โรคอีสุกอีใส คืออะไร?

โรคอีสุกอีใส (Chickenpox หรือ Varicella) เป็นโรคระบาดที่แพร่กระจายได้ง่าย มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์ (Varicella-zoster virus, VZV) โดยเชื้อไวรัสนี้จะทำให้เกิดผื่นตุ่มน้ำใส และคัน ซึ่งมักจะเริ่มจากบริเวณหน้าอก หลัง และใบหน้าก่อน จากนั้นจึงลามไปบริเวณอื่นๆ ทั่วร่างกาย ทั้งนี้ อาการไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร และปวดศีรษะ เป็นอาการที่พบร่วมได้บ่อยของผู้ป่วยโรคอีสุกอีใส

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคอีสุกอีใส ได้แก่ การติดเชื้อที่ผิวหนัง ปอดอักเสบ หลอดเลือดอักเสบ สมองอักเสบ รวมถึงการติดเชื้อในกระแสเลือด กระดูก และข้อ นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อนอาจป่วยเป็นโรคงูสวัดในอนาคตได้

เนื่องจากในตุ่มน้ำใสของผู้ป่วยโรคอีสุกอีใสจะมีเชื้อไวรัสวาริเซลลาปนเปื้อนอยู่ การติดต่อของโรคอีสุกอีใสโดยทั่วไปจึงเป็นการติดต่อผ่านทางการสูดหายใจเอาละอองของตุ่มน้ำใสเข้าไป หรือสัมผัสโดยตรงกับตุ่มน้ำใส หรือสัมผัสถูกของใช้ที่มีการปนเปื้อนของเชื้อไวรัส  ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคอีสุกอีใส โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่ไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน หรือยังไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส จะมีโอกาสป่วยเป็นโรคอีสุกอีใสได้สูงถึง 90% 

วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส

การรักษาโรคอีสุกอีใส

โรคนี้ส่วนใหญ่อาการไม่ร้ายแรงและหายเองได้ ด้านการรักษานั้นจะรักษาตามอาการ ดังนี้

  1. การรักษาด้วยยาต้านไวรัสอาจทำให้ระยะเวลาการเป็นโรคสั้นลง ซึ่งผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องได้รับยาต้านไวรัสทุกราย แพทย์มักพิจารณาให้ในรายที่มีความเสี่ยงจะเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง
  2. เช็ดตัวลดไข้ ให้ยาลดไข้ในกลุ่มพาราเซตามอล ห้ามใช้ยาแอสไฟริน
  3. แพทย์อาจพิจารณาให้รับประทานยากลุ่มแอนตี้ฮีสตามีน หรือ ทาคาลาไมน์ โลชั่น เพื่อบรรเทาอาการคัน
  4. ระวังอย่าให้ผู้ป่วยแกะ หรือเกา เพราะอาจเป็นแผลติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้ แนะนำผู้ป่วยตัดเล็บให้สั้น
  5. การฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสจึงเป็นสิ่งที่แนะนำสำหรับบุคคลทุกคน โดยผู้ที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสครบ 2 เข็ม มักจะมีภูมิต้านทานโรคตลอดชีวิต

วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส คืออะไร?

วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส (Varicella Vaccine/Chickenpox Vaccine) ผลิตจากเชื้อไวรัสมีชีวิตชื่อ วาริเซลลา ซอสเตอร์ (Varicella Zoster Virus: VZV) ซึ่งเป็นเชื้อที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส โดยนำมาทำให้อ่อนฤทธิ์ลง วัคซีนจะเข้าไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำให้เกิดการป้องกันโรคอีสุกอีใส

ทั้งนี้ในประเทศไทยมีวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสมีทั้งรูปแบบวัคซีนเดี่ยว (VZV) และวัคซีนรวม (MMRV) ซึ่งเป็นวัคซีนรวมป้องกันโรคหัด โรคคางทูม โรคหัดเยอรมัน และโรคอีสุกอีใสในเข็มเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้วยังอาจมีโอกาสป่วยเป็นโรคอีสุกอีใส แต่อาการที่เกิดมักไม่รุนแรง และหายป่วยเร็วกว่าผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีน และจะมีอาการแสดง และภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน

วัคซีนอีสุกอีใสมีกี่ชนิด?

