ไวรัส RSV มักทำให้เกิดโรคหลอดลมฝอยอักเสบในเด็กเล็ก และแพร่ระบาดได้รวดเร็วทำให้เด็กป่วยพร้อมกันเป็นจำนวนมาก โรคนี้มักมีความรุนแรงกว่าไข้หวัดทั่วไป ทำให้เด็กมีอาการหอบเหนื่อยหรือมีภาวะปอดอักเสบร่วมด้วยมักพบในฤดูฝนและฤดูหนาว

เตือนระวัง ไวรัส RSV ภัยร้ายใกล้ตัวเด็ก

ไวรัส RSV คืออะไร?

ไวรัส RSV เป็นไวรัสชนิดที่มีเปลือกหุ้ม มีชื่อเต็มว่า Respiratory Syncytial Virus  เป็นไวรัสชนิดหนึ่งที่ก่อโรคทางระบบทางเดินหายใจ ที่พบบ่อยในเด็กโดยเฉพาะเด็กเล็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่าง

สาเหตุมาจากไข้หวัด หลอดลมอักเสบ ซึ่งพบได้บ่อยในเด็ก ส่วนมากอาการไม่รุนแรง มักหายป่วยภายใน 1 – 2 สัปดาห์ แต่อาจจะพบว่ามีอาการรุนแรงได้ในเด็กเล็ก โดยเฉพาะเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี เด็กคลอดก่อนกำหนด เด็กที่เป็นโรคหัวใจ หรือโรคปอดร่วมด้วย นอกจากนี้การติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวีในผู้สูงอายุ อาจทำให้เกิดอาการรุนแรงเช่นเดียวกับเด็กเล็กได้  

สาเหตุการติดเชื้อไวรัส RSV

สาเหตุการติดเชื้อไวรัส RSV เกิดจากการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ที่ติดเชื้อ โดยไวรัสเข้าสู่ร่างกายผ่านทางตา จมูก ปาก หรือสัมผัสเชื้อโดยตรงจากการจับมือ ในประเทศไทยมักพบเชื้อไวรัส RSV ได้บ่อยในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว ซึ่งไวรัสจะมีชีวิตอยู่ภายนอกร่างกายได้เป็นเวลาหลายชั่วโมง โดยอาศัยอยู่ตามวัตถุต่าง ๆ และแพร่กระจายได้ง่ายผ่านการไอ หรือการจาม

ไวรัส RSV กับไข้หวัดต่างกันอย่างไร

เชื้อไวรัส RSV จะมีอาการคลายเป็นไข้หวัดธรรมดา แต่ก็มีข้อแตกต่างระหว่างไข้หวัด และไวรัส RSV ที่เราสามารถสังเกตได้ ดังนี้

  • ถ้าเป็นไข้หวัดธรรมดา ไข้มักไม่สูงมาก ผ่านไป 2-3 วัน อาการจะดีขึ้น แต่หากติดไวรัส RSV อาจจะมีไข้สูงถึง 39-40 องศา และมักเป็นยาวนานถึง 5-10 วัน
  • ไวรัสชนิดนี้มักลงทางเดินหายใจส่วนล่างในทารกและเด็ก อาจทำให้ปอดบวม ปอดอักเสบ และหลอดลมอักเสบได้ คือมีอาการไอมาก ไอจนอาเจียน หายใจหอบ
  • ถ้าเป็นไข้หวัดทั่วๆ ไป ผ่านไป 2-3 วัน อาการมักดีขึ้น แต่ถ้าเป็นเชื้อไวรัส RSV 3-4 วันผ่านไป อาการมักจะแย่ลง คือไอเยอะขึ้นเรื่อยๆ
  • ไอนาน มีน้ำมูกเยอะ มีเสมหะมากกว่าเด็กที่เป็นไข้หวัดธรรมดา ซึ่งสิ่งที่น่ากังวลคือ พอเด็กมีน้ำมูกเยอะ หรือเสมหะเยอะ บางครั้งเขาเอาออกเองไม่ได้ เขาจะหายใจลำบาก

