โรคตับ คือ อาการเจ็บป่วยที่ส่งผลให้ตับเกิดความเสียหาย จนไม่สามารถทำงานได้ตามปกติหรือทำได้แต่ด้อยประสิทธิภาพลง เพราะตับ เป็นอวัยวะสำคัญ ที่มีหน้าที่สร้างน้ำดี เพื่อการช่วยย่อยอาหารประเภทไขมัน และทำลายสารพิษที่เข้าสู่ร่างกาย พร้อมทั้งกรองของเสียต่างๆ ให้เป็นของดีมีประโยชน์ สามารถนำกลับมาใช้ในร่างกาย หากตับทำงานได้น้อยลง หรือเกิดโรคของตับ เช่น มีไขมันพอกตับ ตับอักเสบ ตับแข็ง  จะส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติทางร่างก่ายที่ส่งผลไปทั้งระบบ จนนำไปสู่การเสียชีวิตได้เมื่อตับเสียการทำงานจนถึงขั้นเข้าสู่ภาวะตับวาย และโรคมะเร็งตับได้

โรคเกี่ยวกับตับที่พบได้บ่อยในคนไทย

โรคเกี่ยวกับตับที่พบได้บ่อยในคนไทย

โรคที่เกี่ยวกับตับ เป็โรคที่เกิดจากตับทำงานผิดปกติ ด้อยประสิทธิภาพลง โรคตับพบเกิดได้ในทุกอายุ ตั้งแต่เด็กแรกเกิดไปจนถึงผู้สูงอายุ โดยมาจากหลายสาเหตุ อาทิเช่น ภาวะตัวเหลืองที่พบได้ตั้งแต่แรกเกิด หรือโรคไวรัสตับอักเสบที่พบได้ในทุกอายุ เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยโรคตับ มักจะไม่มีอาการที่ชัดเจนจึงไม่รู้ตัวว่ากำลังอยู่ในภาวะเสี่ยง หรือเกิดโรคแล้ว โดยโรคที่เกี่ยวกับตับที่พบได้บ่อย มีดังนี้

