กลุ่มอาการของโรคที่มีลกษณะเป็นตุ่มน้ําใส มีอาการปวดแสบ ปวดร้อน เจ็บ คัน บริเวณ ที่เป็นนั้น หลายคนมักจะนึกถึงโรคเริม โรคอีสุกอีใส หรือโรคงูสวัด ซึ่งทั้ง 3 โรคนี้มีความคล้ายคลึงกันทั้งลักษณะของ รอยโรคและอาการ  แต่ถ้าเราพิจารณารายละเอียดของแต่ละโรคอย่างชัดเจนก็จะสามารถคัดกรองโรคต่าง ๆ ได้

ความแตกต่างระหว่างโรคเริม โรคอีสุกอีใส และโรคงูสวัด

ความแตกต่างระหว่างโรคเริม โรคอีสุกอีใส และโรคงูสวัด ดังนี้

โรคเริม (Herpes) คืออะไร?

เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในตระกูล HERPES 2 ชนิดคือ Herpes simplex virus-1 และ (HSV-1) และ Herpes simplex virus-2 (HSV-2) ลักษณะของรอยโรคนั้นจะมีตุ่มน้ําใสเกิดขึ้นเป็นกลุ่ม ประมาณ 2-10 เม็ด มีอาการปวดแสบร้อนและคัน โดย HSV-1 ก่อให้เกิดเริมบริเวณปาก ริมฝีปาก ภายในช่องปาก หรือใบหน้า ส่วน HSV-2 ก่อให้เกิดโรคบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ แต่อย่างไรก็ตามเชื้อไวรัสทั้ง 2 ชนิดก็ สามารถทําให้เกิดโรคเริมทั้งสองบริเวณได้เช่นกัน

โรคอีสุกอีใส (Chickenpox) คืออะไร?

เกิดจากเชื้อไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เชื้อวีซีวี (Varicella Zoster Virus: VZV) เชื้อไวรัสชนิดนี้จะทําให้เกิดโรคอีสุกอีใสเพียงครั้งเดียว เนื่องจากร่างกายจะเกิดการสร้างภูมิคุ้มกันโรคขึ้นมาแต่เชื้อจะยังคงอยู่ในร่างกาย และอาจพัฒนาความ รุนแรงกลายเป็นโรคงูสวัดขึ้นได้ในภายหลัง โดยเป็นโรคติดต่อทางผิวหนังเกิดผื่นคันตามร่างกาย มีตุ่มนูนขนาดเล็ก หรือตุ่มน้ําใส ๆ กระจายทั่ว ร่างกาย พบบ่อยในเด็กที่มีอายุต่ํากว่า 15 ปี  แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย  และโรคนี้เป็นโรคที่สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว

โรคงูสวัด (Herpes Zoster, Shingles) คืออะไร?

เกิดจากผู้ป่วยที่เคยเป็นอีสุกอีใสมาก่อน  หากเชื้อนี้เข้าสู่ร่างกายผู้ที่ไม่เคยได้รับเชื้อก็จะทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส เมื่ออาการหายเป็นปกติแล้ว เชื้อก็จะหลบซ่อนอยู่ในปมประสาทสันหลัง รอเวลาเมื่อร่างกายอ่อนแอก็จะแสดงอาการออกมาอีกครั้งตามแนวของเส้นประสาทที่เชื้อโรคซ่อนตัวอยู่ ทำให้อาการจะเกิดเฉพาะในแนวเส้นประสาทและแสดงออกมาทางผิวหนัง ทำให้คล้ายกับงูรัดหรืองูเลื้อย โรคงูสวัดสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัยแต่ก็มักจะเกิดขึ้นกับผู้สุงอายุ และผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน โดยเชื้อที่ก่อโรคงูสวัดคือเชื้อไวรัสในกลุ่ม herpes family type 3(HHV-3) หรือ Varicella zoster virus (VZV)  

อาการของแต่ละโรค

จะมีตุ่มน้ำใสขึ้นในบริเวณที่ติดเชื้อ หลังจากนั้นจะแตกออกแล้วเกิดเป็นแผล มีอาการปวดแสบ ปวดร้อนร่วมด้วยติดต่อโดยการสัมผัสบริเวณผิวที่เป็นโรคในผู้ติดเชื้อ หรืออาจติดได้จากการสัมผัสสารคัดหลั่ง เช่น น้ำลาย

