โรคไข้ขี้แมว

โรคขี้แมว หรือ โรคทอกโซพลาสโมซิส (Toxoplasmosis) เป็นโรคเกิดจากเชื้อจากปรสิต สามารถพบได้ในสัตว์จำพวก แกะ แพะ หมู หมา แต่โดยส่วนมากมักพบในแมว  ซึ่งโรคเป็นหนึ่งในสาเหตุหลัก ที่มักติดมาจากขี้แมว ที่อาจจะเป็นสัตว์เลี้ยงตัวโปรดของแม่ท้อง โดยความเสี่ยงติดโรค อาจเกิดได้จากการเก็บ การทำความสะอาด หรือการสัมผัสใกล้ชิดกับขี้แมว โดยปราศจากการล้างมือ ซึ่งหากแม่ท้องได้รับการติดเชื้อดังกล่าว ก็จะสามารถถ่ายทอดไปยังลูกในครรภ์ด้วย

นอกจากนี้ เชื้อโรคดังกล่าวยังสามารถแพร่ติดต่อ จากการกินเชื้อที่ปะปนอยู่ในผักดิบ หรือเนื้อที่ปรุงไม่สุก รวมถึงได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะที่ติดเชื้อ หรือการถ่ายเลือดที่ติดเชื้อได้ โดยทั่วไปแล้ว โรคนี้มักไม่เป็นอันตรายและไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาหากผู้ป่วยมีสุขภาพแข็งแรง แต่ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำหรือหญิงตั้งครรภ์ ควรเข้ารับการรักษาทันทีหลังได้รับเชื้อ เพราะอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือการติดเชื้อที่รุนแรง

โรคลมชัก

โรคลมชัก (Seizures/Epilepsy) หรือลมบ้าหมู (Grand mal) คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลางที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย หรือเกิดจากเซลล์สมองที่ทำงานเชื่อมโยงกันเหมือนวงจรไฟฟ้า และปล่อยคลื่นไฟฟ้าออกมาผิดปกติพร้อมกันอย่างเฉียบพลัน ส่งผลให้ระบบประสาทเกิดความผิดปกติจนไม่สามารถควบคุมตนเอง หรือเกิดอาการชักซ้ำๆ  โดยอาการแสดงที่เกิดขึ้นนั้น ขึ้นอยู่กับว่าเป็นส่วนใดของสมองที่ได้รับการกระตุ้น ซึ่งอาการจะเกิดขึ้นเป็นๆ หายๆ ในระยะเวลาไม่นาน มักเกิดขึ้นทันทีและหยุดเอง แต่อาการมักเกิดซ้ำขึ้นเรื่อยๆ 

นอกเหนือจากการชักเกร็งกระตุกทุกส่วนของร่างกายนั้น อาจจะมีอาการเบลอ เหม่อลอย ตาค้าง วูบบ่อย ก็เสี่ยงต่อการเกิดโรคลมชัก หรือลมบ้าหมูแบบไม่ทันตั้งตัวได้  โดยอาการเหล่านี้ไม่ควรมองข้าม หากปล่อยให้มีอาการลักษณะนี้บ่อยๆ และไม่ได้รับการรักษาอาจส่งผลให้ความจำเลอะเลือนชั่วคราว หรือหากมีอาการกำเริบขึ้นกะทันหันอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงจนทำให้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้

โรคมาลาเรีย

โรคไข้มาลาเรีย (Malaria) ไข้ป่า หรือไข้จับสั่น คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อโปรโตซัว ในกลุ่มพลาสโมเดียม ที่มียุงก้นปล่องเพศเมีย เป็นพาหะนำโรคไข้มาลาเรียสู่คนจากการเข้าป่า และถูกยุงกัดจนทำให้มีไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงของโรคมาลาเรียอาจทำให้มีภาวะเม็ดเลือดแดงแตก ตัวเหลือง ตาเหลือง ไตวาย ไข้มาลาเรียขึ้นสมองอาจทำให้มีอาการชักเกร็ง อวัยวะภายในล้มเหลวหลายระบบจนกระทั่งเสียชีวิต โดยมักพบโรคนี้ในเขตที่มีภูมิอากาศร้อนชื้นและมีแหล่งน้ำขังตามธรรมชาติมาก ซึ่งเป็นที่อาศัยของยุงก้นปล่องที่เป็นพาหะนำโรค

