ความดันโลหิตต่ำ และความดันโลหิตสูง หลายคนอาจจะมองว่าโรคเหล่านี้เป็นเรื่องไกลตัว แต่ถ้าหากคุณกำลังรู้สึกปวดหัวบ่อยคล้ายโรคไมเกรน ปวดตึงที่ต้นคอ บางครั้งก็หน้ามืด เลือดกำเดาก็ไหล หากมีอาการเหล่านี้ อาจจะความดันโลหิตต่ำ หรือความดันโลหิตสูง ซึ่งเราสามารถเช็กค่าความดันโลหิตได้ ด้วยเครื่องวัดความดัน เพราะความดันโลหิตสูงเป็นอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพ ในขณะเดียวกันความดันโลหิตต่ำก็เป็นภัยร้ายต่อสุขภาพที่เราไม่อาจมองข้ามได้เช่นกัน

ความดันโลหิตต่ำ คืออะไร?

ความดันต่ำ หรือ ความดันโลหิตต่ำ  (Hypotension) ไม่ใช่โรค เพราะลักษณะของอาการไม่ได้พัฒนา และนำไปสู่โรคเรื้อรังอื่น ๆ เป็นเพียงภาวะที่ความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท เกิดได้กับภาวะความดันต่ำทำให้เลือดไหลเวียนช้าลง ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันส่งผลทำให้ไปล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่เพียงพอ

ความดันโลหิตที่เหมาะสมจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน สำหรับตัวบนจะอยู่ที่ 120-129 (mm/Hg) และตัวล่างอยู่ที่ 80-84 (mm/Hg) และมักแสดงอาการออกมาแบบเฉียบพลัน เช่น หน้ามึด เวียนหัว อ่อนเพลีย แต่การวัดค่าความดันได้ต่ำ อาจพบได้ในคนปกติ ทุกเพศ ทุกวัย มักพบในผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ  เช่น ผู้หญิงอายุน้อย รูปร่างผอมได้ และผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคความดันโลหิตต่ำ

ซึ่งโดยทั่วไปแพทย์ไม่จัดความดันโลหิตต่ำเป็นโรค แต่จัดเป็นภาวะ  และภาวะความดันโลหิตต่ำพบเกิดได้ทั้งสองเพศใกล้เคียงกัน และพบได้ในทุกอายุ ตั้งแต่เด็กอ่อนไปจนถึงผู้สูงอายุ ทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุ  และความดันอาจต่ำเพียงความดันซิสโตลิก หรือไดแอสโตลิกตัวใดตัวหนึ่ง หรือต่ำทั้งสองตัวก็ได้

ความดันโลหิตต่ำ

ประเภทของความดันโลหิตต่ำ

  • ความดันโลหิตต่ำจากการลุกขึ้นยืนหรือเปลี่ยนอิริยาบถกะทันหัน (ความดันโลหิตต่ำกะทันหันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงท่าทาง) คือ ความดันโลหิตที่ลดลงทันทีเมื่อยืนขึ้นจากท่านั่งหรือหลังการนอนหลับ อาการแสดงประมาณ 5-10 นาทีหลังการเปลี่ยนอิริยาบถ นำไปสู่อาการวิงเวียนศีรษะ ตาพร่ามัว และเป็นลม
  • ความดันโลหิตต่ำหลังรับประทานอาหาร ความดันโลหิตลดลงอย่างฉับพลันหลังรับประทานอาหารส่วนใหญ่จะมีผลกระทบต่อผู้สูงอายุ การรับประทานอาหารมากเกินไปทำให้เลือดไหลไปยังระบบทางเดินอาหารในปริมาณมากกว่าปกติ ในบางรายอาจมีอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืดและเป็นลมได้
  • ความดันโลหิตต่ำจากความผิดปกติของสมอง ความผิดปกตินี้เป็นสาเหตุให้ความดันโลหิตต่ำลงหลังจากยืนเป็นเวลานาน ส่วนใหญ่จะเกิดในเด็กและผู้ใหญ่ เป็นผลมาจากความผิดพลาดระหว่างหัวใจและสมอง
  • ความดันโลหิตต่ำเนื่องจากความเสียหายของระบบประสาท เป็นโรคที่พบได้น้อย อาการของโรคทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งจะควบคุมการทำงานของระบบที่ควบคุมไม่ได้ เช่น ความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ การหายใจ และการย่อยอาหาร ซึ่งทำให้มีความดันโลหิตสูงมากในขณะที่นอนและต่ำมากเมื่อลุกขึ้นยืน

