โรคยอดฮิตของคนวัยทำงานในปัจจุบัน คงหนีไม่พ้นโรคออฟฟิศซินโดรม ซึ่งนับวันอัตราผู้ป่วยจะสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องมาจาก พฤติกรรมในการทำงานของพนักงานออฟฟิศ  ซึ่งมีความแตกต่างกันออกไป บางคนอาจจะมีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การนั่งหลังค่อม นั่งทำงานหน้าจอคอมนาน ๆ โดยไม่ได้เปลี่ยนอิริยาบถ หรือมีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น โต๊ะ เก้าอี้ สูงเกินไป จนส่งผลให้เกิดความเจ็บปวดทางร่างกาย ซึ่งสิ่งที่เราทำทุกวันอยู่นั้นอาจจะส่งผลเสียต่อร่างกาย และอาจเกิดโรคที่เรียกว่า ออฟฟิศซินโดรม

โรคออฟฟิศซินโดรม

โรคออฟฟิศซินโดรม คืออะไร?

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คือ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ และเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) ซึ่งมักเกิดจากการที่ต้องใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำไปมา เป็นระยะเวลานานและต่อเนื่อง โดยผลของมันจะทำให้กล้ามเนื้อเกิดการอักเสบ ตลอดจนปวดเมื่อยตามอวัยวะส่วนอื่น ๆ ไล่ลงมาตั้งแต่คอ หลัง บ่า ไหล่ แขน หรือแม้กระทั่งบริเวณข้อมือก็ไม่เว้น ซึ่งหากผู้ที่พบว่ามีอาการของโรคออฟฟิศซินโดรม แต่ไม่ทำการรักษาตัวในทันทีที่พบ อาการอาจทรุดหนักลงและลุกลามจนผู้ป่วยมีอาการปวดชนิดเรื้อรังก็เป็นได้

สาเหตุโรคออฟฟิศซินโดรม

โดยส่วนมากอาการปวดกล้ามเนื้อจากโรคออฟฟิศซินโดรม มักพบได้บ่อยในคนทำงานออฟฟิศเป็นหลัก นั่นเพราะพฤติกรรมการทำงานที่ต้องนั่นจดจ่ออยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานจนลืมตัว โดยแทบจะไม่มีการขยับตัวปรับเปลี่ยนอิริยาบถใด ๆ หรือลุกขึ้นเดินไปไหนมาไหนเลย ซึ่งนี่เป็นผลทำให้กล้ามเนื้อมัดต่าง ๆ เกิดอาการตึง ยึดเกร็ง และกล้ามเนื้ออักเสบได้ 

อาการโรคออฟฟิศซินโดรม

  • เกิดการปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วน มักมีอาการปวดแบบกว้างๆ โดยไม่สามารถระบุตำแหน่งที่ปวดได้อย่างชัดเจน ตรงบริเวณคอ บ่า ไหล่ สะบัก ส่วนหลัง และสะโพก และมักจะเป็นเรื้อรังไม่หายขาด
  • มีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง หรือวิงเวียนศีรษะเรื้อรัง หรือในบางคนอาจมีอาการปวดหัวไมเกรนร่วมด้วย ซึ่งสาเหตุเกิดจากความเครียดและการใช้สายตาจดจ่อบนหน้าจอคอมพิวเตอร์มากเกินไปเป็นระยะเวลานาน
  • ปวดหลัง เป็นอาการที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคออฟฟิศซินโดรม เนื่องจากต้องนั่งทำงานอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานหลายชั่วโมง อีกทั้งวิธีท่านั่งก็ไม่ถูกสรีระซะทีเดียว โดยผู้มีอาการมักนั่งหลังค่อม ซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อต้นคอเมื่อยล้าและยึดเกร็งอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังรวมไปถึงผู้หญิงที่ใส่ส้นสูงยืนทำงานในออฟฟิศเป็นเวลานาน ก็อาจทำให้มีอาการปวดหลังจากโรคออฟฟิศซินโดรมได้เช่นเดียวกัน
  • มีอาการปวดหรือเกิดเหน็บชาบริเวณขาลงมา  อาการชา มีสาเหตุมาจากการนั่งในท่าเดิม ๆ เป็นเวลานาน จนทำให้เส้นเลือดดำถูกกดทับและการไหลเวียนของเลือดมีความผิดปกติ
  • ปวดตา ตาล้าพร่ามัว เนื่องจากการที่ต้องใช้สายตาจ้องมองหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน หรือใช้สายตาอย่างหนักเป็นเวลานาน และเกิดอาการปวดตามักก่อให้เกิดอาการปวดหัวตามมาได้
  • มีอาการมือชา นิ้วล็อค และปวดข้อมือ  เพราะการใช้คอมพิวเตอร์จับเมาส์ในท่าเดิมๆ นาน ทำให้กล้ามเนื้อกดทับเส้นประสาทและเส้นเอ็นจนอักเสบ เกิดพังผืดทำให้ปวดปลายประสาท นิ้วหรือข้อมือล็อคได้
  • เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ เกิดการบวมหรือเจ็บที่บริเวณเอ็นกล้ามเนื้อ มักเป็นบริเวณหัวไหล่ ข้อศอก ข้อเท้า เข่า และข้อมือ ซึ่งมักเกิดจากอุบัติเหตุ การกระแทก การใช้งานรุนแรง หรือการใช้งานที่บ่อยครั้งเกินไป ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดบริเวณที่มีอาการ
การรักษาโรคออฟฟิศซินโดรม

