เด็กทุกคนต้องได้รับการฉีดวัคซีนอย่างครบถ้วน เพราะเด็กเป็นวัยที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอ และเสี่ยงต่อการเกิดอาการแทรกซ้อนมากกว่าวัยผู้ใหญ่ จึงต้องได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคต่าง ๆ โดยวัคซีนที่ต้องได้รับตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์ คือ วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน และบาดทะยัก ซึ่งเป็นโรคที่พบได้มากในเด็กเล็ก และหากไม่ได้รับวัคซีนอาจเกิดผลแทรกซ้อนที่อันตรายต่อชีวิตได้   ซึ่งหลังจากรับวัคซีนในวัยเด็กจนครบแล้ว  การรับวัคซีนเพิ่มเติมเมื่อเป็นผู้ใหญ่ก็มีความจำเป็นและสำคัญไม่น้อย โดยเฉพาะวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก

Table of Contents

โรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก คืออะไร?

  • โรคคอตีบ (Diphtheria) เป็นโรคติดต่อจากเชื้อแบคทีเรีย มักแสดงอาการหลังจากได้รับเชื้อ 2-5 วัน ส่งผลรุนแรงต่อลำคอและเยื่อบุจมูก ต่อมน้ำเหลืองในคอบวม มีไข้สูง ปวดศีรษะ ครั่นเนื้อครั่นตัว เจ็บคอ กลืนอาหารลำบาก คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย และหายใจหอบ เหนื่อย ถ้ามีอาการอักเสบของกล่องเสียง จะมีอาการไอ เสียงแหบ บางรายหากอาการรุนแรงอาจมีอาการหายใจลำบากและเสียชีวิต ติดต่อกันได้ง่ายผ่านสารคัดหลั่ง หรือละอองฝอยที่อยู่ในน้ำลาย เสมหะ น้ำมูก หรือพาหะของผู้ป่วยโรคคอตีบ
  • โรคบาดทะยัก (Tetanus) เป็นโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียที่ชื่อว่าบาดทะยัก ซึ่งถือว่ามีความรุนแรงและก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดต่อผู้ป่วย ที่ส่งผลต่อระบบประสาททำให้กล้ามเนื้อบริเวณกรามและคอมีอาการกระตุก เมื่อสารพิษเข้าสู่ระบบประสาทจะใช้เวลาหลายเดือนในการฟื้นตัวจากการติดเชื้อบาดทะยัก ซึ่งอาการโรคบาดทะยัก ได้แก่ เริ่มแรกจะมีอาการปวดและเกร็งกล้ามเนื้อเป็นระยะ ภาวะกรามติด กล้ามเนื้อคอแข็ง ปัญหาการกลืน กล้ามเนื้อท้องแข็ง การเกร็งของกล้ามเนื้อในร่างกายที่สร้างความเจ็บปวดและกินเวลาหลายนาที โดยเฉพาะการเกร็งของกล้ามเนื้อช่วยหายใจ จะทำให้หายใจลำบากและสียชีวิตได้ การกระตุกของกล้ามเนื้อจะถูกกระตุ้นด้วยการกระตุก เสียงดัง การสัมผัส หรือแสงจ้า เหงื่อออก ความดันโลหิตสูง และหัวใจเต้นเร็ว  และหากไม่ได้รับการรักษาหรือรักษาไม่ถูกวิธี ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะภาวะปอดติดเชื้อรุนแรง
  • โรคไอกรน (Pertussis) เป็นโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจจากแบคทีเรีย ที่เรียกว่า เชื้อไอกรน  อาการช่วงแรกคล้ายไข้หวัด มีไข้ต่ำ ๆ จาม มีน้ำมูก จากนั้นจะพบอาการไออย่างรุนแรงต่อเนื่อง จนผู้ป่วยรู้สึกเหนื่อยและเพลียมาก อาจพบหลอดเลือดดำที่คอโป่งพองจนมองเห็นได้ชัด หรือมีเส้นเลือดในตาขาวแตกหรือปัสสาวะเล็ดได้ สำหรับผู้ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนหรือได้รับไม่ครบตามกำหนด อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนถึงชีวิตได้

