสองกรณีเป็นความเสี่ยงที่ต่ำมาก ๆ  แต่อาจมีโรคอื่ๆนแฝงมาอีกด้วย เช่น มะเร็งในช่องปาก หรือมะเร็งต่อมทอมซิล ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าแถมยังรุนแรงกว่าอีกด้วย แต่สามารถป้องกันโดยสวมถุงทุกครั้ง แค่นี้ก็ปลอดภัยแล้ว
  • การใช้อุปกรณ์เสริมในการมีเพศสัมพันธ์ (sex toy) ร่วมกันกับผู้อื่น อาจมีความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวี ในกรณีที่มีการใช้ต่อกันทันที และอุปกรณ์นั้นปนเปื้อนสิ่งคัดหลั่ง หรือเลือดที่มีเชื้อเอชไอวี หรือใช้อุปกรณ์ร่วมกันกับผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี

เป็นช่องทางที่มีความเสี่ยงน้อย แต่ในกรณีในที่ช่องปากมีแผลก็มีโอกาส เสี่ยงที่จะได้รับเชื้อเอชไอวี เช่นกัน รวมถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ เช่น ซิฟิลิส หนองในแท้และเทียม เป็นต้น

คำถาม :  การทานอาหาร หรือ ทานน้ำร่วมกัน รวมถึงการใช้ชีวิตร่วมกันกับผู้ที่ ติดเชื้อเอชไอวี มีโอกาสเสี่ยงที่จะรับเชื้อเอชไอวี ได้หรือไม่

เชื้อเอชไอวี ไม่สามารถติดต่อกันได้ ทางอากาศ การสัมผัส ลมหายใจ รวมถึง เหงื่อ น้ำตา น้ำลาย เสมหะ น้ำมูก ปัสสาวะ อุจจาระ เป็นต้น และเชื้อเอชไอวีไม่สามารถอยู่ในอากาศได้เป็นเวลานาน หากสัมผัสสะเก็ดเลือดที่แห้งแล้ว เชื้อเอชไอวีก็ไม่สามารถแพร่เชื้อได้ เช่นกัน

คำถาม :  ขริบอวัยวะช่วยลดการเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวี ไ ด้จริงหรือไม่

ช่วยได้จริง การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย มีส่วนช่วยลดโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีลง ซึ่งเคยมีรายงานการวิจัยออกมาแล้ว และเนื่องจากหนังหุ้มปลายที่หนาจะเป็นที่สะสมของเชื้อโรค เมื่อขลิบออกจะทำให้ง่ายต่อการทำความสะอาด แต่อย่างไรก็ต้องทำควบคู่ไปกับวิธีป้องกันอื่นๆ เช่น การใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์

คำถาม :  หากมือที่เปื้อนน้ำคัดหลั่งของอีกฝ่าย แล้วนำมือที่เปื้อนมาช่วยตัวเองจะเสี่ยงไหม

ไม่เสี่ยง แต่ถ้าอวัยวะเพศมีแผล และสัมผัสน้ำคัดหลั่งนานก็อาจมีโอกาสบ้าง

คำถาม :  การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกันของชายรักชาย กับ ชายรักหญิง แบบไหนเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวี  มากกว่ากัน

ชายรักชายมีโอกาสเสี่ยงมากกว่า เนื่องจากทวารหนักไม่ใช่ช่องทางธรรมชาติเหมือนกับช่องคลอดที่มีความยืดหยุ่น กว่า เมื่อมีเพศสัมพันธ์ที่รุนแรงอาจทำให้ทวารหนักฉีกขาดหรือมีบาดแผล จึงเป็นช่องทางให้เชื้อเข้าได้

คำถาม :  ผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี จะสามารถมีบุตรได้หรือไม่ ถ้ามีแล้วบุตรจะติดเชื้อหรือไม่

ผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี สามารถมีบุตรได้ และหากยังไม่ได้รับการรักษา ก็จะสามารถส่งต่อเชื้อเอชไอวี ไปสู่บุตรได้ เช่นกัน ทั้งนี้หากผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี ได้รับการรักษาแล้ว จะมีโอกาสน้อยมาก ที่จะส่งต่อเชื้อไปสู่บุตร หากท่านเป็นผู้มีเชื้อเอชไอวี แล้วต้องการมีบุตร แนะนำให้ท่านแจ้งกับสถานพยาบาลที่ฝากครรภ์ได้ทันที เพื่อ ให้แพทย์ที่ดูแลครรภ์ ดำเนินการป้องกันและลดโอกาสเสี่ยงที่จะส่งต่อเชื้อไปสู่บุตรของท่าน

ติดต่อเรา

ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก ให้บริการที่ใกล้ชิด ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมทั้งทีมงานที่มีความชำนาญ พร้อมให้คำปรึกษาและ การรักษา โดยคุณสามารถเข้ารับบริการได้ทั้ง walk-in หรือนัดหมายล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับบริการ
จองคิวออนไลน์ https://phuketmedicalclinic.youcanbook.me
เวลาทำการ 🕙 10:00-18:00 น. ทุกวัน
เบอร์ติดต่อ ☎️ 096-696-2449
Line id : @pmcphuket (มี @ ด้วยนะครับ) หรือ https://lin.ee/R1TKRDo
แผนที่ 📌https://goo.gl/maps/xu45eTQUTjgpukJa7
Website 🌐https://phuketmedicalclinic.com
ปรึกษาแพทย์หรือสอบถามเพิ่มเติมได้เลยนะครับ
Inbox : m.me/100483916443107
สุขภาพคุณให้เราดูแล#คลินิกภูเก็ต
Phuket #Clinic #ภูเก็ตเมดิคอลคลินิก