ฮอร์โมน เป็นสารเคมีสำคัญในร่างกายที่มีอยู่ในร่างกายของทุกคน ทุกเพศและทุกวัย สร้างจากต่อมไร้ท่อต่างๆ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการควบคุมการทำงานของเซลล์ในร่างกาย เราทุกคนก็ล้วนมีฮอร์โมนหลากหลายชนิด สามารถจำแนกได้หลายกลุ่ม และประเภทตามหน้าที่การทำงานของฮอร์โมนชนิดนั้นๆ แต่เมื่ออายุมากขึ้นปริมาณฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกายก็จะพร่องลงไป ส่งผลให้ฮอร์โมนทำงานไม่ปกติไม่ว่าจะมากไปหรือน้อยไปก็จะทำให้เกิดภาวะผิดปกติต่างๆได้  และเพิ่มโอกาสในการเกิดโรคภัยต่างๆ ได้ 

การตรวจวัดระดับฮอร์โมนในร่างกายจึงถือเป็นสิ่งที่สามารถช่วยให้เราทราบได้ว่า ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเรานั้น เกิดมาจากการพร่องลงของฮอร์โมนตัวใด และนำไปสู่การวิเคราะห์เพื่อวางแผนการรักษาและดูแลสุขภาพของเราให้ดีขึ้นได้นั่นเอง

ฮอร์โมน คืออะไร?

ฮอร์โมน (Hormone) คือ สารเคมีที่ร่างกายผลิตขึ้นมาจากต่อมไร้ท่อ (endocrine glands)  หรือเนื้อเยื่อ และลำเลียงไปตามกระแสเลือดไปยังเซลล์และอวัยวะต่างๆ ช่วยในการสื่อสารระหว่างเซลล์ ทำหน้าที่ร่วมกับอวัยวะต่างๆ และควบคุมระบบของร่างกายให้ทำงานได้อย่างปกติ  โดยฮอร์โมนจะหลั่งออกมาจากต่อมไร้ท่อ แล้วซึมเข้าสู่เส้นเลือด อาศัยระบบไหลเวียนโลหิต ส่งต่อไปยังเซลล์และอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เพื่อทำให้ร่างกายทำงานได้ปกติ

หน้าที่ และความสำคัญของฮอร์โมน

หน้าที่หลักๆ  ของฮอร์โมนทำหน้าที่เป็นตัวส่งสารเคมีระหว่างเซลล์กลุ่มหนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่ในการกระตุ้นการเจริญเติบโต ควบคุมระบบภูมิคุ้มกัน และกระบวนการต่างๆของร่างกายในแต่ละช่วงเวลาและอายุ และควบคุมกระบวนการ Metabolism ต่างๆ ในร่างกาย ดังนี้

  • ควบคุมการเจริญเติบโตและพัฒนา ฮอร์โมนมีบทบาทในการส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาของเนื้อเยื่อ อวัยวะ และระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น การเจริญเติบโตของเซลล์กล้ามเนื้อ การพัฒนาของกระดูกและเนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้อง
  • ควบคุมการทำงานของร่างกาย ฮอร์โมนมีบทบาทในการควบคุมและปรับปรุงฟังก์ชันต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การควบคุมความดันโลหิต การควบคุมระบบภูมิคุ้มกัน และการควบคุมกระบวนการทางเพศ
  • ส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ ฮอร์โมนทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ ทำให้เซลล์ในร่างกายสื่อสารและปรับพันธุกรรมต่าง ๆ ในการทำงาน
ฮอร์โมน คืออะไร และสำคัญต่อร่างกายอย่างไร

ฮอร์โมน ในร่างกายมีกี่ประเภท

  • เพปไทด์ฮอร์โมน (Peptide Hormone) เช่น อินซูลิน (Insulin) หรือ ฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโต (Growth Hormone)
  • สเตียรอยด์ฮอร์โมน (Steroid Hormone) ฮอร์โมนเพศ เช่น เทสโตสเตอโรน (Testosterone) หรือ คอร์ติโซน (Cortisol)
  • อะมีนฮอร์โมน (Amine Hormone) เช่น อะดรีนาลีน (Adrenaline) โดพามีน (Dopamine) หรือ เมลาโทนิน (Melatonin)

