โรคซิฟิลิส คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนผ่านการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน การจูบ การสัมผัสกับสารคัดหลั่งหรือแผลของผู้ติดเชื้อ หรือจากแม่สู่ลูกระหว่างการตั้งครรภ์หรือการคลอดที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของทารกในครรภ์ โดยเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียทรีโพนีมา พาลลิดัม สาเหตุที่ทำให้เป็นแผลซิฟิลิส ขึ้นเป็นตุ่มนูนแตกออกเป็นแผลกว้างที่ปาก อวัยวะเพศ หรือทวารหนัก โรคซิฟิลิสที่ไม่ได้รับการรักษาให้หายตั้งแต่ระยะเป็นแผลจะพัฒนาเข้าสู่ระยะออกดอก และระยะติดเชื้อที่ทำลายระบบประสาท ระบบหลอดเลือดและหัวใจ และทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษา

ถ้าไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะแรก ๆ สามารถนำไปสู่อาการและภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและระยะยาวได้ โดยพบว่าผู้ป่วยที่ติดเชื้อซิฟิลิสมีโอกาสสูงขึ้นในการติดเชื้อเอชไอวี มากกว่าคนไม่ได้ติดเชื้อซิฟิลิส

อาการโรคซิฟิลิส

โรคซิฟิลิส อาการผู้หญิง

  • อาการของซิฟิลิสทั้งหญิงและชายจะคล้ายกัน โดยจะมีแผล หรือแผลริมแข็ง กดไม่เจ็บ หรือมีตุ่มแผลขึ้นที่อวัยวะเพศและปาก มีฝ้าขาวขึ้นที่ลิ้น ริมฝีปาก หรือในช่องปากร่วมกับมีไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต เจ็บคอ ปวดศีรษะ น้ำหนักลด ปวดกล้ามเนื้อ ผมร่วง และรู้สึกเหนื่อยง่าย 
  • อาการซิฟิลิสในผู้หญิง ได้แก่ แผลที่อวัยวะเพศ ริมฝีปาก ปากมดลูก หรือผนังช่องคลอด

โรคซิฟิลิส อาการผู้ชาย

  • อาการทั่วไปของซิฟิลิสในเพศชายคล้ายคลึงกับอาการซิฟิลิสในเพศหญิง โดยจะมีแผล หรือแผลริมแข็งคล้ายแผลเริม หรือหูดหงอนไก่ขึ้นที่อวัยวะเพศหรือริมฝีปาก 
  • อาการของซิฟิลิสในเพศชาย ได้แก่ รอยโรคที่ส่วนหัวองคชาติ ส่วนลำองคชาติ ใต้หนังหุ้มปลายองคชาติ บริเวณรอบถุงอัณฑะ ทวารหนัก ขาหนีบ รวมถึงภายในท่อปัสสาวะ
ภาวะแทรกซ้อนโรคซิฟิลิส เป็นอย่างไร

โรคซิฟิลิสรักษาให้หายขาดได้ไหม

โรคซิฟิลิสสามารถรักษาให้หายขาดได้ ถ้าได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องตั้งแต่เนิ่น ๆ ยิ่งตรวจพบได้เร็ว ผลการรักษายิ่งมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โรคซิฟิลิส สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยยาปฏิชีวนะ ผู้ที่มีอาการเข้าข่ายต้องสงสัย หรือมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันควรรีบพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อทำการตรวจและรับการรักษาโดยเร็วเพื่อยับยั้งไม่ให้เชื้อซิฟิลิสพัฒนาไปสู่ระยะต่าง ๆ ได้

หากรู้สึกสงสัยหรือพบอาการที่อาจเป็นสัญญาณของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ไม่ว่าจะเป็น โรคซิฟิลิส หรือไม่ ทางที่ดีคือ อย่าละเลย ควรรีบไปพบแพทย์และรับการรักษาอย่างเหมาะสม ทั้งตนเองและคู่นอน เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ และภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา และหากไม่อยากเสี่ยงติดเชื้อ จึงควรศึกษาเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และเรียนรู้วิธีป้องกันตนเองเพื่อมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยที่สุด

ภาวะแทรกซ้อนของโรคซิฟิลิส

โรคซิฟิลิสจะมีความรุนแรงและอันตรายมากขึ้นหากไม่ได้รับการรักษาอย่างจริงจัง หรือไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมจะดำเนินโรคเข้าสู่ระยะสุดท้ายที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ในร่างกายและอาจสร้างความเสียหายแก่อวัยวะต่าง ๆ หลายระบบ ดังนี้