วัคซีนอีสุกอีใสที่ใช้เป็นวัคซีนเดี่ยว มีอยู่ 3 ชนิด คือ

  1. Varilrix เป็นวัคซีนอีสุกอีใสสายพันธุ์ OKA ในวัคซีน 1 เข็ม มีปริมาณไวรัสไม่ต่ำกว่า 2,000 PFU (Plaque Forming Unit) จะมียาปฎิชีวนะนีโอมัยซิน (Neomycin) ผสมเป็นส่วนประกอบอยู่ในวัคซีน
  2. Varivax เป็นวัคซีนอีสุกอีใสสายพันธุ์ OKA ในวัคซีน 1 เข็ม มีปริมาณไวรัสไม่ต่ำกว่า 1,350 PFU จะมียาปฎิชีวนะนีโอมัยซิน ผสมเป็นส่วนประกอบอยู่ในวัคซีน
  3. Varicella Vaccine-GCC เป็นวัคซีนอีสุกอีใสสายพันธุ์ MAV/06 ในวัคซีน 1 เข็ม มีปริมาณไวรัสไม่ต่ำกว่า 1,400 PFU จะไม่มีส่วนผสมของยาปฎิชีวนะ

ใครควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส ?

  • ผู้ที่ไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน
  • ผู้ที่ต้องใกล้ชิดหรือดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคอีสุกอีใส
  • ผู้ที่อยู่บ้านเดียวกับผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เพราะถ้าผู้ป่วยได้รับเชื้อโรคอีสุกอีใสจะมีอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
  • บุคลากรทางการแพทย์
  • ผู้ที่ทำงานในโรงเรียน สถานรับเลี้ยงเด็ก เช่น ครูหรือพี่เลี้ยงเด็ก
  • ผู้ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้
    • เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 13 ปี ควรได้รับวัคซีนจำนวน 2 เข็ม
      • เข็มแรก : ช่วงอายุ 12 ถึง 15 เดือน
      • เข็มที่สอง : ช่วงอายุ 18 เดือน ถึง 4 ปี
    • ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไป ควรได้รับวัคซีนจำนวน 2 เข็ม โดยห่างกันอย่างน้อย 28 วัน
  • วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสนั้นสามารถฉีดได้ในทุกช่วงเวลาของปี อีกทั้งยังฉีดพร้อมกับวัคซีนชนิดอื่นได้ด้วย นอกจากนี้ เด็กที่มีอายุระหว่าง 12 เดือน ถึง 12 ปี อาจรับเป็นวัคซีนรวมเพียง 1 เข็ม ที่เรียกว่าวัคซีน MMRV ซึ่งเป็นวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส รวมกับวัคซีนป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน (Measles, mumps, and rubella vaccine หรือ วัคซีน MMR)
ใครควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส

ผู้ที่มีภาวะดังต่อไปนี้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับวัคซีน

  • หญิงตั้งครรภ์ หรือกำลังวางแผนจะตั้งครรภ์ภายใน 3 เดือนข้างหน้า
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยวัณโรคที่อยู่ในระยะแสดงอาการ (active TB) ที่ไม่ได้รับการรักษา หรือติดเชื้อเอชไอวี (HIV)
  • ผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
  • เคยมีอาการแพ้อย่างรุนแรงจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสในครั้งก่อน
  • ผู้ที่มีอาการแพ้สารเจลาติน (Gelatin) หรือแพ้ยาปฏิชีวนะนีโอมัยซิน (Neomycin) หรือยาปฏิชีวนะอื่นๆ ที่บรรจุในวัคซีน
  • ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคมะเร็ง อยู่ในช่วงรับประทานยาที่ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน หรือเคยเข้ารับการรักษาโรคมะเร็งด้วยการฉายแสงหรือรับประทานยาเคมีบำบัด
  • รับประทานยาที่มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เช่น สเตียรอยด์
  • ผู้ที่เพิ่งได้รับการถ่ายเลือด ได้รับอิมมูโนโกลบูลิน (Immunoglobulin) หรือส่วนประกอบอื่นของเลือด หรือได้รับผลิตภัณฑ์จากเลือดอื่นๆ เมื่อไม่นานมานี้
  • หากมีไข้หรือเจ็บป่วยเฉียบพลัน ควรเลื่อนการรับวัคซีนออกไปก่อน รอให้หายป่วยก่อนจึงค่อยมารับวัคซีน กรณีเป็นหวัดเล็กน้อย ไม่มีไข้ สามารถรับวัคซีนได้
  • ผู้ที่มีบิดามารดา พี่น้องที่ร่างกายเคยมีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน
  • ผู้ที่รับประทานยากลุ่มซาลิไซเลตเป็นประจำ เช่น ยาแอสไพริน
  • ผู้ที่ได้รับวัคซีนอื่นๆ ที่เป็นเชื้อเป็นในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งอาจใกล้กันเกินไป อาจทำให้วัคซีนไม่ได้ผล