การรักษาโรคออฟฟิศซินโดรม

มีด้วยกันหลายวิธี ทั้ง การรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยยา การปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน ทำกายภาพบำบัด เพื่อยืดกล้ามเนื้อ ออกกำลังกายเพื่อรักษาการปวดหลังเพิ่มสมรรถภาพร่างกาย และปรับอิริยาบถให้ถูกต้อง การรักษาด้วยศาสตร์ทางเลือกอื่น เช่น การฝังเข็ม การนวดแผนไทย เป็นต้น

ในเบื้องต้น การรักษาจะเน้นวิธีทางกายภาพบำบัด การปรับพฤติกรรมซึ่งเป็นการแก้ที่ต้นเหตุของออฟฟิศซินโดรม และทำให้อาการบาดเจ็บของร่างกายในส่วนนั้นๆ ลดลงได้ 

  • ลดอาการปวดที่เกิดจากกล้ามเนื้อ และเอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ หลีกเลี่ยงการใช้งานหรือลดการเคลื่อนไหวของข้อต่อบริเวณนั้นๆ เช่น หัวไหล่ ข้อมือ ข้อศอก การกายภาพบำบัด หรือใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงต่างๆ ในกรณีที่จำเป็น
  • การยืดกล้ามเนื้อที่ถูกวิธีด้วยตัวเอง เป็นสิ่งจำเป็นเพราะจะช่วยให้เอ็นข้อต่อและเส้นใยกล้ามเนื้อ ที่ได้รับการยืดเหยียดมีความยาวและมุมการเคลื่อนไหวที่ดี  ทำให้สามารถช่วยป้องกันการฉีกขาดของเส้นใยกล้ามเนื้อ และลดการบาดเจ็บที่อาจจะเกิดขึ้นได้
  • ลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด เช่น การทำงานในท่าทางเดิมติดต่อกันเป็นเวลานาน, หลีกเลี่ยงท่าทางในการทำงานที่ไม่ถูกต้อง, จัดโต๊ะทำงานให้สิ่งของที่หยิบใช้บ่อยๆ อยู่ในระยะเอื้อมถึงได้ง่าย ไม่ต้องโน้มตัวหรือเอื้อมมือไปไกล, จัดเวลาการทำงานและการพักผ่อนที่ไม่เหมาะสม 
  • ปรับท่าทางในการทำงานให้ถูกต้องตามหลักสรีระศาสตร์ ด้วยการปรับอุปกรณ์ที่ใช้ ทั้งโต๊ะ เก้าอี้ แสงสว่างบริเวณโต๊ะทำงาน จอคอมพิวเตอร์ รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อให้เหมาะสมกับร่างกายของเรา
  • การนวดแผนไทย  เป็นการรักษาอาการปวดวิธีแรกที่มนุษย์เรารู้จัดตั้งแต่โบราณกาล และเป็นวิธีทางธรรมชาติที่เกิดจากการเรียนรู้ เช่น ปวดตรงไหนก็ถู บีบนวดตรงนั้น 
  • การฝังเข็ม อาศัยกลไกในการยับยั้งความเจ็บปวด ช่วยให้เกิดการหลั่งสารสื่อประสาทให้ออกฤทธิ์ต่อประสาทส่วนกลางที่ระดับไขสันหลัง เพื่อช่วยระงับปวด ทำให้กล้ามเนื้อคลายจุดปวด ปรับสมดุลของอวัยวะต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพปกติ
  • การรับประทานยา เป็นเรื่องใกล้ตัวของทุกคน ดังนั้น ก่อนรับประทานยาทุกครั้ง จำเป็นต้องอ่านฉลากยาอย่างละเอียด และปฏิบัติตามฉลากอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ออกกำลังกาย เป็นหนึ่งในการรักษาที่สำคัญของออฟฟิศซินโดรม เพราะการที่กล้ามเนื้อไม่ยืดหยุ่นและไม่แข็งแรงพอ จะไม่อาจทนทานต่อการใช้งานกล้ามเนื้อที่ต่อเนื่องยาวนาน จนทำให้เกิดอาการออฟฟิศซินโดรมซ้ำๆ ไม่หายขาดเสียที 
    ซึ่งการออกกำลังกายในโรคนี้ที่สำคัญจะแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
    • การออกกำลังกายเพื่อยืดเหยียดกล้ามเนื้อ จุดประสงค์เพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น ลดการตึงตัวของกล้ามเนื้อที่มักจะมีการหดเกร็งจากการใช้งานติดต่อกันอย่างยาวนาน ซึ่งการยืดเหยียดนี้สามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่มีช่วงที่ยังมีอาการปวดอยู่  
    • การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้แก่กล้ามเนื้อ จุดประสงค์เพื่อสร้างความแข็งแรงทนทานให้แก่กล้ามเนื้อมัดนั้นๆ ให้สามารถทำงานได้ต่อเนื่องยาวนานมากขึ้นซึ่งการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงนี้มักจะเริ่มทำเมื่ออาการปวดในระยะเฉียบพลันมีอาการทุเลาลง โดยเริ่มจากการออกกำลังกายแบบเกร็งกล้ามเนื้อ หรือ Isometric strengthening exercise ก่อน เพราะมักไม่ทำให้มีอาการปวดมากขึ้นในช่วงที่ยังมีอาการปวดเฉียบพลันอยู่ หลังจากนั้นจึงค่อยเพิ่มการออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงแบบอื่นต่อไปตามลำดับ