  • โรคตับที่เกิดจากพันธุกรรม
    ไม่ใช่โรคที่เกิดกับตับโดยตรง แต่เป็นผลข้างเคียงมาจากการทำงานที่ผิดปกติของตับ เช่น โรคภาวะธาตุเหล็กเกิน หรือโรคทองแดงคั่งในร่างกาย ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรม ทำให้ระบบการทำงานของตับไม่สามารถกำจัดแร่ธาตุส่วนเกินเหล่านี้ออกไปได้ จนทำให้เกิดการสะสมของแร่ธาตุในร่างกายเป็นจำนวนมาก ซึ่งหากปล่อยไว้นานวันเข้า แร่ธาตุส่วนเกินเหล่านี้จะส่งผลทำให้อวัยวะภายในค่อย ๆ เสื่อมสภาพลงอย่างรวดเร็ว
  • โรคตับอักเสบจากการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน
    ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายทำงานผิดพลาด โจมตีและขัดขวางการทำงานของตับ ทำให้ตับเสียหายจนอาจเกิดการอับเสบตั้งแต่ชนิดไม่รุนแรงจนถึงขั้นรุนแรง โดยสาเหตุนี้มีโอกาสเกิดขึ้นกับเพศหญิงได้มากกว่าเพศชายประมาณ 3 เท่า
  • โรคตับที่เกิดจากยา และสารพิษ
    เพราะ ตับเป็นอวัยวะหลักที่ช่วยคัดกรอง และกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย ในบางครั้งสารพิษเหล่านี้ก็อาจมีการตกค้าง และสะสมกลายเป็นพังผืดอยู่ในตับ ทำให้ตับอักเสบเรื้อรังจนพัฒนากลายเป็นโรคตับแข็งในเวลาต่อมา ซึ่งสารพิษในที่นี้หมายถึง ยา สมุนไพร และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดต่าง ๆ ด้วย
  • โรคตับแข็ง 
    สาเหตุหลักเกิดจากไขมันพอกตับเรื้อรัง  การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ และไวรัสตับอักเสบบี  และไวรัสตับอักเสบซี โดยเมื่อเกิดตับแข็ง ก็ทำให้อัตราการเกิดมะเร็งตับเพิ่มสูงขึ้น มีความเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งตับได้
  • ไขมันพอกตับ หรือตับอักเสบจากไขมัน (Fatty Liver)
    เกิดจากการที่เซลล์ไขมันแทรกในเนื้อตับ ทำให้ไขมันสะสมในเนื้อตับ จนตับเกิดการอักเสบ หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษา เซลล์ตับจะค่อยๆ ถูกทำลาย จนตับไม่สามารถทำงานได้ เกิดจากการที่เราบริโภคไขมัน น้ำตาล ของหวาน หรือบริโภคแป้งมากเกินไป พอร่างกายใช้ไม่หมด ก็จะสะสมเป็นไตรกลีเซอไลน์ในเซลล์ตับ เมื่อนานวันเข้าก็จะก่อให้เกิดการอักเสบขึ้นมา โดยผู้ป่วยมักไม่อาการแสดงแต่จะตรวจพบ เอนไซม์ตับสูงผิดปกติ
  • โรคตับจากแอลกอฮอล์ หรือ จากการดื่มสุรา (Alcoholic Liver Disease)
    ซึ่งแอลกอฮอล์ จากเหล้าจะถูกเปลี่นเป็นสารพิษ acetaldenhyde มีฤทธิ์ทำลายตับ และเป็นสารก่อมะเร็ง ดังนั้นผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำควรหมั่นตรวจสุขภาพตับเป็นระยะ
  • โรคตับที่เกิดจากไวรัสตับอักเสบ
    โรคตับที่เกิดจากไวรัสตับอักเสบ ซึ่งโรคตับชนิดนี้ถือเป็นโรคติดต่อที่สามารถสร้างความเสียหายให้กับตับ ตั้งแต่ระดับธรรมดาไม่ร้ายแรง ไปจนถึงขั้นรุนแรงที่ทำให้มีโอกาสเสียชีวิต โดยโรคไวรัสตับอักเสบจะมีด้วยกันทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบ A, B, C, D และ E ซึ่งแต่ละประเภทจะมีอาการและสาเหตุการติดต่อ ดังนี้
    • ไวรัสตับอักเสบ A เป็นไวรัสตับชนิดที่ไม่รุนแรงและสามารถพบได้บ่อย โดยมีโอกาสติดต่อจากการรับประทานอาหาร และน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค ทำให้เกิดตับอักเสบเฉียบพลัน โดยอาการของโรคจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึก อ่อนเพลีย มีไข้ เบื่ออาหาร อาเจียน ตัวและตาเหลือง  และผู้ป่วยในกลุ่มนี้สามารถแพร่เชื้อได้ทางอุจจาระ
    • ไวรัสตับอักเสบ B เป็นไวรัสอีกชนิดที่สามารถพบได้บ่อย แต่อาการของชนิด B นั้นน่ากลัวกว่าชนิด A  เพราะทำให้เกิดตับอักเสบเฉียบพลัน และเรื้อรัง ซึ่่งการอักเสบอของตับอาจรุนแรง และมีความเสี่ยงที่จะพัฒนาไปเป็นโรคมะเร็งตับได้ โดยส่วนใหญ่ไวรัสชนิดนี้จะติดต่อกันทางเลือด น้ำเหลือง สิ่งคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น น้ำอสุจิ น้ำในช่องคลอด น้ำลาย น้ำตา น้ำนม เป็นต้น ทำให้มีโอกาสแพร่เชื้อได้หลายทาง เช่น ทางเพศสัมพันกับผู้ที่เป็นพาหะ ทารกติดจากมารดาระหว่างคลอด
    • ไวรัสตับอักเสบ C เป็นไวรัสตับชนิดที่มีโอกาสพบได้น้อย โดยจะติดต่อกันทางเลือด น้ำเหลือง การใช้เข็มฉีดยา และการมีเพศสัมพันธ์ อาการของโรคจะทำให้ตับอักเสบอย่างเรื้อรัง และจะพัฒนากลายเป็นโรคตับแข็ง และมะเร็งตับไปในที่สุด  
    • ไวรัสตับอักเสบ D เป็นไวรัสชนิดที่ไม่สมบูรณ์และจะเกิดเป็นโรคแทรกซ้อนที่มาพร้อมกับไวรัสตับอักเสบ B เท่านั้น โดยอาการของโรคจะค่อนข้างรุนแรง เพราะจะทำให้ตับอักเสบเฉียบพลันจนผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้
    • ไวรัสตับอักเสบ E เป็นไวรัสชนิดที่ไม่รุนแรง และหาได้ยากในประเทศไทย โดยสาเหตุของการติดเชื้อมาจากการรับประทานอาหารที่ไม่ปรุงสุก หรืออาหารดิบ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย และเป็นดีซ่าน
  • โรคมะเร็งตับ
    เกิดจากภาวะตับแข็งจากทุกสาเหตุไม่ว่าจะจากแอลกอฮอล์ หรือไวรัสตับอักเสบ เช่น การติดเชื้อ การดื่มสุราอย่างต่อเนื่อง หรือพัฒนามาจากโรคตับชนิดอื่น ๆ แต่โดยหลักแล้ว มะเร็งตับ คือ การที่เซลล์บริเวณตับทำงานผิดปกติจนพัฒนากลายเป็นเซลล์มะเร็ง ซึ่งเมื่อเป็นแล้วในระยะแรกจะส่งผลเหมือนกับโรคตับชนิดอื่น ๆ  คือ ผู้ป่วยจะมีอาการเบื่ออาหาร อาเจียน น้ำหนักตัวลดลง ท้องบวม หรือมีอาการดีซ่าน แต่ถ้าหากปล่อยไว้จนเรื้อรังมะเร็งตับอาจจะนำไปสู่อาการตับวาย และทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ โดยมะเร็งตับในระยะแรกมักไม่แสดงอาการ แต่เมื่อเป็นมากขึ้นอาจมีอาการ เช่น ปวดท้องโดยเฉพาะบริเวณข้างขวาส่วนบน ในบางรายอาจมีอาการปวดร้าวไปที่หลังหรือไหล่ ท้องบวมขึ้น น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ เบื่ออาหาร ไม่รู้สึกอยากอาหาร อ่อนเพลีย ตัวเหลืองและตาเหลือง เป็นต้น
  • สาเหตุอื่นๆ 
    เช่น การติดเชื้อจากโรคไข้เลือดออก ไข้รากสาด ไข้ป่า การอุดกันทางเดินน้ำดี จากภูมิแพ้ตนเอง เป็นต้น