โรคเริม

ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะไม่มีอาการในวันแรกๆหลังจากได้รับเชื้อครั้งแรก ในผู้ป่วยบางส่วนจะมีอาการหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 2-12 วัน โดยจะพบมีตุ่มน้ำบริเวณผิวหนังที่ริมฝีปาก บริเวณอวัยวะเพศ หรือผิวหนังบริเวณอื่นที่สัมผัสเชื้อ

ในผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้นกันบกพร่อง อาจมีการติดเชื้อไวรัสในอวัยวะอื่นๆ ได้ เช่น การติดเชื้อบริเวณตา การติดเชื้อในระบบประสาท การติดเชื้อที่ตับ การติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น

โดยอาการของโรคจะแบ่งเป็น 3 ระยะ คือติดเชื้อครั้งแรก ระยะปลอดอาการ และอาการกลับเป็นซ้ำ

  • ติดเชื้อครั้งแรก เริ่มด้วยอาการปวดแสบปวดร้อนและเกิดการบวมบนบริเวณที่ติดเชื้อ โดยใน 2-3 วันต่อมา จะมีตุ่มน้ำใสปรากฎขึ้นเรียงตัวเป็นกลุ่ม หลังจากนั้นจะแตกออกเป็นแผลตื้นๆ ใน 24 ชั่วโมงและตกสะเก็ด โดยตุ่มอาจจะรวมเป็นกลุ่มใหญ่และเป็นแผลกว้างทำให้มีอาการปวด และแผลจะหายไปเองใน 2-3 สัปดาห์ ในบางราย อาจจะมีอาการไข้ ปวดตามตัว ปวดศีรษะ หรือมีต่อมน้ำเหลืองโตร่วมร่วมด้วย
  • ระยะปลอดอาการ ช่วงนี้เชื้อจะอยู่ในร่างกายโดยไม่แสดงอาการของโรค หากสามารถดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงได้ก็จะช่วยให้โรคไม่แสดงอาการได้เช่นกัน
  • อาการกลับเป็นซ้ำ จะมีอาการของโรคน้อยกว่าครั้งแรกที่เป็น และมักจะกลับมาเป็นบริเวณเดียวกับที่เดิม โดยเฉพาะที่อวัยวะเพศอาจจะกลับเป็นซ้ำได้ 5 ครั้งต่อปี
อาการของโรคเริม

โรคอีสุกอีใส

ในระยะ 1-2 วันแรกหลังการติดเชื้อ ผู้ป่วยจะมีไข้ต่ำ รู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัว เหนื่อยง่าย มีอาการปวดศีรษะและเจ็บคอ ความอยากอาหารลดน้อยลง หรือไม่อยากอาหารเลย รวมถึงมีผื่นเป็นจุดแดง ๆ ตามร่างกาย ทั้งใบหน้า หน้าอก หลัง ปาก เปลือกตา และอวัยวะเพศ 

เมื่อผ่านไปอีก 2 วันหรือเข้าสู่วันที่ 4 ผื่นแดงที่ขึ้นตามตัวนั้นจะกลายเป็นตุ่มน้ำใส และเริ่มรู้สึกคันบริเวณที่เป็นผื่นและตุ่มพอง เมื่อติดเชื้อครบ 1 สัปดาห์ตุ่มพองที่มีน้ำใสอยู่ด้านในนั้นจะเริ่มแตก เกิดเป็นแผลและตกสะเก็ด ซึ่งจะใช้เวลาหลายวันกว่าจะหายเป็นปกติ โดยอาการที่ได้กล่าวไปข้างต้นเป็นอาการที่ไม่ร้ายแรงเมื่อเกิดขึ้นกับเด็ก 

แต่เมื่อเกิดขึ้นกับวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่อาจจะพัฒนากลายเป็นโรคที่รุนแรงขึ้นได้ และแม้ว่าจะเคยได้รับวัคซีนแล้วก็อาจยังมีโอกาสเกิดโรคได้แต่ก็พบได้น้อยและมีอาการเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

