การเกิดฝี หรือตุ่มหนองที่มีการติดเชื้อ พบได้บ่อยในหลายอวัยวะ บางคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องเล็ก ๆ ปล่อยไว้เดี๋ยวหายเอง จริง ๆ แล้วฝีที่ไม่ได้รักษา อาจทำให้เกิดอันตรายได้

ฝี เป็นโพรงหนองที่เกิดขึ้นได้ทุกที่ในร่างกาย ทั้งบนผิวหนัง ในปาก หรืออวัยวะภายใน เมื่อร่างกายเกิดการติดเชื้อ เซลล์เม็ดเลือดขาวจะเดินทางไปยังบริเวณดังกล่าวเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค จนเกิดการสะสมของเม็ดเลือดขาวขึ้นภายในเนื้อเยื่อที่ได้รับความเสียหาย ทําให้เกิดการอักเสบและเกิดเป็นก้อนขึ้น เมื่อก้อนนั้นมีหนองซึ่งเกิดจากเซลล์เม็ดเลือดขาว เนื้อเยื่อ เชื้อโรคที่ยังมีชีวิตอยู่และตายแล้วรวมทั้งของเหลว จะกลายเป็นฝี

ฝีบนผิวหนังนั้นพบได้บ่อยกว่าฝีในปากและที่อวัยวะภายใน เมื่อพบว่ามีฝี ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค

ฝี คืออะไร

ฝี คืออะไร?

ฝี (Abscess, Boils หรือ Furuncles) คือ เนื้อเยื่อที่มีการติดเชื้อจนก่อให้เกิดลักษณะเป็นก้อน ส่วนใหญ่มักเป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย ฝีมักมีลักษณะกลมภายในเป็นหนอง หรือบวมขึ้นกลัดหนองข้างใน (เป็นการอักเสบของต่อมไขมันและที่ขุมขนของผิวหนัง) หรือเป็นตุ่มหนองอักเสบสะสมใต้ผิวหนัง หนองมีกลิ่นเหม็น เจ็บปวดเมื่อสัมผัสโดน และก่อตัวขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ประกอบด้วยเซลล์เม็ดเลือดขาว เนื้อเยื่อที่ตายแล้ว และเชื้อโรค ซึ่งมักเป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย

สามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของร่างกาย ทั้งอวัยวะภายนอกและอวัยวะภายใน หากเป็นฝีที่ผิวหนังภายนอกที่มีขนาดเล็กและไม่มีการเจ็บป่วยรุนแรง อาการอาจจะดีขึ้นและฝีอาจจะหายไปเอง แต่หากเป็นฝีที่อวัยวะภายใน จะค่อนข้างเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม

สาเหตุการเกิดฝี 

ฝี โดยทั่วไปฝีเกิดจากเชื้อโรคได้หลายชนิด ทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และอะมีบา แต่ส่วนใหญ่แล้วฝีมักเกิดจากเชื้อแบคทีเรียกลุ่มสแตฟีโลค็อกคัส (Staphylococcus) เป็นแบคทีเรียที่ทําให้เกิดฝีบ่อยที่สุด เชื้อรา เชื้อไวรัส หรือเชื้อปรสิตมักไม่ค่อยทําให้เกิดฝี โดยเมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาวต่อสู้กับแบคทีเรียที่บุกรุกเข้ามาในร่างกาย เนื้อเยื่อที่อยู่ใกล้เคียงจะเกิดการอักเสบและตายลง ทําให้เกิดก้อนหนองหรือฝี

นอกจากนี้ยังอาจเกิดได้จากสิ่งแปลกปลอมภายนอกอื่น ๆ เช่น เศษวัสดุ กระสุน หรือการถูกเข็มทิ่ม ฯลฯ และฝีอาจติดต่อได้โดยการสัมผัสถูกผู้ป่วยโดยตรง

ผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงเป็นฝี มีดังนี้

  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพราะภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะเป็นตัวสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อโรค
  • ผู้ที่รับประทานยาสเตียรอยด์เป็นประจำ เพราะยาประเภทนี้จะไปกดระบบภูมิคุ้มกันที่คอยต่อต้านเชื้อโรค
  • ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ staph ส่วนใหญ่มักพบในโรงพยาบาล
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคผิวหนังเรื้อรัง เช่นสิว หรือโรคเรื้อนกวาง
  • ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หรือผู้ติดเชื้อเอชไวี
  • ผู้ที่มีปัญหาด้านโภชนาการ เช่น ขาดสารอาหาร โลหิตจาง เป็นความผิดปกติที่ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำ จึงทำให้ติดเชื้อโรคได้ง่ายกว่าปกติ เป็นต้น