ปัจจัยที่มีผลให้มีโอกาสเกิดเป็นโรคเกี่ยวกับตับ 

  • รับประทานอาหารปิ้งย่าง อาหารที่มีไขมันสูง การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ประเภท ปิ้งย่าง ของทอด ของมันๆ และอาหารที่มีไขมันสูง เช่น นม เนย กะทิ ชีส กุ้ง ปูไข่ ไข่แดง จะทำให้ร่างกายมีไขมันส่วนเกินมากเกินไป จนทำให้เกิดไขมันในเลือดสูง และอาจทำให้เกิดการสะสมที่ตับจนนำไปสู่โรคไขมันพอกตับ ส่งผลให้ตับอักเสบเรื้อรัง จนนำไปสู่ภาวะตับแข็งในที่สุดซึ่งอาจพบร่วมกับโรคบางชนิด เช่น เบาหวาน โรคอ้วน หรือในคนปกติก็ได้
  • การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นประจำ พิษของแอลกอฮอล์จะทำให้เกิดความผิดปกติของการใช้โปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรตในตับ ทำให้เกิดภาวะตับอักเสบ และเรื้อรังจนเป็นตับแข็ง โดยเฉพาะ ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำในปริมาณมากเป็นระยะเวลานาน จะเสี่ยงเป็นโรคตับมากกว่าใคร 
  • การรับประทานยา และอาหารเสริม เมื่อร่างกายได้รับยาบางชนิดในปริมาณสูง หรือติดต่อกันเป็นเวลานาน ตับก็จะไม่สามารถทำลายได้ทัน เหลือเป็นส่วนเกินและมีฤทธิ์ทำลายเนื้อตับ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อตับจนกลายเป็นภาวะตับวายได้ เช่น ยาแก้ปวดพาราเซตามอล เป็นสาเหตุที่ทำให้ตับทำงานหนักและมีโอกาสเกิดการอักเสบ 
  • ภาวะอ้วนลงพุง เมื่อมีไขมันสะสมในช่องท้องมากเกินไป จนทำให้เกิดการสะสมของไขมันที่ตับ นำไปสู่ภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้ตับอักเสบเรื้อรังจนกลายเป็นโรคตับแข็ง
  • การสูบบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่ หรืออยู่ภายในสิ่งแวดล้อมที่มีควันจากบุหรี่ นอกจากส่งผลต่อปอดแล้วยังสามารถส่งผลถึงตับได้ด้วย การสูบบุหรี่จะส่งผลต่อการทำงานของตับผ่านการสูดดมควันบุหรี่ และผ่านสารนิโคตินที่มีสารอนุมูลอิสระปะปนอยู่ ซึ่งจะทำให้ตับทำงานหนักขึ้น
  • รับประทานน้ำตาลมากจนเกินไป โดยเฉพาะน้ำตาลฟรุกโตสซึ่งมักพบในเครื่องดื่มที่มีรสหวานจะเปลี่ยนเป้นไขมันสะสมอยู่ในตับ ดังนั้นถ้าเรารับประทานอาหารที่มีฟรุกโตสมากเกินไปจึงเป็นการทำร้ายตับ การมีระดับน้ำตาลที่สูงทำให้เกิดการสะสมไขมันในตับจนกลายเป็นโรคไขมันพอกตับได้ แม้ในผู้ที่ไม่อ้วนก็ตาม
  • การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี หรือซีเรื้อรัง และไม่ได้รับการรักษา
    การติดเชื้อและไม่ได้ทำการรักษาอย่างทันท่วงที เสี่ยงทำให้เกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง และกลายเป็นตับแข็งหรือเป็นมะเร็งตับ
  • การได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายเป็นประจำ เช่น สารหนู (arsenic) ทำให้ตับทำงานหนักและเกิดการอักเสบ
อาการที่บอกว่า คุณอาจเป็นโรคตับ

