กระเพาะปัสสาวะ เป็นอวัยวะที่มีรูปร่างคล้ายบอลลูน ลักษณะกลวง อยู่ในช่องท้องส่วนล่าง ซึ่งถูกยึดไว้กับที่โดยเอ็นติดกับกระดูกเชิงกราน ผนังของกระเพาะปัสสาวะ มีกล้ามเนื้อเรียบ 3 ชั้น ที่จะคลายตัว และขยายตัวเพื่อกักเก็บปัสสาวะ  ซึ่งสามารถ กักเก็บปัสสาวะได้ประมาณ 350-500 มิลลิลิตร  ที่คอของกระเพาะจะมีกล้ามเนื้อหูรูดทวารเบามัดใน (internal sphincter muscle)จากนั้นจะบีบตัว และแผ่ออกจนเกิดการขับถ่ายปัสสาวะผ่านท่อปัสสาวะ โดยระบบทางเดินปัสสาวะทำหน้าที่รักษาสมดุลของร่างกายด้วยการขจัดของเสีย เช่น ยูเรีย และสิ่งอื่น ๆ ที่ร่างกายไม่ต้องการ โดยกระเพาะปัสสาวะจะเก็บสะสมน้ำปัสสาวะ จนกระทั่งมีน้ำปัสสาวะเกิน 250 มิลลิลิตร ก็จะรู้สึกปวด อยากถ่ายปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะจะหดตัว ขับน้ำปัสสาวะออกมา เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม โดยไม่มีอาการปวดหรือแสบใดๆ

ซึ่งกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดขึ้นเมื่อมีการติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรีย สิ่งนี้เรียกว่า การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ หากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษาอาจกลายเป็นปัญหาสุขภาพร้ายแรง และเชื้อสามารถแพร่กระจายไปยังไตได้

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ คืออะไร?

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) เป็นหนึ่งในกลุ่มโรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infection : UTI) ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียจากบริเวณรอบท่อปัสสาวะ สามารถพบได้ในทุกเพศ ทุกวัย โดยทั่วไปจะพบในช่วงเจริญพันธุ์ คือ อายุ 17 ถึง 50 ปี และ  เฉพาะพนักงานออฟฟิศ หรือคนที่นั่งโต๊ะทำงาน เนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ปรับเปลี่ยน ทำให้บ่อยครั้ง ต้องมีการอั้นปัสสาวะเป็นระยะเวลานานๆ หรือเร่งรีบเบ่งปัสสาวะซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรค และ พบได้บ่อยในสตรีมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้นประมาณ 45 ซม. และมีลักษณะแบบเปิดบริเวณอวัยวะเพศทำให้มีโอกาสติดเชื้อตอนมีเพศสัมพันธ์เข้าสู่กระเพาะปัสสาวะจนเกิดการอักเสบได้ง่ายกว่า

สาเหตุโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 

  • โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ จากแบคทีเรีย (Bacterial Cystitis) เกิดขึ้นจากแบคทีเรียภายนอกร่างกายเข้าสู่ทางเดินปัสสาวะผ่านทางท่อปัสสาวะและเริ่มเพิ่มจำนวนขึ้น กรณีส่วนใหญ่ของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเกิดจากแบคทีเรีย Escherichia Coli (E. Coli) แต่แบคทีเรียประเภทอื่น ๆ ก็สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อได้เช่นกัน 

    นอกจากนี้การติดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะปัสสาวะอาจเกิดขึ้นในผู้หญิงหลังมีเพศสัมพันธ์ และในผู้ที่ไม่ได้มีเพศสัมพันธ์ก็สามารถเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน เนื่องจากบริเวณอวัยวะเพศหญิงมักมีแบคทีเรียที่สามารถทำให้เกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ  
  • โรค กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ (Noninfectious Cystitis)
    • การใช้ยาบางชนิด เช่นยาที่ใช้รักษามะเร็ง (เคมีบำบัด) อาจทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะได้ เนื่องจากส่วนประกอบที่แตกตัวของยาถูกขับออกจากร่างกาย 
    • โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบจากรังสี การฉายรังสีบริเวณอุ้งเชิงกรานอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการอักเสบในเนื้อเยื่อกระเพาะปัสสาวะ 
    • สารเคมี บางคนอาจไวต่อสารเคมีที่พบในผลิตภัณฑ์บางชนิด เช่น สบู่ที่มีส่วนผสมของน้ำหอม (Perfumed Soap) หรือ สบู่ทำฟองในอ่างอาบน้ำ (Bubble Bath) ฯลฯ ที่ส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาการแพ้ขึ้นภายในกระเพาะปัสสาวะ 
    • การใช้สายสวนปัสสาวะเป็นเวลานาน สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการควบคุมและการขับถ่ายปัสสาวะผิดปกติ (เช่น โรคสมอง,โรคเกี่ยวกับไขสันหลัง) ทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียและเนื้อเยื่อเสียหาย 
    • ภาวะแทรกซ้อนของภาวะอื่น ๆ เช่น เบาหวาน นิ่วในไต ต่อมลูกหมากโต หรือการบาดเจ็บไขสันหลัง 

อาการโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

มักไม่ก่อให้เกิดความกังวลร้ายแรง แต่อาการเหล่านั้นอาจคล้ายกับอาการอื่น ๆ การวินิจฉัยที่ถูกต้องจึงเป็นเรื่องสำคัญ  โดยอาการที่สำคัญ คือ ปัสสาวะบ่อย แสบขัด อาจบ่อยมากทุกๆ 1-2 ชั่วโมง หรือกระปริบประปรอย หรืออาจแสบขัดมาก จนไม่อยากถ่ายปัสสาวะแล้วแต่ความรุนแรงของโรค โดยสังเกตุอาอาการดังนี้

  • มีอาการปวดแสบขัดเวลาปัสสาวะ
  • ปัสสาวะไม่ค่อยสุดหรือมีปัสสาวะหยดหรือไหลซึมออกมาอีก
  • ปวดท้องน้อยตอนปัสสาวะสุด อาจปวดมากแบบบิดเกร็งหรืออาจปวดแบบถ่วงๆแบบเป็นๆหายๆหรืออาจรู้สึกปวดตลอดเวลา
  • พอรู้สึกปวดต้องไปรีบถ่าย บางครั้งกลั้นไม่ได้จน มีปัสสาวะเล็ดออกมา
  • ปวดปัสสาวะอย่างเร่งด่วน บ่อย หรือเจ็บปวดเป็นเวลาหลายชั่วโมงหรือนานกว่านั้น 
  • ปัสสาวะมีเลือดหยดออกมาตอนสุด หรือมีเลือดปนในน้ำปัสสาวะ ทำให้กรวยไตอักเสบได้ หรือเกิดขึ้นหลังการรักษาด้วยเคมีบำบัด หรือ การฉายรังสีสำหรับโรคมะเร็ง 
  • สีของปัสสาวะเข้ม ขุ่น หรือมีกลิ่นแรง
  • ต้องตื่นลุกขึ้นมาปัสสาวะเกิน 2 ครั้งขึ้นไปในคืนหนึ่งๆ
  • รู้สึกไม่ค่อยสบาย ปวดเมื่อย และรู้สึกเหนื่อย
  • มีไข้และปวดหลังส่วนล่างหรือสีข้าง เนื่องจากโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบมักไม่ทำให้เกิดไข้สูง หากพบว่ามีอุณหภูมิร่างกาย 38 องศา (100.4F) ขึ้นไป อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อในไต หรือ เรียกอีกอย่างว่า กรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis) 
  • หากกำลังตั้งครรภ์ และมีอาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ 

ในกรณีที่กระเพาะปัสสาวะอักเสบเล็กน้อย หรือเป็นแบบเรื้อรัง อาการดังกล่าวข้างต้น อาจมีเพียงเล็กน้อยจนผู้ป่วยไม่ได้สังเกตอาการหรืออาจเคยชินกับอาการเหล่านั้นและถ้าไม่ได้รับการรักษา และปล่อยทิ้งไว้นานจะทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพชีวิตได้

อาการโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

การรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเป็นโรคที่ไม่รุนแรง สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ถ้ามีอาการมาก และไม่ไปพบแพทย์เพื่อรักษาด้วยวิธีที่ถูกต้องอาจอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ หากเชื้อโรคในกระเพาะปัสสาวะไต่เข้าสู่กรวยไต ซึ่งแนวการรักษาหลักๆ คือ