โรคงูสวัด

ในระยะ 1-3 วันแรกเป็นระยะที่เชื้อกำลังฟักตัว โดยผู้ป่วยจะมีไข้ หนาวสั่น รู้สึกปวดหัว ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ รวมถึงมีอาการปวดแสบปวดร้อนบริเวณผิวหนัง สำหรับบางรายอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน หรือจะมีอาการชาแต่เมื่อใช้มือสัมผัสจะรู้สึกเจ็บ โดยอาการมักจะเริ่มต้นขึ้นจากบริเวณเล็ก ๆ ของร่างกายฝั่งใดฝั่งหนึ่ง ก่อนจะเริ่มแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่น

เมื่อครบ 1 สัปดาห์ผู้ป่วยจะเริ่มมีผื่นแดงขึ้นบริเวณที่ปวดและกลายเป็นตุ่มน้ำอย่างรวดเร็ว โดยตุ่มน้ำที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะเกาะกันเป็นกลุ่ม และเรียงเป็นเส้นยาวไปตามแนวของเส้นประสาท นอกจากนี้อาจมีผื่นขึ้นที่คอ ใบหน้า หรือในดวงตาได้ ถัดมาในระยะ 2-4 สัปดาห์ ตุ่มน้ำที่ขึ้นมาจะเริ่มแตกและอาการของผู้ป่วยจะเริ่มดีขึ้นจนหายเป็นปกติ

การติดต่อของแต่ละโรค

โรคเริม

เชื้อไวรัสเริมทั้ง 2 ชนิดนี้ สามารถติดต่อกันได้ทางการสัมผัสโดยตรง เช่น การใช้แก้วน้ำร่วมกัน การจูบกัน การมีเพศสัมพันธ์ การสัมผัสของที่ผู้มีเชื้อเริมใช้ เช่น ผ้าเช็ดตัว ช้อน เป็นต้น

โรคอีสุกอีใส

  • แพร่กระจายผ่านการสัมผัสกับแผลของผู้ป่วยโดยตรง
  • ผ่านทางสารคัดหลั่ง เช่น น้ำลาย ไอ จาม หรือการหายใจเอาเชื้อที่ปนเปื้อนเข้าไป
  • สัมผัสแผลของผู้ป่วยที่เป็นโรคงูสวัด
  • ระยะฟักตัวของโรคจะอยู่ที่ 10-21 วัน หรือประมาณ 2 สัปดาห์ และสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่เริ่มติดเชื้อ เนื่องจากส่วนใหญ่จะไม่สามารถรู้ได้ว่าใครเป็นอีสุกอีใสจนกระทั่งเริ่มมีการแสดงอาการออกมา

โรคงูสวัด

  • ลักษณะการแพร่กระจายจะเหมือนกับโรคอีสุกอีใสเพราะเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดเดียวกัน
  • เมื่อผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสหายเป็นปกติ เชื้อไวรัสชนิดนี้จะหลบซ่อนอยู่ในร่างกายตามปมประสาทจุดต่าง ๆ และจะแสดงออกมาเมื่อร่างกายอ่อนแอ หรือมีปัญหาทางระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

การรักษาของแต่ละโรค

โรคเริม

ปัจจุบันเริมยังไม่สามารถรักษาให้หายสนิทได้ ส่วนแผลจากรอยโรคของเริมจะสามารถหายเองได้ภายในเวลา 2–6 สัปดาห์ การรักษาเริมจึงแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

  • การบรรเทาอาการเจ็บปวด โดยใช้บรรเทาอาการปวดทั่วไป เช่น ยาพาราเซตามอล (Paracetamol)
  • การควบคุมการแพร่กระจายของไวรัส โดยใช้ยาอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) หรือยาวาลาไซโคลเวียร์ (Valacyclovir) เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส และช่วยลดความรุนแรงของอาการ โดยตัวยามักอยู่ในรูปแบบของยารับประทานหรือยาทาชนิดครีม
การรักษาโรคอีสุกอีใส