ผลข้างเคียงของวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส

วัคซีนอีสุกอีใสจัดเป็นวัคซีนที่ปลอดภัย แต่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้เช่นเดียวกับยารักษาโรคทั่วไป โดยเกิดขึ้นได้หลายระดับ ตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรงตามแต่ละบุคคล ซึ่งผลข้างเคียงที่อาจพบได้ มีดังนี้

  • ผลข้างเคียงแบบทั่วไปหรือเล็กน้อย  

    หลังจากการฉีดวัคซีนจะมีอาการปวดแขน มีอาการปวด บวมแดง คัน หรือช้ำบริเวณที่ฉีดวัคซีน มีไข้ต่ำ หรือเกิดผื่นขึ้นเล็กน้อย คล้ายโรคอีสุกอีใส แต่จะไม่รุนแรงและหายเองได้ หากมีอาการปวด บวมแดงบริเวณที่ฉีดวัคซีนสามารถประคบเย็นได้ และหากมีไข้ต่ำๆ สามารถรับประทานยาลดไข้ได้ แต่ถ้ามีอาการผิดปกติอื่นนอกเหนือจากนี้ควรปรึกษาแพทย์ อาการเหล่านี้โดยทั่วไปจะเกิดขึ้นภายใน 2 สัปดาห์ หลังจากได้รับวัคซีน และ จะมีโอกาสเกิดน้อยลงเมื่อได้รับวัคซีนครั้งที่สอง

  • ผลข้างเคียงแบบรุนแรง หรือ Anaphylaxis (พบน้อย)  

    บางรายอาจเกิดอาการแพ้รุนแรง ชักจากไข้ เกร็ดเลือดต่ำ สมองอักเสบ ตาแข็ง กล้ามเนื้อเกร็งและกระตุก หรือในรายที่มีอาการแพ้ยาหรือแพ้วัคซีน เช่น มีผื่นคันขึ้นตามลำตัว มีอาการบวมที่ริมฝีปาก เปลือกตา หนังตา ใบหน้า รู้สึกแน่นบริเวณหน้าอก มีปัญหาในการหายใจ มีอาการหายใจไม่สะดวก หายใจลำบาก อ่อนเพลียมาก เกิดรอยช้ำ เลือดออกง่าย หากมีอาการต่างๆ ดังที่กล่าวมาควรรีบพบแพทย์ทันที

ฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส ที่ภูเก็ตได้ที่ไหน?

ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก ให้บริการที่ใกล้ชิด ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมทั้งทีมงานที่มีความชำนาญ พร้อมให้คำปรึกษาและ การรักษา โดยคุณสามารถเข้ารับบริการได้ทั้ง walk-in หรือนัดหมายล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับบริการ
จองคิวออนไลน์ https://phuketmedicalclinic.youcanbook.me
เวลาทำการ 🕙 10:00-18:00 น. ทุกวัน
เบอร์ติดต่อ ☎️ 096-696-2449
Line id : @pmcphuket (มี @ ด้วยนะครับ) หรือ https://lin.ee/R1TKRDo
แผนที่ 📌https://goo.gl/maps/xu45eTQUTjgpukJa7
Website 🌐https://phuketmedicalclinic.com
ปรึกษาแพทย์หรือสอบถามเพิ่มเติมได้เลยนะครับ
Inbox : m.me/100483916443107
สุขภาพคุณให้เราดูแล#คลินิกภูเก็ต
Phuket #Clinic #ภูเก็ตเมดิคอลคลินิก