ผู้ที่อาศัยอยู่กับผู้ติดเชื้อเอชไอวี หรือผู้ป่วยโรคเอดส์ โดยเฉพาะคนในครอบครัวนั้น เป็นบุคคลสำคัญที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี เพราะนอกจากคอยให้กำลังใจแล้ว ยังต้องดูแลผู้ป่วยให้มีพลานามัยสมบูรณ์ และสร้างสิ่งแวดล้อมบริเวณที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับผู้ป่วย เชื้อเอชไอวีติดต่อได้ผ่านทางเลือด การมีเพศสัมพันธ์ และจากมารดาสู่ทารกในครรภ์ แต่ผู้ที่อยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีก็ควรต้องป้องกันตนเองจากการติดเชื้อด้วยเช่นกัน

พฤติกรรมที่ทำแล้วไม่ติดเชื้อเอชไอวี

  • การใช้ช้อนกลาง ระหว่างรับประทานอาหารร่วมกัน
  • การกอด
  • สามารถซักเสื้อผ้าร่วมกันได้ แต่ที่ต้องซักแยกกันและใส่ถุงมือเสมอ คือ ผ้าที่ปนเปื้อนเลือด สารคัดหลั่ง อุจจาระ ปัสสาวะ
  • การใช้สบู่ ครีมอาบน้ำ แชมพู ยาสีฟัน แป้งร่วมกัน

พฤติกรรมที่ทำแล้วเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวี

  • การใช้อุปกรณ์ที่อาจสัมผัสเลือด หรือของใช้เฉพาะบุคคลร่วมกัน เช่น มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ แปรงสีฟัน เพราะอาจมีเลือดที่มีเชื้อเอชไอวีปะปน
  • เมื่อบุคคลในบ้านป่วย เช่น เป็นไข้ หัด หัดเยอรมัน สุกใส แล้วไม่แยกจากผู้ติดเชื้อ
  • บุคคลในบ้านควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อต่างๆ เช่น ไข้หวัดใหญ่ หัด คอตีบ ไอกรน
  • ควรล้างมือบ่อยๆ เช่น ก่อนและหลังรับประทานอาหาร การประกอบอาหาร การเข้าห้องน้ำ
  • การมีเพศสัมพันธ์ของสามีภรรยา ต้องใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้ง และระมัดระวังเรื่องการแพร่เชื้อระหว่างการมีเพศสัมพันธ์
  • เมื่อสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วย ควรสวมถุงมือยางทุกครั้ง และควรล้างมือด้วยสบู่หลังจากสัมผัสสารคัดหลั่งทุกครั้ง แม้ขณะสัมผัสจะสวมถุงมือก็ตาม
  • ระมัดระวังเป็นพิเศษเมื่อถือเข็มฉีดยาหรือของมีคมที่มีเลือดของผู้ป่วยติดอยู่ หากเผลอทิ่มร่างกายแม้เพียงเล็กน้อย ให้รีบล้างแผลด้วยสบู่ และไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
  • ควรทิ้งขยะที่มีสารคัดหลั่งปะปน เช่น ผ้าอนามัย ผ้าพันแผล ใส่ถุงพลาสติกที่ปิดมิดชิดและแยกจากขยะชนิดอื่น ๆ
  • ล้างทำความสะอาดของเสียจากร่างกายผู้ป่วยตามห้องน้ำ หรือโถสุขภัณฑ์ให้สะอาดก่อนใช้งานต่อ โดยสวมถุงมือยางขณะทำความสะอาดทุกครั้ง
ใช้ชีวิตร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีอย่างไร ให้ปลอดภัย

ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของเอชไอวี 

ทั้งลักษณะอาการ สาเหตุของโรค การติดต่อ การรักษา เพราะนอกจากช่วยให้ดูแลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมแล้ว ยังทำให้เข้าใจว่าคนทั่วไปนั้นอยู่ร่วมกับผู้ป่วยได้อย่างปกติ

ปฏิบัติตัวต่อผู้ป่วยเหมือนคนปกติ 

ลักษณะการพูดคุยหรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากเดิมอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกแปลกแยก อีกทั้งควรรับฟังปัญหาและให้คำปรึกษาที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วย พยายามอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าการรักษาทันทีเมื่อตรวจพบว่าติดเชื้อนั้นส่งผลดีต่อสุขภาพโดยรวมอย่างมาก