โรคอีสุกอีใส

  • ผู้ป่วยที่มีร่างกายแข็งแรงและมีอาการไม่รุนแรงสามารถดูแลตนเองอยู่ที่บ้านได้
  • กลุ่มที่มีอาการรุนแรง กลุ่มเด็กเล็กและสตรีมีครรภ์และผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำควรรีบเข้าพบแพทย์
  • แพทย์จะให้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาพาราเซตามอล เพื่อบรรเทาอาการไม่สบายตัวจากอาการไข้ ยาแก้แพ้เพื่อรักษาอาการคันตามผิวหนังที่เกิดจากผื่นและตุ่มน้ำ ยาทาภายนอก เช่น คาลาไมน์ โลชั่น เพื่อลดอาการคันและกักเก็บความชุ่มชื้นของผิวหนัง หากมีอาการรุนแรงอาจต้องใช้กลุ่มยาต้านไวรัสเพื่อช่วยฆ่าเชื้อ เช่น ยาอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) และ ยาวาลาไซโคลเวียร์ (Valacyclovir)

โรคงูสวัด

  • โรคงูสวัดเป็นโรคที่เกิดขึ้นซ้ำได้
  • แพทย์จะรักษาตามอาการทีเกิดขึ้นร่วมกับการใช้ยาต้านไวรัสเพื่อเร่งให้โรคหายเร็วขึ้นและไม่ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน
  • แพทย์อาจใช้ยาลดอาการปวด เช่น ยากลุ่มที่ลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์และยาทาบางชนิด เพื่อระงับอาการปวดรุนแรง
  • เมื่อผิวหนังหายเป็นปกติแล้วแต่ยังมีอาการปวดต่อเนื่อง แพทย์อาจจะใช้ยารักษาอาการปวดที่ปลายประสาทร่วมด้วย

การป้องกันของแต่ละโรค

โรคเริม

แม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่มีวิธีรักษาเริมให้หายขาดได้ แต่ผู้ที่ติดเชื้อสามารถป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสกระจายไปสู่ผู้อื่นได้ โดยการหลีกเลี่ยงการใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ ช้อนส้อม ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า เครื่องสำอาง หรือลิบบาล์ม หลีกเลี่ยงการสัมผัสร่างกายโดยตรงกับผู้อื่น รวมถึงหลีกเลี่ยงกิจกรรมทางเพศอย่างการจูบ การทำออรัลเซ็กส์ (Oral sex) หรือการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยด้วย

รวมถึงผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเริมอาจต้องรับประทานยาเพื่อป้องกันการแสดงอาการออกมาในช่วงที่ตั้งครรภ์ เพราะอาจส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้ นอกจากนี้ ผู้ที่ติดเชื้อเริมสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดเริมซ้ำได้ด้วยการหลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดโรค หรือถ้าหากเป็นเริมซ้ำบ่อยกว่า 6 ครั้งต่อปีหรือมีอาการรุนแรง อาจปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาการรับประทานยาต้านไวรัสทุกวัน

โรคอีสุกอีใส

การป้องกันโรคอีสุกอีใสที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย คือ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส 

คำแนะนำ ให้ฉีด 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่ออายุ 1 ปี และครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 4-6 ปี

  • อาจฉีดเข็มที่ 2 ก่อนอายุ 4 ปี ได้กรณีที่มีการระบาดโดยต้องให้ห่างจากเข็มแรกอย่างน้อย 3 เดือน
  • แนะนำให้ฉีดวัคซีนแก่เด็กทุกคนที่มีอายุมากกว่า 1 ปี ที่ยังไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใส
  • ถ้าอายุมากกว่า 13 ปี ให้ฉีด 2 เข็ม ห่างกันอย่างน้อย 1 เดือน

ประสิทธิภาพของวัคซีน ในการป้องกันไม่ให้มีผื่นอีสุกอีใสนั้นได้ประมาณ 94-98 % แต่ถึงแม้ได้รับวัคซีนแล้วบางรายอาจเกิดผื่นอีสุกอีใสขึ้นได้ หลังไปสัมผัสโรคจากคนอื่นที่เป็นอีสุกอีใส ซึ่งพบว่าอาการของอีสุกอีใส ในกรณีเช่นนี้จะเป็นไม่มาก เช่น มีผื่นขึ้นเพียงไม่กี่จุด (น้อยกว่า 30-50 จุด) ไม่ค่อยมีไข้ และไม่ค่อยเกิดแผลเป็น ทำให้หายป่วยเร็วกว่า นอกจากนี้ยังพบกว่า เด็กที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส เมื่ออายุมากขึ้นจะพบอุบัติการณ์และความรุนแรงของการป่วยเป็นโรคงูสวัด น้อยกว่าเด็กที่เป็นโรคอีสุกอีใสตามธรรมชาติ

