เอชไอวี เป็นเชื้อไวรัสที่จะทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว CD4 ซึ่งทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรคและเชื้อไวรัสต่าง ๆ เมื่อเซลล์ CD4 ถูกทำลายจนอ่อนแอลงเรื่อย ๆ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายก็จะถูกเชื้อไวรัสเอชไอวีโจมตีจนไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้และก่อให้เกิดโรคเอดส์ในที่สุด 

สาเหตุการติดเชื้อเอชไอวีที่พบบ่อยที่สุด คือ ติดเชื้อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ส่งผ่านจากแม่สู่ลูกระหว่างการตั้งครรภ์ สัมผัสเลือด น้ำอสุจิ ของเหลวจากช่องคลอดของผู้ติดเชื้อ หรือแม้แต่น้ำนมแม่ก็สามารถแพร่เชื้อเอชไอวีได้เช่นกัน

การตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวี  ถ้าผลตรวจออกมาเป็นลบ หรือไม่เจอเชื้อ ก็เป็นการได้เริ่มต้นป้องกันตัวเองอย่างจริงจัง หรือถ้าตรวจเจอเชื้อ ก็ถือว่าเป็นการรู้ตัวตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อได้เข้าสู่กระบวนการรักษาแต่เนิ่นๆ จะได้ไม่ป่วยหรือ เสียชีวิตจากโรคเอดส์ อีกทั้งสามารถป้องกันคนที่เรารักและคนอื่นๆ ไม่ให้ติดเชื้อเอชไอวีจากเราได้

ตรวจหาเชื้อเอชไอวีไม่เจอ

การตรวจหาเชื้อไวรัสเอชไอวี

สามารถแบ่ง 2 ลักษณะ คือ ตรวจคัดกรอง และตรวจยืนยัน

  • การตรวจคัดกรอง คือ การตรวจเพื่อกรองบุคคลผู้มีความเสี่ยงจากการได้รับเชื้อเอชไอวี ว่ามีโอกาสได้รับเชื้อหรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการตรวจโดย Rapid Test เป็นชุดตรวจที่ตรวจง่าย รู้ผลรวดเร็วภายในไม่กี่นาที ซึ่งมีความแม่นยำสูง  หากผลตรวจพบว่า มีโอกาสพบเชื้อเอชไอวี ผู้ตรวจควรดำเนินการตรวจยืนยันที่โรงพยาบาล หรือคลินิกได้ทันที การตรวจแบบคัดกรองนี้ไม่สามารถยืนยัน หรือสรุปได้ว่าคุณเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี
  • การตรวจยืนยัน คือ การตรวจยืนยัน อีกครั้งหลังจาก คุณทำการตรวจคัดกรองมาแล้ว และพบว่ามีโอกาส ได้รับการติดเชื้อเอชไอวี  ทำไมถึงต้องตรวจคัดกรองก่อน เพราะปัจจุบัน การตรวจยืนยัน ยังอาจใช้เวลานาน กว่าจะทราบผล และมีผู้ป่วยมารับบริการจำนวนมาก ดังนั้นหากมีการตรวจคัดกรองมาก่อน ก็จะสามารถช่วยคัดกรองผู้ป่วย ที่มีโอกาสพบเชื้อ กับผู้ที่ไม่มีโอกาสพบเชื้อ ให้สามารถเข้าสู่ระบบการตรวจรักษาได้เร็วขึ้น และลดภาระงาน ในการตรวจของเจ้าหน้าที่ได้มากขึ้น

ชุดตรวจเอชไอวี มีขีดความสามารถในการตรวจเชื้อไวรัสเอชไอวีได้ต่ำสุด คือ 20, 40 หรือ 50 copies ต่อซีซีของเลือด

