โรคมะเร็งปากมดลูก    เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV ซึ่งมีอยู่ประมาณหลายสายพันธุ์ ผู้หญิงเรามีโอกาสติดเชื้อไวรัส HPV อยู่แล้วในช่วงหนึ่งของชีวิต แต่ร่างกายสามารถกำจัดเชื้อไปได้เอง เรียกว่าติดเชื้อแบบชั่วคราว แต่ในบางครั้งร่างกายก็ไม่สามารถกำจัดเชื้อได้โดยเฉพาะสาเหตุมาจากไวรัส HPV สายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูง (โดยเฉพาะ HPV สายพันธุ์ 16 และ 18) ก็จะมีความเสี่ยงสูงที่จะก่อให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกในอนาคต

ทำไมผู้หญิงจึงควรตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก?

โรคมะเร็งปากมดลูก  (Cervical Cancer) เป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับ 2 ของมะเร็งในสตรีทั่วโลก รองจาก มะเร็งเต้านม  และมีอัตราการเสียชีวิต เกินครึ่งหนึ่งเลยทีเดียว การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรค และเพิ่มโอกาสในการรักษาหาย 

สาเหตุสำคัญเที่ตรวจพบคือ การติดเชื้อ Human Papilloma Virus (HPV) บริเวณปากมดลูก ถือเป็นปัจจัยหลัก ในขณะที่ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เป็นเพียงปัจจัยส่งเสริมทำให้ปากมดลูกมีโอกาสติดเชื้อ เอชพีวี ได้มากขึ้นหรือง่ายขึ้น เช่นการมีคู่นอนหลายคน  การมีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อย หรือการตั้งครรภ์เมื่ออายุน้อยนั่นเอง

การตรวจคัดกรอง โรคมะเร็งปากมดลูก

การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก มีวิธีอะไรบ้าง?

การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก เป็นการหาเชื้อ HPV บริเวณปากมดลูก ในระยะเริ่มแรก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาได้ โดยมีวิธีง่าย ดังนี้

