คอเลสเตอรอลเป็นไขมันชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อร่างกาย มีลักษณะกึ่งของแข็งกึ่งของเหลวคล้ายขี้ผึ้ง ที่จริงแล้วคอเลสเตอรอลเป็นสารที่จำเป็นต่อร่างกายในการสร้างเซลล์ รวมถึงการผลิตวิตามิน ฮอร์โมน และสารต่างๆ ออกมาใช้  โดยปกติแล้วร่างกายสามารถสร้างคอเลสเตอรอลขึ้นได้เองจากตับ แต่คอเลสเตอรอลที่เกินความจำเป็นต่อร่างกายมักมาจากอาหารที่รับประทานเข้าไป ไม่ว่าจะจากเนื้อสัตว์ติดมัน ไข่แดง นม หรือผลิตภัณฑ์จากนม ซึ่งการที่เรามีคอเลสเตอรองสูงจะเป็นปัจจัยสำคัญในการทำร้ายสุขภาพของเราได้  เช่น การเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดได้

ความสำคัญของคอเลสเตอรอล

คอเลสเตอรอลความสำคัญต่อการทำงานของร่างกาย โดยมีหน้าที่ดังนี้

  • เป็นองค์ประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ โดยบริเวณเยื่อหุ้มเซลล์นั้นเราสามารถพบฟอสโฟลิพิด (Phosholipid) ไกลโคลิพิด (Glycolipid) และคอเลสเตอรอล เป็นต้น
  • มีความสำคัญต่อการสร้างและดูดซึมวิตามินดี เนื่องจากเมื่อรังสียูวีจากดวงอาทิตย์สัมผัสกับผิวของเรา จะเกิดปฏิกิริยาและเปลี่ยนคอเลสเตอรอลที่ผิวหนังให้กลายเป็นวิตามินดี นอกจากนี้วิตามินดียังเป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ดังนั้น การที่ร่างกายจะดูดซึมนำไปใช้ประโยชน์ได้จึงต้องมีไขมันเป็นตัวช่วย
  • ใช้ในการสร้างน้ำดี ซึ่งมีส่วนช่วยในการทำให้ไขมันแตกตัวเป็นหยดไขมันเล็ก ๆ ก่อนที่เอนไซม์จะสามารถทำหน้าที่ย่อยพวกมันต่อไปได้
  • ใช้ในการสร้างฮอร์โมนเพศ ได้แก่ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในผู้ชายและเอสโตรเจนในผู้หญิง
HDL และ LDL ต่างกันอย่างไร

ประเภทของคอเลสเตอรอล

คอเลสเตอรอลที่อยู่ในเลือด และจับกับโปรตีน ที่เราเรียกว่า ไลโพโปรตีน (Lipoprotein) นั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท

HDL (High Density Lipoprotein) หรือไขมันดี

คอเลสเตอรอลตัวนี้จะช่วยลำเลียงคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์จากหลอดเลือดแดงและเนื้อเยื่อไปยังตับ เพื่อขับออกจากร่างกายหรือนำไปใช้ใหม่ และไปยังอวัยวะอื่น ๆ เพื่อทำให้ร่างกายมีระดับคอเลสเตอรอลโดยรวมลดลงเช่น รังไข่ อัณฑะ ต่อมหมวกไต (Adrenal Gland) ดังนั้น จึงช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคทางหลอดเลือดได้ หรือช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดแดงอุดตันได้ นอกจากนี้ HDL ยังมีบทบาทในการยับยั้งการเกิดออกซิเดชัน การอักเสบ และการแข็งตัวของเลือดอีกด้วย ที่เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง  เป็นต้น ทั้งนี้ ปริมาณ HDL ที่เหมาะสมและส่งผลดีต่อร่างกาย สำหรับผู้ชายควรมีค่าเกินกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และ 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร สำหรับผู้หญิง

เพิ่มไขมันดี HDL ได้อย่างไรบ้าง

  • รับประทานอาหารที่หลากหลาย เน้นผัก ผลไม้ ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต น้ำมันมะกอก ถั่ว ธัญพืช เนื้อปลา
  • ควบคุมปริมาณอาหารประเภท น้ำตาล แป้ง ขนม เพราะเป็นอาหารกลุ่มไตรกลีเซอไรด์สูง
  • ออกกำลังกายเป็นประจำทุกวัน อย่างน้อย 30 นาที
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่อ้วนหรือผอมเกินไป
  • ไม่สูบบุหรี่
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น ไวน์ แต่ต้องไม่เกิน 2 แก้วไวน์/วัน จะช่วยเพิ่มค่า HDL แก่ร่างกาย