การแปลผลการตรวจหาเชื้อไวรัสเอชไอวี

  • ผลเลือดเป็นลบ (Non-reactive หรือ Negative) ไม่มีเชื้อ หรืออาจยังไม่พบเชื้อ เนื่องจากอยู่ในระยะฟักตัว  ซึ่งหากมีการติดเชื้อ จะสามารถแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่นได้ จึงควรมาตรวจซ้ำอีกครั้งในระยะ 3-6 เดือน หรือใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
  • ผลเลือดเป็นบวก (Reactive หรือ Positive) เจ้าหน้าที่จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลตัวเอง และส่งต่อเพื่อเข้าสู่ระบบการรักษา และรับยาต่อไป
  • ผลเลือดเป็น Invalid คือผู้ที่มีผล HIVเป็นบวกแต่ตรวจแล้วไม่พบเชื้อ ไม่สามารถแพร่เชื้อ HIVสู่ผู้อื่นได้ แต่ต้องทานยาอย่างสม่ำเสมอเพื่อคงสถานะตรวจสอบไม่พบเชื้อเอชไอวีนี้เอาไว้

ซึ่งการแปลผลตรวจจะอาศัยผลตรวจทางห้องปฏิบัติการควบคู่กับความเสี่ยง หรือพฤติกรรมของผู้เข้ารับการตรวจก่อนหน้าการตรวจเลือดดังต่อไปนี้

  • กรณีที่ผู้เข้ารับการตรวจไม่มีประวัติเสี่ยงรับเชื้อและตรวจคัดกรองได้ผลลบ แสดงว่าผู้นั้นไม่ติดเชื้อเอชไอวี
  • กรณีที่ผู้เข้ารับการตรวจมีประวัติเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และตรวจด้วยคัดกรองวิธีแรกได้ผลบวก จะต้องตรวจซ้ำด้วยชุดตรวจที่ต่างกับชุดตรวจแรกอีก 2 ชุด ถ้าให้ผลบวกเหมือนกับชุดแรกจะรายงานว่าผู้เข้ารับการตรวจมีผลเลือดบวก นั่นคือมีการติดเชื้อ HIV แพทย์จะนัดมาเจาะเลือดซ้ำเพื่อยืนยันผลอีกครั้งหนึ่ง รวมถึงมีตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ปริมาณไวรัสในเลือด ปริมาณเซลล์เม็ดเลือดขาว ปริมาณเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด CD4 ลิมโฟไซต์ เพื่อใช้ประเมินและวางแผนการรักษาด้วยยาต้านไวรัสต่อไป
  • แต่ถ้ากรณีผลการตรวจซ้ำไม่สอดคล้องกับการตรวจครั้งแรก แพทย์จะนัดมาเจาะเลือดตรวจอีกครั้งหนึ่งหลังจากการตรวจครั้งแรก 2 สัปดาห์และติดตามจนครบ 1 เดือนอีกครั้ง โดยในระหว่างนี้ผู้ที่เข้ารับการตรวจจะได้การแนะนำในการดูแลตัวเองเพื่อไม่ให้รับเชื้อเพิ่มหรือแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น ถ้าภายหลัง 1 เดือนตรวจได้ Non-reactive แสดงว่าผู้เข้ารับการตรวจไม่ติดเชื้อ แต่ถ้าให้ผลบวกแสดงว่าติดเชื้อ

ตรวจหาเชื้อเอชไอวีไม่เจอ เกิดขึ้นจากสาเหตุอะไร?

การจะแพร่เชื้อได้นั้น จะต้องมีปริมาณของเชื้อไวรัสมากพอสมควร โดยเกณฑ์ที่ใช้เทียบเคียง คือ ต้องมีปริมาณไวรัสในเลือดตั้งแต่ 200 – 1,000 copies/ซีซีของเลือด จึงจะสามารถแพร่เชื้อได้ และชุดตรวจเอชไอวีในปัจจุบัน สามารถตรวจได้ต่ำสุดตั้งแต่ 20-50 copies/ซีซีของเลือด