อาการของการติดเชื้อไวรัส RSV

ผู้ป่วยมักจะมีอาการ 4 – 6 วันหลังได้รับเชื้อ อาการโดยทั่วไปอาจเป็นเพียงไข้หวัดธรรมดา แต่อาการจำเพาะของเชื้อนี้ที่มักพบในเด็กเล็กคือ หลอดลมฝอยอักเสบ ซึ่งจะทำให้เด็กมีอาการคล้ายหอบหืด อาการที่พบมีดังนี้

  • มีไข้ ไอ จาม และน้ำมูก และหายได้เองในเวลา 1-2 สัปดาห์
  • มีอาการเซื่องซึม เบื่ออาหาร รับประทานอาหารได้น้อยลง
  • มีอาการขาดน้ำ ซึ่งสังเกตได้จากปัสสาวะลดลง หรือสังเกตได้จากตอนร้องไห้จะไม่มีน้ำตาไหลออกมา
  • หายใจหอบเหนื่อย หายใจลำบาก  อกบุ๋ม ได้ยินเสียงปอดผิดปกติ หายใจครืดคราด หรือหายใจมีเสียงหวีด
  •  อาจจะพบอาการร้องกวน ซึมลง ในเด็กทารก
  • มีอาการตัวเขียว หรือริมฝีปากเขียวคล้ำ
  • ไอเสียงดัง แบบมีเสมหะ 
  • มีเสมหะในลำคอมาก เป็นสีเทา สีเขียว หรือสีเหลือง
  • มีน้ำมูกเหนียว
  • เด็กที่มีโรคประจำตัวเช่น โรคหัวใจ โรคปอด หรือหอบหืดยู่แล้ว อาจมีอาการหนักถึงขั้นหยุดหายใจเป็นช่วงๆ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
  • ปลายนิ้วหรือปากเปลี่ยนเป็นสีเขียวคล้ำ ซึ่งเกิดจากภาวะขาดออกซิเจน
  • เด็กทารกที่มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส
  • เด็กที่ภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง เด็กที่คลอดก่อนกำหนด โรคหัวใจ โรคปอดเรื้อรัง บางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนเช่น หูอักเสบ ไซนัสหรือปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน ซึ่งจะมีอาการรุนแรงมากขึ้นได้

การรักษาการติดเชื้อไวรัส RSV

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ไม่มียารักษาโรคติดเชื้อไวรัส RSV มีแค่รักษาตามอาการ หากอาการแค่เป็นหวัดจากเชื้อ RSV ให้รักษาตามอาการที่บ้านได้ เช่น 

  • ทานยาลดไข้ตามอาการทุก 4-6 ชม. เช็ดตัวลดไข้ นอนพักผ่อนเยอะๆ ให้ร่างกายฟื้นตัว
  • กินยาแก้ไอละลายเสมหะ การดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อป้องกันภาวะการขาดน้ำ และรักษาร่างกายให้อบอุ่น

แต่หากกินยาแล้วอาการไม่ดีขึ้นในวันที่ 4 ช่วงนี้จะอันตราย หากมีอาการหนักต้องรีบส่งตัวเข้าโรงพยาบาล แพทย์จะให้การรักษาตามอาการ  ดังนี้

  • ให้น้ำเกลือและยาขยายหลอดลม ถ้ามีเสมหะมากจะพ่นยา เคาะปอด ดูดเสมหะ 
  • ถ้าติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนก็ให้ยาปฏิชีวนะ 
  • ถ้ามีภาวะขาดออกซิเจนก็จะใส่เครื่องช่วยหายใจ 
  • การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำในรายที่มีภาวะการขาดน้ำ

เรียกว่าต้องมีทีมบุคลากรทางการแพทย์ดูแลอย่างใกล้ชิด หากรักษาถูกต้องวันที่ 7-9 อาการก็จะดีขึ้น