  • การให้ยาปฏิชีวนะประมาณ 3-5 วันขึ้นอยู่กับชนิดของยา ร่วมกับการรักษาตามอาการหากจำเป็น เช่น ยาแก้ปวดชนิดคลายการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ
  • ให้ยาฆ่าเชื้อโรคที่เหมาะสม ทั้งชนิดยา ขนาดยาและระยะเวลาที่ให้
  • ให้ยารักษาอาการเช่น อาการปวด อาการเจ็บแสบ อาการปัสสาวะลำบาก
  • พยายามดื่มน้ำให้มากๆ หรือให้ดื่มน้ำเสมอๆ วันละ 2-5 ลิตรต่อวัน (24 ชั่วโมง)
  • ให้รักษาอนามัยของร่างกาย และอนามัยในกิจกรรมทางเพศ
  • ต้องติดตามตรวจปัสสาวะหลังให้ยารักษา (5-10 วัน)
  • ผู้ป่วยไม่ควรซื้อยารับประทานเอ งเนื่องจากอาจได้ยาที่ไม่ตรงกับชนิดของเชื้อโรคและจะทำให้ดื้อยาได้ง่าย

พบเสมอ ๆ ที่อาการทุเลาหรือหายไปแล้วแต่การอักเสบยังมีอยู่หรือยังมีต้นเหตุที่เอื้ออำนวย หรือ เกิดร่วมกันอยู่ ซึ่งถ้าไม่คิดตามกำจัดโรค และต้นเหตุให้หายขาดอาจกลับเป็นซ้ำหรือกลายเป็นโรคเรื้อรัง เป็นผลเสียต่อสุขภาพชีวิตในบางรายโรคอาจลุกลามไปที่ไตซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะไตวายได้ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิต

การป้องกันโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ การดื่มน้ำ 8 – 10 แก้วต่อวัน อาจช่วยยับยั้งแบคทีเรียที่เพิ่มจำนวนในกระเพาะปัสสาวะได้ หรือขับเชื้อโรคออกจากร่างกาย
  • ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ และไปห้องน้ำทันทีที่รู้สึกปวดปัสสาวะ
  • เมื่อขับถ่ายเรียบร้อย ควรทำความสะอาด ไม่ว่าจะหลังจากปัสสาวะ หรืออุจจาระอย่างถูกต้อง โดยสำหรับผู้หญิงแนะนำให้เช็ดทำความสะอาดอวัยวะเพศจากด้านหน้าไปด้านหลังเสมอ ป้องกันแบคทีเรียในบริเวณทวารหนักไม่ให้แพร่กระจายไปยังช่องคลอด และท่อปัสสาวะล้างตำแหน่งของการปัสสาวะและอวัยวะเพศหลังจากมีเพศสัมพันธ์ให้เร็วที่สุด
  • ทำความสะอาดร่างกายหลังมีเพศสัมพันธ์
  • ไม่ใช้ผลิตภัณฑ์อาบน้ำที่มีส่วนผสมของน้ำหอม หรือแป้งฝุ่นบริเวณอวัยวะเพศ  
  • อาบน้ำฝักบัว แทนการอาบน้ำในอ่าง เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้อวัยวะเพศสัมผัสกับสารเคมีในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดนานเกินไป
  • สวมกางเกงชั้นในที่ทำจากผ้าฝ้าย แทนผ้าใยสังเคราะห์ เช่น ไนลอน และไม่สวมกางเกงยีนส์และกางเกงขายาวรัดรูป

ตรวจโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ที่ภูเก็ตตรวจได้ที่ไหน?

ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก ให้บริการที่ใกล้ชิด ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมทั้งทีมงานที่มีความชำนาญ พร้อมให้คำปรึกษาและ การรักษา โดยคุณสามารถเข้ารับบริการได้ทั้ง walk-in หรือนัดหมายล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับบริการ
จองคิวออนไลน์ https://phuketmedicalclinic.youcanbook.me
เวลาทำการ 🕙 10:00-18:00 น. ทุกวัน
เบอร์ติดต่อ ☎️ 096-696-2449
Line id : @pmcphuket (มี @ ด้วยนะครับ) หรือ https://lin.ee/R1TKRDo
แผนที่ 📌https://goo.gl/maps/xu45eTQUTjgpukJa7
Website 🌐https://phuketmedicalclinic.com
ปรึกษาแพทย์หรือสอบถามเพิ่มเติมได้เลยนะครับ
Inbox : m.me/100483916443107
สุขภาพคุณให้เราดูแล#คลินิกภูเก็ต
Phuket #Clinic #ภูเก็ตเมดิคอลคลินิก