การตรวจเอชไอวีไม่เจอนั้น สามารถเกิดขึ้นได้ จาก 2 กรณี ได้แก่

  • กรณีตรวจเอชไอวีไม่พบเชื้อ เพราะตรวจเร็วเกินไป  คือ ระยะเวลาในการตรวจนั้น เร็วเกินไป ผู้ที่ได้รับความเสี่ยงมา บางคนอาจจะใจร้อน รีบตรวจเกินไปร่างกายยังไม่มีการสร้างแอนติบอดีขึ้นมา ทำให้หากตรวจในระยะเวลาที่เร็วเกินไปอาจจะตรวจไม่เจอเอชไอวี นั่นเอง  ปัจจุบันวิธีการตรวจจะพัฒนาขึ้นมาก และสามารถตรวจได้เร็วสุดภายในหนึ่งสัปดาห์ ด้วยวิธีการตรวจแบบ NAT แต่หากตรวจด้วยวิธีอื่น ระยะเวลาที่ดีที่สุดที่สมควรตรวจ คือ 30 วัน และควรตรวจซ้ำอีกทุก 30 วัน เป็นเวลา 3 เดือน หรือตรวจอีกครั้งหลัง 3 เดือน ก็สามารถทำได้ แต่หากตรวจพบว่ามีโอกาสพบเชื้อตั้งแต่ครั้งแรก ให้รีบตรวจยืนยันที่โรงพยาบาล หรือคลินิก ทันที หากไม่พบเชื้อถึงจะสามารถปิดเคสได้
  • กรณีตรวจเอชไอวีไม่พบเชื้อ เนื่องจากรับประทานยาต้านไวรัส คือ เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีอยู่แล้ว โดยรับประทานยาต้านไวรัสสอย่างต่อเนื่อง ในทุกๆ วัน ติดต่อกันนานกว่า 6 เดือนขึ้นไป อาจจะตรวจไม่เจอเชื้อ (undetectable)  ซึ่งบุคคลเหล่านี้มีความเป็นไปได้ที่จะมีปริมาณไวรัสเอชไอวีอยู่ในเลือดต่ำกว่า 50 copies ต่อซีซีของเลือด ซึ่งมีปริมาณน้อยจนตรวจไม่พบ และไม่แพร่เชื้อไปสู่คนอื่นได้  จึงทำให้ชุดทดสอบตรวจไม่เจอ ซึ่งไม่ได้หมายความว่า เชื้อหมดจากร่างกายแล้ว เพียงแต่ทานยาต้านไวรัสต่อเนื่อง แต่หากหยุดทานยา เชื้อก็จะเพิ่มขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์
ตรวจเอชไอวีเร็วเกินไป

ตรวจหาเชื้อเอชไอวี มีโอกาสได้ผลผิดพลาดไหม?

มีโอกาสผิดพลาด คือ ได้รับผลการทดสอบเอชไอวีผิดพลาด จากการทดสอบที่ไม่ถูกต้อง อาจทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ผิดพลาดตามไปด้วย เพราะการทดสอบมีระยะเวลา 3-6 เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่ใครๆ ก็สามารถติดเชื้อเอชไอวีได้ แต่ไวรัสจะไม่ปรากฏในการทดสอบแอนติบอดี ซึ่งหมายความว่าอาจมีคนติดเชื้อเอชไอวีในช่วงเวลาดังกล่าว แต่จะไม่ปรากฏในการทดสอบแอนติบอดีจนกว่าจะผ่านไปนาน 6 เดือน

U = U ตรวจไม่เจอเชื้อเอชไอวี = ไม่แพร่เชื้อ จริงหรือไม่

U = U หรือ Undetectable = Untransmittable  หรือ ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่

U ตัวแรกคือ Undetectable หมายถึง ตรวจไม่เจอเชื้อ และ U ตัวที่สองก็คือ Untransmittable หมายถึง ไม่สามารถแพร่เชื้อต่อได้ 

หากตรวจเลือดแล้ว ไม่เจอว่ามีการติดเชื้อ และไม่ทำตัวเองให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อขึ้นอีกได้ การตรวจไม่เจอว่าติดเชื้อ ก็คือไม่แพร่เชื้อเช่นกัน แต่ถ้าหากมีพฤติกรรมเสี่ยงอยู่ เช่น การไม่สวมถุงยางอนามัยเวลามีเพศสัมพันธ์ หรือการใช้ PrEP หลังจากเสี่ยงสัมผัสเชื้อ ก็ทำให้เป็นผู้ที่ไม่ติดเชื้อมีโอกาสติดเชื้อได้อยู่

ตรวจไม่เจอหมายความว่าหายแล้ว?

