โรคกรดไหลย้อน มีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ลักษณะของโรคคือการที่มีกรดไหลย้อนขึ้นจากกระเพาะอาหารมาที่หลอดอาหาร  ส่วนน้อยอาจเป็นด่างจากลำไส้เล็ก โดยอาจมีหรือไม่มีหลอดอาหารอักเสบก็ได้ 

โรคกรดไหลย้อนมักพบได้จากการที่มีการอักเสบของหลอดอาหาร โรคกรดไหลย้อน ซึ่งมีผลกระทบได้ในทุกช่วงอายุ และวิถีชีวิตในแถบยุโรป พบได้ในผู้ใหญ่ ประมาณ 20 – 40% ซึ่งอาการที่พบเป็นประจำคืออาการแสบยอดอก

โรคนี้ไม่ใช่โรคแปลกใหม่สำหรับคนไทย เป็นโรคที่พบมานานแล้ว และมีอัตราการพบผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ สามารถพบได้ทุกกลุ่มอายุ แต่ที่พบมากและมักจะมีอาการรุนแรงจะเป็นกลุ่มคนอ้วน ยิ่งกลุ่มคนที่สูบบุหรี่ยิ่งมีปัจจัยเสี่ยงมากขึ้น

โรคกรดไหลย้อน

โรคกรดไหลย้อน คืออะไร?

โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal reflux disease: GERD) เป็นโรคที่เกิดจากการไหลย้อนของสารคัดหลั่งในกระเพาะอาหาร   ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกรด หรืออาจเกิดจากด่าง หรือเป็นแก๊สก็เป็นได้ กลับไปที่หลอดอาหาร ซึ่งโดยปกติร่างกายคนเราจะมีการไหลย้อนของกรดในกระเพาะอาหารขึ้นไปในหลอดอาหารอยู่บ้างโดยเฉพาะหลังรับประทานอาหาร แต่ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีปริมาณกรดที่ย้อนมากขึ้น หรือย้อนบ่อยกว่าผู้ที่ไม่เป็นโรค หรือหลอดอาหารมีความไวต่อกรดมากขึ้นแม้ว่าจะมีปริมาณกรดที่ย้อนขึ้นไปไม่มากกว่าปกติ ซึ่งเกิดจากกรดในกระเพาะอาหาร จนทำให้เกิดอาการที่รบกวนต่อการชีวิตประจำวัน และเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ เช่น การอักเสบของหลอดอาหาร

โรคกรดไหลย้อนเป็นภัยเงียบที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย โดยสาเหตุหลักๆ ของโรคนี้ก็มาจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของเรานั่นเอง โดยจะทำให้มีอาการแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ ลามขึ้นมาบริเวณหน้าอกหรือลำคอ หลังจากทานอาหารมื้อหนัก และมีอาการเรอมีกลิ่นเปรี้ยว เป็นโรคที่พบได้ทุกเพศทุกวัย แม้แต่เด็กๆ ก็สามารถเป็นโรคนี้ได้ จัดเป็นโรคทางเดินอาหารชนิดหนึ่ง ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