การรักษาโรคที่ดีที่สุดคือการป้องกันไม่ให้เกิดโรค วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน และบาดทะยัก ทํามาจากเชื้อและพิษของเชื้อที่ผ่านกระบวนการทําให้หมดความสามารถในการเกิดโรคและไม่มีเชื้อโรคที่มีชีวิตผสมอยู่ จึงมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันโรค หากได้รับครบถ้วนตามกําหนด วัคซีนคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก

ทั้งนี้ หากไม่ได้รับวัคซีนคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก อาจเข้าข่ายกลุ่มเสี่ยงเป็นโรคอันตราย หรือมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิต ดังนั้นจึงไม่ควรละเลยการป้องกันโรคด้วยการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีนตั้งแต่เด็ก และรับวัคซีนเพื่อกระตุ้นซ้ำเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่

วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก

วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก คืออะไร?

วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน เป็นวัคซีนเชื้อตาย ที่ประกอบไปด้วยแอนติเจนของเชื้อไอกรน และ ท็อกซอยด์ของเชื้อคอตีบและบาดทะยัก ในประเทศไทยมีวัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน อยู่ด้วยกัน 2 ชนิดหลักๆ ซึ่งมีส่วนประกอบ สูตร และส่วนผสมที่แตกต่างกันสำหรับใช้ในกลุ่มอายุต่างๆ:

  1. วัคซีน DTaP หรือ DTwP วัคซีนนี้ใช้สำหรับทารกและเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ของชื่อย่อวัคซีนนี้บ่งบอกว่าปริมาณแอนติเจนของเชื้อไอกรน และท็อกซอยด์ของเชื้อคอตีบและบาดทะยัก ในวัคซีนนั้นมีปริมาณสูง
  2. วัคซีน Tdap วัคซีนนี้ใช้สำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 4 ปีขึ้นไป จนถึงผู้ใหญ่ ตัวอักษรพิมพ์เล็กภาษาอังกฤษ “d” และ “p” บ่งบอกถึงการลดปริมาณท็อกซอยด์ของเชื้อคอตีบและแอนติเจนของเชื้อไอกรนในวัคซีน เพื่อลดอาการข้างเคียงของวัคซีนที่อาจเกิดขึ้น

สำหรับตัวอักษร “a” ในวัคซีน DTaP และ Tdap หมายถึง “ไร้เซลล์ (Acellular)” คือ การนำเฉพาะบางส่วนของเชื้อไอกรนมาผลิตวัคซีน แทนการใช้เชื้อทั้งไอกรนทั้งเซลล์ (Whole cell) ซึ่งช่วยลดการเกิดอาการข้างเคียงได้

นอกจากนี้ยังมีวัคซีน Td ซึ่งสามารถให้ได้ในเด็กอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป จนถึงผู้ใหญ่ วัคซีนนี้ป้องกันเฉพาะโรคคอตีบ และบาดทะยักเท่านั้น เหมาะสำหรับผู้ที่มีข้อห้ามในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไอกรน

ปัจจุบันมีวัคซีนที่ช้ในการป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน แบ่งเป็น 6 รูปแบบ ดังนี้

วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักชนิดเดียว (TT)

ในอดีตใช้ในผู้ใหญ่ที่มีบาดแผล ปัจจุบันแนะนำให้ใช้วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ และบาดทะยัก (dT) แทน เพื่อให้มีภูมิคุ้มกันทั้ง 2 โรค

วัคซีนป้องกันโรคคอตีบและบาดทะยัก (dT)