การป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม 

การป้องกันอาการเจ็บปวดจากการทำงานที่ได้ผลดี และทำได้ด้วยตัวเอง มีดังนี้

  • ปรับสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสมกับสรีระ
  • การออกกำลังกายให้กล้ามเนื้อแข็งแรง เน้นการออกกำลังกายที่ได้เคลื่อนไหวร่างกายทุกส่วน โดยเฉพาะบริเวณกล้ามเนื้อและเอ็นกล้ามเนื้อที่มักเจ็บปวดได้ง่าย 
  • การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เพื่อคลายกล้ามเนื้อที่ถูกใช้งานระหว่างทำงาน
  • ระหว่างนั่งทำงานให้หยุดพักทุกหนึ่งชั่วโมง ด้วยการลุกเดิน เปลี่ยนท่าทาง เพื่อให้ร่างกายได้พักไปในตัว  หรือหาเวลาไปเดินผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และพักสายตาอย่างน้อยทุก ๆ 1 ชั่วโมงกำลังดี
  • กายบริหารเบาๆ ด้วยอุปกรณ์ใกล้ตัว เช่นขวดน้ำบนโต๊ะทำงาน ลูกบอลบีบบริหารมือ เป็นต้น
  • การป้องกันด้วยอุปกรณ์พยุงต่างๆ ไม่ควรซื้อมาลองใช้เอง ควรปรึกษาแพทย์ 
  • หากพบว่ามีอาการปวดกล้ามเนื้อที่ไม่สามารถหายได้จากการยืดกล้ามเนื้อ การปรับสรีระการทำงาน หรือการดูแลรักษาเบื้องต้นด้วยตนเอง ให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคออฟฟิศซินโดรมโดยทันที

การตรวจโรคออฟฟิศซินโดรม ที่ภูเก็ตตรวจได้ที่ไหน?

ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก ให้บริการที่ใกล้ชิด ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมทั้งทีมงานที่มีความชำนาญ พร้อมให้คำปรึกษาและ การรักษา โดยคุณสามารถเข้ารับบริการได้ทั้ง walk-in หรือนัดหมายล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับบริการ
จองคิวออนไลน์ https://phuketmedicalclinic.youcanbook.me
เวลาทำการ 🕙 10:00-18:00 น. ทุกวัน
เบอร์ติดต่อ ☎️ 096-696-2449
Line id : @pmcphuket (มี @ ด้วยนะครับ) หรือ https://lin.ee/R1TKRDo
แผนที่ 📌https://goo.gl/maps/xu45eTQUTjgpukJa7
Website 🌐https://phuketmedicalclinic.com
ปรึกษาแพทย์หรือสอบถามเพิ่มเติมได้เลยนะครับ
Inbox : m.me/100483916443107
สุขภาพคุณให้เราดูแล#คลินิกภูเก็ต
Phuket #Clinic #ภูเก็ตเมดิคอลคลินิก