LDL (Low Density Lipoprotein) หรือไขมันเลว

คอเลสเตอรอลตัวนี้ไม่ดีต่อสุขภาพของเราอย่างมาก แม้ว่าหน้าที่หลักของมันจะเป็นการลำเลียงคอเลสเตอรอลไปยังเนื้อเยื่อและหลอดเลืออดแดง แต่ถ้ามีอยู่มากเกินไป ก็มีแนวโน้มจะสะสมในหลอดเลือดแดง และทำให้เกิดการอุดตันได้  ทั้งนี้ LDL ยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ Small Dense LDL และ Large Buoyant LDL โดย Small Dense LDL จะเป็นตัวที่มีไขมันมากกว่า เมื่อมันไปเกาะผนังหลอดเลือดและเกิดการออกซิไดซ์ก็จะสร้างคราบสะสมขึ้นมาบนผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบหรืออุดตัน ขวางกั้นการไหลเวียนของเลือด ซึ่งหากเกิดขึ้นที่เส้นเลือดในสมองก็อาจเป็นสาเหตุของหลอดเลือดในสมองตีบ หรือหากเกิดขึ้นที่หลอดเลือดแดงโคโรนารี ซึ่งเป็นหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ก็อาจทำให้หัวใจวายเฉียบพลันจากการที่กล้ามเนื้อหัวใจหยุดทำงานได้ซึ่งปริมาณ LDL ที่ดีสำหรับคนที่มีสุขภาพปกติควรมีค่าไม่เกิน 160 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และไม่เกิน 130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร สำหรับผู้ป่วยหรือผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด

ลดไขมันร้าย LDL ได้อย่างไรบ้าง

  • อาหารประเภทของมันของทอด หรืออาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันทรานส์ รวมถึงอาหารที่มีส่วนผสมของแป้งหรือน้ำตาลอยู่มาก
  • หลีกเลี่ยงอาหาร เช่น เค้ก คุกกี้ เนย มาการีน อาหารทะเล ไข่แดง อาหารจานด่วน เนื้อสัตว์ เบคอน นม ชีส เนย กะทิ
  • รับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ข้าวกล้อง เมล็ดธัญพืช ผักใบเขียว แอปเปิล
  • ออกกำลังกายเป็นประจำทุกวัน อย่างน้อย 30 นาที
  • เข้านอนประมาณ 4 ทุ่ม เพื่อให้โกรทฮอร์โมนหลั่งดี ลดเสี่ยงไขมันสะสม
  • ลดหรือเลิกการดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่

การตรวจสุขภาพจึงมีเป้าหมายสำคัญ คือการค้นหาโรคที่ซ่อนอยู่โดยที่ร่างกายที่ยังไม่แสดงอาการผิดปกติ และค้นหาพฤติกรรมเสี่ยง หรือปัจจัยส่งผลต่อการเกิดโรคต่าง เพราะมีโรคหลายชนิดที่เกิดขึ้นที่ร่างกายโดยไม่แสดงอาการ แต่แอบแฝงเป็นภัยเงียบคุกคามสุขภาพ การตรวจวัดระดับไขมันในร่างกาย และรับคำแนะนำในการปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จึงมีส่วนสำคัญในการวางแผนสุขภาพของเรา  เพราะทุกคนสามารถดูแลสุขภาพให้ดีได้ด้วยการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ให้เหมาะสม

ตรวจระดับไขมันในเลือด ที่ภูเก็ตตรวจได้ที่ไหน?

ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก ให้บริการที่ใกล้ชิด ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมทั้งทีมงานที่มีความชำนาญ พร้อมให้คำปรึกษาและ การรักษา โดยคุณสามารถเข้ารับบริการได้ทั้ง walk-in หรือนัดหมายล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับบริการ
จองคิวออนไลน์ https://phuketmedicalclinic.youcanbook.me
เวลาทำการ 🕙 10:00-18:00 น. ทุกวัน
เบอร์ติดต่อ ☎️ 096-696-2449
Line id : @pmcphuket (มี @ ด้วยนะครับ) หรือ https://lin.ee/R1TKRDo
แผนที่ 📌https://goo.gl/maps/xu45eTQUTjgpukJa7
Website 🌐https://phuketmedicalclinic.com
ปรึกษาแพทย์หรือสอบถามเพิ่มเติมได้เลยนะครับ
Inbox : m.me/100483916443107
สุขภาพคุณให้เราดูแล#คลินิกภูเก็ต
Phuket #Clinic #ภูเก็ตเมดิคอลคลินิก