สาเหตุความดันโลหิตต่ำ

  • ความดันโลหิตต่ำเกิดได้จากหลายสาเหตุ ตั้งแต่พฤติกรรมการใช้ชีวิต การรับประทานยา ไปจนถึงเป็นผลพวงมาจากความผิดปกติของปัญหาสุขภาพอื่นๆ ซึ่งสาเหตุของภาวะความดันโลหิตต่ำที่พบได้บ่อยอาจมาจาก
  • สาเหตุส่วนใหญ่ของภาวะความดันโลหิตต่ำ คือ ภาวะขาดสารอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรตีน วิตามินซี วิตามินบี ทำให้เนื้อเยื่อรอบๆ ผนังหลอดเลือดแดงไม่แข็งแรงและคลายตัวมากเกินไป
  • การสูญเสียโลหิตแบบกะทันหัน เช่นอุบัติเหตุ หรือการสูญเสียโลหิตแบบเรื้อรัง เช่น บาดแผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้ หรือที่ไต
  • ภาวะขาดน้ำ ทำให้เลือดไหลเวียน และกลับเข้าสู่หัวใจได้น้อย ซึ่งส่งผลให้หัวใจเต้นบีบตัวน้อยลง จนเกิดภาวะความดันในเลือดต่ำ  เช่น เหงื่อ ท้องเสีย
  • การไม่ได้ออกกำลังกายเป็นเวลานาน และมีการเปลี่ยนท่านั่ง หรือท่ายืนอย่างกะทันหัน ก้มเงยศีรษะอย่างรวดเร็ว หรือหลังจากนอนนาน ๆ ทำให้ความดันที่จะไปเลี้ยงสมองลดลงอย่างรวดเร็ว
  • ภาวะเลือดจาง ส่งผลให้ความเข้มข้นของเลือดน้อยลง จนนำไปสู่ความดันในหลอดเลือดต่ำ
  • มีการกระตุ้นสมองและวงจรประสาทอัตโนมัติ ทำให้หลอดเลือดและหัวใจทำงานผิดปกติ ความดันจึงต่ำลง เช่น กลัว ตกใจ เจ็บ หรืออากาศร้อนอบอ้าว การอาบน้ำอุณหภูมิอุ่นจัด หรือการหยุดพักทันทีขณะออกกำลังกายอย่างหนัก
  • โรคภูมิแพ้หรือภาวะช็อกจากการติดเชื้อ ส่งผลให้มีการขยายตัวของหลอดเลือดมากเกินปกติ
  • โรคหัวใจ ซึ่งหัวใจบีบตัวผิดปกติ จึงลดแรงดันในหลอดเลือด ส่งผลให้ความดันเลือดต่ำ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ
  • การตั้งครรภ์ เนื่องจากร่างกายต้องเพิ่มเลือดเพื่อหล่อเลี้ยงทารกในครรภ์ การไหลเวียนหรือปริมาณชองเลือดในร่างกายของแม่ลดลง ส่งผลให้เกิดความดันต่ำได้
  • โรคต่อมไร้ท่อ ซึ่งสร้างฮอร์โมนควบคุมการทำงานของหัวใจ หลอดเลือด และเกลือแร่ต่าง ๆ ที่เป็นตัวอุ้มน้ำในหลอดเลือด จึงส่งผลถึงการไหลเวียนของเลือด
  • ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ  ยาลดความดันในเลือดสูง ยากล่อมประสาท หรือยาทางจิตเวชบางชนิด
  • การติดเชื้อรุนแรง
  • ภาวะซึมเศร้า
  • พักผ่อนน้อย
  • อยู่กลางแดดเป็นเวลานานๆ โดยไม่ได้ทานน้ำ
  • ภาวะเสื่อมในโรคทางระบบประสาท เช่น พาร์กินสัน