การตรวจไม่เจอเชื้อไวรัสเอชไอวีในเลือด (Undetectable HIV viral load) ไม่ได้หมายความว่าไม่มีเชื้อแล้ว แต่หมายความว่ายาได้ไปฆ่าไวรัสจนเหลือน้อยมาก อย่างไรก็ตาม ยังมีไวรัสหลบซ่อนตัวอยู่ในที่ต่างๆ ทั่วร่างกาย เช่น ในสมอง ต่อมน้ำเหลือง หรือลำไส้ ดังนั้นหากคนไข้หยุดกินยาต้านไวรัส จำนวนเชื้อเอชไอวี ก็จะเพิ่มขึ้น ภูมิคุ้มกันจะตกลงและมีโอกาสป่วยได้อีก

ตรวจไม่เจอ=ไม่แพร่เชื้อ?

ปัจจุบันมีคอนเซ็ปต์ U = U หรือ Undetectable = Untransmissible หมายความว่า ไม่เจอเชื้อ = ไม่แพร่เชื้อ หากผู้ติดเชื้อได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสและกินยาอย่างสม่ำเสมอเคร่งครัด จนมีปริมาณเชื้อไวรัสเอชไอวี ในเลือดที่ต่ำมาก (ต่ำกว่า 50 copies ต่อ มล.) หรือตรวจไม่พบเชื้อ (Undetectable) ติดต่อกันก็จะไม่สามารถแพร่เชื้อได้ (Untransmissible) 

ดังนั้นการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใส่ถุงยางอนามัยกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่กินยาต้านไวรัสจนตรวจไม่พบเชื้อแล้ว จึงมีความปลอดภัยจากการติดเชื้อเอชไอวี อย่างไรก็ตามยังควรสวมใส่ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันโรคติดต่อทาง    เพศสัมพันธ์อื่น ๆ หรือหากคู่นอนที่ติดเชื้อเอชไอวี กินยาไม่สม่ำเสมอ แล้วเกิดเชื้อดื้อยา อาจทำให้ไวรัสเพิ่มจำนวนขึ้นมาโดยไม่รู้ตัว และสามารถแพร่เชื้อให้อีกฝ่ายได้ จึงควรมีการป้องกันโดยการสวมใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งเพื่อความปลอดภัย และควรจำกัดจำนวนคู่นอนด้วยเช่นเดียวกัน

ตรวจหาเชื้อเอชไอวี ที่ภูเก็ตตรวจได้ที่ไหน?

ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก ให้บริการที่ใกล้ชิด ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมทั้งทีมงานที่มีความชำนาญ พร้อมให้คำปรึกษาและ การรักษา โดยคุณสามารถเข้ารับบริการได้ทั้ง walk-in หรือนัดหมายล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับบริการ
จองคิวออนไลน์ https://phuketmedicalclinic.youcanbook.me
เวลาทำการ 🕙 10:00-18:00 น. ทุกวัน
เบอร์ติดต่อ ☎️ 096-696-2449
Line id : @pmcphuket (มี @ ด้วยนะครับ) หรือ https://lin.ee/R1TKRDo
แผนที่ 📌https://goo.gl/maps/xu45eTQUTjgpukJa7
Website 🌐https://phuketmedicalclinic.com
ปรึกษาแพทย์หรือสอบถามเพิ่มเติมได้เลยนะครับ
Inbox : m.me/100483916443107
สุขภาพคุณให้เราดูแล#คลินิกภูเก็ต
Phuket #Clinic #ภูเก็ตเมดิคอลคลินิก