อาการที่บอกว่า คุณอาจเป็นโรคตับ

  • มีอาการอ่อนเพลีย นอนไม่ค่อยหลับ แต่มักจะรู้สึกง่วงในเวลากลางวัน รู้สึกเหนื่อยง่ายคล้ายคนไม่มีเรี่ยวแรง บางคนอาจจะมีอาการคลื่นไส้ เบื่ออาหารร่วมด้วย และมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ เหมือนเวลาทานอาหารแล้วไม่ย่อย รวมทั้งเรอบ่อยขึ้น
  • อยู่ ๆ มีอาการคันตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เพราะมีน้ำดีไปสะสมอยู่บริเวณผิวหนังส่วนนั้น เลยทำให้เกิดอาการคันตามตัวขึ้นมา
  • ตัวเหลือง ตาเหลือง คล้ายกับคนเป็นดีซ่าน เพราะตับไม่สามารถทำหน้าที่ขับน้ำดีออกจากตับได้ จนทำให้มีการแพร่กระจายไปที่ตา และร่างกายจนตัวเหลือง
  • มีอาการบวมเกิดขึ้นที่หลังเท้า แขนขา และหน้าท้อง เนื่องจากตับไม่สามารถสร้างโปรตีนในเลือดได้นั่นเอง
  • ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลง ทำให้เจ็บป่วย หรือติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
  • เมื่อมีบาดแผลเกิดขึ้น จะทำให้เลือดออกง่ายกว่าปกติ และไม่ยอมหยุดไหลง่าย ๆ เพราะตับไม่สามารถสร้างสารที่ทำให้เลือดแข็งตัวได้
  • บางรายที่เริ่มมีอาการรุนแรงขึ้น อาจมีอาการอาเจียนเป็นเลือดเพราะความดันในตับสูง จนทำให้หลอดเลือดดำในหลอดอาหารมีความดันสูง ซึ่งหากความดันสูงมากก็จะทำให้หลอดเลือดดำแตกได้
  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ อาจขาดไปเลย หรือมาแบบไม่สม่ำเสมอ ทั้งที่ปกติไม่เคยเป็น ส่วนผู้ชายบางคนอาจมีอาการเต้านมขยาย มีอาการเจ็บที่เต้านม และบางคนอาจจะทำให้อัณฑะฝ่อตัว หรือสมรรถภาพทางเพศลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • มีอาการปวดแน่นที่ชายโครง รู้สึกร้อนวูบที่ช่องอก รวมไปถึงมีอาการตึงที่กล้ามเนื้อช่องท้อง จนเป็นที่มาของอาการปวดท้องน้อย
  • ถ้าลองสังเกตบริเวณมุมปาก และริมฝีปาก จะเห็นว่ามีสีคล้ำผิดปกติ รวมไปถึงลิ้นก็จะออกสีม่วงคล้ำ และขอบลิ้นจะมีรอยกดทับของฟันด้วย

