เมื่อเราติดเชื้อ เอชไอวี โดยปกติร่างกายเราสัมผัสกับเชื้อโรคสารพัดที่มีอยู่รอบตัว แต่เราไม่เป็นอะไร เพราะมีระบบภูมิคุ้มกันซึ่งมีเม็ดเลือดขาวหลายชนิดทำหน้าที่จัดการกับเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายเรา ทำให้เราไม่เจ็บป่วย   ซึ่งมีซีดี4 เป็นเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่เป็นตัวหลักในการกำจัดและควบคุมเชื้อโรค  และยังมีบทบาทในการสร้างสารภูมิคุ้มกันให้ร่างกายใช้เป็นอาวุธต่อสู้กับเชื้อโรคด้วย แต่เมื่อเราติดเชื้อเอชไอวี  เชื้อเอชไอวีเมื่อเข้าสู่ร่างกายเราจะใช้ซีดี4 ในการขยายพันธุ์  และทำลายซีดี4 ให้มีจำนวนลดลง

ในช่วงที่ยังไม่มีอาการ เรียกว่า เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี แต่รเมื่อเชื้อเอชไอวีเพิ่มมากขึ้น และซีดี4ลดลง จนไม่สามารถควบคุมเชื้อโรคต่างๆได้จนพัฒนากลายเป็นโรคเอดส์  หรือมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง และทำให้มีโรคฉวยโอกาสต่าง ๆ เกิดขึ้นได้ เนื่องจากซีดี4 ไม่สามารถควบคุมไว้ได้แล้ว ปัจจุบันผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้   แต่เราก็สามารถควบคุมเชื้อเอชไอวี ไม่ให้ทำลายภูมิคุ้มกันได้  โดยการใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวี  ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี ก็สามารถมีชีวิตอยู่ต่อไปได้เหมือนคนปกติทั่วไป

ผลข้างเคียงของยาต้านไวรัสเอชไอวี

ยาต้านไวรัสเอชไอวี

ยาต้านไวรัสเอชไอวี มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อเอชไอวีในกระแสเลือด เมื่อจำนวนเชื้อลดลง  ร่างกายก็สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้มากขึ้น   โอกาสในการเจ็บป่วยด้วยโรคฉวยโอกาสจึงลดลง เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยส่วนมากสามารถทำงานและดำรงชีวิตตามปกติได้  และการเสียชีวิตจากโรคฉวยโอกาสก็เป็นไปได้น้อย

อย่างไรก็ตาม  การกินยาต้านฯ มีข้อที่ต้องคำนึงอยู่หลายประการ เมื่อแพทย์วินิจฉัยและให้การรักษา  ผู้ติดเชื้อจะต้องประเมินว่าตนเองมีความพร้อมในการรับยาแล้วหรือยัง   เพราะการกินยาต้านฯ ต้องกินให้ถูกต้อง ตรงเวลา และต่อเนื่องตลอดชีวิต เนื่องจากยาไม่สามารถกำจัดเชื้อเอชไอวีให้หมดไปจากร่างกายได้  ยาจะช่วยควบคุมจำนวนเชื้อให้มีน้อยที่สุด การกินยาตรงเวลา และต่อเนื่อง เพื่อไม่เปิดโอกาสให้เชื้อดื้อยาได้ง่าย และสามารถควบคุมเชื้อไว้ได้ตลอดเวลา

ยาต้านไวรัสเอชไอวี มีด้วยกันหลายชนิด ออกฤทธิ์แตกต่างกันไป การเลือกใช้ยา แพทย์จะพิจารณาตามความเหมาะสม สำหรับผู้ป่วยแต่ละราย   การรักษาที่จะให้ผลดี และช่วยลดปัญหาเชื้อดื้อยาได้ จะใช้ยา 3 ตัวรวมกัน หรือมากกว่า ที่เรียกว่า Highly Active Antiretroviral Therapy (HAART) แต่ข้อเสียคือ ผลข้างเคียงที่เกิดจากยาต้านมีเยอะมาก

โดยปกติแพทย์จะถามถึงผลข้างเคียงจากการใช้ยาต้านของผู้ป่วยเมื่อมาพบแพทย์ในแต่ละครั้งเพื่อหาสูตรที่ดีที่สุด