อาการความดันโลหิตต่ำ

  • วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม ทรงตัวไม่อยู่ เมื่อเปลี่ยนอิริยาบถเร็ว
  • ตาพร่า มองเห็นภาพไม่ชัด มองเห็นภาพซ้อน
  • ใจสั่น ใจเต้นแรง ไม่สม่ำเสมอ
  • อาการมึนงง สับสน
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  • หายใจตื้นและถี่ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก
  • กระหายน้ำ ปัสสาวะน้อย
  • มือเท้าเย็น ตัวเย็น ผิวซีด หนาวสั่น
  • ระบบย่อยอาหารผิดปกติ
การรักษาความดันโลหิตต่ำ

การรักษาความดันโลหิตต่ำ

แพทย์มักรักษาตามสาเหตุที่ทำให้ความดันต่ำ โดยเน้นรักษาผู้ป่วยให้สามารถควบคุมความดันโลหิตให้กลับมาสู่ภาวะปกติและบรรเทาอาการอื่นๆ ที่เกิดขึ้น ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำระดับไม่รุนแรง และมีสุขภาพแข็งแรงสามารถควบคุมภาวะความดันโลหิตต่ำได้ด้วยการปฏิบัติตนตามคำแนะนำทั่วไป ดังนี้ 

  • การให้น้ำเกลือ (intravenous fluids) ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำจากภาวะการขาดน้ำและเกลือแร่ สูญเสียเลือด หรือเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด อาจได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำเพื่อช่วยเพิ่มความดันโลหิตให้สูงขึ้น
  • หากแพทย์สงสัยว่าภาวะความดันโลหิตต่ำมาจากความผิดปกติ หรือโรคประจำตัว ผู้ป่วยอาจต้องมีการตรวจด้านอื่นเพิ่มเติมและการรักษาเฉพาะโรคนั้นๆ เช่น ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำจากฮอร์โมนผิดปกติ   แพทย์อาจส่งตัวผู้ป่วยให้ผู้เชี่ยวชาญ หรือนักวิทยาต่อมไร้ท่อ ซึ่งผู้ป่วยอาจได้รับการรักษาด้วยยาทดแทนฮอร์โมน ใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาการติดเชื้อ หรือใช้ยารักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน เป็นต้นอาจต้องได้รับการตรวจจากผู้เชี่ยวชาญด้านฮอร์โมนโดยเฉพาะและรักษาด้วยการให้ฮอร์โมนทดแทน
  • การรักษาด้วยยา หากการรักษาด้วยการปรับพฤติกรรมตามคำแนะนำและการให้สารน้ำทางเส้นเลือดไม่สามารถบรรเทาอาการ แพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยว่าควรใช้ยาในกลุ่มใดที่เหมาะกับผู้ป่วยตามสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ ซึ่งสามารถรักษาได้ด้วยยาหลายกลุ่ม เช่น แอลฟาอะดรีเนอร์จิกรีเซพเตอร์อะโกนิสต์ (alpha adrenergic receptor agonists) ช่วยเพิ่มความดันโลหิตและลดอาการจากภาวะความดันโลหิตต่ำ สเตียรอยด์ (steroid) ช่วยป้องกันการสูญเสียเกลือแร่ในร่างกาย เพิ่มปริมาณของเหลวและความดันโลหิตให้สูงขึ้น ยาเพิ่มความดันโลหิต (vasopressors)
  • ให้ยารักษาความดันโลหิตต่ำ เช่น ยาฟลูโดรคอร์ติโซน ซึ่งจะช่วยเพิ่มปริมาณเลือดในร่างกาย มักใช้รักษาความดันต่ำที่เกิดจากการยืนหรือการเปลี่ยนท่าทาง และยามิโดดรีน ซึ่งจะช่วยเพิ่มความดันโลหิต ในกรณีที่ผู้ป่วยความดันต่ำเรื้อรังจากการยืนหรือการเปลี่ยนท่าทาง
  • หากแพทย์วินิจฉัยว่าความดันต่ำจากการใช้ยาบางชนิด แพทย์อาจปรับปริมาณยา หรือให้เปลี่ยนไปใช้ยาชนิดอื่น ๆ แทน และหากผู้ป่วยกำลังใช้ยาที่มีผลข้างเคียงทำให้ความดันต่ำ ควรตรวจวัดความดันเป็นระยะ หรือไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาเกี่ยวกับการใช้ยา