ใช้ในเด็กโตและผู้ใหญ่ที่มีบาดแผล รวมไปถึงในหญิงตั้งครรภ์ เป็นวัคซีนที่จำเป็นต้องฉีดในเด็กทุกคนตั้งแต่ 7 ปี ขึ้นไป โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ชุดแรก 3 ครั้ง มีระยะห่าง 0, 1 และ 6 เดือน หลังจากนั้นให้ฉีดกระตุ้นซ้ำทุก 10 ปี นอกจากนี้ผู้ที่มีบาดแผลสกปรกที่อาจปนเปื้อนเชื้อบาดทะยัก รวมถึงคุณแม่ตั้งครรภ์ ควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก-คอตีบเช่นกัน ยกเว้นว่าเคยได้รับครบถ้วนมาก่อนแล้ว

วัคซีนป้องกันโรคไอกรนชนิดไร้เซลล์ (aP)

สำหรับหญิงตั้งครรภ์ พื่อส่งภูมิต้นทานไปสู่ทารกแรกเกิดหรือผู้ที่ต้องการกระตุ้นภูมิต่อไอกรนอย่างเดียว

วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรนชนิดทั้งเซลล์ (DTWP)

เด็กทุกคนควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ด้วยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อบริเวณต้นขาด้านหน้าทั้งสิ้น 5 ครั้ง ตั้งแต่อายุ 2, 4, 6, 18 เดือน และ ครั้งที่ 5 เมื่ออายุประมาณ 4 -6 ปี นอกจากนี้ยังมีวัคซีนชนิดรวมกับวัคซีนป้องกันตับอักเสบบี โปลิโอ และฮิบในเข็มเดียวกัน อย่างไรก็ตามวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ชนิดทั้งเซลล์ ไม่เหมาะสำหรับเด็กที่อายุมากกว่า 7 ปีและผู้ใหญ่ แต่ควรแทนด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก (ไม่มีไอกรน)

โดยขณนี้ในประทศไทย มีวัคซีนขนิดนี้รวมกับว้คนป้องกันรคตับอักเสบบี และยื่อหุ้มสมองอักเสบฮิบด้วย (DTwP-HB-Hib) สำหรับเด็กอายุ 2,4,6 เดือน

วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะบัก ไอกรนชนิดไร้เซลล์ (DTaP)

วัคซีนรวมโรคสำหรับเด็กอายุน้อยกว่า 7 ปี โดยใช้ในกรณีที่หากใช้วัคซีนไอกรนชนิดทั้งเซลล์แล้วเกิดไข้สูง ชัก หรือกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ซึ่งมีแบบรวมกับวัคซีนป้องกัน โรคตับอักเสบบี และเยื่อหุ้มสมองอักเสบฮิบด้วย (DTaP-HB-Hib) เช่นกัน ทําจากพิษของเชื้อคอตีบและบาดทะยักที่ผ่านขั้นตอนทําให้ไม่ก่อโรคในคน มีส่วนประกอบบางส่วนของเชื้อไอกรนที่แยกบริสุทธิ์ โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 5 ครั้ง ตามอายุเช่นเดียวกับชนิดทั้งเซลล์ อีกทั้งยังสามารถใช้ทดแทนกันได้ทุกครั้ง อย่างไรก็ตามผู้ที่เคยได้รับผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนชนิดทั้งเซลล์ เช่น มีไข้สูง ชัก ควรพิจารณาใช้วัคซีนชนิดไร้เซลล์ในการฉีดครั้งต่อไป เนื่องจากวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ชนิดไร้เซลล์มีผลข้างเคียงต่ำกว่า

วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรนชนิดไร้เซลล์สำหรับวัยรุ่นและผู้ใหญ่ (Tdap หรือ TdaP)

สำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่ แนะนำให้ในอายุ 11-12 ปี และสามารถให้ทุก 10 ปื หลังจากเด็กๆ ได้รับวัคซีนครบ 5 เข็ม เมื่ออายุครบ 10 ปี ภูมิคุ้มกันจะเริ่มลดน้อยลง จึงควรฉีดกระตุ้นอีกครั้งตั้งแต่อายุ 10-18 ปี ซึ่งในอดีตวัคซีนที่ใช้ฉีดกระตุ้นมีเพียงวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก (ไม่มีไอกรน) เนื่องจากวัคซีนที่มีไอกรนที่ใช้ในเด็กเล็ก อาจส่งผลกระทบต่อเด็กโตและผู้ใหญ่ได้มาก จึงมีการนําวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยักชนิดไร้เซลล์ชนิดสูตรสําหรับเด็กโตและผู้ใหญ่มาใช้ทดแทน โดยดัดแปลงวัคซีนไอกรนให้มีความบริสุทธิ์และมีปริมาณเชื้อไอกรนลดลง นอกจากนี้ยังสามารถให้พร้อมกับวัคซีนอื่นๆ ได้ในวันเดียวกัน แต่ต้องแยกเข็มฉีด

ใครบ้างควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก

ในประเทศไทย วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน ถือเป็นวัคซีนจำเป็นที่ต้องให้กับเด็กทุกคน โดย 4 เข็มแรกแพทย์จะพิจารณาให้เป็นวัคซีน DTaP หรือ DTwP กับทารกและเด็กเล็กที่มีอายุ 2, 4, 6 และ 18 เดือน จากนั้นในช่วงอายุ 4-6 ปี แพทย์จะพิจารณาให้วัคซีน DTaP, DTwP หรือ Tdap 1 เข็ม สุดท้ายคือในช่วงอายุ 11-12 ปี แพทย์จะพิจารณาให้วัคซีน Tdap หรือ Td 1 เข็ม

อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพในการป้องกันโรคของวัคซีนนี้ไม่ได้ยาวนานตลอดชีวิต มีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพในการป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน นั้นลดลงทุกปีหลังได้รับวัคซีนเข็มที่ 5 ดังนั้น เราทุกคนจึงควรฉีดวัคซีน Tdap หรือ Td เป็นเข็มกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ภูมิคุ้มกันต่อโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน ยังสูงอยู่เสมอ
คำแนะนำในการรับวัคซีน Tdap เป็นเข็มกระตุ้น ได้แก่

  • ผู้ที่มีอายุ 11-18 ปี: ควรได้รับวัคซีน Tdap 1 เข็ม โดยแนะนำให้ฉีดในช่วงอายุ 11-12 ปี (เด็กที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน DTaP ให้ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 7 ปี) สำหรับเด็กและวัยรุ่นที่ฉีด DTaP ไม่ครบทุกเข็มตอนอายุ 7 ปีควรฉีดวัคซีนที่มีส่วนผสมของ Td (วัคซีนรวมบาดทะยัก คอตีบ) และ Tdap ให้ครบทุกเข็ม
  • ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 19 – 64 ปี : ผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน มาก่อน หรือผู้ที่มีโอกาสใกล้ชิดกับเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 12 เดือน ควรได้รับวัคซีน Tdap 1 เข็ม หลังจากนั้นฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก คอตีบ ไอกรน (Tdap) หรือ วัคซีนป้องกันบาดทะยัก คอตีบ (Td) ทุก 10 ปี
  • ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป อาจฉีด Tdap กระตุ้นเพียง 1 เข็ม
  • ผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุที่ไม่เคยฉีดวัคซีนมาก่อน ควรฉีดวัคซีนที่มีส่วนประกอบของคอตีบและบาดทะยัก อย่างน้อย 3 เข็ม โดย
    • เข็มที่ 1 เริ่มได้เลย
    • เข็มที่ 2 ห่างจากเข็ม 1 อย่างน้อย 1 เดือน
    • เข็มที่ 3 ห่างจากเข็ม 2 อย่างน้อย 6 เดือน
  • หญิงตั้งครรภ์: หญิงตั้งครรภ์ทุกรายควรได้รับวัคซีน Tdap 1 เข็ม ในช่วงอายุครรภ์ 27-36 สัปดาห์ แต่หากมีความจำเป็น หญิงตั้งครรภ์สามารถรับวัคซีนนี้ได้ตลอดระยะเวลาของการตั้งครรภ์ ซึ่งการฉีดวัคซีน Tdap ให้มารดา จะช่วยให้เกิดการส่งผ่านภูมิคุ้มกันไปสู่ทารกก่อนคลอดได้

