โรคมะเร็งที่พบบ่อยในคนไทย

โรคมะเร็ง ถือเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของการเสียชีวิตของประชากรไทยตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน และยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งมะเร็งมีโอกาสเกิดขึ้นกับคนอายุน้อยเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย เนื่องจากผลกระทบภายในและภายนอกร่างกาย ก็เป็นปัจจัยสำคัญในการกระตุ้น ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ 

การดูแลตนเองของผู้ติดเชื้อเอชไอวี

การดูแลตนเองของผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องใส่ใจอย่างยิ่ง เนื่องจากการดูแลตนเองอย่างเหมาะสมสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการป่วยหรือแพร่เชื้อต่อผู้อื่นได้ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตและความพึงพอใจในการดำเนินชีวิตประจำวัน

การดูแลตนเองของผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีความสำคัญมาก เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีและลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อต่อผู้อื่น การรักษาตนเองด้วยยาและการดูแลร่างกายและสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงอย่างยิ่ง

ปัญหาสุขภาพของผู้หญิงวัย 30 +

ผู้หญิงที่เข้าวัย 30  ถือเป็นวัยที่กำลังได้ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ไม่ต่างจากตอนช่วงอายุ 20 เลยด้วยซ้ำ เป็นวัยที่ได้ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ ผ่านประสบการณ์ชีวิต ก็อาจลืมใส่ใจเรื่องการทานอาหาร การออกกำลังกาย พักผ่อนน้อย เครียดกับงาน ที่ทำให้สุขภาพอาจสวนทางกัน  หากไม่ดูแลตัวเอง ปล่อยตัว ไม่ได้มีการตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ อาจเสี่ยงโรคเหล่านี้ไม่รู้ตัว  เพราะเมื่อเข้าสู่วัย 30 ร่างกายเราอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามกาลเวลา เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศ มวลกระดูกบางลง หรือร่างกายอาจเผาผลาญพลังงานได้น้อยลง เป็นต้น 

โรคภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน

โรคภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน (Anaphylaxis) คือ อาการภูมิแพ้ที่มีปฏิกิริยารุนแรงอย่างเฉียบพลัน เมื่อร่างกายได้รับสารกระตุ้นบางอย่าง เช่น อาหารหรือยาบางชนิด แมลงกัดต่อย หรือสารอื่น ๆ เนื่องจากระบบภูมิต้านทานของบุคคลนั้นไวต่อสารกระตุ้นดังกล่าวมากกว่าคนปกติ ส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายพร้อมกัน นอกจากอาการผื่นลมพิษทั่วไป เช่น ระบบทางเดินหายใจ จะมีอาการแสดงเป็นหอบเหนื่อย เขียว อันเนื่องมาจากมีหลอดลมตีบ ในส่วนของระบบทางเดินอาหาร อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน หรือในเด็กเล็กอาจจะมีอาการซึมลงหรือหงุดหงิดไม่สบายตัวได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจเกิดอาการรุนแรงถึงขั้นช็อก  หรือเสียชีวิตได้ โดยมากมักเกิดภายใน 5-30 นาทีหลังจากได้รับสารก่อภูมิแพ้ หรือไม่เกิน 2 ชั่วโมง หลังได้รับสารก่อภูมิแพ้ชนิดรับประทาน

โรคดาวน์ซินโดรม

โรคดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) เป็นภาวะโครโมโซมผิดปกติ และเป็นโรคพันธุกรรมที่เกิดจากการมีโครโมโซม 21 เกินมาทั้งอันหรือบางส่วน ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีพัฒนาการล่าช้า มีใบหน้าเป็นลักษณะเฉพาะ และมีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง ระดับเชาวน์ปัญญาโดยเฉลี่ยของผู้ป่วยโรคดาวน์ซินโดรม ในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นอยู่ประมาณ 50 เทียบเท่ากับเด็กอายุ 8-9 ปี   อย่างไรก็ดีระดับสติปัญญาของผู้ป่วยเหล่านี้อาจมีความแตกต่างกันได้มากเมื่อโตขึ้น และอาจมีปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ทำให้ผู้ป่วยโรคนี้ต้องได้รับการดูแลปัญหาสุขภาพมากกว่าคนปกติ

วัคซีนป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน

วัคซีน MMR เป็นวัคซีนที่สามารถป้องกันได้ถึง 3 โรค ได้แก่ โรคหัด (Measles) คางทูม (Mumps) และหัดเยอรมัน (Rubella) เมื่อนำอักษรภาษาอังกฤษตัวแรกของทั้ง 3 โรคมารวมกันจึงกลายเป็นชื่อวัคซีน MMR นั่นเอง