  • การตรวจภายใน หากพบก้อนผิดปกติที่ปากมดลูกแพทย์จะตรวจยืนยัยโดยการตัดชิ้นเนื้อบางส่วนไปส่งตรวจทางพยาธิวิทยา
  • การตรวจทางเซลล์วิทยา เช่น การด้วยวิธีการ แปปสเมียร์ การตรวจแบบ Thinprep การตรวจแบบหาเชื้อ HPV ระดับ DNA โดยจะเป็นการเก็บเซลล์บริเวณปากมดลูกไปตรวจทางเซลล์วิทยา
    • แบบแปปเสมียร์ (Conventional PAP Smear)  ตรวจหาเซลล์ผิดปกติที่ปากมดลูกหรือที่เรียกกันติดปากว่า ตรวจ Pap smear เป็นการตรวจหาเซลล์ผิดปกติแบบดั้งเดิม สถานพยาบาลส่วนใหญ่ในประเทศไทยใช้วิธีนี้กัน โดยวิธีการตรวจแพทย์จะใช้ไม้พายเก็บเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูก แล้วนำไปตรวจในห้องปฏิบัติการ วิธีนี้อาจได้ความแม่นยำไม่มากนัก เพราะมีความไวของการตรวจหาเซลล์ผิดปกติค่อนข้างต่ำ หรือมีความแม่นยำไม่มากนัก (40 – 70%) ผลที่ได้จากกตรวจโดยวิธีนี้เพียงอย่างเดียวทำให้มีโอกาสพลาดในการวินิจฉัย แนะนำควรมาตรวจซ้ำทุก 1-2 ปี 
    • การตรวจตินแพร็พ แป๊บ เทสต์ (ThinPrep Pap Test) เป็นการเก็บเพียงตัวอย่างเซลล์จากปากมดลูก เพื่อตรวจหาความผิดปกติของเซลล์  ด้วยอุปกรณ์เฉพาะ  จากนั้นจะใส่ลงในขวดน้ำยา Thin prep นำส่ง lab ย้อมสีและดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ ซึ่งแตกต่างจาก Pap smear ธรรมดา ที่เก็บเซลล์ด้วยไม้พาย และป้ายลงบนกระจกแก้ว เพื่อ lab ย้อมสีและดูด้วยกล้องจุลทรรศน์เลย ซึ่งความละเอียดจะน้อยกว่า แต่ยังไม่สามารถบอกได้ว่าติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ใด  ซึ่งวิธี Thin Prep เป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทางเซลล์วิทยาเช่นเดียวกับ Pap smear แต่เพิ่มความไวของการตรวจหาเซลล์ผิดปกติ (80 – 90%) และมีความแม่นยำกว่า Pap smaer ปัจจุบันมีการตรวจที่เรียกว่า Thin prep plus HPV เป็นการตรวจ Thin prep ร่วมกับ การตรวจหาเชื้อไวรัส HPV โดยตรง ซึ่งการตรวจแบบนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกได้ถึง 100 เปอร์เซ็นต
    • การตรวจแบบ HPV DNA เป็นการตรวจหา DNA ของเชื้อไวรัส HPV  ที่เกาะบนผิวปากมดลูก โดยสามารถระบุสายพันธุ์ที่ติดเชื้อได้ และสามารถตรวจพบเซลล์มะเร็งปากมดลูกได้ตั้งแต่ระยะก่อนเป็นมะเร็ง  หรือเพื่อพยากรณ์ความเสี่ยงต่อมะเร็งปากมดลูกในอนาคต  คือสามารถระบุลงลึกไปได้ถึงสายพันธุ์ของเชื้อ HPV ไม่ว่าจะเป็น สายพันธุ์ 16 และ สายพันธุ์ 18 ที่มีความเสี่ยงสูงสุดและเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกถึง 70% และสามารถเว้นการตรวจซ้ำได้ถึง 5 ปี ให้ความแม่นยำในการตรวจเจอโรคสูงเกือบ 100%
  • การตรวจเชื้อไวรัสเอชพีวี ใช้วิธี PCR (polymeras Chairn Reaction ) ซึ่งเป็นเทคนิคการตรวจทางด้านชีวโมเลกุลที่มีความไวในการตรวจสูงถึง 95-100% และมีความจำเพาะต่อเชื้อไวรัสเอชพีวีเท่านั้น  ทำให้สามารถตรวจพบเชื้อเมื่อเทียบกับการตรวจโดยวิธีดั้งเดิม และเป็นวิธีที่ยอมรับของ ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลก
  • การตรวจแบบ Pathtezt เป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยการตรวจทางเซลล์วิทยาปากมดลูกที่พัฒนามาจากวิธี Pap Smear สามารถลดการปนเปื้อน และช่วยในการตรวจเซลล์ได้ชัดเจนขึ้น โดยวิธีการเก็บเซลล์บริเวณปากมดลูกด้วยอุปกรณ์เฉพาะ จากนั้นใส่ลงในขวดน้ำยากำจัดมูกเลือด ก่อนนำไปตรวจในห้องปฏิบัติการ
  • การตรวจแบบ น้ำส้มสายชู (Visual inspection with acetic acid: VIA) เป็นการตรวจคัดกรองรอยโรคก่อนมะเร็งปากมดลูกโดยการใช้สารละลาย Acetic acid เจือจาง 3-5% ชโลมบนปากมดลูกนาน 1 นาที แล้วสังเกตดูการเปลี่ยนแปลงของสีเยื่อบุปากมดลูก  ข้อดีของการตรวจด้วยน้ำส้มสายชู คือ มีราคาถูก สามารถรู้ผลได้ทันที แต่มีข้อเสียคือ สามารถตรวจได้เฉพาะในผู้ที่เห็นรอยต่อระหว่างเยื่อบุปากมดลูกชัดเจน และไม่สามารถประเมินความผิดปกติ หรือตรวจดูรอยโรคที่อยู่ลึกภายในช่องคอมดลูกได้
  • การตรวจด้วยกล้องขยาย หรือ คอลโปสโคป ร่วมกับการตัดชิ้นเนื้อส่งพยาธิวิทยา
  • การตรวจอื่นๆ ที่อาจช่วยในการวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูก ได้แก่ การขูดภายในบริเวณปากมดลูก การตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า การตัดปากมดลูกออกเป็นกรวยด้วยขดลวดไฟฟ้า

