โรคผื่นภูมิแพ้ทางผิวหนัง มีแนวโน้มที่จะพบมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ซึ่งมักเกิดร่วมกับโรคภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหอบหืด แพ้อากาศ  ซึ่งโรคนี้เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ไวกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการแพ้ขึ้น

โดยผิวหนังที่มีความไวต่อปัจจัยกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด สารกันแดด เนื้อผ้าที่สวมใส่บางชนิด น้ำ หรือแม้กระทั่งสภาพอากาศที่แห้ง และเย็น อาจทำให้เกิดอาการผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย

​​โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง คืออะไร?

โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis) เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง  ชนิดหนึ่งมีอาการเป็นๆ หายๆ โดยมีอาการคันมากตลอดเวลา โดยเฉพาะเวลากลางคืน  ผิวหนังแห้ง อักเสบ และมีอาการกำเริบเป็นระยะๆผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีแนวโน้มทางพันธุกรรมอยู่เป็นพื้นฐาน ผู้ป่วยมักมีประวัติแพ้อากาศ ไอ จามบ่อยๆ หอบหืดหรือเยื่อบุตาอักเสบ โดยเฉพาะเวลาที่อากาศรอบตัวเปลี่ยนแปลงคนในครอบครัวของผู้ป่วยมักมีประวัติ โรคภูมิแพ้ เช่น แพ้อากาศ ไอ จามบ่อยๆ หอบหืด หรือผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ 

อย่างไรก็ตามผู้ที่ไม่มีประวัติโรคภูมิแพ้ในครอบครัวเลยก็เป็นโรคนี้ได้ ทั้งนี้เพราะความผิดปกติทางพันธุกรรมซ่อนเร้นอยู่ในยีนในครอบครัวผู้ป่วยได้ โดยไม่เกิดอาการ นอกจากพันธุกรรมแล้วปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่สำคัญคือ สิ่งแวดล้อมเช่น อาหาร ไรฝุ่น สารก่อการระคาย หรือสารก่อภูมิแพ้ผิวหนังของผู้ป่วยจะไว (sensitive) ต่อสภาพแวดล้อมรอบตัวทั้งสภาพทางกายภาพ เช่น ภาวะอากาศร้อนเกินไป เย็นเกินไป แห้ง ชื้น สารเคมีที่ระคายผิวหนังและสิ่งมีีชีวิตต่างๆ เช่น แมลง เชื้อโรค เป็นต้น

เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่พบได้บ่อยในวัยเด็ก มักพบในเด็กต่ำกว่า 5 ปีอาการสำคัญคือพบประมาณร้อยละ 10-17 ในเด็ก ในขณะที่ผู้ใหญ่มีโอกาสพบร้อยละ 9-15 และผู้ป่วยมักจะมีภูมิแพ้ร่วมด้วย ๆ เช่น เยื่อบุตาอักเสบ (Allergic conjunctivitis) , ภูมิแพ้อากาศ ,เยื่อบุจมูกอักเสบ (Allergic rhinitis) หรือ หอบหืด (Asthma) โดยโรคในผู้ป่วยภูมิแพ้ผิวหนังส่วนใหญ่เมื่อมีอาการในวัยเด็กและอาการจะดีขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่

โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

สาเหตุโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังนี้ แต่เชื่อว่าเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน ได้แก่ พันธุกรรม เด็กที่ป่วยเป็นโรคนี้มักมีพ่อแม่ หรือญาติใกล้ชิดเป็นโรคในกลุ่มภูมิแพ้ เช่น หอบหืด แพ้อากาศ และผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ร่วมกับโครงสร้างของผิวหนังที่ไม่สมบูรณ์ และการเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

ซึ่งผู้ป่วยจะมีการตอบสนองที่ผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของผิวหนัง และมีสิ่งแวดล้อมเป็นตัวกระตุ้นให้ผื่นรุนแรงขึ้นเมื่อผิวหนังไม่สมบูรณ์แข็งแรง สารระคายเคืองและสารก่อการแพ้จะผ่านเข้าสู่ผิวได้ง่าย ทำให้เกิดผื่นผิวหนังแห้ง แดง อักเสบ เป็นเหตุให้ผู้ป่วยเกิดอาการคัน และเกามากจนเกิดการติดเชื้อที่ผิวหนังได้บ่อย