ชนิดของฮอร์โมนที่สำคัญกับระบบร่างกายของเรา

  • เอ็นโดรฟิน ช่วยเรื่องความสุข ความพึงพอใจ
  • โดพามีน เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจ ความจำและการเรียนรู้ต่างๆ
  • เซโรโทนิน ช่วยต้านความเครียด ต้านทานความหงุดหงิด ไม่มีสมาธิ นอนไม่หลับ
  • โกรทฮอร์โมน ช่วยกระตุ้นการพัฒนาเซลล์ในเด็กให้เจริญเติบโต และฟื้นฟูเซลล์ในผู้ใหญ่
  • เอสโทรเจน ควบคุมในด้านอารมณ์ต่างๆและความจำรวมไปถึงมวลกระดูกในผู้หญิง
  • เทสโทสเทอโรน ควบคุมเรื่องมลกระดูกและกล้ามเนื้อต่างๆ
  • ไทรอยด์ ควบคุมการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย ระดับไขมันในเลือด
  • คอร์ติซอล ชะลอความเสื่อมของเซลล์ กระตุ้นร่างกายให้กระตือรือร้น
  • เมลาโทนิน ช่วยในเรื่องการพักผ่อนและนอนหลับ

ต่อมไร้ท่อที่สร้างฮอร์โมน มีอะไรบ้าง ?

  • ต่อมใต้สมอง (Pituitary) เป็นศูนย์บัญชาการใหญ่ของร่างกาย มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนที่ควบคุมการทำงานของต่อมธัยรอยด์, ต่อมหมวกไต และระบบสืบพันธุ์, ควบคุมการตกไข่ และการสร้างเซลล์อสุจิ (สเปอร์ม) นอกจากนี้ยังสร้างฮอร์โมนเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของร่างกาย ควบคุมระดับน้ำในร่างกาย และ การบีบตัวของมดลูกในเพศหญิงขณะคลอดด้วย
  • ต่อมหมวกไต (Adrenal) อยู่ที่ขั้วบนของไต มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนเพศ และการเผาไหม้ของร่างกาย เพื่อให้เกิดพลังงาน และความกล้าเมื่อตกใจสุดขีด ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของต่อมใต้สมองด้วย ,
  • ต่อมไทรอยด์ (Thyroid) สร้างฮอร์โมน มีหน้าที่ควบคุมการเผาไหม้ของอาหารและรักษาระดับอุณหภูมิของร่างกาย
    • ต่อมใต้สมอง
    • ต่อมหมวกไต
    • ต่อมธัยรอยด์
    • ต่อมพาราธัยรอยด์
    • ตับอ่อน
    • รังไข่
    • อัณฑะ
  • ต่อมพาราธัยรอยด์ (Parathyroid) อยู่ใต้ต่อมธัยรอยด์ มีหน้าที่ควบคุมระดับหินปูนหรือแคลเซียม (Calcium) และฟอสฟอรัสของร่างกาย
  • ต่อมภายในตับอ่อน (Islet of Langerhan) สร้างฮอร์โมนที่เรียกว่า อินซูลิน (Insulin) ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลของร่างกาย ถ้าขาดฮอร์โมนชนิดนี้ จะทำให้เป็นโรคเบาหวาน
  • รังไข่(Ovaries) ในเพศหญิง และ อัณฑะ (Test is) ในเพศชาย มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนเพศ ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของต่อมใต้สมองอีกทอดหนึ่ง ถ้าขาดความพอดี ก็กลายเป็นโรค

การเข้าใจเกี่ยวกับฮอร์โมน และบทบาทของฮอร์โมนในร่างกายมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยในการรักษาสุขภาพที่ดีและควบคุมฟังก์ชันต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อให้ร่างกายทำงานได้อย่างเป็นปกติและสมดุล นอกจากนี้ยังเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการวางแผนการดูแลสุขภาพในทุกๆ เด็กหรือผู้ใหญ่ที่ต้องการรักษาสุขภาพที่ดีในระยะยาว

ตรวจระดับฮอร์โมน ที่ภูเก็ตตรวจได้ที่ไหน?

ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก ให้บริการที่ใกล้ชิด ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมทั้งทีมงานที่มีความชำนาญ พร้อมให้คำปรึกษาและ การรักษา โดยคุณสามารถเข้ารับบริการได้ทั้ง walk-in หรือนัดหมายล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับบริการ
จองคิวออนไลน์ https://phuketmedicalclinic.youcanbook.me
เวลาทำการ 🕙 10:00-18:00 น. ทุกวัน
เบอร์ติดต่อ ☎️ 096-696-2449
Line id : @pmcphuket (มี @ ด้วยนะครับ) หรือ https://lin.ee/R1TKRDo
แผนที่ 📌https://goo.gl/maps/xu45eTQUTjgpukJa7
Website 🌐https://phuketmedicalclinic.com
ปรึกษาแพทย์หรือสอบถามเพิ่มเติมได้เลยนะครับ
Inbox : m.me/100483916443107
สุขภาพคุณให้เราดูแล#คลินิกภูเก็ต
Phuket #Clinic #ภูเก็ตเมดิคอลคลินิก