สาเหตุโรคกรดไหลย้อน

  • ความผิดปกติของหูรูดส่วนปลายหลอดอาหาร ที่ทำหน้าที่ป้องกันกรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมีความดันของหูรูดต่ำหรือเปิดบ่อยกว่าคนปกติ กล่าวคือ ความดันจากหูรูดของหลอดอาหารส่วนปลายลดลงต่ำกว่าปกติ หรือเกิดการเลื่อนของกระเพาะอาหารเข้าไปในหลอดอาหาร
  • ความผิดปกติเหล่านี้อาจเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ กาแฟ ชา เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และ ยาบางชนิด เช่น ยารักษาโรคหอบหืดบางตัว
  • ความผิดปกติในการบีบตัวของหลอดอาหาร ทำให้อาหารที่รับประทานเคลื่อนตัวลงช้าหรืออาหารที่ไหลย้อนขึ้นมาจากกระเพาะอาหารค้างอยู่ในหลอดอาหารนานกว่าปกติ
  • ความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหาร ทำให้อาหารค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนานกว่าปกติ ทำให้เพิ่มโอกาสการไหลย้อนของกรดจากกระเพาะอาหารสู่หลอดอาหารมากขึ้น อาหารประเภทไขมันสูงและช็อกโกแลตจะทำให้กระเพาะอาหารบีบตัวลดลง
  • พฤติกรรมในการดำเนินชีวิต เช่น เข้านอนทันทีหลังรับประทานอาหาร รับประทานอาหารปริมาณมากในหนึ่งมื้อ สูบบุหรี่ ดื่มน้ำอัดลมหรือแอลกอฮอล์ 
  • โรคอ้วน ทำให้เพิ่มแรงกดต่อกระเพาะอาหารและทำให้กรดไหลย้อนกลับ
  • เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย หรือเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม
  • การตั้งครรภ์ เนื่องจากฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์ทำให้หูรูดหลอดอาหารอ่อนแอลง รวมถึงมดลูกที่ขยายตัวจะเพิ่มแรงกดต่อกระเพาะอาหาร
  • ภาวะความเครียด  โดยผู้ที่มีความเครียดมักมีภาวะหลอดอาหารที่มีความไวเกินต่อสิ่งกระตุ้น หลอดอาหารอ่อนไหวต่อกรด เมื่อมีกรดไหลย้อนขึ้นมาแม้เพียงเล็กน้อย จะมีอาการแสดงทันที

โรคกรดไหลย้อนสามารถเกิดกับใครได้บ้าง?

ส่วนใหญ่โรคกรดไหลย้อน มักพบในผู้ที่ทำงานออฟฟิศ เนื่องมาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหาร แต่ไม่เพียงเท่านั้น โรคกรดไหลย้อนสามารถพบได้ในทุกกลุ่มอายุ เป็นโรคใกล้ตัวที่ใครๆ ก็เป็นได้ โดยผู้ที่มีพฤติกรรมเหล่านี้ มีความเสี่ยงเป็นกรดไหลย้อน

  • รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา รับประทานแล้วนอนทันที
  • ชอบรับประทานผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวเป็นประจำ
  • ดื่มสุรา น้ำอัดลม
  • สูบบุหรี่
  • ผู้หญิงตั้งครรภ์
  • มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือโรคอ้วน
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • ผู้ป่วยโรคผิวหนังแข็ง
  • รับประทานยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิตสูงบางชนิด ยาแก้โรคซึมเศร้า เป็นต้น
อาการโรคกรดไหลย้อน

อาการโรคกรดไหลย้อน 

อาการสำคัญที่พบบ่อยในโรคกรดไหลย้อน ได้แก่

  • ความรู้สึกแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ กลางหน้าอก ซึ่งมักเกิดหลังรับประทานอาหารเสร็จใหม่ๆ  หรืออาหารมื้อใหญ่ หรือการโน้มตัวไปข้างหน้า การยกของหนัก การนอนหงาย
  • ความรู้สึกเปรี้ยวหรือขมในปากและคอ หรือ มีน้ำรสเปรี้ยวหรือรสขมไหลย้อนขึ้นมาในปาก ผู้ป่วยมักมีอาการเรอและมีน้ำรสเปรี้ยวหรือรสขมไหลย้อนขึ้นมาในปาก จนทำให้เกิดพยาธิสภาพในหลอดอาหารขึ้น ได้แก่ หลอดอาหารอักเสบมีเลือดออกจากหลอดอาหาร กลืนติด กลืนลำบาก
  • มีอาหารย้อนขึ้นมาในปากและคอ หรือ เจ็บหน้าอก จุกคล้ายมีอะไรติดหรือขวางอยู่บริเวณคอ ต้องพยายามกระแอมบ่อยๆ
  • จุกเสียด แน่นท้องบริเวณลิ้นปี่ ท้องอืด แน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียนหลังรับประทานอาหาร

นอกจากอาการเหล่านี้แล้ว โรคกรดไหลย้อนยังก่อให้เกิดอาการอื่นๆ ได้อีก เช่น

  • อาการเจ็บหน้าอกที่ไม่ได้เกิดจากโรคหัวใจ
  • หืดหอบ ไอแห้งๆ เสียงแหบ เสียงเปลี่ยน เจ็บคอ อาการเหล่านี้เกิดจากกรดที่ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณกล่องเสียง ทำให้เกิดกล่องเสียงอักเสบ 
  • ไอเรื้อรังโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน
  • กลืนติดขัดเหมือนมีก้อนจุกในคอ
  • อาการทางช่องปาก เช่น ฟันผุ มีกลิ่นปาก
  • โรคหืดที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาตามปกติ
  • ในเด็กเล็ก อาการที่ควรนึกถึงโรคนี้ ได้แก่ อาเจียนบ่อยหลังดูดนม โลหิตจาง น้ำหนักและการเจริญเติบโตไม่สมวัย ไอเรื้อรัง หืดหอบในเวลากลางคืน ปอดอักเสบเรื้อรัง ในเด็กบางรายอาจมีปัญหาการหยุดหายใจขณะหลับ
  • เป็นครั้งหนึ่งนานๆ มีการไหลย้อนแต่ละครั้งที่มีอาการรุนแรง ทำให้คุณภาพชีวิตเสียไป เป็นอยู่บ่อย นานอาเจียนเป็นเลือดบ่อย

การรักษาโรคกรดไหลย้อน

  • การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการทานอาหาร อาทิ ทานอาหารให้ช้าลง จากที่เคยทานมื้อใหญ่ๆ ให้ทานมื้อเล็กๆ ลดการดื่มกาแฟ แอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่ 
  • ทานยาตามแพทย์สั่ง โดยกินยา เช่น ยาเคลือบกระเพาะอาหารรักษาแผล ยาลดกรด
  • การเย็บหูรูดหลอดอาหารโดยไม่ต้องผ่าตัดด้วยเทคนิค TIF
  • การตัดเย็บหูดรูดหลอดอาหาร  
  • โดยการผ่าตัด อาจแนะนำในกรณีต่อไปนี้
    • ผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาเป็นเวลานานแล้วไม่สามารถควบคุมอาการหรือหยุดยาได้
    • ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานยาเป็นเวลานานและมีผลข้างเคียงจากยา

อันตรายของโรคกรดไหลย้อนหากไม่รักษา

หากเป็นโรคกรดไหลย้อนแล้วปล่อยเนิ่นนานจนเป็นเรื้อรัง ก็จะส่งผลให้หลอดอาหารมีแผล หรือหลอดอาหารตีบ ทำให้กลืนติด กลืนลำบาก หรือบางคนร้ายแรงถึงขั้นเป็นมะเร็งที่หลอดอาหารเลยก็ได้ เพราะหลอดอาหารส่วนปลายมีการสัมผัสกับกรดมากเกินไป ทำให้เซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลงจนกลายเป็นมะเร็งในที่สุด

ตรวจโรคกรดไหลย้อน ที่ภูเก็ตตรวจได้ที่ไหน?

ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก ให้บริการที่ใกล้ชิด ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมทั้งทีมงานที่มีความชำนาญ พร้อมให้คำปรึกษาและ การรักษา โดยคุณสามารถเข้ารับบริการได้ทั้ง walk-in หรือนัดหมายล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับบริการ
จองคิวออนไลน์ https://phuketmedicalclinic.youcanbook.me
เวลาทำการ 🕙 10:00-18:00 น. ทุกวัน
เบอร์ติดต่อ ☎️ 096-696-2449
Line id : @pmcphuket (มี @ ด้วยนะครับ) หรือ https://lin.ee/R1TKRDo
แผนที่ 📌https://goo.gl/maps/xu45eTQUTjgpukJa7
Website 🌐https://phuketmedicalclinic.com
ปรึกษาแพทย์หรือสอบถามเพิ่มเติมได้เลยนะครับ
Inbox : m.me/100483916443107
สุขภาพคุณให้เราดูแล#คลินิกภูเก็ต
Phuket #Clinic #ภูเก็ตเมดิคอลคลินิก