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

  • พันธุกรรม หากมีประวัติเป็นภูมิแพ้ ผู้ที่มีประวัติส่วนตัว หรือครอบครัวเป็นโรคผิวหนัง ภูมิแพ้ ไข้ละอองฟาง หรือหอบหืด มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังได้มากกว่า หรือมีความเสี่ยงของโรคเพิ่มขึ้น 2 เท่า
  • อายุ โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังสามารถพบได้ในทุกช่วงอายุ แต่มักพบบ่อยในวัยทารก
  • การแพ้อาหาร คือ ผู้ป่วยโรคนี้ประมาณร้อยละ 10 พบว่าอาหารบางชนิดเป็นตัวกระตุ้นให้ผื่นกำเริบได้
  • ความเครียด
  • โครงสร้างผิวหนังไม่สมบูรณ์
  • การเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือบุหรี่
  • การสัมผัสสารระคายเคือง/สารก่อการแพ้ เช่น สบู่ ผงซักฟอก ที่มีฤทธิ์เป็นด่างจะละลายไขมัน ทำให้ผื่นผิวหนังอักเสบเป็นมากขึ้นได้
  • มลภาวะและสภาพสิ่งแวดล้อม หรือสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น สภาวะที่มีละอองเกสร แมลง ขนสัตว์ ไรฝุ่น สิ่งเหล่านี้ทำให้ผื่นมีอาการคันมากขึ้น
  • เสื้อผ้า ไม่ควรใช้เครื่องนุ่งห่มและเครื่องประดับที่มีขน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสื้อผ้าที่ทำจากขนสัตว์เพราะจะทำให้เกิดการค้นเพิ่มมากขึ้น
  • อาชีพ งานที่ต้องมีการสัมผัสกับโลหะ ตัวทำละลาย หรือสารทำความสะอาดบางชนิด จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง
  • เชื้อโรคชนิดต่างๆ เช่น แบคทีเรีย เขื้อรา อาจแทรกซ้อนทำให้เกิดการติดเชื่อบนผิวหนังของผู้ป่วย ผิวหนังที่อักเสบอยู่เดิมจะกำเริบมากขึ้น กรณีที่สงสัยว่ามีการติดเชื้อแทรกซ้อน ควรปรึกษาแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วย
  • ฤดูกาล ผื่นผิวหนังอักเสบมักมีอาการมากขึ้นในฤดูหนาว เพราะความชื้นในอากาศต่ำ อากาศที่แห้งและเย็นจะทำให้ผิวหนังผู้ป่วยคันและอักเสบมากขึ้น ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการมากขึ้นในช่วงฤดูร้อน  เพราะอากาศที่ร้อนทำให้เหงื่อออกมากทำให้ผู้ป่วยมีอาการคันและเกิดผื่นผิว หนังอักเสบมากขึ้นได้เช่นเดียวกับฤดูหนาว

อาการโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

ผิวหนังโดยทั่วไปของผู้ป่วยจะค่อนข้างแห้ง อาการสำคัญคือ คัน ผื่นแดง แห้งเป็นขุย มักไม่มีตุ่มน้ำ ติดเชื้อได้ง่ายกลายเป็นตุ่มหนอง อาจมีน้ำเหลืองไหล ส่วนใหญ่เป็นบริเวณหน้า แก้ม คอ ข้อพับ ผื่นของเด็กมักเกิดที่ศีรษะ และใบหน้า ส่วนในผู้ใหญ่เกิดที่ข้อศอก ข้อเข่า คอ มือ และเท้า

โดยอาการของโรคจะแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มช่วงอายุของผู้ป่วย ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