สร้างวินัยให้ผู้ป่วยรับประทานยาเป็นประจำ 

ควรศึกษาข้อมูลของยาแต่ละชนิดที่แพทย์แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทาน ทั้งเวลาที่ต้องรับประทานและผลข้างเคียงของยา เพราะการรับประทานยาไม่สม่ำเสมอจะทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลง และอาจทำให้เชื้อดื้อยาชนิดนั้นหรือยาชนิดใกล้เคียง ส่งผลให้การรักษามีข้อจำกัดและทำได้ยากยิ่งขึ้น

สร้างสิ่งแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัยให้เหมาะสม 

ควรคำนึงถึงความสะดวกสบายและความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นหลัก โดยเฉพาะผู้ป่วยเอดส์ที่มีอาการรุนแรง เช่น จัดพื้นที่บริเวณที่อยู่อาศัยให้รองรับผู้ป่วยที่ใช้รถเข็น วางสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นในที่ที่ผู้ป่วยหยิบใช้ง่าย เก็บสิ่งของมีคมให้มิดชิด เป็นต้น

ดูแลเรื่องอาหารการกิน 

พยายามช่วยให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้อย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงความสะอาดเป็นอันดับแรก ทั้งความสะอาดของวัตถุดิบ เครื่องใช้ในครัว และผู้ประกอบอาหาร ผู้ป่วยควรบริโภคอาหารที่ปรุงสุก เน้นอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนและอุดมไปด้วยเส้นใย หลีกเลี่ยงอาหารทะเลดิบและไข่ดิบ ส่วนผักและผลไม้สดควรล้างน้ำให้สะอาดทุกครั้งก่อนรับประทาน

ดูแลสุขภาพทั่วไปของผู้ป่วย

นอกจากนี้ ผู้ดูแลควรหมั่นพลิกตัวและทำกายภาพบำบัดตามคำแนะนำของแพทย์ให้กับผู้ป่วยที่เคลื่อนไหวลำบากหรือจำเป็นต้องนอนอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน รวมถึงเลือกใช้วัสดุที่นิ่มเพียงพอปูรองใต้ผิวหนัง เช่น ฟูก หรือฟองน้ำรังไข่ เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจตามมา ได้แก่ แผลกดทับ ข้อติดแข็ง ปอดบวม เป็นต้น

การดูแลผู้ป่วยต้องใช้ความใส่ใจและอดทนค่อนข้างมาก

โดยเฉพาะผู้ป่วยเอดส์ที่มีอาการรุนแรง เพราะนอกจากจะมีสุขภาพอ่อนแอมากแล้ว อาจมีภาวะสมองเสื่อมร่วมด้วย

หากคิดว่า เสี่ยงติดเชื้อ HIV ต้องทำอย่างไร ?

ควรพบแพทย์ทันที ภายใน 72 ชั่วโมง เพื่อตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี และตรวจหาโรคติดเชื้อ ไวรัสตับอักเสบบี ซี ดูค่าตับ ไต และรับยาต้านไวรัส (Post -Exposure Prophylaxis: PEP) เพื่อลดโอกาสติดเชื้อ โดยจะต้องรับประทานต่อเนื่องเป็นเวลา 28 วัน ผลการป้องกันของยาต้านไวรัสจะให้ประสิทธิภาพสูงสุดกรณีรับยาภายใน 24 ชม. หลังรับเชื้อ และเข้ารับการตรวจทุกครั้งตามแพทย์นัด และหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจทำให้มีโอกาสรับเชื้อ

ติดต่อเรา

ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก ให้บริการที่ใกล้ชิด ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมทั้งทีมงานที่มีความชำนาญ พร้อมให้คำปรึกษาและ การรักษา โดยคุณสามารถเข้ารับบริการได้ทั้ง walk-in หรือนัดหมายล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับบริการ
จองคิวออนไลน์ https://phuketmedicalclinic.youcanbook.me
เวลาทำการ 🕙 10:00-18:00 น. ทุกวัน
เบอร์ติดต่อ ☎️ 096-696-2449
Line id : @pmcphuket (มี @ ด้วยนะครับ) หรือ https://lin.ee/R1TKRDo
แผนที่ 📌https://goo.gl/maps/xu45eTQUTjgpukJa7
Website 🌐https://phuketmedicalclinic.com
ปรึกษาแพทย์หรือสอบถามเพิ่มเติมได้เลยนะครับ
Inbox : m.me/100483916443107
สุขภาพคุณให้เราดูแล#คลินิกภูเก็ต
Phuket #Clinic #ภูเก็ตเมดิคอลคลินิก