ประเภทของฝี

ฝีบนผิวหนัง

ฝีที่ผิวหนัง เป็นฝีที่ก่อตัวขึ้นบริเวณใต้ผิวหนัง โดยบริเวณรากผมหรือขนที่เกิดการติดเชื้อจะพัฒนาจนเกิดฝี มีอาการ คือ ฝีเกิดการอักเสบบวมแดง เจ็บปวด รู้สึกแสบร้อน ในบางครั้งการติดเชื้อสามารถเกิดขึ้นในทรวงอกของผู้หญิงที่ให้นมบุตรได้กลายเป็นฝีที่เต้านม และบริเวณต่อมใต้ผิวหนังที่แคมอวัยวะเพศหญิงอาจเกิดการอักเสบกลายเป็นฝีที่เรียกว่า ฝีต่อมบาร์โธลิน (Bartholin’s Abscess)

เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด ซึ่งจะเกิดขึ้นใต้ผิวหนังและรักษาได้ง่าย

  • ฝีรักแร้ ส่วนใหญ่เกิดจากการอักเสบของต่อมเหงื่อ ซึ่งทําให้ผิวหนังของรักแร้บวมแดงและกดเจ็บ
  • ฝีที่เต้านม พบได้บ่อยในมารดาที่ให้นมบุตร เนื่องจากการติดเชื้อที่เต้านม คือ ภาวะเต้านมอักเสบ ที่มีก้อนฝีหนองอยู่ภายใน เกิดต่อเนื่องมาจากภาวะเต้านมอักเสบ ที่ไม่ได้รับการรักษา เต้านมอักเสบที่อาการไม่ดีขึ้น หรือไม่ตอบสนองต่อการรักษา
  • ฝีต่อมบาร์โธลิน เกิดในต่อมบาร์โธลินบริเวณผิวหนังที่แคมอวัยวะเพศหญิง
  • ฝีที่ก้น เกิดบริเวณผิวหนังที่รอยแยกหรือร่องก้น
  • ฝีบริเวณทวารหนัก เป็นฝีที่เกิดภายในทวารหนัก(จะเกิดที่ลำไส้ตรงและทวารหนัก)

ฝีในปาก

ฝีอาจเกิดขึ้นได้บริเวณฟัน เหงือก และลําคอ หากฝีเกิดขึ้นรอบ ๆ ฟันจะเรียกว่าฝีในฟันหรือฟันเป็นหนอง  โดยแบ่งออกได้เป็น

  • ฝีที่เหงือก มักส่งผลต่อเหงือก ไม่ส่งผลกระทบต่อฟัน
  • ฝีที่ปลายรากฟัน เกิดขึ้นที่ปลายรากฟันเนื่องจากฟันผุหรือได้รับบาดเจ็บ
  • ฝีบริเวณรอบฟัน เกิดจากโรคปริทันต์อักเสบหรือโรคเหงือก มักส่งผลต่อกระดูกและเนื้อเยื่อที่รองรับฟัน
  • ฝีโพรงที่ฟัน เกิดบริเวณเนื้อใต้ฟัน หรือบริเวณเหงือกและกระดูกกรามใต้ฟัน

ฝีในปากชนิดอื่น ได้แก่

  • ฝีต่อมทอนซิล มักพบในวัยรุ่นและคนหนุ่มสาว
  • ฝีในช่องคอส่วนลึก เกิดขึ้นเมื่อต่อมน้ำเหลืองที่ด้านหลังลําคอเกิดการติดเชื้อ
  • ฝีรอบทอนซิล (หนองบริเวณรอบต่อมทอนซิล) – เป็นฝีที่เกิดขึ้นระหว่างต่อมทอนซิล ในช่องปาก และผนังด้านในลำคอ
ฝีที่อวัยวะภายใน

ฝีที่อวัยวะภายใน

ฝีที่อวัยวะภายใน เป็นฝีที่ก่อตัวขึ้นบริเวณอวัยวะภายในหรือในบริเวณที่ว่างระหว่างอวัยวะภายในร่างกาย อาการแสดงขึ้นอยู่กับบริเวณที่เกิดฝี โดยฝีภายในร่างกายมักเกิดจากอาการเจ็บป่วยอย่างอื่นที่ส่งผลทำให้เกิดฝี เช่น การติดเชื้อในตับทำให้เกิดฝีในตับ การติดเชื้อในเหงือกและฟันทำให้เกิดฝีและฟันเป็นหนองได้ เป็นต้น

