ผู้หญิงที่เข้าวัย 30  ถือเป็นวัยที่กำลังได้ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ไม่ต่างจากตอนช่วงอายุ 20 เลยด้วยซ้ำ เป็นวัยที่ได้ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ ผ่านประสบการณ์ชีวิต ก็อาจลืมใส่ใจเรื่องการทานอาหาร การออกกำลังกาย พักผ่อนน้อย เครียดกับงาน ที่ทำให้สุขภาพอาจสวนทางกัน  หากไม่ดูแลตัวเอง ปล่อยตัว ไม่ได้มีการตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ อาจเสี่ยงโรคเหล่านี้ไม่รู้ตัว  เพราะเมื่อเข้าสู่วัย 30 ร่างกายเราอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามกาลเวลา เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศ มวลกระดูกบางลง หรือร่างกายอาจเผาผลาญพลังงานได้น้อยลง เป็นต้น 

ปัญหาสุขภาพของผู้หญิงวัย 30+

ปัญหาสุขภาพของผู้หญิง เมื่ออายุเข้าวัย 30+ มีอะไรบ้าง?

  • สุขภาพร่างกายเจ็บป่วยง่ายขึ้น เพราะร่างกายเสื่อมลง อายุมากขึ้น แต่ภูมิคุ้มกันร่างกายกลับลดลง ผู้หญิงในวัยนี้ต้องระมัดระวังเรื่องอาหารการกิน เพราะอาจเกิดความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง, โรคไมเกรน, โรคเบาหวาน, โรคไขมันในเลือดสูง, โรคมะเร็ง, โรคมะเร็งปากมดลูก, โรค PCOS, โรคซีสต์ในรังไข่ โรคกระดูกพรุน สุขภาพฟันมีปัญหา สายตาเปลี่ยนแปลง จึงควรหมั่นเช็กร่างกายเพื่อวางแผนการรักษาได้อย่างทันท่วงที ผู้หญิงวัย 30 ขึ้นไป ควรหมั่นเช็กสุขภาพ เพื่อวางแผนการรักษาได้ทันท่วงทีกรณีที่ตรวจพบโรคร้าย
  • อ้วนง่าย เพราะอัตราการเผาผลาญเริ่มน้อยลง กินเท่าเดิม กินน้อยลง แต่ทำไมอ้วนง่ายขึ้น เป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน ทำให้ร่างกายเบิร์นไขมัน และน้ำตาลได้ยากขึ้น ส่งผลให้อ้วนง่ายขึ้นกว่าเดิม แม้ว่าคุณจะรับประทานอาหารเท่าเดิมก็ตาม
  • อารมณ์อ่อนไหวกว่าเดิม หรืออารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ (Mood Swing)  การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนยังทำให้อารมณ์อ่อนไหวง่ายขึ้นไปอีก อารมณ์ไม่คงที่ เหวี่ยงวีนง่าย ขี้น้อยใจ อีกทั้งยังกระวนกระวาย จนส่งผลกระทบต่อการนอนหลับ เพราะนอนหลับได้ยากขึ้น ระบบความจำเริ่มมีปัญหาตามมาอีก
  • เส้นผมเริ่มหลุดร่วง และบางลง เมื่อเข้าสู่ช่วงอายุประมาณ 30 ปี วงจรชีวิตเส้นผมจะเริ่มสั้นลง จึงเกิดผมร่วงถี่ขึ้น และไม่สามารถสร้างผมเส้นใหม่ได้ทัน ความหนาแน่นของผมจึงน้อยลง นอกจากนี้ความเครียดจากชีวิตประจำวันในวัยทำงาน มลภาวะ การรับประทานอาหาร ก็เป็นอีกปัจจัยที่กระตุ้นให้ผมร่วงง่ายขึ้น เพราะฮอร์โมนแปรปรวน เช่น ฮอร์โมนต่อมไทรอยด์ ทำให้ร่างกายขับไขมันผ่านทางผิวหนังมากขึ้น หนังศีรษะจึงมัน รากผมอ่อนแอ หรือ ฮอร์โมน Estrogen น้อยลง ทำให้เส้นผมมีขนาดเล็กลง ผมเริ่มบาง มีความแห้ง ชี้ฟู อ่อนแอและหลุดร่วงได้ง่ายยิ่งขึ้น  