  • วัยทารก พบระหว่างอายุ 2 เดือนถึง 2 ปี ส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการเมื่ออายุ 2 เดือนขึ้นไป โดยมักจะเริ่มพบผื่นแดงคัน มีตุ่มแดงและตุ่มน้ำเล็กๆอยู่ในผื่นแดงนั้น ที่แก้มถ้าตุ่มน้ำแตกออกจะมีน้ำเหลืองเยิ่มหรือตกสะเก็ด อาจพบร่องรอยจากการเกา หรือขัดถู โดยเฉพาะบริเวณที่ทารกคืบ ถูไถ สัมผัสกับพื้นหรือที่นอน  ผื่นอาจลุกลามไปยังผิวหนังบริเวณอื่นๆของร่างกาย เช่น บริเวณใบหน้า ซอกคอ ลำตัว แขน ข้อศอก ขา เข่า มือ เท้า หรือ ในรายที่เป็นมากๆ ผื่นจะเกิดทั่วร่างกายได้
  • วัยเด็ก อายุระหว่าง 2-12 ปี ตำแหน่งรอยโรคที่พบบ่อย ได้แก่ บริเวณรอบคอ ข้อพับด้านในของแขนและขา เมื่อโรครุนแรงอาจลุกลามไปยังผิวหนังส่วนอื่นๆได้ ผื่นมักประกอบด้วยตุ่มนูนแดงแห้งๆ มีขุยเล็กน้อย มักไม่พบตุ่มน้ำแตกแฉะเหมือนวัยทารก มีอาการคัน ผู้ป่วยมักเกาจนเกิดรอยถลอกหรืออาจเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียในรอยโรคได้
  • วัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ มักพบผื่นบริเวณรอบคอ ข้อพับแขน ขา คล้ายที่พบในเด็กโต ในรายที่เป็นมากๆผื่นจะเกิดทั่วร่างกายได้เช่นกัน ผู้ป่วยโรคนี้มีแนวโน้มที่จะเกิดผิวหนังอักเสบบริเวณมือได้ง่าย หรือมีอาการคันมาก และเกาจนเป็นผื่นหนา แข็ง นูน โดยมักพบที่บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และใบหน้าได้บ่อยในวัยผู้ใหญ่
การรักษาโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

การรักษาโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

การรักษาผู้ป่วยโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอย่างเหมาะสม สามารถช่วยป้องกันการกำเริบของผื่น โดยมีเป้าหมาย คือ พยายามควบคุมอาการต่าง ๆ ของโรคไม่ให้กำเริบ และอยู่ในช่วงสงบนานที่สุดจนกว่าโครงสร้างของผิวหนังจะค่อย ๆ ดีขึ้น ซึ่งการรักษาควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เฉพาะทางผิวหนังเพื่อประเมินความรุนแรง และความเหมาะสมในการรักษา

  • ไม่ให้ผู้ป่วยเกา เนื่องจากการเกาจะทำให้ผื่นผิวหนังที่อักเสบกำเริบเห่อมากขึ้น อาจรับประทานยาต้านฮีสตามีนเพื่อช่วยลดอาการคัน
  • กรณีที่มีตุ่มหนองเกิดแทรกซ้อนบนตุ่มหรือผื่นแดง แสดงว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ควรปรึกษาแพทย์เพราะผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อ แบคทีเรีย
  • การรักษาอื่นๆเช่น การฉายแสงอาทิตย์เทียม การรับประทานยากดภูมิคุ้มกัน ใช้ในรายที่เป็นรุนแรงมากและเป็นบริเวณกว้าง ไม่สามารถรักษาได้ผลด้วยวิธีต่างๆข้างต้นได้แล้ว ควรปรึกษาแพทย์
  • อาบน้ำด้วยสบู่ที่ไม่ระคายเคืองและไม่ใช้เวลานานเกินไป โดยใช้น้ำอุ่นหรือน้ำที่อุณหภูมิห้อง
  • หลังอาบน้ำให้ซับตัวหมาดๆ แล้วทาสารเพิ่มความชุ่มชื้นภายใน 3 นาที จะช่วยลดการใช้ยาทาสเตียรอยด์ได้ โดยทาบ่อยๆ เพราะยาทากลุ่มสเตียรอยด์มีฤทธิ์ลดการอักเสบของผื่นผิวหนัง ควรใช้ยาภายใต้การดูแลของแพทย์ เพราะโรคกลุ่มนี้ต้องใช้ยาเป็นเวลานาน อาจมีอาการข้างเคียงเกิดขึ้นได้ถ้าใช้ยาไม่ถูกต้อง ปัจจุบันมียาทากลุ่มใหม่ ได้แก่ tacrolimus และ pimecrolimus ซึ่งควบคุมอาการของโรคได้ดีพอควรแต่มีราคาแพง การใช้ยากลุ่มนี้ควรปรึกษาแพทย์
  • ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่อ่อนโยนต่อผิวมีความเป็นกรดด่าง (pH) ประมาณ 4-6 ไม่มีส่วนประกอบของน้ำหอม และควรเป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเสริมเกราะปกป้องผิวอย่างอ่อนโยน
  • ควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีส่วนผสมของสารฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง และทำให้เสียสมดุลของจุลชีพบนผิวหนังได้
  • ทาผิวแห้งโดยการทามอยซ์เจอไรเซอร์  (Moisturizer) หรือโลชั่น ควรทาหลังอาบน้ำทันที ถ้าผิวหนังยังแห้งมากควรทาเพิ่ม สามารถทาได้วันละหลายครั้ง หรือทาอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และทาภายหลังการอาบน้ำทันที เพื่อให้เก็บความชุ่มชื้นของผิวหนังได้มากที่สุด
  • พักผ่อนให้เพียงพอ เนื่องจากความเครียดและการพักผ่อนไม่เพียงพอ อาจทำให้ผื่นกำเริบได้

การรักษาโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังด้วยยา

  • ยาต้านการอักเสบที่ออกฤทธิ์เฉพาะที่ (Topical anti-inflammatory drugs)
    • ยาทากลุ่มสเตียรอยด์ เช่น Clobetasol propionate (ความแรงสูงมาก), Betamethasone dipropionate (ความแรงสูง), Betamethasone valerate (ความแรงปานกลาง), Hydrocortisone (ความแรงต่ำ) จะช่วยลดการอักเสบ และอาการคัน การรักษาควรเริ่มใช้ยาที่มีความแรงระดับปานกลาง เมื่อการอักเสบของผิวหนังดีขึ้นและควบคุมอาการได้ จึงลดความแรงของยาลงมาเป็นระดับต่ำ หรือหยุดใช้ยา โดยผลข้างเคียงของยาทากลุ่มสเตียรอยด์ อาจทำให้ผิวหนังบางลง สีผิวบริเวณที่ทาจางลง มีจ้ำเลือด หรือมีสิว บริเวณที่ทายาได้
    • ยาทากลุ่ม Calcineurin inhibitors เช่น Tacrolimus, Pimecrolimus พบว่ามีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ใช้เป็นยาทางเลือกในการรักษาทดแทนยาทากลุ่มสเตียรอยด์
  • ยาต้านการอักเสบที่ออกฤทธิ์ทั่วร่างกาย (Systemic anti-inflammatory drugs)
    • ได้แก่ ยาสเตียรอยด์ชนิดฉีดหรือรับประทาน และยากดภูมิคุ้มกัน มักใช้ในกรณีที่มีอาการรุนแรงมากและไม่ตอบสนองต่อการรักษาทั่วไป
    • นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมียาฉีด Dupilumab ซึ่งถือเป็นทางเลือกใหม่ของการรักษาโรคภูมิแพ้โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง โดย Dupilumab เป็นยาในกลุ่ม Monoclonal antibody บริหารยาโดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ซึ่งยานี้ได้รับการอนุมัติให้ใช้รักษาโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังระดับปานกลางจนถึงระดับรุนแรง ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 6 ปีขึ้นไป
  • ยาอื่นๆ
    • ยาต้านฮีสตามีนชนิดรับประทาน อาจช่วยลดอาการคันและช่วยให้ผู้ป่วยนอนหลับได้ดีขึ้น
    • ยาปฏิชีวนะ ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
  • การรักษาด้วยการฉายแสงอัลตร้าไวโอเลต (Phototherapy) เป็นทางเลือกในการรักษาสำหรับผู้ใหญ่ หรือในเด็กที่อายุมากกว่า 12 ปี แต่อาจเกิดผลข้างเคียงในระยะยาวที่ทำให้ผิวแก่ก่อนวัย หรืออาจเป็นมะเร็งผิวหนังได้

การตรวจโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ที่ภูเก็ตตรวจได้ที่ไหน?

ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก ให้บริการที่ใกล้ชิด ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมทั้งทีมงานที่มีความชำนาญ พร้อมให้คำปรึกษาและ การรักษา โดยคุณสามารถเข้ารับบริการได้ทั้ง walk-in หรือนัดหมายล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับบริการ
จองคิวออนไลน์ https://phuketmedicalclinic.youcanbook.me
เวลาทำการ 🕙 10:00-18:00 น. ทุกวัน
เบอร์ติดต่อ ☎️ 096-696-2449
Line id : @pmcphuket (มี @ ด้วยนะครับ) หรือ https://lin.ee/R1TKRDo
แผนที่ 📌https://goo.gl/maps/xu45eTQUTjgpukJa7
Website 🌐https://phuketmedicalclinic.com
ปรึกษาแพทย์หรือสอบถามเพิ่มเติมได้เลยนะครับ
Inbox : m.me/100483916443107
สุขภาพคุณให้เราดูแล#คลินิกภูเก็ต
Phuket #Clinic #ภูเก็ตเมดิคอลคลินิก