ทั้งนี้กรณีสตรีมีครรภ์หรือหรือมีภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับการฉีดวัคซีน เพราะอาจส่งผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายได้

การป้องกันโรคงูสวัด

โรคงูสวัด

สามารถป้องกันได้โดยการรับการฉีดวัคซีนโรคงูสวัดเพื่อลดโอกาสการเกิดโรค ทั้งยังช่วยลดความรุนแรง ลดความปวด และช่วยลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคงูสวัด ในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปที่เคยป่วยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนโรคงูสวัดเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสไปก่อให้เกิดโรคงูสวัดได้ในอนาคต ในผู้ที่ไม่เคยเป็นโรคงูสวัดมาก่อน สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนโรคงูสวัดเพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อโรคงูสวัดได้เช่นกัน โดยวัคซีนโรคงูสวัด มีดังต่อไปนี้

  • วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส หรือโรคสุกใส (Chickenpox vaccine) สำหรับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 12 – 18 เดือนขึ้นไป
  • วัคซีนป้องกันโรคงูสวัดสำหรับผู้ใหญ่ (Zoster vaccine/Shingles vaccine) มี 2 ชนิด ได้แก่
    • วัคซีน Zostavax ซึ่งเป็นวัคซีนชนิดเชื้อเป็น (Live attenuated vaccine) 1 เข็ม โดยเป็นวัคซีนที่สามารถลดโอกาสการติดเชื้อโรคงูสวัดในผู้ที่มีอายุระหว่าง 50 – 59 ปีได้ถึง 69.8%
    • วัคซีน Shingrix ซึ่งเป็นวัคซีนชนิดไกลโคโปรตีน (glycoprotein subunit vaccine) ที่เป็นชิ้นส่วนของไวรัส 2 เข็ม เว้นระยะห่าง 2-6 เดือน โดยเป็นวัคซีนที่สามารถลดโอกาสการติดเชื้อโรคงูสวัดในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปได้ถึง 90 – 97%

เนื่องจากอาการหลักของโรคเริม คือ เป็นตุ่มใสเล็ก พอง ซึ่งก็มีอาการคล้ายโรคอื่นๆ ทำให้หลายครั้งผู้ป่วยและคนทั่วไปอาจสับสนในอาการของโรค ซึ่งได้แก่โรคอีสุกอีใส และโรคงูสวัด ดังนั้นแล้ว ผู้ป่วยไม่ควรวินิจฉัยโรคเอง หากมีข้อสงสัยหรือความกังวลเกี่ยวกับโรคใดๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาอาการและรักษา เพราะการคิดและวินิจฉัยเองอาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดและอาจจะกลายเป็นปัญหาใหญ่เสี่ยงต่อชีวิตได้ การได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง และทันเวลาจะสามารถช่วยให้อาการทุเลาและไม่รุนแรงได้ครับ

ติดต่อเรา

ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก ให้บริการที่ใกล้ชิด ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมทั้งทีมงานที่มีความชำนาญ พร้อมให้คำปรึกษาและ การรักษา โดยคุณสามารถเข้ารับบริการได้ทั้ง walk-in หรือนัดหมายล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับบริการ
จองคิวออนไลน์ https://phuketmedicalclinic.youcanbook.me
เวลาทำการ 🕙 10:00-18:00 น. ทุกวัน
เบอร์ติดต่อ ☎️ 096-696-2449
Line id : @pmcphuket (มี @ ด้วยนะครับ) หรือ https://lin.ee/R1TKRDo
แผนที่ 📌https://goo.gl/maps/xu45eTQUTjgpukJa7
Website 🌐https://phuketmedicalclinic.com
ปรึกษาแพทย์หรือสอบถามเพิ่มเติมได้เลยนะครับ
Inbox : m.me/100483916443107
สุขภาพคุณให้เราดูแล#คลินิกภูเก็ต
Phuket #Clinic #ภูเก็ตเมดิคอลคลินิก