วัคซีน MMR เป็นวัคซีนชนิดเชื้อเป็น (Live attenuated vaccine) ประกอบไปด้วยเชื้อไวรัสมีชีวิตที่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลง ที่ผลิตจากเชื้อไวรัส Mump, Measles และ Rubella ซึ่งมีประสิทธิภาพในการป้องกันได้เช่นเดียวกับวัคซีนป้องกันเดี่ยวๆ ของแต่ละโรค และมีผลข้างเคียงน้อย จึงได้รับความนิยมกว่าการฉีดวัคซีนแยกเดี่ยวๆ

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เรื่องที่ผู้ชายควรรู้

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นโรคใกล้ตัว ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใส่ถุงยางอนามัยมีโอกาสติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สูง เช่น หนองในแท้ หนองในเทียม เริม ซิฟิลิส หูดหงอนไก่ หรือติดเชื้อเอชไอวีจนพัฒนาไปสู่เอดส์ เพราะผู้ติดเชื้อบางรายก็ไม่แสดงอาการของโรคให้เห็นชัดเจน การป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์จึงเป็นเรื่องยาก และยังสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้อีกด้วย ซึ่งโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางโรคอาจรักษาให้หายได้ แต่บางโรคก็รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต  ดังนั้นการใช้ถุงยางอนามัยอาจเป็นทางเลือกที่ดีในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ แม้ไม่สามารถป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ 100 เปอร์เซ็นต์ก็ตาม เนื่องจากเชื้ออาจแพร่กระจายไปยังอวัยวะบริเวณอื่นได้ขณะทำกิจกรรมทางเพศ เช่น ทางปาก หรือทางทวารหนัก

ความสำคัญของกลิ่นเหม็นจากช่องคลอดผู้หญิง

ช่องคลอดมีกลิ่นอาจเป็นเรื่องที่ผู้หญิงหลายคนกังวลใจ แต่รู้หรือไม่ว่าโดยปกติแล้วผู้หญิงอาจจะมีกลิ่นในช่องคลอดได้เล็กน้อย หรือบางครั้งไม่มีกลิ่นเลย   แต่หากมีกลิ่นฉุนเหม็นคาวมาก มีตกขาวผิดไปจากปกติ และมีอาการคัน หรือระคายเคืองบริเวณช่องคลอดร่วมด้วย นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนว่ากำลังมีโรคหรือความผิดปกติที่ไม่ควรละเลย การรับรู้กลิ่นในช่องคลอดเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ผู้หญิง สามารถดูแล และรักษาที่เหมาะสม เพราะกลิ่นไม่พึงประสงค์จากช่องคลอดอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น สุขอนามัย การอักเสบ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งการรักษาจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ในบางกรณีอาจดูแลรักษาได้ด้วยตนเอง แต่ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อเข้าตรวจสอบหาสาเหตุและรับคำแนะนำในการรักษาอย่างเหมาะสม

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ผู้หญิงควรระวัง

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่พบมากในผู้หญิงทั่วโลก โรคเหล่านี้ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์  อาจไม่มีอาการแสดงให้เห็น ทำให้ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องจนนำไปสู่อาการที่รุนแรงขึ้น ซึ่งบางโรคร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต บางโรครักษาไม่หาย  อาจก่อให้เกิดความเจ็บปวด และภัยต่อสุขภาพในระยะยาว  ซึ่งผู้หญิงส่วนน้อย ที่จะตระหนักถึงความสำคัญของการมีเพศสำคัญอย่างปลอดภัย ฉะนั้นทุกคนควรเรียนรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับตนเอง เพื่อรู้เท่าทันอันตรายและรักษาได้ทันท่วงที

ฮอร์โมน คืออะไร? และสำคัญต่อร่างกายอย่างไร?

ฮอร์โมน (Hormone) คือ สารเคมีที่ร่างกายผลิตขึ้นมาจากต่อมไร้ท่อ (endocrine glands)  หรือเนื้อเยื่อ และลำเลียงไปตามกระแสเลือดไปยังเซลล์และอวัยวะต่างๆ ช่วยในการสื่อสารระหว่างเซลล์ ทำหน้าที่ร่วมกับอวัยวะต่างๆ และควบคุมระบบของร่างกายให้ทำงานได้อย่างปกติ  โดยฮอร์โมนจะหลั่งออกมาจากต่อมไร้ท่อ แล้วซึมเข้าสู่เส้นเลือด อาศัยระบบไหลเวียนโลหิต ส่งต่อไปยังเซลล์และอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เพื่อทำให้ร่างกายทำงานได้ปกติ