  • ฮอร์โมนทางเพศลดลง ทำให้ความสนใจทางเพศอาจลดลง วัยเข้า 30 คุณผู้หญิงบางท่านอาจเริ่มแต่งงานมีครอบครัว แต่หากยังไม่มีลูกจะเริ่มเป็นปัญหา เพราะเพราะฮอร์โมนทางเพศเริ่มลดลง ในบางท่านอาจไม่มีความต้องการ ไม่อยากมีเพศสัมพันธ์กับคนรัก รวมถึงรังไข่ไม่แข็งแรง ส่งผลให้การตั้งครรภ์เป็นไปได้ยากขึ้น
  • ฮอร์โมนความวัยเยาว์น้อยลง ไม่เพียงแต่ฮอร์โมนทางเพศเท่านั้น ฮอร์โมนแห่งการเจริญเติบโตอย่าง โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ที่มีความสำคัญยังผลิตน้อยลง ส่งผลต่อระบบเผาผลาญ ความยืดหยุ่นของผิว และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ร่างกายคุณเสื่อมลง เพราะเมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไป โกรทฮอร์โมนจะเหลือเพียง 40% เท่านั้น เมื่อเทียบกับอายุช่วงวัยรุ่น  เนื่องจากโกรทฮอร์โมน สำคัญต่อระบบเผาผลาญ ลดความเครียด เสริมสร้างสมาธิ เสริมสร้างกล้ามเนื้อ เสริมความยืดหยุ่นของผิว ให้ผิวเรียบเนียน ชุ่มชื้น ต้านภาวะกระดูกพรุน เสริมสร้างภูมิต้านทาน ลดการเสื่อมถอยของสายตา
  • สายตายาวเริ่มเข้ามาเยือน อายุน้อยสายตาสั้น พออายุ 30 สายตายาวเริ่มเข้ามาแทน แต่บางท่านอาจประสบปัญหาสายตายาวและสายตาสั้นไปพร้อม ๆ กัน นอกจากปัญหาสายตาจะเกิดขึ้นจากอายุที่มากขึ้นแล้ว กิจวัตรประจำวันที่ใช้ชีวิตอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์และจอโทรศัพท์ ยังส่งผลให้เกิดปัญหาสายตาในระยะยาวอีกด้วย
  • มวลกระดูกเริ่มบางลง หลายท่านอาจคิดว่า มวลกระดูกลดลงจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ผู้หญิงที่อายุเข้า 30 ปี มวลกระดูกก็ลดลงได้เช่นกัน เพราะการสะสมแคลเซียมในกระดูกจะเริ่มลดลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งเข้าสู่วัยทอง หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ดูแล ไม่รับประทานอาหารที่เสริมความแข็งแรงของกระดูกและฟัน อาจเกิดโรคกระดูกพรุนตามมาได้
  • ปัญหาช่องปาก ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสุขภาพยังไม่จบลงเท่านี้ เพราะปัญหาช่องปากก็เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้กับผู้หญิงอายุ 30 ปี เพราะร่างกายจะผลิตน้ำลายได้น้อยลง เคลือบฟันบางลง อีกทั้งฟันเริ่มห่างขึ้น ทำให้เศษอาหารไปติดตามซอกฟันได้ง่ายยิ่งกว่าเดิม ส่งผลให้ฟันผุง่าย เกิดปัญหาโรคเหงือกตามมา หากไม่รักษาอย่างถูกวิธี อาจสูญเสียฟันก่อนวัยอันควรได้
  • ความอ่อนเยาว์ของใบหน้าลดลง สิ่งที่ผู้หญิงวัย 30 ปี ต้องประสบพบเจอคือ รอยเหี่ยวย่นบนใบหน้า เมื่ออายุมากขึ้นริ้วรอยจะยิ่งชัดขึ้น เริ่มจากหน้าผาก รอบดวงตา มุมปาก สารพัดจุดทั่วใบหน้า รวมถึงความหมองคล้ำที่เกิดจากฝุ่นละอองและมลภาวะ หากคุณผู้หญิงท่านใดไม่นิยมใช้สกินแคร์ หรือทาครีมกันแดดเป็นประจำทุกครั้งก่อนออกแดด ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดริ้วรอยและตีนกามากขึ้นไปอีก