การป้องกันการติดเชื้อไวรัส RSV

การป้องกันการติดเชื้อไวรัส RSV

ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ป้องกันการติดเชื้อไวรัส RSV จึงควรป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อได้  โดยสามารถป้องกันได้ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการป่วย
  • หลีกเลี่ยงให้เด็กที่คลอดก่อนกำหนดและทารกในช่วงอายุ 1-2 เดือนแรกสัมผัสผู้ที่ติดเชื้อ
  • หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่และน้ำสะอาด เพราะการล้างมือนอกจากจะลดเชื้อ RSV และเชื้ออื่นๆที่ติดมากับมือทุกชนิด ทั้งเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้ถึงร้อยละ 70
  • การใช้แอลกอฮอลเจลถูมือช่วยป้องกันโรคได้บ้าง แต่แนะนำให้ล้างมือบ่อยๆได้ประโยชน์กว่า
  • หลีกเลี่ยงการไปสถานที่ที่แออัด ไม่ควรพาเด็กไปเล่นในที่ๆมีเด็กเล่นอยู่ด้วยกันจำนวนมาก
  • ทำความสะอาดบ้าน รวมทั้งของเล่นเด็กเป็นประจำ เพราะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคได้เช่นกัน
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสควันบุหรี่ เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการรุนแรงในขณะที่มีการติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวีได้
  • ควรรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ดื่มน้ำมากๆ และให้เด็กพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่อยู่ในห้องแอร์ตลอดเวลา
  • สำหรับคุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ปกครองเมื่อบุตรหลานมีอาการป่วยเป็นไข้หวัด ควรแยกเด็กออกจากเด็กปกติเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่เชื้อ
  • ผู้ป่วยควรงดการออกนอกบ้านช่วงที่ไม่สบายเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อไปยังผู้อื่น และควรปิดปากปิดจมูกเวลาไอจาม
  • หากบุตรหลานมีอาการติดเชื้อไวรัส RSV ควรหยุดพักรักษาอาการให้หายขาด ไม่ควรอนุญาติให้บุตรหลานไปโรงเรียนก่อนที่อาการจะหายเนื่องจากสามารถแพร่เชื้อไวรัสให้แก่เด็กคนอื่นๆได้
  • หลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กได้รับการสัมผัสโดยตรงจากคนแปลกหน้า เช่น การกอดหรือหอมแก้มเพื่อเป็นการป้องกันเชื้อไวรัส RSV

เนื่องด้วยสภาพแวดล้อมของประเทศไทยที่มีอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย โรคต่าง ๆ ก็มีมากมาย ทุกคนต้องหมั่นดูแลสุขภาพตัวเอง โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกน้อย รวมถึงผู้ที่ดูแลเด็กเล็ก ๆ ควรเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดและดูแลน้องให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ หากมีอาการเข้าข่ายว่าติดเชื้อไวรัส RSV ควรรีบพามาพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อการรักษาที่ทันท่วงที เพราะหากปล่อยไว้นานเกินไป อาการเด็กอาจย่ำแย่ลง และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ติดต่อเรา

ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก ให้บริการที่ใกล้ชิด ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมทั้งทีมงานที่มีความชำนาญ พร้อมให้คำปรึกษาและ การรักษา โดยคุณสามารถเข้ารับบริการได้ทั้ง walk-in หรือนัดหมายล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับบริการ
จองคิวออนไลน์ https://phuketmedicalclinic.youcanbook.me
เวลาทำการ 🕙 10:00-18:00 น. ทุกวัน
เบอร์ติดต่อ ☎️ 096-696-2449
Line id : @pmcphuket (มี @ ด้วยนะครับ) หรือ https://lin.ee/R1TKRDo
แผนที่ 📌https://goo.gl/maps/xu45eTQUTjgpukJa7
Website 🌐https://phuketmedicalclinic.com
ปรึกษาแพทย์หรือสอบถามเพิ่มเติมได้เลยนะครับ
Inbox : m.me/100483916443107
สุขภาพคุณให้เราดูแล#คลินิกภูเก็ต
Phuket #Clinic #ภูเก็ตเมดิคอลคลินิก