การรักษาโรคตับ

คือ การรักษาสาเหตุ ร่วมกับการรักษาประคับประคองตามอาการ

  • การรักษาสาเหตุ เช่น การให้ยาปฏิชีวนะเมื่อโรคตับเกิดจากติดเชื้อแบคทีเรีย การผ่าตัดเมื่อมีเนื้องอกในตับ การเลิกสุรา หรือการหยุดยา เมื่อโรคตับเกิดจากสุรา หรือ จากยา เป็นต้น นอกจากนั้นเมื่อตับสูญเสียการทำงานจนเกิด ภาวะตับวายเรื้อรัง การรักษาคือ การผ่าตัดเปลี่ยนตับ (Liver transplantation)
  • การรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น การให้ยาแก้ปวด หรือ ยาบรรเทาอาการคลื่น ไส้ อาเจียน ตามอาการ การทำผ่าตัดใส่ท่อระบายน้ำดีเมื่อมีตัว ตาเหลืองมากจากมีการอุดตันของทางเดินน้ำดีในตับ และการให้สารน้ำและอาหารทางหลอดเลือดดำเมื่อกิน ดื่ม ได้น้อย เป็นต้น

การป้องกันโรคตับ

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และถูกหลักโภชนาการในปริมาณที่เหมาะสม โดยเน้นบริโภคอาหารจำพวกผัก ผลไม้ โปรตีน และคาร์โบไฮเดรต รวมถึงหลีกเลี่ยงอาหารที่มีเกลือหรือน้ำตาลในปริมาณมาก และหลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง เพื่อป้องกันการสะสมของไขมันในตับ
  • รับประทานอาหารอย่างระมัดระวัง เลือกรับประทานอาหารปรุงสุก ดื่มน้ำต้ม หรือน้ำสะอาด โดยเฉพาะเมื่อเดินทางไปต่างถิ่น ควรระมัดระวังเรื่องอาหารการกินเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบต่าง ๆ
  • เลือกอาหารเสริมอย่างรอบคอบ หากต้องการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนก่อนบริโภคผลิตภัณฑ์ใด ๆ เสมอ เนื่องจากยา อาหารเสริม หรือแม้กระทั่งสมุนไพร อาจส่งผลต่อการดูดซึมของตับที่เปลี่ยนสารเหล่านี้ไปใช้งานในร่างกาย หากสารที่ได้รับเป็นอันตรายต่อตับ อาจนำไปสู่อาการป่วยหรือทำให้โรคที่ป่วยอยู่แย่ลงได้
  • รักษาสุขอนามัย ล้างมือให้สะอาด ไม่ใช้เข็มฉีดยา มีดโกน แปรงสีฟัน แก้วน้ำ ช้อนส้อม และของใช้ส่วนตัวอื่น ๆ ร่วมกัน ไม่สัมผัสเลือดหรือของเหลวจากผู้ที่ติดเชื้อ หลีกเลี่ยงแหล่งน้ำที่อาจมีการปนเปื้อนเชื้อไวรัส เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อ และการแพร่กระจายเชื้อไวรัสตับอักเสบ
  • มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย เนื่องจากไวรัสตับอักเสบบี ซี ซึ่งสามารถติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์ การสวมถุงยางอนามัยจะช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ และป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ได้ด้วย
  • ลดละเลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อให้ตับได้พักจากการทำงานหนัก และป้องกันความเสี่ยงการเกิดตับอักเสบจากการดื่มแอลกอฮอล์
  • ใช้ยาตามที่แพทย์กำหนด ควรปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์ทุกครั้งในการใช้ยา ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์หากอยู่ระหว่างการรับประทานยารักษาโรค และควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบทุกครั้ง หากเป็นโรคตับหรือกำลังใช้ยาอื่น ๆ ร่วมด้วย เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้ป่วยเอง
  • ฉีดวัคซีน อาจช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอและบีได้ โดยปกติเด็กจะได้รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กอายุตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปและผู้ใหญ่

ตรวจการทำงานของตับ ที่ภูเก็ตตรวจได้ที่ไหน?

ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก ให้บริการที่ใกล้ชิด ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมทั้งทีมงานที่มีความชำนาญ พร้อมให้คำปรึกษาและ การรักษา โดยคุณสามารถเข้ารับบริการได้ทั้ง walk-in หรือนัดหมายล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับบริการ
จองคิวออนไลน์ https://phuketmedicalclinic.youcanbook.me
เวลาทำการ 🕙 10:00-18:00 น. ทุกวัน
เบอร์ติดต่อ ☎️ 096-696-2449
Line id : @pmcphuket (มี @ ด้วยนะครับ) หรือ https://lin.ee/R1TKRDo
แผนที่ 📌https://goo.gl/maps/xu45eTQUTjgpukJa7
Website 🌐https://phuketmedicalclinic.com
ปรึกษาแพทย์หรือสอบถามเพิ่มเติมได้เลยนะครับ
Inbox : m.me/100483916443107
สุขภาพคุณให้เราดูแล#คลินิกภูเก็ต
Phuket #Clinic #ภูเก็ตเมดิคอลคลินิก