การแพ้ยา กับผลข้างเคียงของยา ไม่เหมือนกัน

การแพ้ยา 

แพ้ยา คือ  ปฏิกิริยาการต่อต้านของภูมิคุ้มกันในร่างกาย เมื่อได้รับการใช้ยา ไม่ว่าจะเป็น ยาทา ยารับประทาน และยาดม อาการแพ้ยา สามารถทราบได้จากอาการทางผิวหนัง และไม่สามารถใช้ยาตัวนั้นได้อีก แบ่งความรุนแรงได้เป็น 2 อย่าง 

  1. ถ้าแพ้ยาไม่รุนแรง อาจมีไข้ มีผื่นลมพิษ เยื่อบุอ่อนพองบวม เช่น เยื่อบุตา เยื่อบุปาก หายใจขัดหรือหอบ ยา NVP (เนวิราปิน) ทำให้เกิดอาการแพ้ได้บ่อยกว่ายาอื่น
  2. การแพ้ยารุนแรง จะเกิดการช็อค หายใจไม่ทัน ขาดอากาศ หมดสติได้ ดังนั้น เมื่อทราบว่าเคยมีประวัติแพ้ยา ควรบอกแพทย์หรือเภสัชกรก่อนรับยา

ผลข้างเคียงของยาต้านไวรัสเอชไอวี

ยังอาจใช้ยาตัวเดิมได้  โดยการดูแลและบรรเทาอาการที่เกิดขึ้น ปรึกษาแพทย์ผู้รักษาเพื่อลดปัญหาการหยุดกินยา เนื่องจากความท้อแท้ หรือไม่เข้าใจได้ โดยผลข้างเคียงที่เกิดจะมีหลายระดับตั้งแต่เล็กน้อยถึงรุนแรงมาก

  • ผลข้างเคียงในระยะสั้นและไม่รุนแรง พบได้และอาการก็จะค่อย ๆ ดีขึ้น ภายในเวลาประมาณ 2 – 3 เดือน เช่น ปวดศีรษะ ท้องอืด ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน เหนื่อย นอนไม่หลับ ฝันร้าย มีผื่นขึ้นเล็กน้อย อาจเกิดได้จากร่างกายยังไม่คุ้นเคยกับยาต้านที่เราได้รับ  อาการเหล่านี้จะหายไปเอง แต่หากไม่หายควรปรึกษาแพทย์
  • ผลข้างเคียงในระยะสั้นและรุนแรง เช่น ภาวะซีด ตับหรือตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน ชาปลายมือปลายเท้า นิ่วในไต ซึ่งอาจพบได้ทุกช่วงของการกินยา และอาจทำให้เสียชีวิตได้ถ้าไม่รีบแก้ไข ดังนั้น ต้องติดตามอาการเหล่านี้อย่างใกล้ชิด   มารับการตรวจตามนัดสม่ำเสมอ ถ้าพบอาการผิดปกติ เช่น  ท้องอืด  อาเจียน   อ่อนเพลีย   หมดแรง (อาการของภาวะกรดในเลือด)   ต้องมาพบแพทย์ก่อนวันนัด
  • ผลข้างเคียงในระยะยาว มักพบหลังจากกินยาเป็นเวลานาน ส่วนใหญ่ตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป บางรายพบได้ในระยะเวลาไม่ถึง 1 ปี อาการข้างเคียงในระยะยาว เช่น มีปัญหาที่ตับ ไต กระดูก เลือดออก น้ำตาลในเลือดสูง ทำให้หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย ควรตรวจระดับคลอเรสเตอรอล และกลูโคสในเลือดอยู่บ่อยๆด้วย การกระจาย และสะสมของไขมันผิดปกติ และผิดที่ มีไขมันพอกที่ต้นคอ ลำตัวอ้วน แขนขาลีบ แก้มตอบ และมีอาการชา ปวดแสบปวดร้อน หรือปวดที่มือหรือเท้า จากปัญหาที่ระบบประสาท และอาจเกิดการเปลี่ยนเปลี่ยนที่รูปร่างสัดส่วนได้ หากใครเกิดผลข้างเคียงประเภทนี้ ต้องปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตหลายอย่างเพื่อไม่ให้ส่งผลเสียกับอวัยวะอื่นๆไปมาก หรือรับการรักษาเพิ่มเติม, เปลี่ยนแนวทางการรักษา
กินยาต้านไวรัสเอชไอวีอย่างไรให้ได้ผลดี