ป้องกันความดันโลหิตต่ำ

เมื่อพบว่ามีอาการของภาวะความดันต่ำ ผู้ป่วยควรหยุดกิจกรรมทุกอย่างที่กำลังทำอยู่ ให้นั่งพัก หรือนอนลง ดื่มน้ำ หรือเครื่องดื่มที่มีอิเล็กโทรไลต์เป็นส่วนประกอบ อย่าง ION Drink หากเวียนศีรษะให้นั่งลงแล้วก้มศีรษะไว้ระหว่างหัวเข่า เพื่อช่วยให้ความดันโลหิตกลับเป็นปกติ โดยอาการมักจะดีขึ้นภายในไม่กี่นาที

  • ระมัดระวังเมื่อต้องเปลี่ยนอิริยาบถไปท่าอื่น โดยเฉพาะขณะลุกขึ้นยืนจากท่านั่งหรือนอน ควรลุกจากที่นั่ง หรือลุกออกจากเตียงช้า ๆ โดยเฉพาะเวลาตื่นนอนตอนเช้า หากกำลังนอนอยู่ผู้ป่วยอาจขยับเท้าขึ้นลงเพื่อช่วยการไหลเวียนโลหิต จากนั้นจึงค่อย ๆ ลุกขึ้นช้า ๆ อาจนั่งที่ขอบเตียงก่อนแล้วจึงค่อยยืนขึ้น ผู้ป่วยอาจเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อเพิ่มจังหวะการเต้นของหัวใจและการไหลเวียนโลหิตของร่างกายได้ เช่น ยืดเหยียดร่างกายบนเตียงก่อนลุกขึ้นยืน หรือหากกำลังนั่งอยู่และจะลุกขึ้นยืน ให้ไขว่ห้างสลับขาไปมาก่อนแล้วค่อยลุกขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการยืนเป็นเวลานาน และหลีกเลี่ยงการยกของหนัก โดยเฉพาะขณะลุกขึ้นยืนจากท่านั่ง หรือนอน หลีกเลี่ยงการยืนเป็นเวลานาน การยืนเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดภาวะความดันต่ำประเภทที่เกิดจากการยืนเป็นเวลานาน (Neurally Mediated Hypotension) หรือความดันต่ำจากการสื่อสารที่ผิดพลาดระหว่างสมองและหัวใจ ด้วยเหตุนี้ การหลีกเลี่ยงการยืนเป็นเวลานานจึงอาจช่วยป้องกันภาวะดังกล่าวได้
  • ควบคุมอาหาร โดยรับประทานอาหารน้อยลงกว่าปกติ และแบ่งเป็นหลายมื้อ จำกัดอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ควรนั่งพักหลังรับประทานอาหาร ซึ่งการรับประทานอาหารปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้ง การรับประทานอาหารในปริมาณน้อย แต่แบ่งเป็นหลายมื้อแทนการรับประทานอาหารปริมาณมากในครั้งเดียว อาจป้องกันความดันต่ำชนิดที่เกิดขึ้นหลังจากรับประทานอาหาร (Postprandial Hypotension) โดยการเอนตัวนอน หรือนั่งลงสักพักหลังรับประทานอาหารอาจช่วยบรรเทาอาการลงได้ และหลีกเลี่ยงการรับประทานยาลดความดันก่อนมื้ออาหาร
  • รับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของเกลือ เพราะโซเดียมจะทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น แต่ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์เสมอ เนื่องจากอาหารที่มีเกลือมากเกินไปอาจไม่เหมาะกับผู้ป่วยบางประเภท
  • ดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสม การดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสมช่วยเพิ่มปริมาณของเหลวในร่างกาย และป้องกันการเกิดภาวะขาดน้ำที่เป็นอีกสาเหตุสำคัญของภาวะความดันต่ำ โดยภาวะขาดน้ำเกิดได้จากหลายสาเหตุ อีกทั้งการขาดน้ำยังทำให้ปวดศีรษะ รู้สึกอ่อนเพลีย และไม่สดชื่น ด้วยเหตุนี้ การดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสมจึงช่วยเติมน้ำให้กับร่างกาย ช่วยให้ร่างกายทำงานได้ปกติ และลดความเสี่ยงของภาวะความดันต่ำ
  • หลีกเลี่ยงคาเฟอีน คาเฟอีนเป็นสารที่อาจเพิ่มภาวะความดันต่ำได้ จึงควรหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ เช่น กาแฟ ชา และช็อกโกแลต เป็นต้น โดยเฉพาะในเวลากลางคืน
  • งดหรือจำกัดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ส่งผลต่อการทำงานของร่างกายหลายด้าน ทั้งยังนำไปสู่ภาวะขาดน้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของความดันโลหิตต่ำ จึงควรงดหรือจำกัดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์เพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ
  • หากอยู่ในสภาพอากาศร้อน หรือป่วยด้วยการติดเชื้อไวรัส เช่น เป็นหวัด หรือไข้หวัด ให้ดื่มน้ำมากขึ้นเพื่อทดแทนน้ำที่เสียไปจากร่างกาย
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมเป็นประจำ เพื่อช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต
  • ขณะขับถ่าย ไม่ควรเบ่งมากเกินไป
  • ควรยกระดับศีรษะในขณะนอน อาจใช้ผ้าหนาหรือของแข็งวางใต้หมอน เพื่อช่วยให้ศีรษะอยู่สูงกว่าปกติ
  • ไม่ให้ร่างกายสัมผัสกับน้ำร้อนเป็นเวลานาน เช่น ไม่แช่น้ำร้อนหรือทำสปาเป็นเวลานาน หากรู้สึกเวียนศีรษะให้นั่งลง และอาจเตรียมเก้าอี้แบบกันลื่นไว้ในห้องน้ำด้วย

ตรวจภาวะความดันโลหิตต่ำ ที่ภูเก็ตตรวจได้ที่ไหน?

ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก ให้บริการที่ใกล้ชิด ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมทั้งทีมงานที่มีความชำนาญ พร้อมให้คำปรึกษาและ การรักษา โดยคุณสามารถเข้ารับบริการได้ทั้ง walk-in หรือนัดหมายล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับบริการ
จองคิวออนไลน์ https://phuketmedicalclinic.youcanbook.me
เวลาทำการ 🕙 10:00-18:00 น. ทุกวัน
เบอร์ติดต่อ ☎️ 096-696-2449
Line id : @pmcphuket (มี @ ด้วยนะครับ) หรือ https://lin.ee/R1TKRDo
แผนที่ 📌https://goo.gl/maps/xu45eTQUTjgpukJa7
Website 🌐https://phuketmedicalclinic.com
ปรึกษาแพทย์หรือสอบถามเพิ่มเติมได้เลยนะครับ
Inbox : m.me/100483916443107
สุขภาพคุณให้เราดูแล#คลินิกภูเก็ต
Phuket #Clinic #ภูเก็ตเมดิคอลคลินิก