ภาวะช่องคลอดอักเสบ (Vaginitis) เกิดขึ้นบริเวณภายในช่องคลอด และปากช่องคลอด อาการที่พบบ่อย คือ ตกขาวผิดปกติ คัน กลิ่น ตกขาวปนเลือด แสบร้อนในช่องคลอด ซึ่งการวินิจฉัยโรคสามารถทำโดยการตรวจภายในร่วมกับการนำตกขาวไปตรวจ เพื่อหาสาเหตุของเกิดช่องคลอดอักเสบว่ามีที่มาจากเชื้อรา หรือเชื้อแบคทีเรีย  เช่น 

  • ตกขาวจากเชื้อรา เกิดจากความอับชื้น ตกขาวชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นแป้ง มีอาการคันบริเวณช่องคลอด
  • ตกขาวจากเชื้อแบคทีเรีย ตกขาวจะมีกลิ่นเหม็นคาว หรือกลิ่นภายหลังมีเพศสัมพันธ์
ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย

ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย คืออะไร?

ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial vaginosis) เป็นอาการอักเสบซึ่งเกิดจากความไม่สมดุลของแบคทีเรียในช่องคลอด ทำให้เกิดอาการระคายเคือง คัน และมีตกขาวผิดปกติ โดยสามารถเกิดขึ้นได้ในผู้หญิงทุกช่วงวัย แต่มักพบมากในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีช่วงอายุ 15-49 ปี  แม้ว่าในผู้หญิงที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะนี้ได้เช่นกันและเป็นสาเหตุของภาวะตกขาวผิดปกติที่พบบ่อยที่สุด

สาเหตุภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย

โดยปกติในช่องคลอดจะมีทั้งแบคทีเรียชนิดที่ดีอย่างแลคโตบาซิลัส (Lactobacillus) และชนิดที่ไม่ดีอย่างแอนแอโรบส์ (Anaerobes)  และเมื่อใดที่แบคทีเรียชนิดแลคโตบาซิลไลมีปริมาณลดลง จำนวนแบคทีเรียที่แอนแอโรบส์มีมากจนเกินไปจะทำให้ปริมาณแบคทีเรียภายในช่องคลอดเสียสมดุล และเกิดภาวะ Bacterial Vaginosis หรือช่องคลอดเกิดการอักเสบในที่สุด และยังมีสาเหตุอย่างอื่นที่อาจทำให้เกิดภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย ได้ เช่น การสูบบุหรี่ การสวนล้างช่องคลอด การใส่ห่วงคุมกำเนิด โดยเฉพาะในสตรีที่มีประจำเดือนกะปริดกะปรอยร่วมด้วย การตั้งครรภ์ การร่วมเพศกับคู่นอนหลายคน และการการไม่สวมถุงยางอนามัยหรือไม่ใช้แผ่นยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์  เป็นต้น  

อาการภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย

  • อาการตกขาวผิดปกติ เช่น เป็นสีส้ม สีเขียว เป็นฟอง
  • มีกลิ่นไม่พึ่งประสงค์ร่วมกับอาการตกขาว อาจมีอาการไข้ขึ้นร่วมด้วย
  • ระคายเคืองบริเวณช่องคลอด
  • รู้สึกว่ามีอาการแสบร้อนในขณะปัสสาวะ
  • ใช้ยารักษาการติดเชื้อราที่ช่องคลอดด้วยตนเอง แต่รักษาไม่หาย

การรักษาภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย

เนื่องจากอาการภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย สามารถหายไปได้เอง หากผู้ป่วยไม่มีอาการใด ๆ ที่เป็นปัญหา และไม่ได้ตั้งครรภ์ก็อาจไม่จำเป็นต้องรับการรักษา

 การรักษาด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ มีดังนี้

  • ยาเมโทรนิดาโซล (Metronidazole) ทั้งแบบยาเม็ดรับประทาน เจลทาเฉพาะที่ หรือยาสอด ผลข้างเคียงคืออาการปวดท้อง คลื่นไส้ และควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขณะใช้ยา
  • ยาคลินดามัยซิน (Clindamycin) มีทั้งแบบครีมและยาสอด ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างที่ใช้ยาและหลังใช้ยาครบตามกำหนด 3 วัน  แต่ถ้าชนิดรับประทาน ยานี้อาจทำให้เสี่ยงเกิดผลข้างเคียงอย่างลำไส้ใหญ่อักเสบรุนแรงได้
  • ยาทินิดาโซล (Tinidazole) ซึ่งเป็นยารับประทานที่มีผลข้างเคียงคล้ายยาเมโทรนิดาโซล เช่น ปวดท้อง  ผู้ป่วยจึงควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ขณะใช้ยา เพื่อป้องกันอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ในขณะใช้ยา 
  • ยา เซคนิดาโซล (Secnidazole) สามารถผสมและรับประทานพร้อมอาหาร เช่น โยเกิร์ตหรือพุดดิ้ง โดยควรรับประทานให้หมดภายใน 30 นาที โดยห้ามเคี้ยวตัวยาขณะรับประทาน
การรักษาภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย

ผู้ป่วยที่รักษาด้วยการใช้ยายาปฏิชีวนะชนิดต่างๆ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ไม่ควรหยุดยาเอง เพราะอาจจะเกิดการดื้อยาได้ ซึ่งหลังการรักษา 3-12 เดือน ผู้ป่วยอาจกลับมาเป็นซ้ำอีกครั้งได้ โดยแพทย์อาจรักษาต่อด้วยการให้ใช้ยาเมโทรนิดาโซลในระยะยาว 

ทั้งนี้ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ ไม่ควรรักษาช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียด้วยการใช้ยายาปฏิชีวนะชนิดต่างๆ เพราะอาจส่งผลข้างเคียงเกิดภาวะแทรกซ้อนในครรภ์ ควรพบสูตินรีเวช เพื่อทำการรักษาด้วยวิธีอื่น

นอกจากนี้ แม้โดยปกติคู่นอนเพศชายที่ร่วมเพศกับผู้หญิงที่ติดเชื้ออาจไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา แต่สำหรับคู่นอนแบบหญิงรักหญิงควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาร่วมด้วยหากมีการติดเชื้อเกิดขึ้น เนื่องจาก ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย สามารถแพร่เชื้อไปยังคู่นอนอีกคนได้

การป้องกันภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย

  • เลือกใช้สบู่สูตรอ่อนโยนต่อจุดซ่อนเร้น หรือผ้าอนามัยที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำหอม เพื่อป้องกันอาการระคายเคือง        
  • ไม่สวนล้างช่องคลอด หรือการใช้น้ำยาล้างทำความสะอาด เพราะจะทำให้แบคทีเรียในช่องคลอดเสียสมดุลและเกิดการติดเชื้อได้
  • หลีกเลี่ยงการใช้ผ้าอนามัยตลอดเวลา รวมทั้งการสวมชุดชั้นในที่รัดตึง
  • ทำความสะอาดร่างกาย รวมทั้งเครื่องแต่งกาย เพื่อไม่ให้เกิดความอับชื้นโดยเฉพาะบริเวณช่องคลอด
  • มีคู่นอนเพียงคนเดียวหรืองดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
  • เมื่อมีเพศสัมพันธ์ และสอดใส่ทางช่องคลอด ทวารหนัก ทางปากหรือที่เรียกว่าออรัลเซ็กส์ ควรสวมถุงยางอนามัย หรือใช้แผ่นยางอนามัยทุกครั้งเพื่อความปลอดภัย      
  • หากมีอาการผิดปกติ เช่น มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ หรือมีอาการตกขาว ควรมาพบแพทย์ และไม่ควรใช้ยามารักษาด้วยตนเอง      
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่หากมีอาการของภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย

ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย ไม่ใช่โรคทางเพศสัมพันธ์ แต่ถ้ามีอาการของภาวะนี้แล้วไปมีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่น จะทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดโรคทางเพศสัมพันธ์สูงมาก เช่น โรคเอดส์ หรือโรคซิฟิลิส ซึ่งภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียนี้ เมื่อรักษาหายแล้วแต่ถ้าละเลยในการดูแลช่องคลอดมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้อีก

ตรวจภายใน ที่ภูเก็ตตรวจได้ที่ไหน?

ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก ให้บริการที่ใกล้ชิด ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมทั้งทีมงานที่มีความชำนาญ พร้อมให้คำปรึกษาและ การรักษา โดยคุณสามารถเข้ารับบริการได้ทั้ง walk-in หรือนัดหมายล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับบริการ
จองคิวออนไลน์ https://phuketmedicalclinic.youcanbook.me
เวลาทำการ 🕙 10:00-18:00 น. ทุกวัน
เบอร์ติดต่อ ☎️ 096-696-2449
Line id : @pmcphuket (มี @ ด้วยนะครับ) หรือ https://lin.ee/R1TKRDo
แผนที่ 📌https://goo.gl/maps/xu45eTQUTjgpukJa7
Website 🌐https://phuketmedicalclinic.com
ปรึกษาแพทย์หรือสอบถามเพิ่มเติมได้เลยนะครับ
Inbox : m.me/100483916443107
สุขภาพคุณให้เราดูแล#คลินิกภูเก็ต
Phuket #Clinic #ภูเก็ตเมดิคอลคลินิก