โรคหลอดลมอักเสบ

โรคหลอดลมอักเสบ เป็นโรคระบบทางเดินหายใจ ที่เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุหลอดลม ซึ่งเป็นท่อที่นำลม หรืออากาศหายใจเข้าสู่ปอด เมื่อเยื่อบุหลอดลมบวมมีเสมหะ ส่งผลให้อากาศไหลผ่านหลอดลมเข้าสู่ปอดได้ไม่ดี หายใจลำบากทำให้เกิดอาการไอได้ มักพบได้บ่อยในช่วงฤดูฝน และฤดูหนาว สามารถพบผู้ติดเชื้อได้ทุกช่วงวัย หากได้รับการรักษาไม่ถูกต้อง สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อน การติดเชื้อจากหลอดลมอาจลามไปที่ปอด ทำให้เกิดปอดอักเสบ (Pneumonia) และโรคถุงลมโป่งพองได้

ความสำคัญของการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

เพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย (Safe Sex )  คือ ทุกสิ่งที่เกี่ยวกับการป้องกันตัวเอง และคู่ของคุณให้ปลอดภัยจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งจะช่วยให้คุณมีสุขภาพที่ดีและทำให้คุณมีเพศสัมพันธ์ได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย ซึ่งการป้องกันมีได้หลายวิธีต่าง ๆ ไม่ว่าจะการใส่ถุงยางอนามัย หรือการคุมกำเนิด ซึ่งถ้าเราป้องกันอย่างถูกวิธีก็ไม่ต้องกังวลเรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือการตั้งครรภ์ในขณะที่ไม่พร้อม

วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19

วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 (COVID-19 vaccine) จะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสนี้ขึ้นมา ช่วยป้องกันการติดเชื้อหากได้รับเชื้อในอนาคต แต่ต้องใช้เวลาระยะหนึ่งหลังฉีดวัคซีนร่างกายจึงจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาได้ การฉีดวัคซีนผู้รับวัคซีนยังต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างเคร่งครัด เช่น ใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ เว้นระยะห่างทางสังคม เป็นต้น

วัคซีนอาจไม่สามารถป้องกันทุกคนที่ฉีดจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ แต่พบว่าสามารถลดความรุนแรงของโรคได้ และยังไม่มีข้อมูลว่าเมื่อฉีดแล้วจะมีภูมิคุ้มกันโควิด-19 ได้นานเท่าไร รวมถึงไม่มีข้อมูลว่าผลการฉีดวัคซีนให้ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำหรือผู้ที่ใช้ยากดภูมิคุ้มกันนั้น ทำให้ภูมิต่อไวรัสโควิด-19 มีผลลดลงกว่าในคนปกติหรือไม่

ปัสสาวะบ่อยเกิดจากสาเหตุอะไร?

ปัสสาวะบ่อย (Frequent Urination) เป็นอาการที่พบบ่อย อาจเกิดจากอาหารหรือน้ำที่กินมากไป ในขณะเดียวกันอาจเป็นอาการนำของโรคร้ายได้เช่นกัน ซึ่งเป็นภาวะความผิดปกติที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน หากกำลังเดินทางหรือทำงานอยู่ ก็ต้องรีบมาเข้าห้องน้ำบ่อย ๆ แม้กระทั่งในตอนกลางคืนที่ไปรบกวนการนอนหลับ ซึ่งอาจเป็นอันตรายและก่อโรคร้ายในอนาคต   สำหรับปกติทั่วไปแล้วเมื่อรู้สึกอยากขับถ่ายของเหลวแต่ติดภารกิจอยู่ ก็สามารถอั้นได้ แต่ผู้ป่วยภาวะนี้น้ำยังไม่เต็มกระเพาะปัสสาวะก็เกิดการบีบตัว เมื่อปลดเปลื้องของเสียจะมีปริมาณน้อยกว่าการปวด เสี่ยงที่กลั้นไม่อยู่ปล่อยราดออกมาได้

ระบบภูมิคุ้มกันแต่กำเนิด คืออะไร?