ทั้งนี้แนะนำให้ฉีดเข็มแรกเป็นวัคซีนโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน (Tdap) เข็มที่ 2 และ เข็มที่ 3 อาจฉีดเป็น คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน (Tdap) หรือ คอตีบและบาดทะยัก (Td) ก็ได้

หลังจากได้รับวัคซีน Tdap 1 เข็ม เป็นเข็มกระตุ้นแล้ว เราทุกคนควรได้รับวัคซีน Tdap หรือ Td 1 เข็ม ทุกๆ 10 ปี หรือ 5 ปี ในกรณีที่บาดแผลนั้นมีความรุนแรง ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อบาดทะยัก โดยวัคซีน Tdap นั้นสามารถฉีดได้ในทุกช่วงเวลาของปี อีกทั้งยังฉีดพร้อมกับวัคซีนชนิดอื่นได้ด้วย

ใครบ้างไม่ควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก

  • ผู้ที่เคยมีอาการแพ้อย่างรุนแรง
  • ผู้ที่เคยมีความผิดปกติทางสมอง เช่น โคม่า ระดับความรู้สึกตัวลดลง ชักเป็นเวลานาน โดยไม่ทราบสาเหตุ ภายใน 7 วัน หลังได้รับวัคซีนเข็มก่อน
  • ผู้ที่มีไข้ หรือป่วยเฉียบพลัน ควรเลื่อนการรับวัคซีนออกไปก่อน รอให้หายป่วยจึงค่อยมารับวัคซีน
  • กรณีเป็นหวัดเล็กน้อย แต่ไม่มีไข้ สามารถรับวัคซีนได้

ผลข้างเคียงของวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก

เนื่องจากวัคซีนผลิตจากเชื้อที่นำมาผ่านกระบวนการ มีความปลอดภัยสูง แต่บางกรณีอาจส่งผลกระทบข้างเคียงขึ้นได้ เช่น ปวด แดง หรือบวมบริเวณแขนข้างที่ฉีด ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ อาการมักไม่รุนแรง สามารถหายเองภายใน 2-3 วัน การดูแลอาการข้างเคียง เช่น ใช้ผ้าเย็นประคบหากเกิดอาการปวด บวมบริเวณที่ฉีด รวมถึงรับประทานยาลดไข้ในขนาดที่เหมาะสม  วัคซีนนี้มีโอกาสที่จะทำให้เกิดอาการแพ้ หรืออาการข้างเคียงที่รุนแรง เช่นเดียวกับยาหรือวัคซีนชนิดอื่นๆ หากพบว่ามีภาวะข้างเคียงที่รุนแรง ควรรีบพบแพทย์ทันที

ฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยักที่ภูเก็ตได้ที่ไหน?

ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก ให้บริการที่ใกล้ชิด ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมทั้งทีมงานที่มีความชำนาญ พร้อมให้คำปรึกษาและ การรักษา โดยคุณสามารถเข้ารับบริการได้ทั้ง walk-in หรือนัดหมายล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับบริการ
จองคิวออนไลน์ https://phuketmedicalclinic.youcanbook.me
เวลาทำการ 🕙 10:00-18:00 น. ทุกวัน
เบอร์ติดต่อ ☎️ 096-696-2449
Line id : @pmcphuket (มี @ ด้วยนะครับ) หรือ https://lin.ee/R1TKRDo
แผนที่ 📌https://goo.gl/maps/xu45eTQUTjgpukJa7
Website 🌐https://phuketmedicalclinic.com
ปรึกษาแพทย์หรือสอบถามเพิ่มเติมได้เลยนะครับ
Inbox : m.me/100483916443107
สุขภาพคุณให้เราดูแล#คลินิกภูเก็ต
Phuket #Clinic #ภูเก็ตเมดิคอลคลินิก