วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก

วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน เป็นวัคซีนเชื้อตาย ที่ประกอบไปด้วยแอนติเจนของเชื้อไอกรน และ ท็อกซอยด์ของเชื้อคอตีบและบาดทะยัก ในประเทศไทยมีวัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน อยู่ด้วยกัน 2 ชนิดหลักๆ ซึ่งมีส่วนประกอบ สูตร และส่วนผสมที่แตกต่างกันสำหรับใช้ในกลุ่มอายุต่างๆ:

วัคซีน DTaP หรือ DTwP วัคซีนนี้ใช้สำหรับทารกและเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ของชื่อย่อวัคซีนนี้บ่งบอกว่าปริมาณแอนติเจนของเชื้อไอกรน และท็อกซอยด์ของเชื้อคอตีบและบาดทะยัก ในวัคซีนนั้นมีปริมาณสูง

วัคซีน Tdap วัคซีนนี้ใช้สำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 4 ปีขึ้นไป จนถึงผู้ใหญ่ ตัวอักษรพิมพ์เล็กภาษาอังกฤษ “d” และ “p” บ่งบอกถึงการลดปริมาณท็อกซอยด์ของเชื้อคอตีบและแอนติเจนของเชื้อไอกรนในวัคซีน เพื่อลดอาการข้างเคียงของวัคซีนที่อาจเกิดขึ้น

ตกขาวผิดปกติ (Pathologic vaginal discharge)

ตกขาว ระดูขาว หรือ มุตกิด (Leukorrhea, Leucorrhea หรือ Vaginal discharge) คือ สารคัดหลั่งที่ถูกขับออกมาทางช่องคลอด มีหน้าที่ช่วยในการหล่อลื่น ป้องกันการติดเชื้อ และระคายเคือง โดยผลิตจากต่อมภายในช่องคลอด และปากช่องคลอด เพื่อผลัดเซลล์เก่าภายในช่องคลอด ดังนั้นการมีตกขาวจึงเป็นเรื่องธรรมชาติของผู้หญิงทุกคน ผู้หญิงสามารถมีตกขาวได้เกือบทุกวัน ปริมาณมากบ้าง น้อยบ้าง หรือลักษณะของตกขาวอาจจะแตกต่างไปในแต่ละช่วงเวลา ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนของร่างกาย กล่าวคือ ช่วงไข่ตกหรือกลางรอบเดือน ตกขาวจะมีลักษณ์ใส ยืดได้คล้ายเจลลี่ แต่ในช่วงก่อนมีประจำเดือน ตกขาวจะเปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่นและข้น เป็นต้น 

การดูแลตนเองเบื้องต้นเมื่อทราบว่าติดเชื้อโควิด-19: แนะนำการดูแลและป้องกัน

การดูแลตนเองเมื่อทราบว่าติดเชื้อโควิด19 เป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสและลดความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้น นอกจากการไปพบแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำของหมอ การดูแลตนเองเบื้องต้นยังเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ร่างกายปรับตัวและฟื้นตัวได้รวดเร็วขึ้น เพื่อความรู้ที่มีประโยชน์มากยิ่งขึ้นในช่วงนี้ที่เราต้องรักษาตัวเองในบ้าน

การดูแลตนเองเมื่อทราบว่าติดเชื้อโควิด19 เป็นเรื่องสำคัญที่ช่วยลดความรุนแรงของโรค และช่วยป้องกันการแพร่ระบาดให้กับผู้อื่น คำแนะนำเหล่านี้เป็นเพียงเบื้องต้น ควรปฏิบัติตามคำแนะนำจากหมอและเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์อย่างเคร่งครัดเสมอ

โรคทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูก

โรคทางพันธุกรรม (Genetic Disorders) หรือโรคติดต่อทางพันธุกรรม เกิดจากความผิดปกติของยีนในพันธุกรรม หรือเกิดขึ้นบนโครโมโซมที่ได้รับการถ่ายทอดจากพ่อและแม่ที่เป็นพาหะมาสู่รุ่นลูก ซึ่งแนวโน้มว่าลูกที่เกิดมาจะมีความผิดปกติทางพันธุกรรมด้วย ยีนที่ผิดเพี้ยนไปนี้จะส่งผลต่อสุขภาพ ทำให้เกิดโรคทางพันธุกรรมถ่ายทอดสู่ลูกหลานได้โรคทางพันธุกรรมส่วนใหญ่ไม่สามารถป้องกันได้ และจะตรวจพบความผิดปกติเมื่อทารกคลอดออกมาแล้ว แม้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดแต่ถ้ารีบดำเนินการรักษา ก็ช่วยให้ทารกมีโอกาสเติบโตได้อย่างปกติ หากได้รับการรักษาล่าช้ามีโอกาสที่ทารกจะพิการ หรือเสียชีวิตได้เช่นกันฉะนั้นโรคที่เกิดขึ้นทางพันธุกรรมสามารถรักษาเพื่อบรรเทาอาการ แต่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การตรวจสุขภาพเพื่อคัดกรองโรคก่อนแต่งงานและก่อนการมีบุตรเป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถป้องกันโรคทางพันธุกรรมได้

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) 

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากการตีบตัน หรือต่อมตันของหลอดเลือดที่นำเลือดไปสู่สมอง ซึ่งทำให้เซลล์สมองได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ โรคนี้สามารถทำให้เกิดผลกระทบต่อส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของสมองขึ้นอยู่กับการเกิดการตีบตันหรือต่อมตันมากน้อยและตำแหน่งที่เกิดขึ้น หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะทำให้เซลล์สมองค่อยๆ ตายลง ดังนั้นผู้ป่วยจำเป็นต้องพบแพทย์ทันที การรักษาอย่างรีบด่วนเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะช่วยลดความรุนแรงจากภาวะสมองตาย และรวมถึงลดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ และยังป้องกันความพิการและทุพพลภาพที่จะเกิดขึ้น

วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี

ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B หรือ HBV) คือ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ทำให้เกิดปฎิกิริยาต่อระบบภูมิต้านทานของร่างกาย ส่งผลให้ผู้ที่ได้รับเชื้อมีการอักเสบของเซลล์ตับ และทำให้เซลล์ตับถูกทำลาย

วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี (Hepatitis B Vaccine) เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี การฉีดวัคซีนนี้ช่วยในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้สามารถต่อต้านไวรัสได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดความรุนแรงของโรคตับอักเสบบีเมื่อติดเชื้อ

คันช่องคลอด หรือคันอวัยวะเพศหญิง: สาเหตุและการรักษา

คันช่องคลอด หรือคันอวัยเพศหญิง  (Vaginal Itching) การระคายเคืองบริเวณอวัยวะเพศหญิง หรือทั้งภายนอกและภายในช่องคลอด ได้แก่อาการคันเนินอวัยวะเพศหรือเนินหัวหน่าว(mons pubis), บริเวณขน, ปุ่มคลิตอริส(Clitoris), แคมใหญ่(Labia Majora), แคมเล็ก (Labia Minora), กลีบ และคันเข้าไปในช่องคลอด ช่องปัสสาวะ(Urethral Opening) จนถึงปากช่องคลอด (Vaginal Opening)  อาจจะส่งผลให้มีการติดเชื้อในช่องคลอดหรือเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมถึงอาการตกขาวร่วมด้วย ก่อให้เกิดความรำคาญ มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ เป็นแผลอักเสบจากการเกา ทำให้เจ็บแสบขณะปัสสาวะ ซึ่งอาการคันช่องคลอดนี้อาจเป็นสัญญาณของโรคต่างๆ เช่น มะเร็งปากมดลูก ปีกมดลูกอักเสบ และการติดเชื้อในช่องคลอด เป็นต้น

ความดันโลหิตต่ำ เกิดจากอะไร? อาการเป็นแบบไหน?

ความดันต่ำ หรือ ความดันโลหิตต่ำ ไม่ใช่โรค เพราะลักษณะของอาการไม่ได้พัฒนา และนำไปสู่โรคเรื้อรังอื่น ๆ เป็นเพียงภาวะที่ความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท เกิดได้กับภาวะความดันต่ำทำให้เลือดไหลเวียนช้าลง ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันส่งผลทำให้ไปล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่เพียงพอ

ความดันโลหิตที่เหมาะสมจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน สำหรับตัวบนจะอยู่ที่ 120-129 (mm/Hg) และตัวล่างอยู่ที่ 80-84 (mm/Hg) และมักแสดงอาการออกมาแบบเฉียบพลัน เช่น หน้ามึด เวียนหัว อ่อนเพลีย แต่การวัดค่าความดันได้ต่ำ อาจพบได้ในคนปกติ ทุกเพศ ทุกวัย มักพบในผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ  เช่น ผู้หญิงอายุน้อย รูปร่างผอมได้ และผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคความดันโลหิตต่ำ

วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอ

ไวรัสตับอักเสบเอ (Hepatitis A)  เป็นโรคตับที่เกิดจากเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดเอ Hepatitis A virus (HAV) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสกลุ่ม picornavirus ทำให้เกิดการอักเสบแบบเฉียบพลันของตับ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงตับอักเสบรุนแรงมาก โดยทั่วไปอาการจะหายเป็นปกติภายใน 2 เดือน 

วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอ (Hepatitis A Vaccine) ทำมาจากเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ ที่ตายแล้ว เป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย การฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบเอเป็นการป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบเอ ที่ได้ผลเกือบ 100%  และภูมิคุ้มกันที่ได้จากวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอ จะอยู่ติดตัวไปได้ตลอด  

เช็คสัญญาณเตือน ความผิดปกติของช่องคลอด

ช่องคลอด คืออะไร?

คือ อวัยวะสำคัญของผู้หญิงที่ควรใส่ใจ และดูแลมากเป็นพิเศษ เพราะความผิดปกติเพียงเล็กน้อยที่เกิดขึ้น อาจทำให้ผู้หญิงเราสูญเสียความมั่นใจ หรืออาจทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาได้ โดยปกติแล้วช่องคลอดจะมีลักษณะเป็นท่อกล้ามเนื้อยืดหยุ่นได้ มีความยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร เป็นส่วนที่ต่อออกมาจากปากมดลูกถึงอวัยวะเพศภายนอก โดยบริเวณนี้สามารถยืดขยายรับอวัยวะของเพศชาย และสามารถขยายออกได้ขณะคลอดลูก อวัยวะเพศหญิงในแต่ละบุคคลจะมีขนาด รูปทรง และสีที่แตกต่างกัน มีทั้งรูปทรงไข่ขนาดเล็กหรือรูปทรงกระบอกขนาดใหญ่ และมีสีชมพูอ่อนไปจนถึงสีน้ำตาลอมชมพูและแดงเข้ม

การตรวจเช็กว่าช่องคลอด หรือบริเวณอวัยวะเพศสำหรับผู้หญิงทุกคน ที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง เพื่อหาสัญญาณเตือน หรืออาการผิดปกติว่าคุณอาจกำลังมีปัญหาช่องคลอด