ฝีที่อวัยวะภายใน ซึ่งอาจเกิดได้ในสมอง บนไขสันหลัง หรืออวัยวะภายในอื่น ๆ นั้นมักพบได้น้อยกว่า โดยการตรวจวินิจฉัยและการรักษาฝีที่อวัยวะภายในนั้นจะทำได้ยากกว่าฝีชนิดอื่น ๆ

  • ฝีไขสันหลัง เกิดบริเวณโดยรอบไขสันหลัง
  • ฝีในช่องท้อง อาจพบภายในหรือใกล้ไต ตับอ่อน หรือตับ
  • ฝีในสมอง มักพบได้น้อย โดยเกิดจากการที่แบคทีเรียในกระแสเลือด แผล หรือการติดเชื้อที่บริเวณศีรษะเดินทางเข้าสู่สมอง หรือเกิดภายในเนื้อสมองใต้กะโหลกศีรษะ เป็นกรณีที่พบได้น้อยมาก แต่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
  • ฝีในรังไข่ พบได้น้อย เชื่อว่าเกิดจากการที่เชื้อแบคทีเรียกระจายเข้าไปในแคปซูลของรังไข่ มักเป็นข้างเดียว และเกิดขึ้นในช่วง 1-2 สัปดาห์หลังคลอด ก้อนหนองอาจแตก และทำให้มีเยื่อบุช่องท้องอักเสบตามมาได้
  • ฝีในตับ เกิดจากการที่ตับติดเชื้อ และเกิดมีฝี/หนองขึ้นในตับ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเพียงฝีเดียวตำแหน่งเดียว หรือหลายฝีก็ได้ โดยอาจเกิดร่วมกับที่อวัยวะอื่น ๆ เกิดมีฝีร่วมด้วย หรือเกิดมีฝีเฉพาะในตับก็ได้เช่นกัน ทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงของโรคฝีในตับที่พบได้ มีทั้งตับอักเสบชนิดฝีบิดอะมีบา และฝีแบคทีเรีย
  • ฝีในปอด เกิดจากการที่ปอดมีการอักเสบติดเชื้ออย่างรุนแรง ทำให้เกิดการทำลายเนื้อปอดจนเกิดเป็นโพรงหนอง

อาการของฝี

ฝีบนผิวหนังจะปรากฏเป็นตุ่มหนอง ผิวหนังรอบฝีจะแดงบวม และอาจทำให้เกิดอาการ เช่น

  • ปวด
  • มีไข้และหนาวสั่น
  • คลื่นไส้ วิงเวียน
  • หนาวสั่น
  • บวม
  • เกิดแผลบนผิวหนัง
  • ผิวหนังอักเสบ
  • มีน้ำหนองไหลออกจากหัวฝี
  • เจ็บปวดบริเวณรอบๆหัวฝี หากจับบริเวณหัวฝีแล้วจะรู้สึกแสบร้อน

ฝีในปากเกิดขึ้นที่เหงือก กราม พื้นปาก หรือภายในกระพุ้งแก้ม ทําให้เกิดอาการดังต่อไปนี้

  • ปวดฟันอย่างรุนแรงหรือเสียวฟัน
  • อ้าปาก เคี้ยวหรือกลืนลำบาก
  • มีไข้

ฝีในผิวหนังชั้นลึกหรือภายในร่างกายอาจไม่ก่อให้เกิดอาการชัดเจน แต่ผู้ป่วยอาจมีอาการซึ่งเกี่ยวข้องกับอวัยวะที่เกิดฝี ยกตัวอย่างเช่น  

  • มีอาการปวดและกดเจ็บ
  • มีไข้หนาวสั่น
  • รู้สึกเหนื่อย
  • เหงื่อออกมาก
  • ไม่อยากอาหาร น้ำหนักลด