วิธีรับมือปัญหาสุขภาพของผู้หญิงวัย 30 +

แม้ระดับของฮอร์โมนจะเริ่มลดลง มีการเปลี่ยนแปลงทำให้กลไกในร่างกายที่เริ่มเสื่อมลง แต่ก็เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้น อีกปัจจัยหนึ่งขึ้นอยู่กับการดูแลสุขภาพของตัวเราเอง ที่จะเป็นตัวเร่ง หรือกระตุ้นให้เราป่วย หรือแก่เร็วขึ้น ฉะนั้นเราควรดูแลสุขภาพตัวเองให้มากขึ้น ดังนี้

  • พักผ่อนให้เพียงพอ นอนให้เต็มอิ่ม อย่างน้อยวันละ 7 – 8 ชั่วโมง และนอนก่อน 4 ทุ่มจะดีที่สุด (ควรงดน้ำตาลช่วงก่อนนอน) เพราะการนอนหลับที่ดีจะทำให้ฮอร์โมนมีประสิทธิภาพตรงตามเวลาในการทำงานของร่างกาย ช่วยซ่อมแซมร่างกาย และงดอาการหิวดึก
  • ปรับเปลี่ยนเรื่องรับประทานอาหาร ลดการทานอาหารตามสั่ง จานด่วน อาหารฟาสต์ฟู้ด อาหารสำเร็จรูป อาหารแช่แข็ง เพราะอุดมไปด้วยไขมันร้าย โลหะหนัก ทำให้ร่างกายสะสมสารพิษ จุลินทรีย์ที่ไม่ดี
  • หลีกเลี่ยงสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะเป็นการไปเร่งให้ร่างกายเสื่อมเร็วขึ้น เกิดความเสี่ยงหลอดเลือดหัวใจ
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และครบทุกมื้อ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารแบบครบถ้วน ทั้งวิตามิน เกลือแร่ โปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต คือแหล่งพลังงานสำคัญต่อกลไกในร่างกาย เช่น ระบบย่อยอาหาร ต่อมไทรอยด์ ระบบประสาทและสทอง เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การทำงานของประจำเดือน
  • รับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น เพราะผักผลไม้มีวิตามินและเกลือแร่ ช่วยกระตุ้นการขับถ่าย ช่วยปรับสมดุลเอนไซม์และฮอร์โมนในร่างกาย ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเสริมภูมิต้านทานให้ร่างกายแข็งแรง
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด และอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม รวมถึงอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ด อาหารสำเร็จรูป อาหารแปรรูป อาหารแช่แข็ง เนื่องจากมีโซเดียมและไขมันสูง ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา
  • รับประทานอาหารที่มีไขมันดี ที่อุดมไปด้วยไขมัน HDL จาก ปลาทะเล แซลมอน อะโวคาโด น้ำมันมะกอก ธัญพืช ขนมปังโฮลวีต นอกจากนี้ยังช่วยลดระดับไขมันร้าย LDL และคอเลสเตอรอล ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรคหลอดเลือด โรคหัวใจ โรคความดันอ้วนง่าย มีพุง น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
  • ลดขนม ชา กาแฟ ที่เป็นแหล่งสะสมของน้ำตาล ไขมันสูง แถมยังเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง ส่งผลต่อน้ำหนักและกลไกในร่างกายทำงานได้ยาก อักเสบง่าย
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ 3 – 4 วันต่อสัปดาห์ วันละ 30 – 60 นาที อาจเลือกออกกำลังกายแบบเบา ๆ เช่น คาร์ดิโอ เดินเร็วต่อเนื่องว ปั่นจักรยาน ช่วยให้สัดส่วนในร่างกายเผาผลาญได้ดี กระชับสัดส่วน ลดความระดับความเครียดในร่างกาย ช่วยปรับการผลิตฮอร์โมน และยังทำให้หัวใจแข็งแรง
  • หลีกเลี่ยงตนเองจากภาวะเครียดสะสม หรือควบคุมความเครียด อย่าวิตกกังวลจนมากเกินไป อาจหลีกเลี่ยงการทำงานหนักต่อเนื่อง หรือทำกิจกรรมที่ทำให้เกิดความเครียด หรือทำกิจกรรมที่ส่งผลต่ออารมณ์ในช่วงเวลาก่อนนอน เช่น การดูซีรีส์สืบสวน เพราะส่งผลต่อการหลั่งของฮอร์โมนเครียด (Cortisol) การทำงานของความดันโลหิตสูง หลอดเลือดแดงแข็งตัวและตีบแคบลง และหัวใจทำงานหนักขึ้น พยายามหาวันหยุดเพื่อพักผ่อน และให้สมองได้หยุดพักบ้าง
  • อายุมากขึ้น ผิวหน้าย่อมมีริ้วรอย เหี่ยวเฉา และหมองคล้ำเป็นเรื่องปกติ แต่เราสามารถเลือกใช้ครีมหรือสกินแคร์ที่เหมาะสม เพื่อให้ผิวหน้าสดใส ดูอ่อนกว่าวัย เช่น ทาครีมกันแดดก่อนออกแดดเสมอ เลือกใช้สกินแคร์ที่เหมาะกับสภาพผิว หรือใช้วิตามินซี เพื่อลดเลือนจุดด่างดำ ปรับผิวให้กระจ่างใส เป็นต้น
  • ตรวจเช็กร่างกาย เป็นประจำทุกปี เพื่อตรวจดูสมดุลฮอร์โมน ระดับน้ำตาลในเลือด สุขภาพของเพศหญิง
30+ตรวจเช็กร่างกาย เป็นประจำทุกปี