ระบบภูมิคุ้มกันแต่กำเนิด (Innate immune system) เราทุกคนเกิดมาพร้อมกับระบบภูมิคุ้มกันประเภทนี้ ถูกถ่ายทอดจากพันธุกรรม คือ ภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นเองเพื่อป้องกันและสกัดเชื้อโรค ซึ่งเป็นกลไกที่ไม่จำเพาะเจาะจงกับเชื้อโรคชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น ผิวหนัง เยื่อบุ เยื่อเมือกต่าง ๆ ช่วยขัดขวางไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย หรือ กรดในกระเพาะอาหาร น้ำตา เหงื่อ ช่วยทำลายเชื้อโรคก่อนเข้าสู่ร่างกาย รวมถึงเซลล์เพชฌฆาต (Natural Killer Cells; NK Cells) ที่พร้อมต่อสู้กับเนื้องอก เซลล์มะเร็ง หรือการติดเชื้อไวรัสอย่างทันท่วงทีเมื่อเกิดการติดเชื้อ  เพื่อทำให้ร่างกายเราปลอดภัยจากสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์อื่น ซึ่งถือเป็นการป้องกันเชื้อโรคชั้นแรกของร่างกาย โดนภูมิคุ้มกันเเบบนี้มีมาตั้งเเต่เกิด โดยทารกที่มีอายุครรภ์ 5 สัปดาห์ จะเริ่มสร้างภูมิคุ้มกันได้เอง เเต่ยังสร้างได้น้อยมาก เนื่องจากเริ่มมีการเจริญของอวัยวะน้ำเหลือง

ภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นภาวะที่พบบ่อย บางรายอาจมีภาวะดังกล่าวนานหลายปีโดยไม่แสดงอาการ อย่างไรก็ตามแม้จะไม่แสดงอาการ แต่สร้างความเสียหายต่อหลอดเลือดและหัวใจ โรคความดันโลหิตสูงเป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทย ควรให้ความสำคัญกับโรคความดันโลหิต  เพราะการได้รับการดูแลสุขภาพเป็นอย่างดีนั้น ช่วยไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพในอนาคต เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไตวายระยะสุดท้าย โรคความดันโลหิตสูงมักจะพัฒนาต่อเนื่องในช่วงหลายปีและสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย  

ฉะนั้นการควบคุมความดันโลหิต ทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาพของตนเอง และการรักษาโดยการรับประทานยา ซึ่งจะช่วยให้ความดันโลหิตกลับเข้าสู่ระดับที่เหมาะสม ลดโอกาสการเกิดโรคต่างๆ และดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข

ตรวจสุขภาพ สำหรับขอใบรับรองแพทย์ 5 โรค ที่ ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก

ใบรับรองแพทย์ 5 โรคคืออะไร?

คือ เอกสารเพื่อยืนยันสุขภาวะของผู้ป่วย ที่เรียกว่า ใบรับรองแพทย์ 5 โรค เนื่องจากสมัยก่อนปี พ.ศ. 2551 มีโรคหลักๆ ที่จำเป็นต้องให้แพทย์ ทำการระบุและตรวจวินิจฉัย ได้แก่ วัณโรคระยะแพร่เชื้อ โรคเท้าช้าง โรคพิษสุราเรื้อรัง โรคที่เกิดจากสารเสพติด และโรคอื่นๆ ที่ร้ายแรง แต่ปัจจุบันได้มีการปรับเปลี่ยนจากทางแพทยสภา ให้เหลือแค่ 3 โรคเท่านั้น เพื่อเป็นการยืนยันว่า ผู้ป่วยไม่มีอาการชัดเจนที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิต หรือไม่มีความเสี่ยงที่จะแพร่เชื้อโรคให้กับผู้อื่น