โรคโลน

โลน (Pediculosis Pubis หรือ Pubic Lice) คือ ปรสิตชนิดแมลงขนาดเล็ก มีขนาดเล็กมากประมาณ 1-2 มิลลิเมตร มีขา 3 คู่ แต่ที่ปลายขาหน้าจะมีลักษณะก้ามคล้ายขาปู ภาษาอังกฤษเรียกว่า crab louse ส่วนขานี้เองที่ใช้เป็นตัวเกี่ยวเส้นขนส่วนต่าง ๆ ตามร่างกาย มักอาศัยอยู่บนผิวหนัง และขนบริเวณรอบอวัยวะเพศ สามารถแพร่กระจายได้ง่ายในระหว่างมีเพศสัมพันธ์ 

ทำความรู้จัก PMS และ PMDD เกี่ยวข้องอย่างไรกับประจำเดือน

ผู้หญิงทุกคน คุณเคยมีอาการดังต่อไปนี้หรือเปล่า? อารมณ์แปรปรวนก่อนมีประจำเดือน เศร้า หดหู่ เซ็ง หงุดหงิดง่าย ร้องไห้บ่อย ปวดหัวตัวร้อนไข้ขึ้น ตัวบวมท้องอืด  น่าเบื่อไปหมดทุกอย่าง อาการเหวี่ยงวีนของสาวๆ บางทีสาวๆ อย่างเราก็ยังไม่เข้าใจตัวเองเลย ซึ่งจะเป็นช่วงสัปดาห์ก่อนประจำเดือน อาการเหล่านี้ เป็นสัญญาณบอกว่าประจำเดือนกำลังจะมา เรามาเช็คอาการที่มักจะเป็นก่อนมีประจำเดือน ว่าเราจัดอยู่ในกลุ่มอาการแบบไหน ต้องรักษาไหม?

ข้อดีจากการตรวจหาเชื้อเอชไอวี

การตรวจหาเชื้อเอชไอวี (HIV) คือ การนำสารคัดหลั่งจากร่างกายไปตรวจหาเชื้อเอชไอวี ในห้องปฏิบัติการ โดยสามารถเก็บตัวอย่างได้จากการขูดเซลล์ หรือน้ำลายในช่องปาก แต่ที่นิยมในปัจจุบัน ก็คือ การตรวจจากเลือด ซึ่งมีให้บริการทั่วไปตามคลินิกและโรงพยาบาลต่างๆ นอกจากนี้หากไม่ต้องการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว ก็สามารถปรึกษาเภสัชกรเพื่อซื้อชุดตรวจเอชไอวี แบบตรวจด้วยตัวเองมาใช้ได้ แต่หากได้รับผลเป็นบวกก็ยังคงต้องตรวจยืนยันผลอีกครั้งในห้องปฏิบัติการเช่นกัน

วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี

โรคไข้สมองอักเสบเจอี  เกิดจากเชื้อไวรัสเจอี (Japanese encephalitis virus, JEV)   โดยมียุงรำคาญ ชนิด Culex tritaeniorrhynchus ซึ่งหากินเวลากลางคืนเป็นพาหะนำโรค ซึ่งโรคนี้ทำให้เกิดการอักเสบของระบบสมองส่วนกลาง ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ เป็นผลให้มีอัตราการตายสูง และก่อให้เกิดความพิการทางสมองในผู้ที่รอดชีวิต ส่วนใหญ่มักจะเป็นในเด็ก ระยะฟักตัวของโรค 5-15 วัน ผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสนี้ส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการ มีเพียงส่วนน้อยที่จะป่วยอาการรุนแรง เช่น มีไข้สูง ปวดศีรษะรุนแรง อาเจียนพุ่ง มีอาการชักเกร็ง ไม่รู้สึกตัว  และอาจเสียชีวิตได้  แต่ถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะรอดชีวิตก็มักมีความพิการทางสมองหลงเหลืออยู่ ซึ่งโรคนี้ไม่มียารักษาเฉพาะ แต่สามารถป้องกันได้ด้วยฉีดวัคซีนป้องกันโรคใช้สมองอักเสบเจอี ส่วนใหญ่มักจะได้รับวัคซีนตั้งแต่ยังเด็ก หลังจากได้รับคอร์สแรกแล้ว อาจต้องฉีดกระตุ้นทุก ๆ 4-5 ปี เพื่อให้ภูมิคุ้มกันอยู่ในระดับสูงพอที่จะป้องกันโรคได้

การดูแลตัวเองเมื่อป่วยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

เมื่อเราพูดถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เราต้องยอมรับว่ามันเป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถเผชิญหน้าได้ เราต้องการความรู้และความเข้าใจในเรื่องนี้เพื่อป้องกันและดูแลตัวเองเมื่อเราต้องเผชิญหน้ากับโรค และการดูแลตัวเองเมื่อป่วยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และวิธีการป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงในอนาคต

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คือ โรคที่ติดเชื้อ และแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ทั้งจากการร่วมเพศทางช่องคลอด ทางปาก หรือทวารหนัก ปัญหาหลักของโรคเหล่านี้ คือ ผู้ป่วยจะรู้ว่าตนเองป่วยหรือมีความผิดปกติเมื่อเวลาผ่านไปนาน บางคนก็เพิกเฉยต่ออาการเหล่านั้น หรืออายที่จะเข้ารับการรักษากับแพทย์ ทำให้โรคนั้นรุนแรงลุกลามเกินกว่าที่จะแก้ไขได้ทันเวลา

ตรวจแปปสเมียร์ (Pap smear)

การตรวจแปบเสมียร์ Pap Smear หรือ Pap Test ย่อมาจาก The Papanicolaou Smear หรือมีชื่อเรียกแบบเป็นทางการว่า Conventional Pap Smear  เป็นแนวทางการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิง ผ่านการใช้เครื่องมือ Speculum สอดเข้าไปในปากช่องคลอดลึกถึงบริเวณปากมดลูก เพื่อป้ายเก็บตัวอย่างเซลล์เยื่อบุผิวในตำแหน่งดังกล่าว จากนั้นนำออกมาส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อหาเซลล์ที่ผิดปกติและบ่งบอกถึงโอกาสเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกในอนาคต ซึ่งถือเป็นวิธีการตรวจที่ปลอดภัย มีผลข้างเคียงน้อย ประหยัดเวลา และมีราคาไม่สูง 

โรคติดเชื้อฉวยโอกาส ในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี

โรคติดเชื้อฉวยโอกาส (Opportunistic Infectione)  คือ ภาวะสุขภาพของผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี  ที่อยู่ในระยะ โรคเอดส์  ซึ่งระยะนี้ภูมิคุ้มกันของร่างกายจะถูกทำลายลงไปมาก ทำให้เป็นโรคต่างๆ ได้ง่าย  ไม่ว่าเกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือปรสิต ที่เรียกรวม ๆ ว่า โรคติดเชื้อฉวยโอกาส จนเกิดเป็นโรคต่าง ๆ ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง เมื่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอลง เชื้อโรคเหล่านี้จึงเข้าในร่างกายก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น ซึ่งผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยโรคเอดส์ อาจป่วยด้วยโรคติดเชื้อฉวยโอกาส ได้พร้อมกันมากกว่า 1 โรค

โรคพยาธิในช่องคลอด

โรคพยาธิในช่องคลอด (Trichomoniasis หรือเรียกสั้นๆ ว่า Trich) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากการติดเชื้อโปรโตซัวที่มีชื่อว่า Trichomonas vaginalis พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย  ซึ่งตัวพยาธินั้นมีขนาดเล็กมากไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าต้องดูผ่านกล้องจุลทรรศน์เท่านั้น ความน่ากลัวของโรคนี้คือหากเป็นแล้วจะพบผู้ป่วยที่แสดงอาการเพียง 20-30 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ทำให้หลายคนไม่รู้ตัว และแพร่กระจายเชื้อไปสู่คู่นอนได้

โดยผู้หญิงมีอาการคันบริเวณอวัยวะเพศ ช่องคลอดส่งกลิ่นเหม็น มีตกขาวสีเขียวและเป็นฟอง เจ็บขณะปัสสาวะ รวมทั้งอาจทำให้หญิงมีครรภ์เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด ส่วนผู้ชายสามารถติดเชื้อนี้ได้เช่นกันแต่มักไม่แสดงอาการ

ใช้ชีวิตร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีอย่างไร ? ให้ปลอดภัย

ผู้ที่อาศัยอยู่กับผู้ติดเชื้อเอชไอวี หรือผู้ป่วยโรคเอดส์ โดยเฉพาะคนในครอบครัวนั้น เป็นบุคคลสำคัญที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี เพราะนอกจากคอยให้กำลังใจแล้ว ยังต้องดูแลผู้ป่วยให้มีพลานามัยสมบูรณ์ และสร้างสิ่งแวดล้อมบริเวณที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับผู้ป่วย เชื้อเอชไอวีติดต่อได้ผ่านทางเลือด การมีเพศสัมพันธ์ และจากมารดาสู่ทารกในครรภ์ แต่ผู้ที่อยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีก็ควรต้องป้องกันตนเองจากการติดเชื้อด้วยเช่นกัน

วัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก คืออะไร?

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (Human Papillomavirus (HPV) Vaccine) คือ วัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus) อันเป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดมะเร็งปากมดลูก เนื่องจากการติดเชื้อไวรัส HPV ทำให้เซลล์ปากมดลูกอักเสบเรื้อรัง และเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็งได้ นอกจากช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อไวรัส HPV ที่สามารถพัฒนากลายเป็นมะเร็งปากมดลูกแล้ว ยังสามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้อีกหลายโรค และที่สำคัญ!  วัคซีน HPV ไม่ได้จำเป็นแค่กับผู้หญิง แต่ผู้ชายก็ควรได้รับวัคซีนนี้ด้วยเหมือนกัน