ผู้หญิงวัย 30 + ควรตรวจสุขภาพอะไรบ้าง?

ผู้หญิงเข้าสู่วัย 30 ปี ร่างกายย่อมเกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ การตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีเพื่อตรวจเช็กร่างกายจึงเป็นสิ่งสำคัญ นอกจากจะได้เช็กสมดุลฮอร์โมน ระดับน้ำตาลในเลือด และสุขภาพของเพศหญิงแล้ว ยังช่วยคัดกรองและประเมินความเสี่ยงโรคต่าง ๆ เพื่อเพิ่มโอกาสในการรักษากรณีตรวจพบโรคร้ายแรง เพราะสำหรับหลาย ๆ โรค หากตรวจพบได้เร็ว ก็อาจจะสามารถรักษาได้ง่ายกว่า และมีโอกาสหายขาดได้

  • ตรวจเลือด-ตรวจปัสสาวะ เป็นการตรวจสุขภาพมาตรฐาน ทั้งการตรวจ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด เพื่อดูความผิดปกติของค่าต่างๆ ทั้งเป็นข้อบ่งชี้ของอาการของโรคหลาย ๆ โรค ทั้ง ธาลัสซีเมีย ลิวคีเมีย ภาวะดีซ่าน โรคที่เกี่ยวกับตับ โรคที่เกี่ยวกับไต ไขมันในเลือด เบาหวาน ไทรอยด์ รวมถึงโรคติดเชื้อทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อไวรัส
  • การตรวจความผิดปกติของเต้านม หรือการตรวจมะเร็งเต้านม เพื่อหาความผิดปกติในระยะแรกเริ่ม เพราะการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน มีการเกี่ยวข้องกับสารเคมีกันมากขึ้น โดยเฉพาะในอาหารซึ่งมักจะมีฮอร์โมนในปริมาณที่สูง ไม่ว่าจะเป็นสารเร่งการเจริญเติบโตของหมู หรือ ไก่ รวมถึงการใช้ยาในสัตว์ต่างๆ เมื่อได้รับสารเคมี และฮอร์โมนเหล่านี้เข้าไปในร่างกายแล้ว ก็อาจส่งผล ไปกระตุ้นเซลล์ให้เติบโตผิดปกติและกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ สาว ๆ ที่มีอายุ ตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปจึงควร ตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเองเป็นประจำ และอาจใช้การตรวจด้วยเครื่องแมมโมแกรม (Mammogram) หรืออัลตราซาวด์ (Ultrasound) เพื่อหาก้อนเนื้อที่ผิดปกติอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
  • การตรวจมะเร็งปากมดลูก หรือ HPV โดยส่วนใหญ่ไวรัสนี้จะติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ดังนั้น สาว ๆ ทุกคนที่เคยมีเพศสัมพันธ์ต่างก็มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคทุกคน ทุกวันนี้พบว่าโรคนี้ เกิดขึ้นในกลุ่มสาวๆ ที่มีอายุเฉลี่ยต่ำลงกว่าเดิม เนื่องจากมีเพศสัมพันธ์เร็วขึ้น การตรวจมะเร็งปากมดลูกระยะแรกเริ่ม สามารถทำได้โดย วิธีแปปสเมียร์ (Pap Smear) หรือ ตรวจด้วยวิธีอื่นๆ เพื่อหาการติดเชื้อไวรัส HPV สำหรับข้อแนะนำสำหรับสาว ๆ นอกเหนือจากการตรวจแล้ว แนะนำว่าควรป้องกันมะเร็งปากมดลูกด้วยการฉีดวัคซีนด้วย