การรักษาฝี

การรักษาฝีสามารถรักษาได้ด้วยตัวเองที่บ้าน ฝีบนผิวหนังขนาดเล็กอาจหายได้เอง เมื่ออยู่บ้านผู้ป่วยอาจประคบอุ่นบนฝีเพื่อกระตุ้นให้ฝีระบายออกเองตามธรรมชาติ  และควรหลีกเลี่ยงการบีบกด หรือใช้เข็มเจาะฝีด้วยตนเองเพื่อให้ของเหลวไหลออกมา เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อในเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียงและอาจสร้างความเสียหายแก่เส้นเลือดบริเวณดังกล่าวได้

การใช้ยาปฏิชีวนะ

แพทย์จะรักษาด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ dicloxacillin หรือ cephalexin กรณีที่พบอาการรุนแรงของฝีหากผู้ป่วยมีภาวะเหล่านี้

  • การเกิดฝีบริเวณใบหน้า
  • การติดเชื้อของผิวหนังและเนื้อเยื่ออย่างเฉียบพลัน
  • มีฝีที่หัว
  • ระบบภูมิคุ้มกันแทรกซ้อน

การระบายหนองออก

ผู้ป่วยเป็นฝี หากหัวฝีมีลักษณะเป็นหัวแข็ง หนองไม่สามารถระบายออกได้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อช่วยให้แพทย์ใช้วิธีระบายหนองออก แพทย์อาจใช้วิธีใข้ยาระงับการปวด และใช้วิธีผ่าฝีเพื่อเอาหนองในหัวฝีออก วิธีนี้จะทำไม่เกิดฝีซ้ำอีก หลังจากผ่าตัดเรียบร้อยแล้วแพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อช่วยสมานแผล และช่วยให้แผลหายเร็วเพื่อป้องกันการติดเชื้อต่อไป

ขณะที่อยู่ที่บ้านผู้ป่วยควรตรวจดูแผลและเปลี่ยนผ้าก๊อสถ้าเปียกชุ่ม  โดยแผลจะเริ่มตกสะเก็ด ซึ่งเป็นสัญญาณว่าแผลกำลังจะหาย ซึ่งมักหายสนิทภายใน 2 สัปดาห์

การรักษาฝี

การรักษาฝีที่เหงือก

ผู้ป่วยต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ แพทย์จะผ่าฝีเพื่อระบายหนอง และทำการถอนฟัน หรือรักษารากฟันในบางราย การรักษาฝีในปากนั้นจำเป็นมากเนื่องจากเชื้อโรคสามารถแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อรอบ ๆ ทําให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น การติดเชื้อในกระแสเลือดหรือโรคแบคทีเรียกินเนื้อ

การรักษาฝีที่อวัยวะภายใน

แพทย์จะทำการใช้เข็มเจาะเพื่อรักษาฝีที่อวัยวะภายใน โดยอาจให้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่หรือทั่วร่างกาย ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของฝี  แพทย์จะทำการอัลตราซาวนด์หรือ CT scan เพื่อระบุตำแหน่งที่ต้องการแทงเข็ม  และกรีดแผลเล็ก ๆ บนผิวหนังเพื่อใส่สายสวนสำหรับการระบายหนองเข้าไปในถุงรองรับด้านนอก โดยอาจติดถุงไว้กับตัวผู้ป่วยเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์หรือมากกว่านั้นเพื่อให้หนองที่ค้างอยู่ไหลออกมาได้หมด

ทั้งนี้ การรักษาฝีขึ้นอยู่กับความรุนแรงของฝี ชนิดและบริเวณที่เกิดฝี และดุลยพินิจของแพทย์

ติดต่อเรา

ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก ให้บริการที่ใกล้ชิด ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมทั้งทีมงานที่มีความชำนาญ พร้อมให้คำปรึกษาและ การรักษา โดยคุณสามารถเข้ารับบริการได้ทั้ง walk-in หรือนัดหมายล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับบริการ
จองคิวออนไลน์ https://phuketmedicalclinic.youcanbook.me
เวลาทำการ 🕙 10:00-18:00 น. ทุกวัน
เบอร์ติดต่อ ☎️ 096-696-2449
Line id : @pmcphuket (มี @ ด้วยนะครับ) หรือ https://lin.ee/R1TKRDo
แผนที่ 📌https://goo.gl/maps/xu45eTQUTjgpukJa7
Website 🌐https://phuketmedicalclinic.com
ปรึกษาแพทย์หรือสอบถามเพิ่มเติมได้เลยนะครับ
Inbox : m.me/100483916443107
สุขภาพคุณให้เราดูแล#คลินิกภูเก็ต
Phuket #Clinic #ภูเก็ตเมดิคอลคลินิก