ข้อแนะนำสำหรับผู้หญิงในการเลือกวิธีการตรวจคัดกรอโรคงมะเร็งปากมดลูก

  • การตรวจคัดกรองครั้งแรก  ควรเริ่มทำหลังจากมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกประมาณ 3 ปี หรือเมื่อถึงอายุ 21 ปี แล้วแต่ว่าเวลาใดมาถึงก่อน  
  • กลุ่มผู้หญิงอายุน้อยกว่า 30 ปี  ควรทำการตรวจคัดกรองทุกปี เพราะมีหลักฐานพบว่า กลุ่มหญิงอายุน้อยกว่า 30 ปี มีโอกาสเสี่ยงมากกว่ากลุ่มอื่นที่มีอายุมากกว่า ในการติดเชื้อ human papillomavirus (HPV ) ชนิดความเสี่ยงสูงที่ก่อมะเร็ง  
  • กลุ่มอายุมากกว่า 30 ปี มีสองทางเลือก
    • ตรวจ Pap smear เพียงอย่างเดียว โดยทำการการตรวจปีละครั้ง หากผลเป็นปกติ (Negative) ติดต่อกัน 3 ปี  หลังจากนั้นสามารถรับการตรวจคัดกรองทุกๆ 2 – 3 ปีได้
    • ตรวจ Thin prep plus HPV ถ้าผลการตรวจคัดกรองปกติ (Negative) ทั้งสองอย่าง ให้ตรวจได้ห่างขึ้นทุกๆ 3 ปี แต่ถ้าผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จำเป็นต้องรับการตรวจบ่อยขึ้น

สุดท้ายนี้ขอฝากไว้ว่า การป้องกันย่อมดีกว่าการรักษา จึงถึงเวลาแล้วที่ผู้หญิงทุกวัยจะหันมาดูแลสุขภาพภายในของตัวเองอย่างจริงจัง โดยมาพบแพทย์เพื่อรับการตรวจคัดกรองประจำปี เสียตั้งแต่วันนี้

ใครบ้างที่ควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก?

  • ผู้หญิงทั่วไปที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป หรือเคยมีเพศสัมพันธ์
  • ผู้หญิงที่แต่งงานเมื่ออายุน้อย
  • คลอดบุตรหลายคน
  • มีคู่นอนหลายคน เป็นกามโรคบ่อยๆ
  • มีอาการตกขาวผิดปกติ เช่นมีกลิ่นเหม็น มีเลือดปน
  • มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดภายหลังการมีเพศสัมพันธ์
  • เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดที่ไม่ทราบสาเหตุ
  • ปวดท้องน้อย
  • ปัสสาวะหรืออุจจาระปนเลือด
  • มีประวัติในครอบครัว เช่น มีญาติผู้หญิงเป็นมะเร็งปากมดลูก

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก

  • สามารถทานอาหารและน้ำได้ปกติ ไม่จำเป็นต้องงดอาหารและน้ำ​
  • ควรเข้ารับการตรวจในช่วงที่ไม่มีประมีประจำเดือน หรือตรวจหลังประจำเดือนหมดประมาณ 1 อาทิตย์
  • ควรงดมีเพศสัมพันธ์ประมาณ 3 วันก่อนการตรวจ
  • ควรงดการสวนล้างช่องคลอดหรือการเหน็บยาก่อนมาตรวจภายใน 48 ชั่วโมง
  • คนที่มีปัญหาตกขาวผิดปกติ ไม่แนะนำให้สอดยาเพื่อรักษาก่อนมาตรวจภายใน​
  • หากมีผลการตรวจพบการอักเสบ หรือมีเซลล์เปลี่ยนแปลงผิดปกติที่ปากมดลูกให้มาติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่องทุกครั้ง
  • ควรได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ

การตรวจหาเชื้อ HPV สำหรับผู้หญิง ที่ภูเก็ตตรวจได้ที่ไหน?

ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก ให้บริการที่ใกล้ชิด ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมทั้งทีมงานที่มีความชำนาญ พร้อมให้คำปรึกษาและ การรักษา โดยคุณสามารถเข้ารับบริการได้ทั้ง walk-in หรือนัดหมายล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับบริการ
จองคิวออนไลน์ https://phuketmedicalclinic.youcanbook.me
เวลาทำการ 🕙 10:00-18:00 น. ทุกวัน
เบอร์ติดต่อ ☎️ 096-696-2449
Line id : @pmcphuket (มี @ ด้วยนะครับ) หรือ https://lin.ee/R1TKRDo
แผนที่ 📌https://goo.gl/maps/xu45eTQUTjgpukJa7
Website 🌐https://phuketmedicalclinic.com
ปรึกษาแพทย์หรือสอบถามเพิ่มเติมได้เลยนะครับ
Inbox : m.me/100483916443107
สุขภาพคุณให้เราดูแล#คลินิกภูเก็ต
Phuket #Clinic #ภูเก็ตเมดิคอลคลินิก