  • การตรวจวัดความหนาแน่นกระดูก เนื่องจาก 20% ของสาว ๆ ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป มักจะมีอาการกระดูกพรุน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดกระดูกหักได้ง่าย ก็เพราะโดยทั่วไปแล้ว เมื่อสาว ๆ ถึงวัยหมดประจำเดือน ร่างกายจะไม่มีการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen Hormone) ซึ่งเป็นตัวควบคุมการดูดซึมแคลเซียม (Calcium) เข้าสู่ร่างกาย ประกอบกับธรรมชาติที่มวลกระดูกของผู้หญิงจะน้อยกว่าผู้ชาย จึงทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุนได้ง่ายยิ่งขึ้น ทำให้สาว ๆ ในวัยหมดประจำเดือนหรือวัยทองจึงมักจะมีปัญหาสุขภาพกระดูก และข้อมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะโรคกระดูกพรุน และกระดูกบาง สาวๆ จึงควรตรวจวัดความหนาแน่นกระดูกอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
  • การตรวจหัวใจและหลอดเลือด โรคเกี่ยวกับหัวใจ และหลอดเลือดเป็น 1 ใน 3 ของสาเหตุการเสียชีวิตที่สูงที่สุด โดยเฉพาะเป็นโรคที่ไม่มีอาการเบื้องต้นเป็นข้อบ่งชี้ มีสาเหตุสำคัญของการเกิดโรค ได้แก่ คอเลสเตอรอลสูง เป็นโรคเบาหวานเรื้อรัง ความอ้วน ความเครียด การไม่ออกกำลังกาย รวมถึงการสูบบุหรี่อีกด้วย การตรวจหัวใจ และหลอดเลือดจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลยอีกเรื่องหนึ่งเลยทีเดียว

ตรวจสุขภาพประจำปี สำหรับผู้หญิง ที่ภูเก็ตตรวจได้ที่ไหน?

ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก ให้บริการที่ใกล้ชิด ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมทั้งทีมงานที่มีความชำนาญ พร้อมให้คำปรึกษาและ การรักษา โดยคุณสามารถเข้ารับบริการได้ทั้ง walk-in หรือนัดหมายล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับบริการ
จองคิวออนไลน์ https://phuketmedicalclinic.youcanbook.me
เวลาทำการ 🕙 10:00-18:00 น. ทุกวัน
เบอร์ติดต่อ ☎️ 096-696-2449
Line id : @pmcphuket (มี @ ด้วยนะครับ) หรือ https://lin.ee/R1TKRDo
แผนที่ 📌https://goo.gl/maps/xu45eTQUTjgpukJa7
Website 🌐https://phuketmedicalclinic.com
ปรึกษาแพทย์หรือสอบถามเพิ่มเติมได้เลยนะครับ
Inbox : m.me/100483916443107
สุขภาพคุณให้เราดูแล#คลินิกภูเก็ต
Phuket #Clinic #ภูเก็ตเมดิคอลคลินิก