กินยาต้านไวรัสเอชไอวีอย่างไรให้ได้ผลดี

  • กินยาให้ตรงเวลา ครบทุกมื้อ และทุกๆวัน
  • อย่าเปลี่ยนยาด้วยตนเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ ถ้าพบว่าปฏิบัติตามแผนการรักษาได้ยาก ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อค้นหาแนวทางการรักษาใหม่ที่ความเหมาะสม
  • หากจะใช้ยาอื่นนอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง ควรปรึกษาแพทย์ และเภสัชกรก่อนทุกครั้ง
  • ควรกินอย่างสม่ำเสมอ หากหยุดยาระยะหนึ่งแล้วมากินต่อ ก็อาจทำให้เกิดเชื้อดื้อยา ทำให้การรักษาจะยิ่งยากมากขึ้น
  • ยาที่กินวันละ 1 ครั้ง ที่ฉลากยาอาจระบุทุก 24 ชั่วโมง จะกินเวลาไหนก็ได้ แต่ต้องเป็นเวลาเดียวกันทุกวัน เช่น กินตอน 9 โมง เช้า ก็ต้องเป็น 9 โมง เช้าทุกวัน
  • ยาที่กินวันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน   เป็นยาที่กินก่อนนอน  และต้องกินเวลาเดียวกันทุกวัน  เช่น กินตอน 3 ทุ่ม (21 น.) ก็ต้องเป็น 3 ทุ่ม (21 น.) ทุกวัน  หากบางวันนอนดึก กินยา 3 ทุ่มแล้วยังไม่เข้านอนก็ไม่เป็นไร   ยาก่อนนอนมักเป็นยาที่มีผลข้างเคียงทำให้คลื่นไส้-อาเจียน มึนงงหรือง่วงนอน เช่น ยา EFV (เอฟฟาไวเร็นซ์)  ถ้ากินแล้วนอนจะช่วยให้อาการข้างเคียงเหล่านี้ลดน้อยลงได้
  • ยาที่กินวันละ 2 ครั้ง ที่ฉลากยาอาจระบุทุก 12 ชั่วโมง หรือ  เช้า-เย็น ต้องกินยา ห่างกัน 12 ชั่วโมง เช่น มื้อแรก กิน 8 โมงเช้า มื้อที่ 2 ต้องกินตอน 2 ทุ่ม ของทุกวัน ( ควรตั้งเวลาที่สามารถปฏิบัติได้สะดวก เช่น ไม่ควรตั้งเวลาดึกมาก หรือเช้าเกินไปจนลุกตื่นไม่ไหว )
  • นอกจากตรงเวลาแล้ว ยาบางชนิดจำเป็นต้องสัมพันธ์กับอาหารด้วย  เช่น  ยาก่อนอาหาร   ต้องกินตอนท้องว่าง หรือกินก่อนอาหารหนึ่งชั่วโมง เพราะจะช่วยให้ยาดูดซึมได้ดี และไม่ถูกทำลายโดยน้ำย่อยอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรด  เช่น ยา ddI (ดีดีไอ) , Indinavir (อินดินาเวียร์) ยาหลังอาหาร ต้องกินหลังอาหารทันที  เพราะยาจะดูดซึมได้ดีเวลาที่ในกระเพาะมีอาหาร และป้องกันการระคายเคืองของกระเพาะอาหาร เช่น RTV (ริโทนาเวียร์) , AZT (ซิโดวูดิน)

ติดต่อเรา

ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก ให้บริการที่ใกล้ชิด ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมทั้งทีมงานที่มีความชำนาญ พร้อมให้คำปรึกษาและ การรักษา โดยคุณสามารถเข้ารับบริการได้ทั้ง walk-in หรือนัดหมายล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับบริการ
จองคิวออนไลน์ https://phuketmedicalclinic.youcanbook.me
เวลาทำการ 🕙 10:00-18:00 น. ทุกวัน
เบอร์ติดต่อ ☎️ 096-696-2449
Line id : @pmcphuket (มี @ ด้วยนะครับ) หรือ https://lin.ee/R1TKRDo
แผนที่ 📌https://goo.gl/maps/xu45eTQUTjgpukJa7
Website 🌐https://phuketmedicalclinic.com
ปรึกษาแพทย์หรือสอบถามเพิ่มเติมได้เลยนะครับ
Inbox : m.me/100483916443107
สุขภาพคุณให้เราดูแล#คลินิกภูเก็ต
Phuket #Clinic #ภูเก็ตเมดิคอลคลินิก