  • โรคทางระบบประสาทและสมอง เช่น โรคหลอดเลือดสมองแตก ตีบ ตัน หรือ ฉีกขาด (Stroke) โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) การสูญเสียการได้ยิน (Hearing loss) ปัญหาทางสายตา ตาบอด โรคสมองเสื่อม (Dementia) สูญเสียความรู้สึกและการรับรู้อุณหภูมิ โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย (Sexual dysfunction) ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (Bladder incontinence)
  • ตุ่ม หรือเนื้องอกกัมม่า (Gummas) โดยในระยะสุดท้ายของการติดเชื้อซิฟิลิส (Late stage of infection) อาจเกิดตุ่ม หรือเนื้องอกกัมม่าซึ่งเป็นก้อนเนื้อขนาดใหญ่บนผิวหนัง หรืออวัยวะภายใน เช่น กระดูก ตับ อย่างไรก็ตาม ก้อนกัมม่าสามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ
  • โรคในระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคเส้นแดงโป่งพอง (Arterial aneurysm) โรคลิ้นหัวใจรั่ว (Aortic regurgitation)  หรือ หลอดเลือดแดงใหญ่อักเสบ (Aortitis)
  • มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้
  • การติดเชื้อเอชไอวี เพราะโรคซิฟิลิสทำให้เป็นแผลเลือดออกบริเวณอวัยวะเพศและปาก ทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 2-5 เท่าในการติดเชื้อเอชไอวี ขณะมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่การเป็นโรคเอดส์
  • ในสตรีมีครรภ์อาจมีความเสี่ยงต่อการแท้งบุตรหรือทารกเสียชีวิตขณะแรกคลอด ส่งผลให้เกิดปัญหาความผิดปกติในอวัยวะหลายส่วนหลังจากคลอดภายในไม่กี่สัปดาห์ เช่น กระดูก ดวงตา ฟัน สมอง การได้ยิน
  • การติดเชื้อจากมารดาสู่ทารกในครรภ์ หรือระหว่างการคลอดบุตรโดยคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อซิฟิลิส  อาจมีความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร หรือการเสียชีวิตของทารกในครรภ์ ทารกเสียชีวิตขณะแรกเกิด ทารกเสียชีวิตหลังคลอด รวมถึงการคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักไม่ถึงเกณฑ์ หรือเป็นโรคซิฟิลิสแต่กำเนิด

การป้องกันโรคซิฟิลิส

การรักษาโรคซิฟิลิสจะสามารถป้องกันการเกิดผลกระทบที่ตามมาภายหลังได้ แต่อาการหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้วนั้น ไม่สามารถย้อนกลับได้ 

ดังนั้นแพทย์จึงแนะนำให้ป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อตั้งแต่แรก โดยมีวิธีต่างๆ ดังนี้

  • งดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ หรือมีเพศสัมพันธ์เฉพาะสามี-ภรรยา / คู่นอนของตนเองคนเดียวเท่านั้น
  • ใช้ถุงยางอนามัยแบบเรียบก่อนมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้ง (การใช้ถุงยางอนามัยสามารถลดการติดเชื้อซิฟิลิสได้ แต่ตัวถุงยางอนามัยต้องครอบคลุมบริเวณแผลด้วย)
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ที่เสี่ยงต่อติดเชื้อซิฟิลิส
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นโรคซิฟิลิส
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ทางปาก
  • ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศและร่างกายอยู่เสมอ รักษาสุขอนามัยพื้นฐานให้ดีโดยการปฏิบัติตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและช่วยลดโอกาสการติดเชื้อต่าง ๆ
  • หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ที่เสี่ยงติดเชื้อร่วมกัน เช่น การใช้เข็มฉีดยา เข็มที่ใช้สัก เข็มเจาะหู
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มมึนเมา หรือยาเสพติดประเภทต่างๆ (การดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มมึนเมา หรือการใช้ยาเสพติดต่างๆ มีผลทำให้ขาดสติ ขาดความยับยั้งชั่งใจ และอาจนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกันได้
  • สตรีที่ตั้งครรภ์ในช่วงระหว่างสัปดาห์ที่ 8-12 ต้องตรวจเลือดคัดกรองโรคซิฟิลิส เพื่อป้องกันการติดเชื้อของทารกในครรภ์
  • ควรพบแพทย์ทุกครั้ง เมื่อเกิดแผลบริเวณอวัยวะเพศ โดยเฉพาะหลังมีเพศสัมพันธ์ หรือเมื่อสงสัยว่ามีความเสี่ยงจากการมีเพศสัมพันธ์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุได้อย่างถูกต้อง

การหมั่นดูแล และคอยใส่ใจสุขอนามัย รวมถึงสุขภาพร่างกายอยู่เสมอเป็นสิ่งสำคัญ ควรตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละครั้ง และหลีกเลี่ยงความเสี่ยงใดๆ ที่จะก่อให้เกิดการติดเชื้อโรคซิฟิลิสได้ โดยเฉพาะการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกันด้วยการใช้ถุงยางอนามัย เพียงเท่านี้ก็สามารถป้องกันและห่างไกลจากโรคซิฟิลิสได้แล้ว

ตรวจ และรักษาโรคซิฟิลิส (Syphilis) ที่ไหนในภูเก็ต

ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก ให้บริการที่ใกล้ชิด ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมทั้งทีมงานที่มีความชำนาญ พร้อมให้คำปรึกษาและ การรักษา โดยคุณสามารถเข้ารับบริการได้ทั้ง walk-in หรือนัดหมายล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับบริการ
จองคิวออนไลน์ https://phuketmedicalclinic.youcanbook.me
เวลาทำการ 🕙 10:00-18:00 น. ทุกวัน
เบอร์ติดต่อ ☎️ 096-696-2449
Line id : @pmcphuket (มี @ ด้วยนะครับ) หรือ https://lin.ee/R1TKRDo
แผนที่ 📌https://goo.gl/maps/xu45eTQUTjgpukJa7
Website 🌐https://phuketmedicalclinic.com
ปรึกษาแพทย์หรือสอบถามเพิ่มเติมได้เลยนะครับ
Inbox : m.me/100483916443107
สุขภาพคุณให้เราดูแล#คลินิกภูเก็ต
Phuket #Clinic #ภูเก็ตเมดิคอลคลินิก